| หน้าต่อไป |

ไทยกับสงครามมหาเอเซียบูรพา

loading picture
สถานการณ์ก่อนสงคราม

            เมื่อเยอรมันยกกองทัพเข้าบุกโปแลนด์   และได้มีการประกาศสงครามขึ้นในยุโรป
ระหว่างฝ่ายอักษะกับฝ่ายสัมพันธมิตร
            ทางซีกโลกด้านตะวันออก  ญี่ปุ่นได้ประจักษ์แน่ชัดว่า  สงครามโลกครั้งที่สอง จะต้องเกิดขึ้นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง  เป็นโอกาสที่ญี่ปุ่น  จะบุกเข้าทางดินแดนในอาณานิคมของชาติผิวขาว ในทวีปเอเซีย  จึงได้ให้กองทัพญี่ปุ่นยับยั้งการรบในประเทศจีน ที่ได้ดำเนินมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2475  โดยได้มีการดำเนินการดังนี้
                1.  การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์  ได้จัดส่งผู้สืบราชการลับ  และหน่วยทำลายจำนวนแสนคน  ออกปฏิบัติการใต้ดิน ทั่วดินแดนในย่านมหาสมุทรแปซิฟิค  ตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา
ถึงออสเตรเลีย และบรรดาหมู่เกาะทั้งหลายในย่านนี้  ตลอดทั้งฮ่องกง  ฟิลิปปินส์   อินโดจีน  พม่า  มลายู  อินเดีย  และประเทศไทย
                2.  จัดแบ่งกำลังกองทัพสนาม ซึ่งมีอยู่ 51 กองพลใหญ่  โดยจัดเป็นกำลังตรึงในดินแดนประเทศจีน  แมนจูเรีย และเกาหลี 25 กองพล  ส่วนที่เหลือจัดเป็นกำลังสู้รบตามแผนการลงใต้ บุกเอเซียอาคเนย์
                3.  วางแผนการจู่โจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกา ที่เกาะฮาวาย  เพื่อตัดกำลังการสู้รบทางเรือ เพื่อมิให้ต้องผจญยุทธนาวีของจักรภพอังกฤษ และสหรัฐอเมริการ่วมกัน ซึ่งจะเป็นการเหลือกำลังของ กองทัพญี่ปุ่นที่จะรับมือได้
                4.  ทำสัญญาไม่รุกรานกับสหภาพโซเวียต รัสเซีย เป็นเวลา 5 ปี  เมื่อเดือนกันยายน 2484
                5.  เตรียมการยึดอินโดจีน เป็นฐานทัพเรือ และฐานทัพอากาศ โดยทำสัญญากับรัฐบาล วิธีของฝรั่งเศส เพื่อใช้เมืองฮานอย ไฮฟอง คัมราน และไซ่ง่อน  เป็นฐานทัพ ส่งกำลังทหารบกขึ้นอินโดจีน เพื่อยึดหัวหาดจะได้เคลื่อนกำลังเข้าประเทศไทย  พม่า และมลายูได้สดวก กับทั้งเป็นการย่นระยะทางการทิ้งระเบิด จากเกาะญี่ปุ่นถึงสิงคโปร์ เหลือเพียง 600 กิโลเมตร
loading picture loading picture
                6.  ทำสัญญาไม่รุกรานกับประเทศไทยเพื่อลวงให้ตายใจ  ซึ่งได้เซ็นสัญญากันเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2483  ในขณะที่รัฐบาลไทยได้ทำสัญญาไม่รุกรานกับฝรั่งเศส  และอังกฤษ ที่กรุงเทพ ฯ ในวันเดียวกัน  แต่ญี่ปุ่นขอแยกเซ็นสัญญาที่กรุงโตเกียว
                7.  กำหนดการเข้าโจมตียึดครองประเทศอาณานิคมในเอเซียอาคเนย์ ในเดือนธันวาคม
เพื่อให้พ้นฤดูมรสุม  เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการสู้รบ  ครั้งแรกได้กำหนดไว้ ณ วันที่ 5 ธันวาคม  แต่ได้เปลี่ยนมาเป็น วันที่ 8 ธันวาคม  เพื่อให้ตรงกับวันหยุดสุดสัปดาห์ ที่ชาวตะวันตกถือเป็นวันพักผ่อนสำคัญ

การเตรียมการของไทย
loading picture
            รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นถึงแผนการถอนกำลังทหารญี่ปุ่น 25 กองพล จากประเทศจีน เพื่อระดมกำลังเตรียมบุก  อาณานิคมของชาติตะวันตกในเอเซียอาคเนย์   เห็นว่าไทยคงหลีกสงครามไปไม่พ้น  จะต้องเตรียมสืบเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวของฝรั่งเศส  ตามชายแดนในเขตเขมรและลาว จึงได้จัดตั้งโรงเรียนสืบราชการลับขึ้น โดยความร่วมมือกันระหว่างทหารและตำรวจ เร่งปรับปรุงกองทัพทั้งกองทัพบก  และกองทัพเรือ   กับได้ยกฐานะกรมทหารอากาศขึ้นเป็นกองทัพอากาศ
            ด้านกองทัพบก  ได้ปรับปรุง กองทัพ  กองพล  เป็นหน่วยรบอย่างครบถ้วน วางแผนการระดมพล ขยายกำลังอัตราศึกไว้พร้อม  เปิดโรงเรียนเสนาธิการขึ้นใหม่ ขยายหลักสูตรโรงเรียนนายร้อยขึ้นเป็น ระดับโรงเรียนเทคนิค  ปรับปรุงศูนย์การทหารปืนใหญ่ ให้มีเครื่องอุปกรณ์การฝึกยิงแบบทันสมัย ขยายโรงงานสรรพาวุธ ให้สามารถสร้างอาวุธ  ปืนเล็ก  ปืนกล และกระสุนขึ้นใช้ได้เอง ตั้งโรงเรียนแพทย์ทหารบกขึ้น เพื่อใช้ในราชการในยามฉุกเฉิน ตั้งกรมเชื้อเพลิงและโรงกลั่นน้ำมันขึ้น จนเป็นเรื่องที่ต้องวิวาทกับบริษัทอังกฤษและอเมริกา ถึงขั้นแตกหักต้องเลิกกิจการไป
นอกจากนี้ยังได้สั่งซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยจาก เยอรมัน สวีเดน และอิตาลี อย่างครบครัน
            ด้านกองทัพเรือ ได้สั่งต่อเรือรบที่ญี่ปุ่น และอิตาลี  มีทั้งเรือฟรีเกต เรือบึน เรือตอร์ปิโด และเรือดำน้ำ เป็นจำนวนมาก  ได้ปรับปรุงสถานีทหารเรือที่สัตหีบ เพื่อใช้เป็นฐานทัพ สร้างโรงเรียนนายเรือใหม่  นับว่าเป็นกองทัพเรือที่ทันสมัยมากในเวลานั้น
            ด้านกองทัพอากาศ  เมื่อได้ยกระดับกรมทหารอากาศขึ้นเป็นกองทัพอากาศแล้ว ก็ได้สั่งซื้อเครื่องบินประเภทต่าง ๆ จากสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก จัดเป็นฝูงบินรบและกองบินน้อยขึ้น ในหลายจังหวัด สร้างโรงงานซ่อมเครื่องบิน และประกอบลูกระเบิดขึ้นเอง
            นอกจากการสร้างเสริมกำลังทั้งสามเหล่าทัพในด้านวัตถุแล้ว ในด้านคน ก็ได้จัดส่งนายทหารไปศึกษา และดูงานการทหารในต่างประเทศอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งกำลังพลเหล่านี้ได้กลับมา เป็นกำลังสำคัญของกองทัพต่อไป
loading picture             การจัดตั้งยุวชนทหาร  เป็นการสร้างพลเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชนให้เป็นทหารที่แกร่งกล้า มีความรักชาติ  มีระเบียบวินัย  เป็นพลเมืองกระดูกเหล็ก  เป็นทหารใจเพชร  มีความสำนึกในหน้าที่ มีความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ
            นอกจากนี้ในการขยายกำลังรบในยามสงคราม จะต้องฝึกสอนเตรียมนายทหารและนายสิบเข้าตามอัตราศึก ในเวลาระดมพลให้มีจำนวนเพียงพอ ในระดับผู้บังคับหมวด และผู้บังคับหมู่ การฝึกกำลังพลดังกล่าว อนุโลมตามแบบการฝึกนายทหารกองหนุนของสหรัฐอเมริกา และของประเทศอังกฤษ


| หน้าต่อไป | บน|