The Grand Palace| หน้าแรก | พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท | หมู่พระมหามณเฑียร | หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
| พระที่นั่งบริเวณสวนศิวาลัย | พระที่นั่งบรมพิมาน | ประตูรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง |
ป้อมรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง
Towers to The Grand Palace Compound
ป้อมรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง มี ๑๗ ป้อม ดังนี้ป้อมรอบพระบรมมหาราชวังแต่เดิมเป็นป้อมมีหอรบ มีหลังคามุงกระเบื้องโบกปูนทับ เช่น ปัอมสัตบรรพต ป้อมอินทรังสรรค์ ป้อมขันธ์เขื่อนเพชรป้อมเผด็จดัสกร ป้อมสัญจรใจวิง ป้อมสิงขรขันธ์ และป้อมอนันตคีรีป้อมอินทรรังสรรค์ อยู่มุมกำแพง พระบรมมหาราชวัง ด้านทิศตะวันตกตรงท่าพระจันทร์ป้อมขันธ์เขื่อนเพชร อยู่ทางด้านทิศเหนือต่อจากประตูวิเศษไชยศรี ไปทางทิศตะวันออกป้อมเผด็จดัสกร อยู่มุมกำแพงด้านตะวันออกต่อด้านเหนือ ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง ป้อมนี้เมื่อก่อนเป็นที่ปักเสาธงใหญ่ป้อมสัญจรใจวิง อยู่ทางด้านทิศตะวันออก สร้างแทรกขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ตรงกับถนนบำรุงเมือง ด้านใต้พระที่นั่งไชยชุมพลป้อมสิงขรขันธ์ อยู่ด้านทิศตะวันออก ทางด้านใต้ของประตูสวัสดิโสภา ตรงกับวังสราญรมย์ป้อมขยันยิงยุทธ อยู่ทางด้านทิศตะวันออก สร้างแทรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯป้อมฤทธิรุดโรมรัม อยู่ทางด้านทิศตะวันออก สร้างแทรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯป้อมอนันตคีรี อยู่ทางด้านตะวันออก ทางใต้ประตูศักดิ์ไชยสิทธิ เหนือมุมกำแพง ฯ ด้านตะวันออกต่อด้านใต้ป้อมมณีปราการ อยู่มุมกำแพง ฯ ด้านพระตะวันออกข้างใต้ป้อมพิศาลสีมา อยู่บนกำแพง ฯ ด้านทิศใต้ตรงกับวัดพระเชตุพน อยู่ระหว่างประตูวิจิตรบรรจงกับประตูอนงคารักษ์ป้อมภูผาสุทัศน์ อยู่บนกำแพง ฯ ด้านทิศตะวันตกป้อมสัตตบรรพต อยู่มุมกำแพง ฯ ด้านตะวันตกข้างใต้ ริมประตูพิทักษ์บวรป้อมโสฬสศิลา อยู่บนกำแพง ฯ ด้านตะวันตก ใต้ประตูอุดมสุดารักษ์ป้อมมหาโลหะ อยู่บนกำแพง ฯ ด้านตะวันตก เหนือประตูอุดมสุดารักษ์ป้อมทัศนานิกร อยู่บนกำแพง ฯ ด้านตะวันตก สร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯป้อมพรหมอำนวยศิลป์ อยู่ริมน้ำเหนือท่าราชวรดิษฐ์ ปัจจุบันรื้อออกไปแล้วป้อมอินทรอำนวยศร อยู่ริมน้ำใต้ท่าราชวรดิษฐ์ ปัจจุบันได้รื้อออกไปแล้ว
อธิบายคำศัพท์ไขรา คือส่วนหลังคาที่ยื่นพ้นออกมาจากอาคารตอนหน้า ถ้าอยู่ที่จั่ว เรียกว่า ไขราหน้าจั่ว ถ้าอยู่ที่ปีกของอาคาร เรียกว่า ไขราปีกนกถ้าอยู่ตรงส่วนที่ยื่นของชั้นล่างสุดของยอดปราสาท มีเสาและทวยรองรับ เรียกว่า ไขรายอดปราสาทคูหาหน้านาง เป็นซุ้มโค้ง ประกอบด้วยลายแข้งสิงห์ ส่วนใหญ่อยู่ทางด้านหน้าของอาคาร ใต้หน้าบันช่อฟ้า คือส่วนของศูนย์หน้าบันตอนยอด ที่ทำเป็นรูปโค้งซุ้มจระนำ คือซุ้มที่สร้างอยู่ท้ายอาคาร ประเภทโบสถ์ หรือวิหาร หรือสร้างอยู่ที่พระเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปซุ้มทรงมณฑป หมายถึง ซุ้มประตู หรือซุ้มหน้าต่างที่มียอดแหลม ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มีย่อมุมที่เสาและที่ฐาน ที่ยอดแต่ละชั้นมีซุ้มบันแถลงเล็ก ๆ ประดับซุ้มบันแถลง คือซุ้มประตูหรือซุ้มหน้าต่าง ที่มีลักษณะเหมือนหน้าบัน ประกอบด้วยช่อฟ้า ใบระเล็กๆ หน้าบันนี้ซ้อนกัน ๒ ชั้น ซุ้มดังกล่าวจะตั้งอยู่บนเสาและฐานที่เป็นกรอบหน้าต่างซุ้มเรือนแก้ว คือซุ้มที่มีกรอบเป็นลวดลาย จะเป็นลายกระจัง หรือลายดอกไม้ก็ได้ ตัวอย่าง ได้แก่ ซุ้มเรือนแก้วพระพุทธชินราชฐานชุกชี แต่เดิมหมายถึงวัชรอาสน์ คำว่าชุกชี เป็นภาษาเปอร์เซีย แปลว่า ที่นั่ง ดังนั้นเมื่อมีการสร้างพระพุทธรูป จึงตั้งอยู่บนฐานชุกชีฐานไพที คือ ฐานบัวคว่ำบัวหงาย ที่ทำเป็นฐานรับเจดีย์หรือมณฑปฐานสิงห์ ของเดิมจากอินเดียทำเป็นรูปสิงห์รับที่นั่งจริง ๆ ต่อมาดินแดนในสุวรรณภูมิได้ ดัดแปลงรูปสิงห์ เป็นลายโค้ง คล้ายเท้าสิงห์ต่อจากเท้าสิงห์เป็นบัวและลูกแก้ว และบัวหงายมีหน้าราบเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมใหญ่ตัวลำยอง คือไม้ที่วางพาดทับแม่ เป็นส่วนของไม้ที่ใช้รับใบระกาทวย คือ ไม้ค้ำรอบรับปีกนกของหลังคา มีทั้งชนิดโค้งเป็นหัวพญานาค ปลายเป็นกนกม้วนและชนิดตรงประดับลายบราลี คือวัตถุที่ทำเป็นรูปหัวเม็ด กลึงเป็นลูกแก้ว ซ้อนเป็นชั้น ๆ มีด้ามปีกเป็นระยะ ที่สันหลังคาใบระกา คือส่วนของกนกที่ตั้งอยู่บนตัวลำยอง เป็นกรอบของหน้าบันปราสาททอง คือปราสาทที่ปิดทองตลาด ตั้งแต่ยอดซุ้มพระทวาร และซุ้มพระบัญชร ถ้าปิดทองและประดับกระจก โดยตลอดเรียกว่า ปราสาทศรีพระปรัศว์ คือเรือน หรือตัวตำหนักที่สร้างขนานกับตัวเรือนที่อยู่ ถ้าอยู่ทางซ้ายเรียกพระปรัศว์ซ้าย ถ้าอยู่ทางขวาเรียก พระปรัศว์ขวาพระแท่นราชบัลลังก์ คือพระแท่นประทับที่เสด็จออกขุนนางในห้องพระโรง พระแท่นนี้จะปักพระมหาเศวตฉัตรไว้พระแท่นลา คือพระแท่นที่ประทับ เป็นแท่นวางบนพื้นมุขกระสัน คือมุขที่ต่อตัวอาคารกับอาคารให้เดินถึงกันได้มุขเด็จ คือมุขที่สร้างอยู่ด้านหน้าของอาคาร ส่วนใหญ่สร้างเป็นมุขโถง แต่เป็นมุขลดที่เสด็จออกย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง หมายถึงการมีมุมด้านละสามมุม ดังนั้นถ้าเป็นทรงสี่เหลี่ยมก็จะมีสิบสองมุมเรือนจันทร์ ใช้เรียกอาคารที่สร้างแยกต่างหากจากเรือนที่อยู่ สร้างเป็นอาคารเล็ก ๆ ขวางกันเรือนที่อยู่ ลายดอกพุดตาน เป็นลายขบวนจีน คือ ลายดอกโบตั๋นของจีน แต่ไทยแปลงเป็นดอกกลมให้ใกล้เคียงกับดอกพุดตานของไทยสิงหบัญชร คือหน้าต่างที่เป็นซุ้มแบบซุ้มแหลมทรงมณฑป หรือลายดอกไม้ ฐานที่รับซุ้มเป็นฐานสิงห์ จะอยู่ตอนหน้าของอาคารเป็นที่เสด็จออกให้ขุนนางเฝ้า โดยให้เห็นพระองค์หางหงส์ คือกนกที่อยู่ส่วนปลายของหน้าบัน บางแห่งก็ทำเป็นรูปหัวพญานาค
| หน้าแรก | พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท | หมู่พระมหามณเฑียร | หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
| พระที่นั่งบริเวณสวนศิวาลัย | พระที่นั่งบรมพิมาน | ประตูรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง|