พระราชลัญจกรในด้านหน้าธนบัตร
ชนิดราคา  100 บาท  และ  500  บาท
แบบ  14 ชนิดราคา  1000  บาท  แบบ  15

loading picture loading picture
loading picture loading picture
            เป็นภาพพระราชลัญจกรประจำพระองค์  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช   มีลักษณะรูปไข่อยู่ภายในพระแสงจักร   ประกอบด้วยอักขระ  อุ  หรือ  เลข  9   อยู่ภายในพระแสงจักร   รอบพระแสงจักร มีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ   มีสัปตปฎลเศวตฉัตรอยู่เหนือพระแสงจักร   และตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์   ที่พระมหากษัตริย์ประทับ เพื่อรับน้ำอภิเศกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก   มีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน   โดยมีผู้แทนทั้งแปดทิศ   น้อมนำแผ่นดินและความเป็นใหญ่มาถวาย

ตราสัญลักษณ์ด้านหน้าธนบัตรที่ระลึก
ชนิดราคา  500  บาท ,  500  บาท  แบบพิเศษ  และ  50  บาท  แบบพิเศษ
loading picture loading picture
loading picture loading picture
            เป็นภาพตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ฉลองสิริราชสมบัติครบ  50  ปี   มีองค์ประกอบเป็นพระราชลัญจกร  ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   อยู่ตรงกลางภายใต้ตรามหาจักรี   และพระมหาพิชัยมงกุฎ   มีพานเครื่องสูง  2  ชั้น   มีช้าง  2  ข้าง  เป็นตราอยู่ภายใต้สัปตปฎลเศวตฉัตร   มีความหมาย   3   ประการ   ประการแรก ช้างเป็นพาหนะของพระจ้าแผ่นดิน   เปรียบได้กับประชาชน   หมายถึงพสกนิกร เทิดทูนและเชิดชูพระมหากษัตริย์ และพระบรมราชจักรีวงศ์   ขณะเดียวกัน   ก็อยู่เย็นเป็นสุขใต้ร่มฉัตร   ประการที่สอง ช้างเผือกเป็นช้างคู่พระบุญญาบารมีของพระมหากษัตริย์   ซึ่งจะมีส่วนช่วยหนุนแสนยานุภาพและพระปรีชาญาณ   ประการสุดท้าย ช้างยังเป็นสัญลักษณ์ที่เคยใช้เป็นธงชาติไทยในอดีต  และเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาว   เปรียบดังประเทศไทยที่มีอายุและประวัติศาสตร์อันยาวนาน

ตราสัญลักษณ์ในด้านหน้าธนบัตรที่ระลึก
ชนิดราคา   1,000  บาท
loading picture loading picture
            เป็นภาพตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา  6  รอบ  5  ธันวาคม  2542   มีองค์ประกอบเป็นตราอักษรพระปรมาภิไธย  ย่อ  ภ.ป.ร.   เหนืออักษรมีเลข  ๙   อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ   ประดิษฐานเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์   ล้อมรอบด้วยพระแสงจักร   หมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่  ๙   แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์   ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจของคนไทยทั้งชาติ   ทรงเป็นที่ยึดเหนี่ยวและเคารพบูชาอย่างสูงสุดของประชาชน   เส้นกรอบนอกมีลักษณะเป็น   4   แฉก   แสดงความหมายแทนพสกนิกรชาวไทยทั่วทุกภาค   ที่อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระองค์ ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข   ดอกบัว  4  ดอก   ที่แทรกตรงกลางระหว่างแฉก   แสดงความหมายเป็นการเทิดทูนบูชา ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา   6   รอบ   ส่วนรัศมีโดยรอบตราสัญลักษณ์ เปรียบดังพระบุญญาบารมี   พระมหากรุณาธิคุณ   และน้ำพระราชหฤทัยที่แผ่ไพศาลไปทั่วทุกทิศ ทั้งในและต่างประเทศ   ยังความปลาบปลื้มมาสู่ประชาชนทุกหมู่เหล่า

 ตราธนาคารในด้านหน้าและด้านหลัง
บัตรธนาคาร   ชนิด  60  บาท

loading picture loading picture loading picture
             เป็นภาพตราธนาคารแห่งประเทศไทย   ซึ่งพระพรหมพิจิตรเป็นผู้ออกแบบ   โดยนำรูปพระสยามเทวาธิราช ที่ปรากฏในเหรียญเสี้ยว  อัฐ  และโสฬส   สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ   เป็นต้นแบบ   เป็นพระรูปประทับบนโล่ห์ตราแผ่นดิน   ทรงสายธุรำเฉวียงบ่าจากซ้ายมาขวา   ทรงหันพระพักตรไปทางเบื้องขวา   และปรับปรุงให้พระหัตถ์ซ้ายทรงพระแสงธารพระกร   อันมียอดเป็นรูปดอกบัว   ส่วนพระหัตถ์ขวาทรงถุงเงิน   ซึ่งรวมหมายถึงการป้องกันและคุมเงินของประเทศ