| หน้าต่อไป |

อนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถานจากสมรภูมิต่างๆ

.....เพลงชาติไทย .....


ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทยเป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล 
...ฯลฯ ...
ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะมิให้ใคร่ข่มขี่ สละเลือดทุกหยาดเพื่อชาติพลี 
...ฯลฯ ...

ผู้สามารถสละเลือดเนื้อและร่างกายของตนเพื่อปกป้องเอกราชอธิปไตยของชาติ
ถือได้ว่าเป็นผู้กล้าที่หาได้โดยยาก ด้วยเป็นการเสียสละอย่างสูงสุด
ทั้งเป็นบุคคลที่มีบุญคุณอย่างยิ่งแก่คนทั้งชาติ
(พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จระเจ้าอยู่หัว)

อนุสรณ์สถานแห่งชาติ


ณกรุงเทพมหานคร

           สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระมหาวีรกษัตรยาธิราชเจัาของชาวไทย บรรดาวีรชนไทยทั้งวีรบุรุษ วีรสตรี ที่ได้สละ เนื้อชีวิตและความลำบากยากเข็ญแสนสาหัส เพื่อปกป้องแผ่นดินไทยจากอริราชศัตรูให้ไทยได้คงเป็นไทมาถึง ทุกวันนี้ ทำให้ชาติไทยดำรงความเป็นเอกราช อธิปไตยมีสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐมั่นคง ยืนนานมาจนตราบถึงทุกวันนี้
           เป็นสถานที่บรรจุอัฐิ จารึกนามผู้กล้าหาญและเสียสละเพื่อชาติ จารึกวีรกรรมของเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่ชาติไทยได้ฟันฝ่ามาเป็นพิพิธภัณท์สงคราม ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต ติดกับถนนพหลโยธินตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่าอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมื่อ ๒๕มี.ค.๒๖ และได้ทรงประกอบ พิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ ๒๐ ก.ค.๒๖ และได้ทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อ๒ ก.ค.๓๗
           วัตถุประสงค์ของการสร้างอนุสรณ์สถานแห่งชาติ
               ๑.  เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียสละชีวิตเพื่อประเทศชาติ และจารึกนามผู้กล้าหาญเหล่านี้ไว้ให้สถิตถาวรสืบไป
               ๒.  เพื่อเป็นสถานที่แสดงประวัติวีรกรรม และเหตุการณ์รบครั้งสำคัญต่างๆ
               ๓.  เพื่อเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนให้ประชาชนได้ตระหนักถึงภัยที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตอันเป็นผลกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
               ๔.  เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้ และพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป

           การดำเนินการจัดสร้าง หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินการจัดสร้างอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว กองบัญชาการทหารสูงสุดจึงได้ดำเนินการจัดสร้างและตกแต่งอนุสรณ์สถานแห่งชาติจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จมาประกอบพิธีเปิดอนุสรณ์สถานแห่งชาติเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๗
           อนุสรณ์สถานแห่งชาติประกอบด้วย ส่วนสำคัญ ๕ ส่วนคือ
               ส่วนที่ ๑  ลานประกอบพิธี
               ส่วนที่ ๒  อาคารประกอบพิธี
               ส่วนที่ ๓  อาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร
               ส่วนที่ ๔  อาคารภาพปริทัศน์
               ส่วนที่ ๕  ภูมิสถาปัตยกรรมและพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง
ลานประกอบพิธี

            สร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๖ เป็นลานกว้าง ๓๕ เมตร ยาว ๗๐เมตร ใช้สำหรับตั้งแถวทหารกองเกียรติยศได้ ๑ กองร้อย เพื่อต้อนรับประมุขหรือบุคคลสำคัญของประเทศและของต่างประเทศที่มาเยือนอนุสรณ์สถานแห่งชาติอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ยังใช้สำหรับวางพวงมาลาในพิธีสำคัญต่างๆ บนลานประกอบพิธีประดับธงกองบัญชาการทหารสูงสุด ธงกองทัพบก ธงกองทัพเรือธงกองทัพอากาศ ธงกรมตำรวจ และธงกองอาสารักษาดินแดน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนหน่วยพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ร่วมกันประกอบวีรกรรมเพื่อชาติ ส่วนด้านข้างประดับธงชาติไทยสลับกับธงชาติของประเทศที่มาเยือนด้านละ ๑๐ ธง

| หน้าต่อไป | บน |