| หน้าแรก | ชาติไทย | ศาสนา | พระมหากษัตริย์ |

กฎบัตรสหประชาชาติ
--------------------------

เราบรรดาประชาชนแห่งสหประชาชาติ
ได้ตั้งเจตน์จำนง
            ที่จะช่วยชนรุ่นหลังให้พ้นจากภัยพิบัติแห่งสงคราม ซึ่งได้นำความวิปโยคอย่างสุดจะพรรณามาสู่มนุษย์ชาติในชั่วชีวิตของเราถึงสองครั้งแล้ว  และ
            ที่จะยืนยันความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชน อันเป็นหลักมูลในเกียรติศักดิ์และคุณค่าของมนุษยบบุคคล ในสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตริ และของประชาชาติใหญ่น้อย และ
            ที่จะสถาปนาภาวะการณ์ อันจะธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและความเคารพต่อข้อผูกพันทั้งปวงอันเกิดมาจากสนธิสัญญา และ ที่มาอื่น ๆ ของกฎหมายระหว่างประเทศ และ
            ที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคม และมาตรฐาน อันดียิ่งขึ้นแห่งชีวิตในอิสรภาพที่กว้างขวางยิ่งขึ้น  และเพื่อจุดหมายปลายทางเหล่านี้
            ที่จะปฏิบัติการผ่อนสั้นผ่อนยาว และดำรงชีวิตอยู่ด้วยยกันในสันติภาพเยี่ยงเพื่อนบ้านที่ดึ และ
            ที่จะรวมกำลังของเราเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และ
            ที่จะให้ความแน่นอนใจว่า จะไใม่มีการใช้กำลังอาวุธ นอกจากเพื่อประโยชน์ร่วมกัน โดยการยอมรับหลักการและวิธีการที่จะตั้งขึ้น และ
            ที่จะใช้จักรกลระหว่างประเทศสำหรับส่งเสริมความรุดหน้าในทางสังคมและเศรษฐกิจของประชาชนทั้งปวง

จึงได้ลงมติที่จะผสมผสานความพยายามทั้งปวงของเรา
ในอันที่จะให้สำเร็จผลตามมุ่งหมายเหล่านี้
            โดยนัยนี้ รัฐบาลของเราโดยลำดับจึงได้ตกลงกันตามกฎบัตรสหประชาชาติฉบับปัจจุบันนี้ โดบทางผู้แทนที่มาร่วมชุมนุมในนครซานฟรานซิสโก ผู้ซึ่งได้แสดงหนังสือมอบอำนาจเต็มของตนอันได้ตรวจแล้วว่าเป็นไปตามแบบที่ดีและเหมาะสม และ ณ ที่นี้ จึงสวถาปนาองค์การระหว่างประเทศขึ้น โดยเรียกชื่อว่า สหประชาชาติ

หมวดที่ ๑   ความมุ่งหมายและหลักการ

มาตรา ๑

ความมุ่งหมายของสหประชาชาติ
            ๑. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมุ่งต่อจุดหมายปลายทางอันนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันอันมีผลจริงจังเพื่อการป้องกันและการขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ และเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธีและสอดคล้องกับหลักการแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งกสารปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศอันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้
            ๒. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวง โดยยจึดการเคารพต่อหลักการแห่งสิทธิที่เท่าเทียมกันและการกำหนดเจตน์จำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐาน และจะได้ดำเนินมาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น ๆ เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล
            ๓. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษย์ธรรม และส่งเสริมและสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพอันเป็นหลักมูลสำหรับทุก ๆ คน โดยปราศจากความแตกต่างในทางเชื้อชาติ เพศ ภาษ หรือศาสนา และ
            ๔. เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับประสานการดำเนินการของสหประชาชาติทั้งปวง ในอันที่จะบรรลุสู่จุดมุ่งหมายปลายทางร่วมกันเหล่านี้ให้กลมกลีนนกัน

มาตรา ๒

            เพื่ออนุวัติตามความมุ่งหมายดังกล่าวในมาตรา ๑ องค์การและสมาชิกขององค์การจะดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักการดังต่อไปนี้
            ๑. องค์การย่อมยึดหลักการแห่งความเสมอภาคในอธิปไตยของสมาชิกทั้งปวงเป็นมูลฐาน
            ๒. เพื่อทำความแน่ใจให้แก่สมาชิกในสิทธิและผลประโยชน์อันพึงได้รับจากสมาชิกภาพ สมาชิกทั้งปวงจะต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันตามกฎบัตรฉบับปัจจุบันนี้โดยสุจริตใจ
            ๓. สมาชิกทั้งปวงจะต้องระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศของตนโดยสันติวิธี ในลักษณาการเช่นที่จะไม่เป็นอันตรายแก่สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศและความยุติธรรม
            ๔. ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สมาชิกทั้งปวงจักต้องละเว้นการคุกคามหรือการใช้กำลังต่อบูรณะภาพแห่งอาณาเขต หรือเอกราชทางการเมืองของรัฐใด ๆ หรือการกระทำในลักษณาการอื่นใดที่ไม่สอดคล้องกับความมุ่งหมายของสหประชาชาติ
            ๕. สมาชิกทั้งปวงจักให้ความช่วยเหลือทุกประการแก่สหประชาชาติอในการกระทำใด ๆ ที่ได้ดำเนินไปตามกฎบัตรฉบับปัจจุบัน และจักละเว้นการการให้ความช่วยเหลือแก่รัฐใด ๆ ที่กำลังถูกสหประชาชาติดำเนินการป้องกันหรือหรือยังคับอยู่
            ๖. องค์การจักให้ความแน่นอนใจว่า รัฐที่มิใช่สมาชิกของสหประชาชาติบจะพึงต้องปฏิบัติตามหลักการเหล่านี้เท่าที่จำเป็นแก่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
            ๗. ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน จะให้อำนาจแก่สหประชาชาติเข้าแทรกแซงในเรื่องซึ่งโดยสาระสำคัญแล้วบตกอยู่ในเขตอำนาจภายในของรัฐ หรือจักเรียกร้องสมาชิกให้เสนอเรื่องเช่นว่าเพื่อจัดระงับตามกฎบัตรฉบับปัจจุบันนี้ แต่หลักการอันนี้จะไม่กระทบกระเทือนถึงการใช้มาตรการบังคับตามความในหมวดที่ ๗

หมวดที่ ๒   สมาชิกภาพ

มาตรา ๓

            สมาชิกดั้งเดิมของสหประชาชาติได้แก่รัฐซึ่งได้ร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยองค์กรระหว่างประเทศที่ซานฟรานซิสโก หรือได้ลงนามไว้ก่อนในปฏิญญาโดยสหประชาชาติ ลงวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ.๑๙๔๒ แล้ว ได้ลงนามในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน แลลให้สัตยาบันตามความในมาตรา ๑๑๐

มาตรา ๔

            ๑. สมาชิกภาพแห่งสหประชาชาติ เปิดให้แก่รัฐที่รักสันติภาพทั้งปวง ซึ่งยอมรับข้อผูกพันที่มีอยู่ในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน และในความวินิจฉัยขององค์การ มีความสามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันเหล่านี้
            ๒. การรับนรัฐใด ๆ เช่นว่านั้นเข้าเป็นสมาชิอกแห่งสหประชาชาติจะเป็นผลก็แต่โดยมติของสมัชชาตามคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคง

มาตรา ๕

            สมาชิกแห่งสหประชาชาติที่ได้ถูกคณะมนตรีความมั่นคงดำเนินการในทางป้องกันหรือบังคับ อาจถูกสมัชชาสั่งงดใช้สิทธิและเอกสิทธิแห่งสมาชิกภาพได้ โดยคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีความมั่นคงอาจคืนการใช้สิทธิและเอกสิทธิเหล่านี้ให้ได้

มาตรา ๖

            สมาชิกแห่งสหประชาชาติซึ่งได้กระทำการฝ่าฝืนหลักการอันมีอยู่ในกฎบัตรฉบับปัจจุบันอยู่เป็นเนืองนิจ อาจถูกขับไล่ออกจากองค์การ โดยสมัชชาตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีความมั่นคง

หมวดที่ ๓    องค์กร

มาตรา ๗

            ๑. องค์กรสำคัญของสหประชาชาติที่ได้สถาปนาขึ้นมี  สมัชชา คณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และสำนักเลขาธิการ
            ๒. องค์กรย่อยเช่นที่จะเห็นจำเป็น อาจสวถาปนาขึ้นได้ตามกฎบัตรฉบับปัจจุบัน

มาตรา ๘

            สหประชาชาติจักไม่วางข้อกำกัดในการรับบุรุษ และสตรีเข้าร่วมในองค์กรสำคัญ และองค์กรย่อยไม่ว่าในฐานะใด ๆ และต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งความเสมอภาค

หมวดที่ ๔   สมัชชา

องค์ประกอบ

มาตรา ๙

            ๑.สมัชชาประกอบด้วยสมาชิกทั้งปวงของสหประชาชาติ
            ๒. สมาชิกแต่ละประเทศจะมีผู้แทนในสมัชชาได้ไม่มากกว่า ๕ คน

หน้าที่และอำนาจ

มาตรา ๑๐

            สมัชชาอาจอภิปรายปัญหาใด ๆ หรือเรื่องใด ๆ ภายในกรอบแห่งกฎบัตรฉบับปัจจุบัน หรือที่เกี่ยวโยงไปถึงอำนาจหน้าที่ ขององค์กรใดๆ ตามที่บัญญัติไว้ในกฎบัตรฉบัยปัจจุบันได้ และอาจทำคำแนะนำไปยังสมาชิกแห่งสหประชาชาติ หรือคณะมนตรีความมั่นคง หรือทั้งสองแห่ง ในปัญหาหรือเรื่องราวใดๆ เช่นที่ว่านั้นได้ เว้นแต่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒

มาตรา ๑๑

            ๑. สมัชชาอาจพิจารณาหลักการทั่วไปแห่งความร่วมมือในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งหลักการในเรื่องการลดอาวุธ และข้อบังคับว่าด้วยกำลังอาวุธ และอาจทำคำแนะนำเกี่ยวกับหลักการเช่นว่า ไปยังสมาชิกหรือคณะมนตรีความมั่นคง หรือทั้งสองแห่งก็ได้
            ๒.  สมัชชาอาจอภิปรายปัญหาใด ๆ เกี่ยวกับการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ อันได้เสนอต่อสมัชชา โดยสมาชิกใด ๆ ของสหประชาชาติ ตามความในมาตรา ๓๕ วรรค ๒ และเว้นแต่ที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒ อาจทำคำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาใดๆ เช่นว่านั้น ไปยังรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือคณะมนตรีความมั่นคง หรือทั้งสองแห่งก็ได้ สมัชชาจักส่งปัญหาใดๆ เช่นว่า ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดำเนินการไปยังคณะมนตรีความมั่นคง จะเป็นก่อนหรือหลังการอภิปรายก็ได้
            ๓.  สมัชชาอาจแจ้งให้สคณะมนตรีความมั่นคงทราบสถานการณ์ ซึ่งน่าจะเป็นอันตรายต่อสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศได้
            ๔.  อำนาจของสมัชชาตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้  จักไม่จำกัดขอบเขตทั่วไปของมาตรา ๑๐

มาตรา ๑๒

            ๑.  ในขณะที่คณะมนตรีความมั่นคงกำลังปฎิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกรณีพิพาท หรือสถานการณ์ใดๆ อันได้รับมอบหมายตามกฎบัตรฉบับปัจจุบันอยู่นั้น สมัชชาจะไม่ทำคำแนะนำใด ๆ เกี่ยวกับกรณีพิพาท หรือสถานการณ์นั้น นอกจากคณะมนตรีความมั่นคงจะร้องขอ
            ๒.  โดยความยินยอมของคณะมนตรีความมั่นคง เลขาธิการจักต้องแจ้งให้สมัชชาทราบทุกสมัยประชุม ถึงเรื่องราวใดๆ เกี่ยวกับการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงกำลังดำเนินการอยู่ และโดยทำนองเดียวกัน จักต้องแจ้งสมัชชาหรือสมาชิกของสหประชาชาติ ในกรณีที่สมัชชามิได้อยู่ในสมัยประชุม ให้ทราบในทันทีที่คณะมนตรีความมั่นคง หยุดดำเนินการกับเรื่องเช่นว่านั้น

มาตรา ๑๓

            ๑.  ให้สมัชชาริเริ่มการศึกษาและทำคำแนะนำ เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะ
                ก.  ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการเมือง และสนับสนุนพัฒนาการก้าวหน้าของกฎหมายระหว่างประเทศ และการจัดทำประมวลกฎหมายนี้
                ข.  ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม การศึกษาและอนามัย และช่วยเหลือให้ประจักษ์ผลในสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพอันเป็นหลักมูลสำหรับทุกคน โดยปราศจากความแตกต่างในทางเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา
            ๒.  ความรับผิดชอบ หน้าที่ และอำนาจต่อไปของสมัชชา เกี่ยวกับเรื่องที่ระบุไว้ในวรรค ๑ ข้อ ข. ข้างต้น ได้มีกำหนดไว้ในหมวดที่ ๙ และ ๑๐
มาตรา๑๔

            ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๒ สมัชชาอาจแนะนำมาตราการเพื่อการปรับปรุงโดยสันติ แห่งสถานการณ์ใดๆ ซึ่งเห็นว่าน่าจะเสื่อมเสียแก่สวัสดิการทั่ว ๆ ไป หรือสัมพันธไมตรีระหว่างนานาชาติ รวมทั้งสถานการณ์ซึ่งเป็นผลมาจาก การละเมิดบทบัญญัติแห่งกฎบัตรฉบับปัจจุบัน อันได้กำหนดความมุ่งหมายและหลักการของสหประชาชาติไว้ ทั้งนี้โดยมิพึงต้องคำนึงถึงแหล่งกำเนิด

มาตรา ๑๕

            ๑.  สมัชชาจักรับและพิจารณารายงานประจำปี และรายงานพิเศษจากคณะมนตรีความมั่นคง รายงานเหล่านี้จักรวมเรื่องราวของมาตราการทั้งหลาย ที่คณะมนตรีความมั่นคงได้วินิจฉัย หรือดำเนินการไปเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ
            ๒.  สมัชชาจักรับและพิจารณารายงานจากองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาติ

มาตรา ๑๖

            สมัชชาจักปฎิบัติหน้าที่เกี่ยวกับระบบภาวะทรัสตีระหว่างประเทศที่ได้รับมอบหมาย ตามความในหมวดที่ ๑๒ และ ๑๓ รวมทั้งการให้ความเห็นชอบแก่ความตกลงภาวะทรัสตี สำหรับดินแดนที่มิได้กำหนดไว้เป็นเขตยุทธศาสตร์

มาตรา ๑๗

            ๑.  สมัชชาจักพิจารณาและให้ความเห็นชอบแก่งบประมาณขององค์การ
            ๒.  สมาชิกเป็นผู้ออกค่าใช้จ้ายขององค์การตามส่วนที่สมัชชา จะได้กำหนดแบ่งปันให้
            ๓.  สมัชชาพิจารณาและให้ความเห็นชอบแก่ข้อตกลงทางการเงิน และงบประมาณกับทบวงการชำนัญพิเศษ ดังกล่าวไว้ในมาตรา ๕๗ และจักตรวจสอบงบประมาณฝ่ายธุระการของทบวงการชำนัญพิเศษดังกล่าว เพื่อที่จะทำคำแนะนำต่อทบวงการที่เกี่ยวข้อง

การลงคะแนนเสียง

มาตรา ๑๘

            ๑.  สมาชิกแต่ละประเทศของสมัชชาจักมีคะแนนเสียง ๑ คะแนน
            ๒.  คำวินิจฉัยของสมัชชาในปัญหาสำคัญ ๆ จักต้องกระทำโดยถือคะแนนเสียงข้างมาก ๒ ใน ๓ ของสมาชิก ที่มาประชุมและออกเสียง ปัญหาเหล่านี้จักรวมคำแนะนำเกี่ยวกับการธำรงไว้ ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การเลือกตั้งสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีภาวะทรัสตีตามมาตรา ๘๖ วรรค ๑ ข้อ ค. การรับสมาชิกใหม่ของสหรประชาชาติ การงดใช้สิทธิและเอกสิทธิแห่งสมาชิกภาพ การขับไล่สมาชิก ปัยหาที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของระบบภาวะทรัสตี และปัญหางบประมาณ
            ๓.  คำวินิจฉัยปัญหาอื่น ๆ รวมทั้งการกำหนดประเภทแห่งปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงข้างมาก ๒ ใน ๓ เพิ่มเติมขึ้น จักกระทำโดยอาศัยคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียง

มาตรา ๑๙

            สมาชิกของสหประชาชาติที่ค้างชำระค่าบำรุงแก่องค์การ ย่อมไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียงในสมัชชา ถ้าหากจำนวนเงินค้างชำระเท่า หรือมากกว่าจำนวนเงินค่าบำรุง ที่ถึงกำหนดชำระสำหรับ ๒ ปี เต็มที่ล่วงมา อย่างไรก็ตามสมัชชาอาจอนุญาตให้สมาชิกเช่นว่านั้น ลงคะแนนเสียงก็ได้ ถ้าทำให้เป็นที่พอใจได้ว่า การไม่ชำระนั้นเนื่องมาแต่ภาวะอันอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของสมาชิกนั้น

วิธีดำเนินการประชุม

มาตรา ๒๐

            สมัชชาจักประชุมกันในสมัยสามัญประจำปี และในสมัยพิเศษเช่นที่จำเป็นแก่โอกาส สมัยประชุมพิเศษจักเรียกโดยเลขาธิการ ตามคำร้องขอของคณะมนตรีความมั่นคง หรือของสมาชิกส่วนข้างมากแห่งสหประชาชาติ

มาตรา ๒๑

            สมัชชาจักรับเอาข้อบังคับระเบียบการประชุมของตนเอง ทั้งจักเลือกตั้งประธานสมัชชาสำหรับแต่ละสมัยประชุมด้วย

มาตรา ๒๒

สมัชชาอาจสถาปนาองค์กรย่อย เช่นที่เห็นจำเป็นสำหรับการปฎิบัติหน้าที่ของตนก็ได้

หมวดที่ ๕   คณะมนตรีความมั่นคง

องค์ประกอบ

มาตรา ๒๓

            ๑.  คณะมนตรีความมั่นคง ประกอบด้วยสมาชิกแห่งสหประชาชาติ ๑๑ ประเทศ สาธารณรัฐจีน ฝรั่งเศส สหภาพแห่งสาธารณรัฐโซเวียตโซเชียลลิสต์ สหราชอาณาจักรแห่งบริเตนใหญ่ และไอร์แลนด์เหนือ และสหรัฐอเมริกา เป็นสมาชิกประจำของคณะมนตรีความมั่นคง สมัชชาจักเลือกตั้งสมาชิกอื่นของสหรประชาชาติอีก ๖ ประเทศ เป็นสมาชิกไม่ประจำ ของคณะมนตรีความมั่นคงทั้งนี้จักต้องคำนึงเป็นพิเศษ ในประการแรกถึงส่วนอุดหนุนของสมาชิก แห่งสหประชาชาติ ในการที่จะธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ และวัตถุประสงค์อื่นขององค์การ กับทั้งการแจกกระจายตามเขตภูมิศาสตร์ อันเป็นธรรมอีกด้วย
            ๒.  สมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง จักได้รับเลือกตั้งมีกำหนดระยะเวลา ๒ ปี ในการเลือกตั้งครั้งแรกของสมาชิก ไม่ประจำจักมีประเทศที่ถูกเลือกให้อยู่ในตำแหน่งมีกำหนด ๑ ปี รวม ๓ ประเทศ สมาชิกที่พ้นตำแหน่งไปแล้ว ไม่มีสิทธิเข้ารับเลือกตั้งซ้ำโดยทันที
            ๓.  สมาชิกแต่ละประเทศของคณะมนตรีความมั่นคง จักมีผู้แทนได้คนเดียว

หน้าที่และอำนาจ

มาตรา ๒๔

            ๑. เพื่อให้เป็นที่แน่นอนใจ ในการดำเนินการของสหประชาชาติอย่างทันท่วงที และเป็นผลจริงจัง สมาชิกของสหประชาชาติจึงมอบความรับผิดชอบโดยปฐมภูมิ สำหรับการดำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศให้แก่คณะมนตรีความมั่นคง และตกลงว่า ในการปฎิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบนี้ คณะมนตรีความมั่นคงย่อมกระทำในนามของสมาชิก
            ๒.  ในการปฎิบัติหน้าที่เหล่านี้ คณะมนตรีความมั่นคง จักทำให้เป็นไปตามความมุ่งหมาย และหลักการของสหประชาชาติ อำนาจเฉพาะที่มอบให้คณะมนตรีความมั่นคง สำหรับปฎิบัติหน้าที่เหล่านี้ ได้กำหนดไว้แล้วในหมวดที่ ๖,๗, ๘ และ ๑๒
            ๓.  คณะมนตรีความมั่นคงจักเสนอรายงานประจำปี และรายงานพิเศษในเมื่อจำเป็นต่อสมัชชาเพื่อให้พิจารณา

มาตรา ๒๕

            สมาชิกของสหประชาชาติตกลงที่จะยอมรับ และปฎิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคง ตามกฎบัตรฉบับปัจจุบัน

มาตรา ๒๖

            เพื่อที่จะส่งเสริมการสถาปนา และการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยการนำเอาทรัพยากรทางมนุษยชน และทางเศรษฐกิจของโลกมาใช้ เพื่อเป็นกำลังอาวุธให้น้อยที่สุด ให้คณะมนตรีความมั่นคงรับผิดชอบ ในการจัดรูปแผนผัง ที่จะเสนอต่อสมาชิกสหประชาชาติ สำหรับการสถาปนาระบบแห่งข้อบังคับว่าด้วยกำลังอาวุธ ทั้งนี้ด้วยความช่วยเหลือของคณะกรรมการเสนาธิการทหาร ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๔๗

การลงคะแนนเสียง

มาตรา ๒๗

            ๑.   สมาชิกแต่ละประเทศของคณะมนตรีความมั่นคง จะมีคะแนนเสียง ๑ คะแนน
            ๒.  คำวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคง ในเรื่องวิธีการดำเนินการ จักกระทำโดยคะแนนเสียงเห็นชอบของสมาชิก ๗ ประเทศ
            ๓. คำวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคง ในเรื่องอื่นทั้งหมดจักกระทำโดยคะแนนเสียงเห็นชอบ ของสมาชิก ๗ ประเทศ ซึ่งรวมคะแนนเสียงเห็นชอบของบรรดาสมาชิกประจำอยู่ด้วย แต่ว่าในคำวินิจฉัยตามหมวดที่ ๖ และตามวรรค ๓ ของมาตรา ๕๒ ผู้เป็นฝ่ายในกรณีพิพาท จักต้องงดเว้นจากการลงคะแนนเสียง

วิธีดำเนินการประชุม

มาตรา ๒๘

            ๑.  คณะมนตรีาความมั่นคง จักก่อตั้งขึ้นในลักษณะที่สามารถจะปฎิบัติหน้าที่ได้โดยต่อเนื่องเรื่อยไป เพื่อความมุ่งหมายข้อนี้ จึงให้สมาชิกแห่งคณะมนตรีความมั่นคง มีผู้แทนประจำอยู่ทุกเวลา ณ ที่ตั้งขององค์การ
            ๒.  คณะมนตรีความมั่นคง จะประชุมกันเป็นครั้งคราว ซึ่งเมื่อปรารถนา สมาชิแต่ละประเทสก็อาจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล หรือผู้อื่นที่ได้กำหนดตัวเป็นพิเศษ เป็นผู้แทนของตนเข้าร่วมประชุมได้
            ๓.  คณะมนตรีความมั่นคง อาจประชุม ณ สถานที่อื่น นอกไปจากที่ตั้งแห่งองค์การ หากวินิจฉัยเห็นว่า จะทำความสะดวกแก่การงานให้ดีที่สุด

มาตรา ๒๙

            คณะมนตรีความมั่นคง อาจสถาปนาองค์กรย่อยเช่นที่เห็นจำเป็นสำหรับการปฎิบัตินหน้าที่ของตน

มาตรา ๓๐

            คณะมนตรีความมั่นคง จักรับเอาข้อบังคับระเบียบการประชุมของตนเอง รวมทั้งวิธีเลือกตั้งประธาน

มาตรา ๓๑

            สมาชิกใด ๆ ของสหประชาชาติ ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคง อาจร่วมในการอภิปรายปัญหาใด ๆ ที่นำมาสู่คณะมนตรีความมั่นคงได้ โดยไม่มีคะแนนเสียง ในเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาเห็นว่า ผลประโยชน์ของสมาชิกนั้น ได้รับความกระทบกระเทือนเป็นพิเศษ

มาตรา ๓๒

            สมาชิกใด ๆ ของสหประชาชาติ ซึ่งมิใช่สมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคง หรือรัฐใด ๆ ที่มิใช่สมาชิกของสหประชาชาติ หากตกเป็นฝ่ายในกรณีพิพาท ซึ่งอยู่ในการพิจารณาของคณะมนตรีความมั่นคง จักพึงได้รับเชิญให้เข้าร่วมการอภิปรายเกี่ยวกับกรณี พิพาทนั้นด้วยโดยไม่มีคะแนนเสียง คณะมนตรีความมั่นคง จักกำหนดเงื่อนไขเช่นที่เห็นเป็นการยุติธรรม สำหรับการเข้าร่วมของรัฐที่มิใช่สมาชิกของสหประชาชาติ

หมวดที่ ๖   การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี

มาตรา ๓๓

            ๑.  ผู้เป็นฝ่ายในกรณีพิพาทใด ๆ ซึ่งหากดำเนินอยู่ต่อไป น่าจะเป็นอันตรายแก่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ ก่อนอื่นจักต้องแสวงหาการแก้ไขโดยการเจรจา การไต่สวน การไกล่เกลี่ย การประณีประนอม อนุญาโตตุลาการ การระงับโดยทางศาล การหันเข้าอาศัยทบวงการตัวแทน หรือการตกลงส่วนภูมิภาค หรือสันติวิธีประการอื่นใด ที่คู่กรณีจะพึงเลือก
            ๒. เมื่อเห็นว่าจำเป็น คณะมนตรีความมั่นคงจักเรียกร้องให้คู่พิพาท ระงับกรณีพิพาทของตนโดยวิธีเช่นว่านั้น

มาตรา ๓๔

            คณะมนตรีความมั่นคง อาจสืบสวนกรณีพิพาทใด ๆ หรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การแระทบกันระหว่างประเทศ หรือก่อให้เกิดกรณีพิพาทเพื่อกำหนดลงไปว่า การดำเนินอยู่ต่อไปของกรณีพิพาทหรือสวถานการณ์นั้น ๆ น่าจะเป็นอันตรายแก่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

มาตรา ๓๕

            ๑. สมาชิกใด ๆ ของสหประชาชาติอาจนำกรณีพิพาทใด ๆ หรือสถานการณ์ใด ๆ ตามลักษณะที่กล่าวถึงในมาตรา ๓๔ มาเสนอคณะรัฐมนตรีความมั่นคง หรือสมัชชาได้
            ๒. รัฐที่มิได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ อาจนำกรณีพิพาทใด ๆ ซึ่งตนเป็นฝ่ายมาเสนอคณะมนตรีความมั่นคงหรือสมัชชาได้ ถ้ารัฐนั้นยอมรับล่วงหน้าซึ่งข้อผูกพันแห่งการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี ตามที่บัญญัติไว้ในกฎบัตรฉบับปัจจุบันเป็นความมุ่งหมายในการระงับกรณีพิพาท
            ๓. การดำเนินการพิจารณาของสมัชชาในเรื่องที่เสนอขึ้นมาตามาตรานี้ต้องอยู่ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา ๑๑ และ ๑๒

มาตรา ๓๖

            ๑. คณะมนตรึความมั่นคง อาจแนะนำวิธีดำเนินการหรือวิธีการปรับปรุงแก้ไขที่เหมาะสมได้ ไม่ว่าในระยะใด ๆ แห่งการพิพาทอันมีลักษณะตามที่กล่าวถึงในมาตรา ๓๓ หรือแห่งสถานการณ์อันมีลักษณะทำนองเดียวกันนั้น
            ๒. คณะมนตรีความมั่นคงชอบที่จะพิจารณาถึงวิธีดำเนินใด ๆ เพื่อการระงับข้อพิพาท ซึ่งคู่พิพาทได้รับปฏิบัติแล้ว
            ๓. ในการทำคำแนะนำตามมาตรานี้ คณะมนตรีความมั่นคงชอบที่จะพิจารณาสด้วยว่ากรณีพิพาทในทางกฎหใมายนั้น ตามหลักทั่วไปควรฝให้คู่พิพาทเสนอต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตามบทบัญญัติแห่งธรรมนูญของศาลนั้น

มาตรา ๓๗

            ๑. หากผู้เป็นฝ่ายแห่งกรณีพิพาทอันมีลักษณะตามที่กล่าวถึงในมาตรา ๓๓ ไม่สามารถระงับกรณีพิพาทโดยวิธีที่ได้ระบุไว้ในมาตรานั้นแล้ว ก็ให้ส่งเรื่องนั้นไปเสนอคณะมนตรีความมั่นคง
            ๒. ถ้าคณะมนตรีความมั่นคงเห็นว่า โดยพฤติการณ์การคงดำเนินต่อไปแห่งกรณีพิพาทน่าจะเป็นอันตรายต่อการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศแล้ว ก็ให้วินิจฉัยว่าจะดำเนินการตามมาตรา ๓๖ หรือจะแนะนำข้อตกลงระงับกรณีพิพาทเช่นที่จะพิจารณาเห็นเหมาะสม

มาตรา ๓๘

            คณะมนตรีความมั่นคงอาจทำคำแนะนำแก่คู่พิพาท เพื่อทำควรามตกลงระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธี หากผู้เป็นฝ่ายทั้งปวงในกรณีพิพาทร้องขอเช่นนั้น ทั้งนี้โดยมิให้กระทบกระเทือนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา ๓๓ ถึง ๓๗

หมวดที่ ๗    การดำเนินการเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ และการกระทำการรุกราน

มาตรา ๓๙

          คณะมนนตรีความมั่นคงจักกำหนดว่าการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพหรือการกระทำการรุกรานได้มีขึ้นหรือไม่ และจักทำคำแนะนำหรือวินิจฉัยว่าจะใช้มาตราการอันใดตามมาตรา ๔๑ และ ๔๒ เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมา ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

มาตรา ๔๐

            เพื่อป้องกันมิให้สถานการณ์ทวีความร้ายแรงยิ่งขึ้น คณะมนตรีความมั่นคงอาจเรียกร้องให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้อง อนุวัติตามมาตราการชั่วคราวเช่นที่เห็นจำเป็นหรือพึงปรารถนา ก่อนที่จพทำคำแนะนำหรือวินิจฉัยมาตราการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๙ มาตราการชั่วคราวเช่นว่านี้ จักไม่ทำให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิ อำนาจเรียกร้องหรือฐานะของคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง คณะมนตรีความมั่นคงจักต้องคำนึงถึงการไม่อนุวัติตามมาตราการชั่วคราวเช่นว่านั้น

มาตรา ๔๑

            คณะมนตรีความมั่นคง อาจวินิจฉัยว่าจะต้องใช้มาตราการอันใดอันไม่มีการใช้กำลังอาวุธ เพื่อยังผลให้เกิดคำวินิจฉัยของคณะรัฐมนตรี และอาจเรียกร้องให้สมาชิกแห่งสหประชาชาติใช้มาตราการเช่นว่านั้น มาตราการเหล่านี้อาจรวมถึงการตัดความสัมพันธ์มางเศรษฐกิจ และการคมนาคมทางรถไฟ ทางทะเล ทางอากาศ ทางไปณาณีย์ ทางโทรเลข ทางวิทยุ และวิถีทางคมนาคมอย่างอื่น โดยสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน และการตัดคว่ามสัมพันธ์ทางการทูตด้วย

มาตรา ๔๒

            หากคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาเห็นว่า มาตราการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๑ น่าจะไม่เพียงพอ หรือได้พิศูจน์แล้วว่าไม่เพียงพอ คณะมนตรีก็อาจดำเนินการใช้กำลังทางอากาศ ทางืะเล หรือทางพื้นดิน เช่นที่เห็นจำเป็นเพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การดำเนินการเช่นนี้ อาจรวมถึงการแสดงแสนยานุภาพ การปิดล้อม และการปฏิบัติการอย่างอื่น โดยกำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดิน ของบรรดาสมาชิกสหประชาชาติ

มาตรา ๔๓

            ๑. เพื่อได้มีส่วนร่วมในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ สมาชิกทั้งปวงของสหประชาชาติ รับที่จะจัดสรรกำลังอาวุธความช่วยเหลือและความสะดวก รวมทั้งสิทธิในการผ่านดินแดนตามที่จำเป็น เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงเมื่อคณะมนตรีเรียกร้อง และเป็นไปตามความตกลงพิเศษฉบับเดียวหรือหลายฉบับ
            ๒. ความตกลงฉบับเดียวหรือหลายฉบับเช่นว่านั้น จักกำหนดจำนวนและประเภทของกำลัง ขั้นแห่งความเตรียมพร้อม และตำบลที่ตั้งโดยทั่วไปของกำลัง และลักษณะความสะดวกและความช่วยเหลือที่จัดหาไว้ให้
            ๓. ให้ดำเนินการเจรจาความตกลงฉบับเดียวหรือหลายฉบับนั้น โดยความริเริ่มของคณะมนตรีความมั่นคงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความตกลงเหล่านี้จักได้ลงนามกันระหว่างคณะมนตรีความมั่นคงและสมาชิก หรือระหว่างคณะมนตรีความมั่นคงและกลุ่มสมาชิก และจักต้องได้รับสัตยาบันโดยรัฐที่ลงนามตามกระบวนการทางรัฐธรรมนูญของรัฐเหล่านั้น

มาตรา ๔๔

            เมื่อคณะมนตรีความมั่นคงได้วินิจฉัยที่จะใช้กำลังแล้ว ก่อนที่จะเรียกร้องให้สมาชิกซึ่งมิได้มีผู้แทนอยู่ในคณะมนตรีความมั่นคงจัดส่งกำลังทหารเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อผูกพันที่ได้รับไว้ในมาตรา ๔๓ คณะมนตรีจะต้องเชิญสมาชิกนั้นให้เข้าร่วมในการวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคงเกี่ยวกับการใช้หน่วยแห่งกำลังทหารของสมาชิกนั้น หากสมาชิกนั้นประสงค์เช่นนั้น

มาตรา ๔๕

            เพื่อที่จะทำให้สหประชาชาติสามารถดำเนินมาตราการทางทหารได้โดยด่วน สมาชิกจักต้องจัดสรรหย่วยกำลังทางอากาศแห่งชาติไว้ให้พรักพร้อมโดยทันที สำหรับการดำเนินการบังคับระหว่างประเทศโดยรวมกัน กำลังและขั้นแห่งการเตรียมพร้อมของหน่วยกำลังเหล่านี้ และแผนการณ์สำหรับการดำเนินการโดยรวมกัน จักไดเกำหนดโดยคณะมนตรีความมั่นคงด้วยความช่วยเหลือของคณะกรรมการเสนาธิการทหาร ทั้งนี้ภายในขอบจำกัดที่วางไว้ในความตกลงพิเศษฉบับเดียวหรือหลายฉบับที่อ้างถึงในมาตรา ๔๓

มาตรา ๔๖

            แผนการณ์สำหรับการใช้กำลังทหาร จักได้จัดทำโดยคณะมนตรีความมั่นคง ด้วยความช่วยเหลือของคณะกรรมการเสนาธิการทหาร

มาตรา ๔๗

            ๑. ให้จัดสถาปนาคณะกรรมการเสนาธิการทหารขึ้น เพื่อให้คำปรึกษาและช่วยเหลือคณะมนตรีความมั่นคง ในปัญหาทั้งปวงที่เกี่ยวกับความต้องการทางทหารของคณะมนตรีความมั่นคง  สำหรับการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ในการใช้และการบังคับบัญชากำลังทหารที่มอบให้คณะมนตรี ในกำหนดกฎเกณฑ์ว่าด้วยอาวุธยุทธภัณฑ์ และในการลดอาวุธอันจะพึงเป็นไปได้
            ๒. คณะกรรมการเสนาธิการทหารจักประกอบด้วย เสนาธิการกลาโหมของสมาชิกประจำของคณะมนตรีความมั่นคง หรือผู้แทนของบุคคลเหล่านี้ คณะกรรมการจักต้องเชิญสมาชิกสหประชาชาติ ที่มิได้มีผู้แทนประจำอยู่ในคณะกรรมการเข้าร่วมงาน กับคณะกรรมการด้วย เมื่อใดที่การปฎิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบของคณะกรรมการให้ประสิทธิผล เรียกร้องให้สมาชิกนั้น เข้าร่วมในงานของคณะกรรมการ
            ๓.  คณะกรรมการเสนาธิการทหารจักต้องรับผิดชอบภายใต้คณะมนตรีความมั่นคง สำหรับการอำนวยการทางยุทธศาสตร์ เกี่ยวกับการใช้กำลัทหาร ซึ่งได้มอบไว้ให้กับคณะมนตรีความมั่นคง ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับบัญชากำลังทหารเช่นว่านั้น จักได้พิจารณาดำเนินการในภายหลัง
            ๔. คณะกรรมการเสนาธิการทหาร อาจสถาปนาคณะอนุกรรมการส่วนภูมิภาคขึ้นได้ ทั้งนี้โดยได้รับอำนาจจากคณะมนตรีความมั่นคง และหลังจากได้ปรึกษาหารือกับทบวงการส่วนภูมิภาคที่เหมาะสมแล้ว

มาตรา ๔๘

            ๑.   การดำเนินการที่พึงประสงค์เพื่อปฎิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคง ในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ จักได้กระทำโดยสมาชิกสหประชาชาติทั้งปวง หรือแต่บางประเทศ ตามแต่คณะมนตรีความมั่นคงจะพึงกำหนด
            ๒. คำวินิจฉัย เช่นว่านั้นจักต้องปฎิบัติโดยสมาชิกสหประชาชาติโดยตรง และโดยผ่านการดำเนินการของสมาชิกเล่านั้น ในทบวงการระหว่างประเทศที่เหมาะสม ซึ่งตนเป็นสมาชิกอยู่

มาตรา ๔๙

            สมาชิกสหประชาชาติ จักร่วมกันอำนวยความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการปฎิบัติมาตราการที่คณะมนตรีความมั่นคง ได้วินิจฉัยไว้แล้ว

มาตรา ๕๐

            หากคณะมนตรีความมั่นคงได้ดำเนินมาตราการป้องกัน หรือบังคับต่อรัฐใด รัฐอื่นไม่ว่าจะเป็นสมาชิกแห่งสหประชาชาติหรือไม่ ซึ่งต้องเผชิญกับปัญหาพิเศษทางเศรษฐกิจ เนื่องมาแต่การปฎิบัติมาตราการเหล่านั้น ย่อมมีสิทธิที่จะหารือกับคณะมนตรีความมั่นคง เกี่ยบกับการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น

มาตรา ๕๑

            ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบันอันจักรอนสิทธิประจำตัว ในการป้องกันตนเองโดยลำพังตน หรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกำลังอาวุธยังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตราการ ที่จำเป็นเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ  และความมั่นคงระหว่งประเทศมาตราการที่สมาชิกได้ดำเนินไปในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนี้ จักต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบโดยทันที และจักไม่กระทบกระเทือนอำนาจ และความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคง ภายใต้กฎบัตรฉบับปัจจุบันแต่ทางหนึ่งทางใด ในอันที่จักดำเนินการเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศในขณะหนึ่งขณะใด

หมวดที่ ๘   ข้อตกลงส่วนภูมิภาค

มาตรา ๕๒

            ๑.  ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน ที่กีดกันการมีข้อตกลงส่วนภูมิภาค หรือทบวงการตัวแทนสำหรับจัดการเรื่อง ที่เกี่ยวกับการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ เช่นที่เห็นเหมาะสม สำหรับการดำเนินการส่วนภูมิภาคขึ้น หากข้อตกลงหรือทบวงการตัวแทนเช่นว่า และกิจกรรมนั้นๆ สอดคล้องกับความมุ่งหมาย และหลักการของสหประชาชาติ
            ๒.  สมาชิกของสหประชาชาติที่เข้าร่วมในข้อตกลงเช่นว่านั้น หรือประกอบขึ้นเป็นทบวงการตัวแทนเช่นว่านั้น จักต้องกระทำความพยายามทุกประการ ที่จะจัดระงับข้อพิพาทท้องถิ่นโดยสันติวิธี ด้วยอาศัยข้อตกลงส่วนภูมิภาค หรือทบวงการตัวแทน ส่วนภูมิภาคเช่นว่านั้น ก่อนที่จะเสนอเรื่องไปยังคณะมนตรีความมั่นคง
            ๓.  คณะมนตรีความมั่นคงจักสนับสนุนพัฒนาการแห่งการ ระงับข้อพิพาทแห่งท้องถิ่นโดยสันติวิธี ด้วยอาศัยข้อตกลงส่วนภูมิภาค หรือทบวงการตัวแทนภูมิภาคเช่นว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการริเริ่มของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือโดยเสนอเรื่องมาจากคณะมนตรีความมั่นคงก็ดี
            ๔.  มาตรานี้ไม่ทำให้เสื่อมเสียโดยประการใด ๆ ต่อการนำมาตรา ๓๔ และ ๓๕ มาใช้

มาตรา ๕๓

            ๑.  เมื่อใดเห็นเหมาะสม คณะมนตรีความมั่นคงจักใช้ประโยชน์ในข้อตกลงส่วนภูมิภาค หรือทบวงการตัวแทนเช่นว่านั้น เพื่อการดำเนินการบังคับภายใต้อำนาจของตน แต่จะมีการดำเนินการบังคับตามข้อตกลงส่วนภูมิภาค หรือโดยทบวงการตัวแทนส่วนภูมิภาค โดยปราศจากการให้อำนาจของคณะมนตรีความมั่นคงไม่ได้ เว้นแต่มาตรการที่กระทำต่อรัฐสัตรู ดังที่นิยามไว้ในวรรค ๒ แห่งมาตรานี้ ซึ่งได้บัญญัติไว้โดยอนุมาตรา ๑๐๗ หรือในข้อตกลงส่วนภูมิภาค ซึ่งต่อต้านการรื้อฟื้นนโยบายรุกรานของรัฐสัตรูเช่นว่านั้น จนกว่าจะถึงเวลาที่องค์การอาจเข้ารับผิดชอบ เพื่อป้องกันการรุกรานต่อไปโดยรัฐสัตรุ เช่นว่าตามคำร้องขอของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง
            ๒.  คำว่ารัฐสัตรู ที่ใช้ในวรรค ๑ แห่งมาตรานี้ ย่อมนำมาใช้แก่รัฐใดๆ ซึ่งในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้เคยเป็นสัตรูต่อรัฐที่ลงนามในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน

มาตรา ๕๔

            คณะมนตรีความมั่นคง จักต้องได้รับแจ้งโดยครบถ้วนตลอดทุกเวลา ถึงกิจกรรมที่ได้กระทำไป หรืออยู่ในความดำริตามข้อตกลงส่วนภูมิภาค หรือโดยทบวงการตัวแทนส่วนภูมิภาค เพื่อการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

หมวดที่ ๙   ความร่วมมือระหว่างประเทศ

ทางเศรษฐกิจและการสังคม

มาตรา ๕๕

            ด้วยทัศนะที่จะสถาปนาภาวะสถานการณ์แห่งเสถียรภาพและสวัสดิภาพ ซึ่งจำเป็นสำหรับความสัมพันธ์โดยสันติ และโดยฉันทมิตรระหว่างนานาชาติ ด้วยยึดความเคารพต่อหลักการแห่งสิทธิอันเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเอง ของประชาชนเป็นมูลฐาน สหประชาชาติจักส่งเสริม:
            ก.  มาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น การมีงานทำโดยทั่วถึงและภาวะการณ์แห่งความก้าวหน้า และพัฒนาการทางเศรษฐกิจและการสังคม
            ข.  การแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม อนามัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการร่วมมือระหว่างประเทศทางวัฒนธรรม และการศึกษา และ
            ค.  การเคารพโดยสากล และการปฎิบัติตามสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลสำหรับทุกคน โดยปราศจากความแตกต่างในทางเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา

มาตรา ๕๖

            สมาชิกทั้งปวงให้คำมั่นว่า จะดำเนินการร่วมกัน และแยกกัน ในการร่วมมือกับองค์การ เพื่อให้บรรลุผลแห่งความมุ่งหมาย ทีกำหนดไว้ในมาตรา ๕๕

มาตรา ๕๗

            ๑.  ทบวงการชำนัญพิเศษต่าง ๆ ที่ได้สถาปนาขึ้นโดยความตกลงระหว่างรัฐบาล และมีความรับผิดชอบระหว่างประเทศ อย่างกว้างขวาง ในด้านเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัยและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังได้นิยมไว้ในเอกสารก่อตั้งของตน จักต้องนำเข้ามาสู่ความสัมพันธ์กับสหประชาชาติ ตามบัญญัติในมาตรา ๖๓
            ๒.  ทบวงการตัวแทนเช่นว่านี้ ด้วยเหตุที่ได้นำเข้ามาสู่ความสัมพันธ์กับสหประชาชาติ ต่อไปก็จะเรียกว่า ทบวงการชำนัญพิเศษ

มาตรา ๕๘

            องกค์การจักทำคำแนะนำสำหรับการประสานนโยบายและกิจกรรมของทบวงการชำนัญพิเศษ

มาตรา ๕๙

            เมื่อเห็นเหมาะสม องค์การจักริเริ่มการเจรจาระหว่างรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อการก่อตั้งทบวงการชำนัญพิเศษใหม่ใด ๆ อันพึงประสงค์เพื่อการยังผลสำเร็จ ในความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๕

มาตรา ๖๐

            ความรับผิดชอบสำหรับการปฎิบัติหน้าที่ขององค์การ ตามที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ จักมอบให้แก่สมัชชาและภายใต้อำนาจของสมัชชา แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม ซึ่งจักมีอำนาจเพื่อการนี้ ตามที่กำหนดไว้ในหมวดที่ ๑๐

หมวดที่ ๑๐    คณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม

องค์ประกอบ

มาตรา ๖๑

            ๑.  คณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม จักประกอบด้วยสมาชิกสหประชาชาติ ๑๘ ประเทศ ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยสมัชชา
            ๒.  ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในวรรค ๓ แต่ละปีสมาชิกแห่งคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม ๖ ประเทศ จักได้รับเลือกตั้งเป็นกำหนดเวลา ๓ ปี สมาชิกที่พ้นตำแหนน่งไปแล้ว มีสิทธิเข้ารับการเลือกตั้งอีกทันที
            ๓.  ในการเลือกตั้งครั้งแรกให้เลือกสมาชิกคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม ๑๘ ประเทศ เวลาดำรงตำแหน่งของสมาชิก ๖ ประเทศ ซึ่งเลือกขึ้นตามนี้ จักสิ้นสุดในปลายปีแรกและอีก ๖ ประเทศ ในปลายที่สองตามข้อตกลง ที่สมัชชาได้ทำไว้
            ๔.  สมาชิกแต่ละประเทศของคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม จักมีผู้แทนได้ ๑ คน

หน้าที่และอำนาจ

มาตรา ๖๒

            ๑.  คณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม อาจทำหรือริเริ่มการศึกษาและรายงาน เกี่ยวกับเรื่องระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และอาจทำคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องเช่นว่านั้นเสนอต่อสมัชชา ต่อมาสมาชิกของสหประชาชาติและต่อทบวงการชำนัญพิเศษที่เกี่ยวข้อง
            ๒.  คณะมนตรีอาจทำคำแนะนำเพื่อความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการเคารพ และการปฎิบัติตามสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพอันเป็นหลักมูลสำหรับทุกคน
            ๓.  คณะมนตรีอาจตัดเตรียมร่างอนุสัญญา เพื่อเสนอต่อสมัชชาเกี่ยวกับเรื่องทั้งหลาย ที่อยู่ในขอบอำนาจของคณะมนตรี
            ๔.  คณะมนตรีอาจเรียกประชุมระหว่างประเทศ ในเรื่องทั้งหลายที่อยู่ในขอบอำนาจของคณะมนตรี ตามข้อบังคับที่สหประชาชาติกำหนดไว้

มาตรา ๖๓

            ๑.  คณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคมอาจเข้าทำความตกลงกับทบวงการตัวแทนใด ๆ ที่อ้างถึงในมาตรา ๕๗ โดยวางจข้อกำหนดสำหรับที่ทบวงการตัวแทนที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามาสู่ความสัมพันธ์กับสหประชาชาติ ความตกลงเช่นว่านั้น จักต้องได้รับความเห็นชอบของสมัชชา
            ๒.  คณะมนตรีอาจประสานกิจกรรมของทบวงการชำนัญพิเศษ โดยากรปรึกษาหารือ และการทำคำแนะนำต่อทบวงการตัวแทนเช่นว่านั้น และโดยการทำคำแนะนำต่อสมัชชา และต่อสมาชิกของสหประชาชาติ

มาตรา ๖๔

            ๑.  คณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม อาจดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รับรายงานโดยสม่ำเสมอ จากทบวงการชำนัญพิเศษ คณะมนตรีอาจทำข้อตกลงกับสมาชิกสหประชาชาติ และกับทบวงการชำนัญพิเศษ เพื่อให้ได้รับรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการที่จะยังให้บังเกิดผล แก่คำแนะนำของตนและแก่คำแนะนำของสมัชชา ในเรื่องที่อยู่ในขอบอำนาจของคณะมนตรี
            ๒.  คณะมนตรี อาจแจ้งข้อสังเกตของตน เกี่ยวกับรายงานเหล่านี้ต่อสมัชชา

มาตรา ๖๕

            คณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม อาจจัดหาข้อสนเทศให้แก่คณะมนตรีความมั่นคง และจักช่วยเหลือคณะมนตรีความมั่นคง ในเมื่อร้องขอ

มาตรา ๖๖

            ๑.  คณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม จักปฎิบัติหน้าที่เช่นที่ตกอยู่ในขอบอำนาจของตน เกี่ยวกับการปฎิบัติตามคำแนะนำของสมัชชา
            ๒.  ด้วยความเห็นชอบของสมัชชาคณะมนตรี อาจปฎิบัติตามคำร้องขอของสมาชิกสหประชาชาติ และตามคำร้องขอของทบวงการชำนัญพิเศษ
            ๓.  คณะมนตรีจักปฎิบัติหน้าที่อื่น เช่นที่ระบุไว้ ณ ที่อื่นใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน หรือเช่นที่สมัชชาอาจมอบหมายให้

การลงคะแนนเสียง

มาตรา ๖๗

            ๑.  สมาชิกแต่ละประเทศแห่งคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม จักมีคะแนนเสียง ๑ คะแนน
            ๒.  คำวินิจฉัยของคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม จักกระทำโดยเสียงข้างมากของสมาชิก ที่มาประชุมและลงคะแนนเสียง

วิธีดำเนินการประชุม

มาตรา ๖๘

            คณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคมจักจัดตั้งคณะกรรมาธิการต่าง ๆ ขึ้นในด้านเศรษฐกิจและการสังคม และสำหรับการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และคณะกรรมาธิการอื่นเช่นที่อาจพึงประสงค์ สำหรับการปฎิบัติหน้าที่ของตน

มาตรา ๖๙

            คณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม จักเชิญสมาชิกใด ๆ ของสหประชาชาติให้เข้าร่วม โดยไม่มีคะแนนเสียงในการพิจารณาของคณะมนตรีในเรื่องใด ๆ อันมีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะต่อสมาชิกนั้น

มาตรา ๗๐

            คณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม อาจทำข้อตกลงสำหรับผู้แทนของทบวงการชำนัญพิเศษ ที่จะเข้าร่วมโดยไม่มีคะแนนเสียง ในการพิจารณาของคณะมนตรีเศรษฐกิจ และในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ ที่คณะมนตรีได้สถาปนาขึ้น และสำหรับผู้แทนของตนที่จะเข้าร่วมในการพิจารณา ของทบวงการชำนัญพิเศษ

มาตรา ๗๑

            คณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคมอาจทำข้อตกลงที่เห็นสมควร เพื่อการปรึกษาหารือกับองค์การที่มิใช่ของรัฐบาล ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องอันอยู่ภายในขอบอำนาจของตนเหล่านั้น ข้อตกลงเช่นว่าอาจทำกับองค์การระหว่างประเทศ และเมื่อเห็นเหมาะสมกับองค์การประจำชาติภายหลังที่ได้ทำการปรึกษาหารือกับสมาชิกของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องแล้ว

มาตรา ๗๒

            ๑.คณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคมจักรับเอาข้อบังคับวิธีดำเนินการประชุมของตนเอง รวมทั้งวิธีคัดเลือกประธานของตนด้วย
            ๒. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจักประชุมกันตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของตน ซึ่งจักรวมบทบัญญัติสำหรับเรียกประชุมตามคำร้องขอของสมาชิกส่วนข้างมากของคณะมนตรีไว้ด้วย

หมวดที่ ๑๑    ปฏิญญาว่าด้วยดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง

มาตรา ๗๓

           สมาชิกของสหประชาชาติซึ่งมีหรือเข้ารับเอาความรับผิดชอบในการปกครองดินแดนซึ่งประชาชน ยังมิได้บรรลุถึงการปกครองตนเองโดยเต็มภาคภูมิย่อมรับรู้หลักการที่ว่าผลประโยชน์ของประชาชนผู้อาศัยในดินแดนเหล่านนี้ เป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวดและเอาเป็นภาระมอบหมายอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งข้อผูกพันที่จะส่งเสริมสวัสดิการของประชาชนผู้อาศัยในดินแดนเหล่านี้อย่างสุดกำลัง ภายในระบบแห่งสันติภำพและความมั่นคง ประเทศที่ได้สถาปนาขึ้นโดยกฎบัตรฉบับปัจจุบันและเพื่อจุดหมายอันนี้.
            ก. จะให้ประกันด้วยความเคารพตามสมควรต่อวัฒนธรรมของประชาชนที่เกี่ยวข้องแก่ความก้าวหน้าในทางการเมือง เศณษฐกิจ การสังคม และการศึกษา แก่การปฏิบัติอันเที่ยงธรรมและแก่ความคุ้มครองให้พ้นจากการละเมิด
            ข. จะพัฒนาการปกครองตนเอง จะคำนึงตามสมควรถึงประณิธานทางการเมืองของประชาชน และจะช่วยเหลือประชาชนเหล่านี้ในการพัฒนาการสถาบันทางการเมืองอันอิสระให้ก้าวหน้าตามพฤติการณ์ โดยเฉพาะของแต่ละดินแดนและของประชาชนและขั้นแห่งความรุดหน้าอันต่างกันของประชาชนเหล่านี้
            ค. จะส่งเสริมสันติภาพความมั่นคงระหว่างประเทศ
            ง. จะส่งเสริมมาตราการแห่งพัฒนาการอันเป็นการเสริมสร้าง จะสนับสนุนการวินิจฉัยและร่วมมือซึ่งกันและกัน และเมื่อใดและ ณ ที่ใดเห็นเหมาะสมกับทบวงการชำนัญพิเศษระหว่างประเทศ เพื่อให้บรรลุถึงโดยแท้จริง ซึ่งความมุ่งหมายทางการสังคม เศรษฐกิจ และวิทยาศาสตร์ ดั่งกล่าวไว้ในมาตรานี้
            จ. จะส่งข้อสนเทศทางสถิติและทางอื่นอันมีลักษณะเทฆนิคเกี่ยวกับภาวะการทางเศรษฐกิจ การสังคม และการศึกษาในดินแดนซึ่งตนรับผิดชอบโดยลำดับ นอกเหนือไปจากดินแดนที่จะได้นำเอาหมวดที่ ๑๒ และ ๑๓ มาใช้บังคับ ให้แก่เลขาธิการโดยสม่ำเสมอเพื่อประโยชน์ในการสนเทศ ทั้งนี้ภายในบังคับแห่งข้อจำกัดเช่นที่ความมั่นคงและข้อพิจารณา ทางรัฐธรรมนูญจะพึงต้องการ

มาตรา ๗๔

            สมาชิกของสหประชาชาติยอมตกลงด้วยว่า นโยบายของตนเกี่ยวกับดินแดนที่หมวดนี้ใช้บังคับอยู่ จะต้องยึดไถือหลักการทั่วไปแห่งความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีเป็นมูลฐานไม่น้อยไปกว่าที่เกี่ยวกับดินแดนอาณาเขตนครหลวงของตนเอง ทั้งนี้พึงคำนึงตามสมควรถึงผลประโยชน์และสวัสดิการของส่วนอื่นของโลก ในเรื่องทางการสังคม เศรษฐกิจ และกาพาณิชย์ด้วย

หมวด ๑๒    ระบบภาวะทรัสตีระหว่างประเทศ

มาตรา ๗๕

            สหประชาชาติ จักสวถาปนาขึ้นภายใต้อำนาจของตนซึ่งระบุภาวะทรัสตีระหว่างประเทศ สำหรับการปกครองและการควบคุมดูแล ดินแดนเช่นที่แาจจะนำเข้ามาอยู่ภายใต้ระบบนี้ โดยความตกลงเป็นราย ๆ ไป ในภายหลังดินแดนเหล่านี้ นับแต่นี้ไปจะเรียกว่าดินแดนทรัสตี

มาตรา ๗๖

            วัตถุประสงค์มูลฐานของระบบภาวะทรัสตีตามความมุ่งหมายของสหแระชาชาติ ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑ แห่งกฎบัตรฉบับปัจจุบัน คือ
            ก. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
            ข. ส่งเสริมความรุดหน้าทางการเมือง เศรษฐกิจ การสังคม และการศึกษาของประชาชนผู้อาศัยอยู่ในดินแดนทรัสตีเหล่านั้น และส่งเสริมพัฒนาการอันก้าวไปสู่การปกครองตนเองหรือเอกราชตามความเหมาะสมแห่งพฤติการณ์ โดยเฉพาะของแต่ละดินแดนและของประชาชน และความปรารถนาอันแสดงออกโดยอิสระของประชาชนที่เกี่ยวข้อง และตามแต่ข้อกำหนดของความตกลงภาวะทรัสตีแต่ละรายจะวางไว้
            ค. สนับสนุนความเคารพตือสิทธิมนุษยชนและอิสระภาพอันเป็นหลักมูลสำหรับทุกคน โดยปราศจากความแตกต่างในทางเชื่อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา และสนับสนุนการรับรู้ในการพึ่งงพาอาศัยซึ่งกันและกันของประชาชนของโลกและ
            ง. ให้ประกันการปฏิบัติอันเท่าเทียมกัน ในเรื่องทางการ สังคม เศรษฐกิจ แลัะการพาณิชย์สำหรับสมาชิกทั้งปวง แห่งสหประชาชาติ และชนชาติของสมาชิกเหล่านั้น และทั้งการปฏิบัติอันเท่าเทียมกัน สำหรับชนชาติแห่งประเทศสมาชิกในการอำนวยความยุติธรรม ทั้งนี้ โดยมิให้เสื่อมเสียแก่การบรรลุถึงวัตถุประสงค์ข้างต้น และภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๘๐

มาตรา ๗๗

            ๑. ระบบภาวะทรัสตี จักนำมาใช้บังคับแก่ดินแดนในประเภทดังต่อไปนี้ เช่นที่อาจจะนำมาไว้ภายใต้ระบบนี้ได้ โดยวิถีทางแห่งความตกลงภาวะทรัสตี
            ก. ดินแดนซึ่งบัดนี้อยู่ภายใต้อาณัติ
            ข. ดินแดนซึ่งอาจแยกมาจากรัฐสัตรู โดยผลแห่งสงครามโลกครั้งที่สอง และ
            ค. ดินแดนซึ่งรัฐที่รับผิดชอบในการปกครอง ได้นำเข้ามาอยู่ภายใต้ระบบนี้โดยสมัครใจ
            ๒. เป็นเรื่องที่จะทำความตกลงกันภายหลัง ว่าจะให้นำดินแดนใดในประเภทที่กล่าวข้างต้นมาอยู่ภายใต้ระบบภาวะทรัสตี และโดยมีข้อกำหนดอย่างไรบ้าง

มาตรา ๗๘

            ระบบภาวะทรัสตี จักไม่นำมาใช้บังคับแก่ดินแดนที่ได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติแล้ว ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างกันจะต้องยึดความเคารพต่อหลักการแห่งความเสมอภาคในอธิปไตยเป็นมูลฐาน

มาตรา ๗๙

            ข้อกำหนดแห่งภาวะทรัสตีสำหรับแต่ละดินแดน อันจะนำมาอยู่ภายใต้ระบบภาวะทรัสตรี รวมทั้งข้อเปลี่ยนแปลงหรือข้อแก้ไขใด ๆ จักต้องได้รับความตกลงโดยรัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรง รวมทั้งประเทศที่ใช้อำนาจอาณัติในกรณีที่เป็นดินแดน ภายใต้อาณัติอันสมาชิกสหประชาชาติได้รับมอบหมาย และจักต้องได้รับความห็นชอบตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๓ และ ๘๕

มาตรา ๘๐

            ๑.  นอกจากที่จะได้ตกลงไว้ในความตกลงภาวะทรัสตีเป็นราย ๆ ไป ซึ่งทำตามมาตรา ๗๗,๗๙ และ ๘๑ นำเอาดินแดนมาอยู่ภายใต้ระบบภาวะทรัสตี และจนกระทั่งความตกลงเช่นว่านั้นได้ลงนามกันแล้ว ไม่มีข้อความใดในหมวดนี้ จักแปลความในหรือโดยตัวเองเป็นการเปลี่ยนแปลง ในลักษณะใด ๆ ซึ่งสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของรัฐ หรือประชาชนใด ๆ หรือแห่งข้อกำหนดในพิธีสาร ระหว่างประเทศที่มีอยู่ซึ่งสมาชิกสหประชาชาติอาจเป็นภาคีโดยลำดับ
            ๒.  วรรค ๑ แห่งมาตรานี้ จักต้องไม่ตีความไปในทางที่ถือเป็นมูลเหตุ สำหรับการหน่วงเหนี่ยวให้ช้า หรือการผลัดเลื่อนการเจรจา และการลงนามความตกลง เพื่อนำดินแดนในอาณัติ หรือดินแดนอื่นมาไว้ภายใต้ระบบภาวะทรัสตี ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๗

มาตรา ๘๑

            ความตกลงภาวะทรัสตรีในแต่ละกรณีจักรวมไว้ ซึ่งข้อกำหนดตามที่ดินแดนทรัสตี จะถูกปกครองและจักกำหนดตัวผู้ทรงอำนาจ ซึ่งจะทำการปกครองดินแดนทรัสตี ผู้ทรงอำนาจเช่นว่านี้ ซึ่งแต่นี้ต่อไปจะเรียกว่า ผู้ใช้อำนาจปกครอง อาจเป็นรัฐเดียว หรือมากกว่านั้น หรือองค์การสหประชาชาติเองก็ได้

มาตรา ๘๒

            ในความตกลงภาวะทรัสตีรายหนึ่งรายใด อาจมีการกำหนดเขตยุทธศาสตร์เขตหนึ่งหรือหลายเขต ซึ่งอาจรวมดินแดนทรัสตี แต่บางส่วนหรือทั้งหมดที่ทำความตกลงบังคับใช้อยู่ โดยมิให้เสื่อมเสียแก่ความตกลงพิเศษ ฉบับใดฉบับหนึ่ง หรือหลายฉบับที่ทำไว้ตามมาตรา ๔๓

มาตรา ๘๓

            ๑.  หน้าที่ทั้งปวงของสหประชาชาติเกี่ยวกับเขตยุทธศาสตร์ รวมทั้งการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนดของ ความตกลงภาวะทรัสตีและของข้อเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข จักกระทำโดยคณะมนตรีความมั่นคง
            ๒.  วัตถุประสงค์มูลฐานที่กล่าวไว้ในมาตรา ๗๖ จักนำมาใช้บังคับได้แก่ ประชาชนของเขตยุทธศาสตร์แต่ละเขต
            ๓.  ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของความตกลงภาวะทรัสตี และโดยมิให้เสื่อมเสียแก่ข้อพิจารณาทางความมั่นคง คณะมนตรีความมั่นคงจักถือเอาประโยชน์แห่งความช่วยเหลือ ของคณะมนตรีภาวะทรัสตีเพื่อปฎิบัติหน้าที่เหล่านี้ ของสหประชาชาติภายใต้ระบบภาวะทรัสตี เกี่ยวกับเรื่องทางการเมือง เศรษฐกิจการสังคม และการศึกษาในเขตยุทธศาสตร์เหล่านั้น

มาตรา ๘๔

            เป็นหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองที่จะให้ประกันว่า ดินแดนทรัสตีจักมีส่วนในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง ระหว่างประทศเพื่อจุดหมายอันนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองอาจใช้ประโยชน์ของกองทหารอาสาสมัคร ความสะดวกและความช่วยเหลือ จากดินแดนทรัสตีในการปฎิบัติตามข้อผูกพัน ต่อคณะมนตรีความมั่นคงซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครอง เข้ารับเอาเกี่ยวกับการนี้ ตลอดทั้งการป้องกันทางท้องถิ่น และการธำรงไว้ซึ่งกฎหมายและระเบียบภายในดินแดนทรัสตี

มาตรา ๘๕

            ๑.  หน้าที่ของสหประชาชาติเกี่ยวกับความตกลงภาวะทรัสตี สำหรับเขตทั้งปวงที่มิได้กำหนดให้เป็นเขตยุทธศาสตร์ รวมทั้งการให้ความเห็นชอบในข้อกำหนด ของความตกลงภาวะทรัสตี และของข้อเปลี่ยนแปลง หรือข้อแก้ไขจักกระทำโดยสมัชชา
            ๒.  คณะมนตรีภาวะทรัสตี ซึ่งดำเนินการภายใต้อำนาจของสมัชชา จักช่วยเหลือสมัชชาในการปฎิบัติตามหน้าที่เหล่านี้

หมวดที่ ๑๓   คณะมนตรีภาวะทรัสตี

องค์ประกอบ

มาตรา ๘๖

            ๑.  องค์มนตรีภาวะทรัสตี จักประกอบด้วยสมาชิกของสหประชาชาติดังต่อไปนี้
            ก.  สมาชิกที่ปกครองดินแดนทรัสตี
            ข.  สมาชิกที่ได้ระบุนามไว้ในมาตรา ๒๓ ซึ่งมิได้ปกครองดินแดนทรัสตี และ
            ค.  สมาชิกอื่น ๆ ซึ่งสมัชชาได้เลือกตั้งขึ้น มีกำหนดเวลา ๓ ปี เท่าจำนวนที่จำเป็น เพื่อให้ประกันว่า จำนวนรวมของสมาชิกแห่งคณะมนตรีภาวะทรัสตี จะแบ่งออกได้เท่ากัน กับระหว่างสมาชิกของสหประชาชาติที่ปกครอง ดินแดนทรัสตีและที่ไม่ได้ปกครอง
            ๒.  สมาชิกแต่ละประเทศของคณะมนตรีภาวะทรัสตี จักกำหนดบุคคลที่มีคุณสมบัติ เป็นพิเศษเฉพาะคนหนึ่งเป็นผู้แทน ในคณะมนตรี

หน้าที่และอำนาจ

มาตรา ๘๗

            ในการปฎิบัติตามหน้าที่ สมัชชาและคณะมนตรีภาวะทรัสตีภายใต้อำนาจของสมัชชาอาจจะ :
            ก.  พิจารณารายงานซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครอง เสนอมา
            ข.  รับคำร้องทุกข์ และตรวจสอบคำร้องเหล่านั้น โดยปรึกษาหารือกับผู้ใช้อำนาจปกครอง
            ค.  จัดให้มีการเยี่ยมเยียนเป็นครั้งคราว แก่ดินแดนทรัสตีโดยลำดับ ตามกำหนดเวลาที่จะได้ตกลงกับเจ้าหน้าที่ผู้ใช้อำนาจปกครอง และ
            ง.  ดำเนินการเหล่านี้ และอื่น ๆ โดยสอดคล้องกับข้อกำหนดแห่งความตกลงภาวะทรัสตี

มาตรา ๘๘

            คณะมนตรีภาวะทรัสตี จักวางรูปข้อถามเกี่ยวกับความรุดหน้าในทางการเมือง เศรษฐกิจ การสังคม และการศึกษาของประชาชนผู้อาศัยในแต่ละดินแดนทรัสตี และผู้ใช้อำนาจปกครองสำหรับแต่ละดินแดน ทรัสตีภายในขอบอำนาจของสมัชชา จักทำรายงานประจำปี เสนอสมัชชาโดยอาศัยมูลฐานแห่งข้อถามเช่นว่านั้น

การลงคะแนนเสียง

มาตรา ๘๙

            ๑.  สมาชิกแต่ละประเทศ ของคณะมนตรีภาวะทรัสตี จักมีคะแนนเสียง ๑ คะแนน
            ๒.   คำวินิจฉัยของคณะมนตรีภาวะทรัสตี กระทำโดยเสียงข้างมาก ของสมาชิกที่ประชุมและลงคะแนนเสียง

วิธีดำเนินการประชุม

มาตรา ๙๐

            ๑.  คณะมนตรีภาวะทรัสตี จักรับเอาข้อบังคับระเบียบการประชุมของตนเอง รวมทั้งวิธีคัดเลือกประธานของตนด้วย
            ๒.  คณะมนตรีภาวะทรัสตี จักประชุมกันตามที่กำหนดไว้ ในข้อบังคับของตน ซึ่งจักรวมบทบัญญัติสำหรับเรียกประชุม ตามคำร้องขอของสมาชิกส่วนมากด้วย

มาตรา ๙๑

            เมื่อเห็นเหมาะสม คณะมนตรีภาวะทรัสตีจักถือเอาประโยชน์แห่งความช่วยเหลือของคณะมนตรีเศรษฐกิจ และการสังคม ของทบวงการชำนัญพิเศษเกี่ยวกับเรื่องซึ่งคณะมนตรีเศรษฐกิจ และการสังคม และทบวงการชำนัญพิเศษเหล่านี้ เกี่ยวข้องอยู่โดยลำดับ

หมวดที่ ๑๔   ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

มาตรา ๙๒

            ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จักเป็นองค์กรทางตุลาการอันสำคัญของสหประชาชาติ ศาลจักดำเนินหน้าที่ตามธรรมนูญผนวกท้าย ซึ่งยึดถือธรรมนูญของศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นมูลฐาน และซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับกฎบัตรฉบับปัจจุบัน

มาตรา ๙๓

            ๑.  สมาชิกทั้งปวงของสหประชาชาติ โดยพฤตินัยย่อมเป็นภาคีแห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
            ๒.  รัฐซึ่งมิใช่สมาชิกของสหประชาชาติ อาจเป็นภาคีแห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ โดยเงื่อนไขซึ่งสมัชชาจะได้กำหนดเป็นราย ๆ ไปตามคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคง

มาตรา ๙๔

            ๑.  สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติ รับที่จะอนุวัติตามคำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในคดีใด ๆ ที่ตกตกเป็นฝ่าย
            ๒.  ถ้าผู้เป็นฝ่ายในคดีฝ่ายใดไม่ปฎิบัติตามข้อผูกพัน ซึ่งตกอยู่แก่ตนตามคำพิพากษาของศาล ผู้เป็นฝ่ายอีกฝ่ายหนึ่ง อาจร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งถ้าเห็นจำเป็นก็อาจทำคำแนะนำ หรือวินิจฉัยมาตราการที่จะดำเนิน เพื่อยังผลให้เกิดแก่คำพิพากษานั้น

มาตรา ๙๕

            ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน จักหวงห้ามสมาชิกแห่งสหประชาชาติ มิให้มอบหมายการแก้ไขข้อขัดแย้งของตน ต่อศาลอื่นโดยอาศัยอำนาจแห่งความตกลง ที่ได้มีอยู่แล้ว หรือที่อาจจะลงนามกันในอนาคต

มาตรา ๙๖

            ๑.  สมัชชาหรือคณะมนตรีความมั่นคง อาจร้องขอต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศให้ให้ความเห็นแนะนำในปัญหากฎหมายใด ๆ
            ๒.  องค์กรของสหประชาชาติ และทบวงการชำนัญพิเศษ ซึ่งอาจได้รับอำนาจจากสมัชชาในเวลาใด ๆ ก็อาจร้องขอความเห็นแนะนำของศาล เกี่ยวกับปัญหาจากกฎหมายอันเกิดขึ้นภายในกรอบแห่งกิจกรรมของตน

หมวดที่ ๑๕   สำนักเลขาธิการ

มาตรา ๙๗

            สำนักเลขาธิการ จักประกอบด้วยเลขาธิการคนหนึ่ง และพนักงานเท่าที่องค์การอาจต้องการ เลขาธิการจักได้รับการแต่งตั้ง โดยสมัชชาตามคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคง เลขาธิการจักเป็นเจ้าหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การ

มาตรา ๙๘

            เลขาธิการจักปฎิบัติการในอำนาจหน้าที่นั้น ในการประชุมทั้งปวงของสมัชชา ของคณะมนตรีความมั่นคง ของคณะมนตรีเศรษฐกิจ และการสังคม และของคณะมนตรีภาวะทรัสตี และจักกระทำหน้าที่อย่างอื่นเช่นที่องค์การเหล่านี้ จะพึงมอบหมายให้ เลขาธิการจักทำรายงานประจำปี เสนอต่อสมัชชาเกี่ยวกับงานขององค์การ

มาตรา ๙๙

            เลขาธิการอาจนำเรื่องใด ๆ ซึ่งตามความเห็นของตนอาจคุกคามการธำรงไว้ ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาเสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบ

มาตรา ๑๐๐

            ๑.  ในการปฎิบัติหน้าที่ของตน เลขาธิการและพนักงานจักไม่แสวงหารือ รับคำสั่งจากรัฐบาลใด ๆ หรือจากเจ้าหน้าที่อื่นใด ภายนอกองค์การ บุคคลเหล่านี้จักเว้นจาการดำเนินการใด ๆ ซึ่งอาจมีผลสะท้อนถึงฐานะของตน ในฐานเป็นเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศ ซึ่งรับผิดชอบต่อองค์การเท่านั้น
            ๒.  สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติ รับที่จะเคารพต่อลักษณะระหว่างประเทศ โดยเฉพาะของความรับผิดชอบของเลขาธิการ และพนักงานและจะไม่แสวงใช้อิทธิพล ต่อบุคคลเหล่านั้นในการปฎิบัติหน้าที่ของเขา

มาตรา ๑๐๑

            ๑.  พนักงานจักได้รับการแต่งตั้ง โดยเลขาธิการตามระเบียบที่สมัชชาได้สถาปนาขึ้น
            ๒.  พนักงานที่เหมาะสม จักได้รับมอบหมายให้ไปประจำอยู่เป็นการถาวร ในคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม ในคณะมนตรีภาวะทรัสตี และองค์การอื่นของสหประชาชาติ ตามที่พึงประสงค์ พนักงานเหล่านี้จักถือเป็นส่วนหนึ่งของสำนักเลขาธิการ
            ๓.  ข้อพิจารณาอันสำคัญยิ่งยวดในการจ้างพนักงาน และในการกำหนดเงื่อนไขแห่งบริการ ได้แก่ ความจำเป็นที่จะต้องให้ได้มาซึ่งมาตรฐานอันสูงสุด แห่งสมรรถภาพ ความสามารถ และความซื่อสัตย์มั่นคง ความสำคัญในการจัดหาพนักงาน โดยยึดมูลฐานทางภูมิศาสตร์ ให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ จักต้องเป็นที่พึงคำนึ่งถึงตามสมควร

หมวดที่ ๑๖   บทเบ็ดเตล็ด

มาตรา ๑๐๒

            ๑.  สนธิสัญญาทุกฉบับ และความตกลงระหว่างประเทศทุกฉบับ ซึ่งสมาชิกใดๆแห่งสหประชาชาติได้เข้าเป็นภาคี ภายหลังที่กฎบัตรฉบับปัจจุบันได้ใช้บังคับ จักต้องจดทะเบียนไว้กับสำนักเลขาธิการโดยเร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้และจักได้จัดพิมพ์ขึ้น โดยสำนักงานนี้
            ๒.  ภาคีแห่งสนธิสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่าใด ๆ  ซึ่งมิได้จดทะเบียนไว้ตามบทบัญญัติ ในวรรคหนึ่ง แห่งมาตรานี้ ไม่อาจยกเอาสนธิสัญญา หรือความตกลงนั้น ๆ ขึ้นกล่าวอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ

มาตรา ๑๐๓

            ในกรณีแห่งการขัดแย้งระหว่างข้อผูกพันของสมาชิกสหประชาชาติ ตามกฎบัตรฉบับปัจจุบัน และตามข้อผูกพันตามความตกลงระหว่างประเทศอื่นใด ข้อผูกพันตามกฎบัตรฉบับปัจจุบันจักต้องใช้บังคับ

มาตรา ๑๐๔

            องค์การจักได้รับประโยชน์ในความสามารถตามกฎหมาย ในดินแดนของสมาชิกแต่ละประเทศขององค์การ เท่าที่จำเป็นเพื่อยังให้บรรลุผลสำเร็จในความมุ่งหมายขององค์การ

มาตรา ๑๐๕

            ๑.  องค์การจักได้รับประโยชน์ในเอกสิทธิ์ และความคุ้มกันในดินแดนของสมาชิก แต่ละประเทศขององค์การเท่าที่ จำเป็นเพื่อยังให้บรรลุผลสำเร็จในความมุ่งหมายขององค์การ
            ๒.  ผู้แทนของสมาชิกแห่งสหประชาชาติ และเจ้าหน้าที่ขององค์การจักได้รับประโยชน์ในเอกสิทธิและความคุ้มกัน ในทำนองเดียวกัน
            ๓.  สมัชชาอาจทำคำแนะนำเพื่อกำหนดรายละเอียดในการนำเอาวรรค ๑ และ ๒ ของมาตรานี้ มาใช้บังคับ หรืออาจเสนออนุสัญญา ต่อสมาชิกของสหประชาชาติเพื่อความมุ่งหมายนี้

หมวดที่ ๑๗   ข้อตกลงเฉพาะกาลเกี่ยวกับความมั่นคง

มาตรา ๑๐๖

            ในระหว่างที่ยังมิได้ใช้บังคับความตกลงพิเศษ ดังที่อ้างถึงในมาตรา ๔๓ ซึ่งตามความเห็นของคณะมนตรีความมั่นคง จะช่วยให้ตนได้เริ่มบริหารตามความรับผิดชอบของตนในมาตรา ๔๒ ภาคีแห่งปฎิญญา ๔ ประชาชาติ ซึ่งได้ลงนามกัน ณ กรุงมอสโคว์ ในวันที่ ๓๐ ตุลาคม ค.ศ.๑๙๔๓ และฝรั่งเศส จะปรึกษาหารือซึ่งกันและกัน และเมื่อโอกาสเรียกร้องกับสมาชิกอื่น ของสหประชาชาติตามบทบัญญัติแห่งวรรค ๕ ของปฎิญญานั้น โดยมุ่งที่จะดำเนินการร่วมกันในนามขององค์การ เช่นที่อาจจำเป็นเพื่อความมุ่งหมายที่จะธำรงไว้ ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

มาตรา ๑๐๗

            ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน ทำให้ไม่สมบูรณ์หรือลบล้าง การดำเนินการในความเกี่ยวพันกับรัฐใด ๆ ซึ่งในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้เป็นสัตรูของรัฐใด ๆ ที่ลงนามในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลที่รับผิดชอบสำหรับการดำเนินการ เช่นว่านั้นได้กระทำไปหรือได้ให้อำนาจ กระทำไปโดยผลแห่งสงครามนั้น

หมวดที่ ๑๘   การแก้ไข

มาตรา ๑๐๘

            การแก้ไขกฎบัตรฉบับปัจจุบัน จักมีผลใช้บังคับสำหรับสมาชิกทั้งปวงของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อการแก้ไขนั้น ได้รับคะแนนเสียง ๒ ใน ๓  ของสมาชิกแห่งสมัชชาลงมติให้ และได้รับสัตยาบันตามกระบวนการทางรัฐธรรมนูญจาก ๒ ใน ๓ ของสมาชิกสหประชาชาติ รวมทั้งสมาชิกประจำทั้งปวง ของคณะมนตรีความมั่นคงด้วย

มาตรา ๑๐๙

            ๑.  การประชุมทั่วไปของสมาชิกแห่งสหประชาชาติ เพื่อความมุ่งหมายที่จะวิจารณ์กฎบัตรฉบับปัจจุบัน อาจจัดให้มีขึ้น ณ เวลาและสถานที่ซึ่งจะกำหนดโดยคะแนนเสียง ๒ ใน ๓ ของสมาชิกแห่งสมัชชา และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ๗ ประเทศ แต่ละสมาชิกของสหประชาชาติจักมีคะแนนเสียง ๑ คะแนนในการประชุมนี้
            ๒.  การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในกฎบัตรฉบับปัจจุบันซึ่งได้รับคำแนะนำโดยคะแนนเสียง ๒ ใน ๓ ของที่ประชุมจักมีผล เมื่อได้รับสัตยาบันตามกระบวนการทางรัฐธรรมนูญจาก ๒ ใน ๓ ของสมาชิกแห่งสหประชาชาติ รวมทั้งสมาชิกประจำทั้งปวง ของคณะมนตรีความมั่นคงแล้ว
            ๓.  ถ้าการประชุมเช่นว่ายังมิได้จัดให้มีขึ้น ก่อนสมัยประชุมประจำปีครั้งที่ ๑๐ ของสมัชชา นับแต่กฎบัตรฉบับปัจจุบันได้มีผลใช้บังคับแล้ว ข้อเสนอที่จะให้เรียกประชุมเช่นว่า จักต้องนำเข้าระเบียบวาระของสมัยประชุมนั้น ของสมัชชา และการประชุมจักจัดให้มีขึ้น หากได้วินิจฉัยเช่นนั้นโดยคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกแห่งสมัชชา และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ๗ ประเทศ

หมวดที่ ๑๙   การสัตยาบันและการลงนาม

มาตรา ๑๑๐

            ๑.  กฎบัตรฉบับปัจจุบันจักต้องได้รับสัตยาบัน โดยรัฐที่ลงนามตามกระบวนการทางรัฐธรรมนูญของประเทศของตน
            ๒.  สัตยาบันจักมอบไว้กับรับบาลแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งจักแจ้งให้รัฐที่ลงนามทั้งปวง ตลอดจนเลขาธิการขององค์การ เมื่อได้รับการแต่งตั้งแล้ว ให้ทราบถึงการมอบแต่ละครั้ง
            ๓.  กฎบัตรฉบับปัจจุบันจักมีผลใช้บังคับเมื่อสาธารณรัฐจีน ฝรั่งเศส สหภาพแห่งสาธารณรัฐโซเวียตโซเชียลลิสต์ สหราชอาณาจักรแห่งบริเตนใหญ่ และไอร์แลนด์เหนือ และสหรัฐอเมริกา และจำนวนข้างมากแห่งรัฐอื่น ๆ ที่ลงนามได้มอบสัตยาบันแล้ว พิธีสารแห่งสัตยาบันที่ได้มอบไว้นั้น จักจัดทำขึ้นโดยรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งจักได้ส่งสำเนาพิธีการนั้น ไปยังรัฐที่ลงนามทั้งปวง
            ๔.  รัฐที่ลงนามในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน และให้สัตยาบันภายหลังที่กฎบัตรมีผลใช้บังคับแล้ว จักเป็นสมาชิกดั้งเดิมของสหประชาชาติ ในวันที่มอบสัตยาบันของตน

มาตรา ๑๑๑

            กฎบัตรฉบับปัจจุบัน ซึ่งตัวบทภาษาจีน ฝรั่งเศส รัสเซีย อังกฤษ และสเปน ได้รับนับถือเป็นต้นฉบับแท้จริงโดยเท่าเทียมกัน จักได้มอบไว้ในบรรณสารของรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกา รัฐบาลนั้นจักได้ส่งสำเนา ซึ่งรับรองโดยชอบแล้ว ไปยังรัฐบาลแห่งรัฐที่ลงนามอื่น ๆ เพื่อเป็นหลักฐานในการนี้ ผู้แทนของรัฐบาลทั้งหลายแห่งสหประชาชาติได้ลงนามไว้ในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน ทำขึ้น ณ นครซานฟรานซิสโก เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๔๕


| หน้าแรก | ชาติไทย | ศาสนา | พระมหากษัตริย์ | บน |