| ย้อนกลับ |

อนุสาวรีย์การต่อสู้เพื่อเอาชนะผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์


อนุสาวรีย์วีรกรรมทหารกล้า
ณ ค่ายเอราวัณ จ.ลพบุรี

อนุสาวรีย์วีรชน
ณ ค่ายกฤษณ์สีวะรา จ.สกลนคร

อนุสาวรีย์เราสู้
ณ หมู่บ้านโนนดินแดง จ.บุรีรัมย์


หลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อ ต.ค.๑๖ และ ต.ค.๑๙ ผู้ที่ต่อต้านรัฐบาลได้พากันไปร่วมกับ พ.ค.ท. เป็นจำนวนมาก พ.ค.ท. จึงได้ดำเนินการจากขึ้นการรับไปสู่ขึ้นการรับและนำไปสู่ขึ้นการรุกตามลำดับ แต่เนื่องจากสถานการณ์ การเมืองระหว่างประเทศเกิดการขัดแย้งระหว่างจีนและเวียดนาม เวียดนามได้ส่งกำลังเข้ายึดกัมพูชา เมื่อ ธ.ค.๒๑ เวียดนามตัดความช่วยเหลือ พ.ค.ท. และลาวได้ไล่ พ.ค.ท. ออกจากประเทศ ทำให้ พ.ค.ท. ขาดการสนับสนุนที่สำคัญ ประกอบกับผู้นำของ พ.ค.ท. แตกแยกทางความคิด ทำให้มีผู้ทะยอยกับออกจากป่า ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๒ สถานการณ์ ฝ่าย พ.ค.ท. ทรุดหนักลง



อนุสาวรีย์กล้ากลางสมร
ณ ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ จ.นครราชสีมา

อนุสาวรีย์แห่งความเสียสละ
ณ ค่ายศรีพัชรินทร์ จ.ขอนแก่น

อนุสาวรีย์วีรชน อาสาสมัครทหารพราน ฯ
ณ ค่ายปักธงชัย จ.นครราชสีมา


รัฐบาลไทยได้ประกาศนโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ เมื่อ ๒๓ เม.ย.๒๓ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๖๖/๒๓ เป็นการรุกทางการเมืองที่ได้ผลดีเป็นอย่างมาก ในระยะปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๔ พ.ค.ท. ถูกโดดเดี่ยวจากมวลชน จากมวลชนในประเทศ และจากต่างประเทศที่เคยสนับสนุน ต่อมาได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๖๕/๒๕๒๕ ลง ๒๗ พ.ค.๒๕  เรื่องแผนรุกทางการเมือง มีการจัดตั้งหน่วยสันตินิมิตร และศูนย์การูญเทพ เปิดโอกาสใน ผกค.มาเป็นผู่ร่วมพัฒนาชาติไทย



อนุสาวรีย์วีรชนอำเภอน้ำโสม
ณ หมู่บ้านนาวัน อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี

อนุสาวรีย์พลเรือน ตำรวจ ทหาร
ณ กม.87 ทางหลวงสาย จ.น่าน อ.ทุ่งช้าง

อนุสรณ์ผู้เสียสละ พตท. 2324
ณ ค่ายขุนจอมธรรม จ.พะเยา


รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ และได้ถูกยกเลิกไป เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ ต่อมาได้ตราพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙  ต่อมาได้ตราพระราชบัญญัติป้องกัน การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ และได้มีการประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศเพื่อปราบปรามผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์อย่างจริงจัง รัฐบาลได้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (กรป.กลาง) ขึ้นเมื่อ ๑๐ เม.ย.๐๕ เพื่อรับผิดชอบในการป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาท้องถิ่นต่อมาได้จัดตั้ง กองบัญชาการปราบปรามคอมมิวนิสต์ขึ้นเอง ธ.ค.๐๘ แยกออกมาจาก กรป.กลาง และได้เปลี่ยนชื่อเป็นกองอำนวยการ กลางปราบปรามคอมมิวนิสต์ (กอ.ปค.) เมื่อ พ.ศ.๑๒ โดยใช้กำลังพลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท.) และได้แปรสภาพเป็น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗
รัฐบาลได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดในการปราบปราม ผกค. พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ การปฏิบัติตามแนวทางสงครามประชาชนได้ยุติลงอย่างสิ้นเชิง เมื่อ ปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๘

| ย้อนกลับ |