ช่องทางติดต่อกับประเทศข้างเคียง
            ประเทศกัมพูชามีช่องทางติดต่อกับประเทศไทย ลาว และเวียดนาม ช่องทางเหล่านี้เป็นช่องทางที่เคยใช้ติดต่อกันมา แต่โบราณกาล


            ช่องทางที่ติดต่อกับประเทศไทย  อยู่ในเขตจังหวัดต่าง ๆ ของไทยเจ็ดจังหวัดด้วยกันคือ จังหวัดตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี มีอยู่ ๖๗ ช่องทาง มีช่องทางที่สำคัญได้แก่ ช่องปอยเปต ในเขตอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นช่องทางที่ใหญ่ที่สุด
                ช่องทางในเขตจังหวัดตราด  อยู่ในเขตสามอำเภอด้วยกันคือ อำเภอเขาสมิง อำเภอเมือง ฯ และอำเภอคลองใหญ่
                     อำเภอเขาสมิง  มีอยู่สามทางด้วยกันเป็นทางเดินเท้า
                        - ทางเดินเท้าจากบ้านตาบาด และบ้านประอำ ตำบลบ่อพลอยเข้าไปยังบ้านหัวคลอง ตำบลสำเภอ อำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
                        - ทางเดินเท้าจากบ้านคลองโสน  อำเภอด่านชุมพล ถึงบ้านเสวาด ตำบลซุง อำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๒๓ กิโลเมตร
                        - ทางเดินเท้าจากบ้านคลองโสน  ตำบลด่านชุมพล ถึงบ้านเสราด ตำบลซุง อำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๒๔ กิโลเมตร
                    อำเภอเมืองตราด  มีอยู่เพียงช่องทางเดียวเป็นช่องทางเดินเท้า จากบ้านประทุน ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมือง ฯ เข้าไปในเขตกัมพูชาที่บ้านมอบปละ ตำบลทุ่งยาว อำเภอพนมมกราวาน จังหวัดโพธิสัตว์ ระยะทางประมาณ ๑๔๐ กิโลเมตร
                    อำเภอคลองใหญ่  เป็นทางเดินเท้าสามช่องทาง และทางทะเลหนึ่งเส้นทาง
                        - ทางเดินเท้าจากบ้านคลองใหญ่ ตำบลคลองใหญ่ เข้าไปในเขตกัมพูชาที่บ้านเขาวง ตำบลคลองสนามควาย อำเภอเกาะกง จังหวัดเกาะกง ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร
                        - ทางเดินเท้าจากบ้านโกดสาย ตำบลคลองใหญ่ เข้าไปในเขตกัมพูชาที่บ้านรายจง ตำบคลองสนามควาย อำเภอเกาะกง จังหวัดเกาะกง ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร
                        - ทางเดินเท้าจากบ้านคลองใหญ่ ตำบลคลองใหญ่ เข้าไปในเขตกัมพูชาที่บ้านนอบยาม ตำบลคลองสนามควาย อำเภอเกาะกง จังหวัดเกาะกง ระยะทางประมาณ ๑๗ กิโลเมตร
                        - ทางทะเลโดยเรือเดินทะเล จากบ้านคลองใหญ่ ถึงบ้านนอบยาม ตำบลคลองสนามควาย อำเภอเกาะกง จังหวัดเกาะกง ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
                ช่องทางในเขตจังหวัดจันทบุรี  อยู่ในเขตอำเภอโป่งน้ำร้อน มีอยู่สามเส้นทาง เป็นเส้นทางเกวียน
                        - ทางเกวียนจากบ้านคลองลำเจียก ตำบลโป่งน้ำร้อน ผ่านเข้าไปในเขตกัมพูชาที่บ้านห้วยไทย และบ้านบ่อหญ้าคา ตำบลไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทาง ๑๑ กิโลเมตร
                        - ทางเกวียนจากบ้านบึงชะนังล่าง ตำบลหนองตาคง ผ่านเขตแดนกัมพูชาที่บ้านพุมเรียง ตำบลพุมเรียง อำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร
                        - ทางเกวียนจากบ้านแหลม ตำบลหนองตาคง ถึงบ้านตาแสน ตำบลพุมเรียง อำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๖ กิโลเมตร
                ช่องทางในเขตจังหวัดปราจีนบุรี  อยู่ในเขตอำเภออรัญประเทศเป็นทางรถไฟ ๑ เส้นทาง ทางรถยนต์ ๑ เส้นทาง และทางเกวียน ๕ เส้นทาง
                        - ทางรถไฟสายกรุงเทพ ฯ  - อรัญประเทศ  ตำบลอรัญประเทศ ผ่านหลักเขตแดนที่ ๔๙ (คลองลึก) เข้าเขตกัมพูชาที่ปอยเปตไปสู่กรุงพนมเปญ ระยะทางจากตัวอำเภออรัญประเทศ ถึงหลักเขตแดนประมาณ ๕ กิโลเมตร จากหลักเขตด่านถึงด่านปอยเปต อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๕๐๐ เมตร
                        - ทางรถยนต์จากที่ว่าการอำเภออรัญประเทศ ขนานทางรถไฟถึงด่านปอยเปต  อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๕.๕๐ กิโลเมตร
                        - ทางเกวียนจากบ้านแสนสุข (จุกหลุก) ตำบลคลองน้ำใส ไปยังบ้านป่าสูง ตำบลเวฬุวัน กิ่งอำเภอระเวีย อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๙๐ กิโลเมตร
                        - ทางเกวียนจากบ้านลังหิน ตำบลท่าข้าม ผ่านเขตแดนที่คลองน้ำใส ไปบ้านกระชาย ตำบลบ้านกูบ อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๓ กิโลเมตร
                        - ทางเกวียนจากบ้านหนองเอี่ยม ตำบลท่าข้าม ผ่านเขตแดนที่คลองน้ำใสตัดไปยังบ้านกูบ ตำบลบ้านกูบ อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๙ กิโลเมตร
                        - ทางเกวียนจากบ้านหนองสังข์  ตัดไปบ้านยาว ตำบลสารภี อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๓๒ กิโลเมตร
                        - ทางเกวียนจากบ้านโนนหมากมุ่น  ตำบลโคกสูง ถึงบ้านยาง ตำบลบ้านลิง อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๔ กิโลเมตร
                ช่องทางในเขตจังหวัดสระแก้ว  อยู่ในเขตอำเภอตาพระยา เป็นเส้นทางเกวียน มีอยู่ ๘ เส้นทางด้วยกันคือ
                        - ทางเกวียนจากบ้านตาพระยา  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านเขว้า ตำบลสวายจิก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๙ กิโลเมตร
                        - ทางเกวียนจากตำบลตาพระยา  ตัดไปบ้านเขว้า ตำบลสวายจิก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๗ กิโลเมตร
                        - ทางเกวียนจากบ้านตาพระยา  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านโดนโนย ตำบลบ้านชาด ตำบลชาด อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๗ กิโลเมตร
                        - ทางเกวียนจากบ้านมะกอก  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านโดนโนย ตำบลบ้านชาด อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๒๘ กิโลเมตร
                        - ทางเกวียนจากบ้านแสง  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านตะยิง ตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๙ กิโลเมตร
                        - ทางเกวียนจากบ้านละลมเบง  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านกระโดน ตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
                        - ทางเกวียนจากบ้านละลมเบง  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านตะยิง ตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๑๕ กิโลเมตร
                        - ทางเกวียนจากบ้านชลกสงัน  ตำบลตาพระยา ตัดไปบ้านกระโดน ตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๙ กิโลเมตร
                ช่องทางในเขตจังหวัดบุรีรัมย์  อยู่ในเขตอำเภอนางรอง และอำเภอประโคนชัย
                    อำเภอนางรอง  มีอยู่สองช่องทางด้วยกัน เป็นช่องทางเกวียน
                        - ช่องบะระแนะ  อยู่ในตำบลละหารทราย ติดต่อระหว่างตำบลละหารทรายกับตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง เป็นทางเกวียน
                        - ช่องโคกไม้แดง  อยู่ในตำบลละหารทราย เป็นเส้นทางติดต่อระหว่างตำบลละหารทราย กับตำบลทมอพวก อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ระยะทางประมาณ ๗๐ กิโลเมตร เป็นทางเกวียน
                    อำเภอประโคนชัย  มีอยู่สามช่องทางด้วยกันเป็นทางเกวียนและทางเดินเท้า
                        - ช่องจันทร์เพชร  อยู่ในตำบลบ้านกรวด เป็นช่องทางไปสู่ตำบลพุทไธสมันต์ อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง เป็นเส้นทางเกวียนและทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๗๖ กิโลเมตร
                        - ช่องไซตะกู  อยู่ในตำบลบ้านกรวด เป็นช่องทางไปสู่บ้านปองตุก ตำบลพุทไธสมันต์ อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง เป็นเส้นทางเกวียน และทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๒๖ กิโลเมตร
                        - ช่องจันทร์กระออม  อยู่ในตำบลบ้านกรวด เป็นช่องทางไปยังบ้านปองตุก ตำบลพุทไธสมันต์ อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง เป็นเส้นทางเกวียนและทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๓๐ กิโลเมตร
                ช่องทางในเขตจังหวัดสุรินทร์  อยู่ในเขตอำเภอปราสาท และอำเภอสังขะ
                    อำเภอปราสาท  มีอยู่หกช่องทางด้วยกัน เป็นเส้นเดินเท้า
                        - ช่องตาเหมือน  อยู่ในตำบลปักใด เป็นช่องทางติดต่อไปยังตำบลโคกกะปั๊ง อำเภอจงกัล จังหวัดอุดรมีชัย เป็นช่องทางเดินเท้า
                        - ช่องเหว  อยู่ในตำบลปักใด ติดต่อกับตำบลโคกกะปั๊ง อำเภอจงกัล จังหวัดอุดรมีชัย เป็นช่องทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๔๕ กิโลเมตร
                        - ช่องตาเกา  หรือช่องกระบาลซอ อยู่ในตำบลตาเกา ติดต่อกับตำบลกระบาลซอ อำเภอจงกัล จังหวัดอุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๔๐ กิโลเมตร
                        - ช่องกันเทิง  อยู่ที่บ้านหวด ต.ตาเกา ติดต่อกับ บ.ทม ต.กระบาลซอ อ.จงกัล จ.อุดรชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๐ กม.
                        - ช่องตาเล็ง  อยู่ที่ บ.โป่ง ต.ตาเกา ติดต่อกับ บ.กะดอล ต.กระบาลซอ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๗ คน
                        - ช่องโดนแก้ว  อยู่ที่บ.ตาเกา ต.ตาเกาใช้ติดต่อกับ ต.กระบาลซอ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
                    อำเภอสังขะ  มีอยู่ ๑๒ ช่องทาง เป็นเส้นทางเดินเท้า ทางเกวียน และบางแห่งรถยนต์เดินได้
                        - ช่องปลดต่าง  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.โกนเกวียน อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๔ กม.
                        - ช่องจอม  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.โกนเกวียน อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นทางรถยนต์เดินได้ ระยะทางประมาณ ๔๒ กม.
                        - ช่องโชก  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.โกนเกวียน อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๒ กม.
                        - ช่องทนง  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๘ กม.
                        - ช่องเสกเยีย  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า
                        - ช่องประเดียก  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๔ กม.
                        - ช่องตำไรจัก  หรือช่องกระบานซอ อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๔ กม.
                        - ช่องคูน  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๖ กม.
                        - ช่องตาลอก  อยู่ใน ต.ด่าน ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย  เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๗ กม.
                        - ช่องพริก  อยู่ที่ บ.ตระแวง ต.บัวเชด ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เส้นทาง ทางเกวียนกับทางเดินเท้ามาบรรจบกับถนนที่ บ.ดอนสา ต.พลุ ระยะทางประมาณ ๔๐ กม.
                        - ช่องดาระกา  อยู่ที่ บ.สะเดา ต.บัวเชด ใช้ติดต่อกับ ต.สำโรง อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย  เป็นเส้นทางเกวียนและทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๕๐ กม.
                        - ช่องตำหนักมะติ  อยู่ใน ต.บัวเชด ใช้ติดต่อกับ ต.พลุ อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๖ กม.
                ช่องทางในเขตจังหวัดศรีษะเกษ  อยู่ในเขตอำเภอขุขันธ์ และอำเภอกันทรลักษณ์
                    อำเภอขุขันธ์  มีอยู่สี่ช่องทาง เป็นเส้นทางเดินเท้า
                        - ช่องชำดีกา  อยู่ใน ต.สะเดาใหญ่ ใช้ติดต่อกับ ต.อัลลงเวง อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๙๖ กม.
                        - ช่องเขาสะงำ  อยู่ใน ต.โสน ใช้ติดต่อกับ ต.อัลลงเวง อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๙๒ กม.
                        - ช่องสำโรง  อยู่ที่ บ.พนมตะบัน ต.ปรือใหญ่ ใช้ติดต่อกับ ต.อัลลงเวง อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๒๘ กม.
                        - ช่องศรีษะเกษ  อยู่ใน ต.ปรือใหญ่ ใช้ติดต่อกับ ต.อัลลงเวง อ.จงกัล จ.อุดรมีชัย เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๘๐ กม.
                    อำเภอกันทรลักษณ์  มีอยู่เก้าช่องทาง เป็นทางเกวียนและทางเดินเท้า
                        - ช่องพระประลาย  อยู่ใน ต.ละลาย ใช้ติดต่อกับ ต.บ่อพลอย อ.จอมกระสาน จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๑๐ กม.
                        - ช่องทับอู  อยู่ใน ต.กะลาย ใช้ติดต่อกับ ต.บ่อพลอย อ.จอมกระสาน จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๕๐ กม.
                        - ช่องโนนอาว  อยู่ที่ บ.โนนอาว ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ บ.ทเมย ต.กันตรวจ อ.จอมกระสาน จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเกวียนและเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๓๘ กม.
                        - ช่องพรหมวิหาร  อยู่ใน ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๒๐ กม. เมื่อข้ามเขาลงมาด้านกัมพูชาแล้ว จะมีถนนผ่านไปยังจอมกระสานต์ เป็นระยะทางประมาณ ๓๘ กม.
                        - ช่องแปดหลัก  อยู่ใน ต.รุง ใช้ติดต่อกับ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๑๐๐ กม.
                        - ช่องตาเซ็ม  อยู่ใน ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ ต.กันตรวจ อ.จอมกระสาน จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๙๐ กม.
                        - ช่องตาเฒ่า  อยู่ใน ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ ต.กันตรวจ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเกวียน ระยะทางประมาณ ๘๕ กม.
                        - ช่องดำผกา หรือดำตะแป  อยู่ใน ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ บ.ตาเตรอ ต.กันตรวจ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเกวียน และเส้นทางเดินเท้า เป็นระยะทางประมาณ ๕๕ กม.
                        - ช่องโพย  อยู่ใน ต.บึงมะลุ ใช้ติดต่อกับ ต.กันตรวจ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเกวียน ระยะทางประมาณ ๗๐ กม.
                ช่องทางในเขตจังหวัดอุบลราชธานี  อยู่ในเขตเดชอุดม มีอยู่สองช่องทางคือ
                        - ช่องอานม้า  อยู่ใน ต.โขง ใช้ติดต่อกับ ต.ตะเคียนกวาง อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๓๒ กม.
                        - ช่องบก  อยู่ใน ต.โดมประดิษฐ์ ใช้ติดต่อกับ ต.จอมกระสานต์ อ.จอมกระสานต์ จ.พระวิหาร เป็นเส้นทางเดินเท้า ระยะทางประมาณ ๓๖ กม.
                ช่องทางที่ติดต่อกับประเทศลาว  อยู่ทางตอนเหนือของประเทศกัมพูชา เข้าสู่ประเทศลาวที่เมืองปากเซ มี ๑๒ ช่องทางในเขตสีทันดร เซโดน และอัตตะบือ และบริเวณสองฟากแม่น้ำโขง อยู่ในเขตจังหวัดรัตนคีรี สตึงเตรง และพระวิหาร
                ช่องทางที่ติดต่อกับประเทศเวียตนาม  อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศกัมพูชา ในเขตจังหวัดสวายเรียง เข้าสู่ประเทศเวียดนามในเขตเมืองโฮชิมินต์ (ไซ่งอน) อยู่ในเขตจังหวัดรัตนคีรี มณฑลคีรี กระแจะ กำปงชม เปรเวียร กันดาล ตาแก้ว และกัมปอต
ข้อมูลสภาพพรมแดน
            ไทยกับกัมพูชามีพรมแดนทางบกร่วมกันประมาณ ๗๙๐ กิโลเมตร และมีเขตน่านน้ำร่วมกัน ฝั่งทะเลกัมพูชา กัมพูชาติดต่อกับอ่าวไทยเป็นระยะทางประมาณ ๔๕๐ กิโลเมตร
            การกำหนดเส้นเขตแดนทางบก ส่วนใหญ่ใช้เส้นเขตแดนธรรมชาติ ได้แก่ สันปันน้ำ ร่องน้ำ และห้วย
            พรมแดนทางบกส่วนที่ยังไม่ได้มีการปักปันเขตแดนกันไว้ มีความยาว ๑๘๒ กิโลเมตร นับตั้งแต่ช่องบกด้านอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี อันเป็นจุดร่วมของเส้นเขตแดนไทย - ลาว - กัมพูชา ไปทางด้านทิศตะวันตกจนถึงช่องเกล ด้านอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีษะเกษ แนวเส้นเขตแดนถือตามสันปันน้ำ ระหว่างสองประเทศ
            พรมแดนส่วนที่ได้ทำสัญญาตกลงปักปันเขตแดนกันแล้ว มีความยาว ๖๑๖ กิโลเมตร ได้สร้างหมุดหลักเขตขึ้นไว้ ๗๓ หลัก เริ่มหลักเขตที่ ๑ ที่ช่องเกล จังหวัดศรีษะเกษ ทางด้านประเทศกัมพูชาอยู่ในเขตจังหวัดอุดรมีชัย ต่อไปจนสุดเขตพรมแดนร่วมกันทางบก ที่หลักเขต ๗๓ แหลมสารพัดพิษ จังหวัดตราด ทางด้านประเทศกัมพูชาอยู่ในเขตจังหวัดเกาะกง
            ปัญหาความไม่ครบสมบูรณ์ของหลักเขต จำนวนหลักเขตเพียง ๗๓ หลัก ต่อความยาวพรมแดน ๖๑๖ กิโลเมตร นับว่าไม่เป็นการเพียงพอ ปัจจุบันหลักเขตบางหลัก ยังหายไปบ้างชำรุดบ้าง จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ พบว่า
                หลักเขตที่หายไป  แต่มีหลักฐานปรากฎอยู่ ได้แก่ หลักเขต ๑๕,๒๐ ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ส่วนที่ไม่ปรากฎหลักฐานได้แก่ หลักเขต ๒๒ ในเขตจังหวัดสุรินทร์ หลักเเขต ๔๔,๔๙,๕๐,๕๑ ในเขตจังหวัดสระแก้ว หลักเขต ๕๘,๕๙ ในเขตจังหวัดจันทบุรี และหลักเขต ๒๒ ในเขตจังหวัดตราด
                หลักเขตชำรุด  มีอยู่ ๖ หลักเขตด้วยกันคือ หลักเขต ๓,๑๗ ในเขตจังหวัดสุรินทร์ หลักเขต ๖๕ ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ หลักเขต ๓๓.๓๗ ในเขตจังหวัดสระแก้ว หลักเขต ๕๕ ในเขตจังหวัดจันทบุรี
การคมนาคมและการขนส่ง
            เส้นทางรถไฟ  มีทางรถไฟสองสาย
                สายที่ ๑  จากกรุงพนมเปญไปยังอำเภอปอยเปต จังหวัดพระตะบอง จรดชายแดนไทยในเขตอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เลียบขนานไปกับเส้นทางหมายเลข ๕ ผ่านจังหวัดโพธิสัตธิ์ อำเภอพระตะบอง และอำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง มีความยาวประมาณ ๓๘๕ กิโลเมตร
                สายที่ ๒  จากกรุงพนมเปญ ไปยังท่าเรือกำปงโสม ผ่านจังหวัดดาแก้ว จังหวัดกำปอด และอำเภอเวียฉเรนห์ จังหวัดกัมปงโสม มีความยาวประมาณ ๒๖๐ กิโลเมตร
            เส้นทางถนน  มีเส้นทางถนนสายหลักอยู่ ๑๓ สาย ด้วยกันคือ
                เส้นทางหมายเลข ๑  จากกรุงพนมเปญ ถึงเมืองโฮจิมินต์ (ไซ่ง่อน) ในเวียดนาม ผ่านจังหวัดกันดาล จังหวัดเปรเวียง จังหวัดสวายเรียง มีความยาวประมาณ ๒๔๐ กิโลเมตร
                เส้นทางหมายเลข ๒ จากกรุงพนมเปญ ถึงพนมมาดจร๊ก จรดชายแดนกัมพูชากับเวียดนาม ผ่านจังหวัดกันดาลและจังหวัดดาแก้ว มีความยาวประมาณ ๑๑๕ กิโลเมตร
                เส้นทางหมายเลข ๓  จากกรุงพนมเปญ ถึงอำเภอเวียลเรนห์ จังหวัดกำปงโสม (สีหนุวิลล์) ผ่านจังหวัดกำปอต มีความยาวประมาณ ๒๔๐ กิโลเมตร
                เส้นทางหมายเลข ๔  จากกรุงพนมเปญ ถึงท่าเรือกัมปงโสม (สีหนุวิลล์) ผ่านจังหวัดกันดาล จังหวัดกัมปงโสม (สีหนุวิลล์) จังหวัดเกาะกง มีความยาวประมาณ ๒๓๐ กิโลเมตร
                เส้นทางหมายเลข ๕  จากกรุงพนมเปญ ถึงอำเภอปอยเปต จังหวัดพระตะบอง จรดชายแดนไทยในเขตอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ผ่านจังหวัดโพธิสัตและจังหวัดพระตะบอง มีความยาวประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร
                เส้นทางหมายเลข ๖  จากกรุงพนมเปญ ถึงอำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง ผ่านจังหวัดกำปงธม อำเภอกันดาล อำเภอกัมปงจาม จังหวัดเสียมราฐ มีความยาวประมาณ ๓๙๐ กิโลเมตร
                เส้นทางหมายเลข ๗  จากจังหวัดกัมปงธม ถึงพรมแดนกัมพูชากับเวียดนาม ผ่านจังหวัดกำปงจาม อำเภอสนูล จังหวัดกระแจะ และเชื่อมกับเส้นทางหมายเลข ๑๓ ในเขตจังหวัดสตึงเตรง มีความยาวประมาณ ๔๗๕ กิโลเมตร
                เส้นทางหมายเลข ๑๐  จากอำเภอพระตะบอง จังหวัดพระตะบองถึงตำบลไพลิน อำเภอรัตนมณฑล จังหวัดพระตะบอง มีความยาวประมาณ ๙๐ กิโลเมตร
                เส้นทางหมายเลข ๑๒  จากจังหวัดกัมปงทม ถึงอำเภอแซม จังหวัดพระวิหาร จรดชายแดนกัมพูชากับลาว มีความยาวประมาณ ๒๐๕ กิโลเมตร
                เส้นทางหมายเลข ๑๓  จากอำเภอสะนวล ถึงพรมแดนกัมพูชากับลาว ผ่านจังหวัดกระแจะ และจังหวัดสตึงเตรง มีความยาวประมาณ ๒๗๐ กิโลเมตร
                เส้นทางหมายเลข ๖๘  จากอำเภอกรอลัญ จังหวัดเสียมราฐ - อุดรมีชัย มีความยาวประมาณ ๑๓๐ กิโลเมตร
                เส้นทางหมายเลข ๖๙  จากอำเภอจอมกระสาน จังหวัดพระวิหาร ผ่านอำเภอกระสาน เลียบไปตามชายแดนตอนเหนือของกัมพูชา ผ่านอำเภอลองเวง อำเภอสำโรง อำเภอบันเตียอัมปิล จังหวัดเสียมราฐ - อุดรมีชัย อำเภอทมอพวก ไปบรรจบเส้นทางหมายเลข ๕ และหมายเลข ๖ ที่อำเภอศรีโสภณ จังหวัดพระตะบอง มีความยาวประมาณ ๓๔๐ กิโลเมตร
                เส้นทางหมายเลข ๕๘ จากตำบลไพลิน อำเภอรัตนมณฑล จังหวัดพระตะบอง ผ่านอำเภอมงคลบุรี จังหวัดพระตะบอง มีความยาวประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร
            การขนส่งทางทะเลและท่าเรือใหญ่
                ท่าเรือทะเล  มีอยู่สามแห่งด้วยกันคือ
                    - ท่าเรือพนมเปญ  ตั้งอยู่ที่กรุงพนมเปญ อยู่ห่างจากฝั่งทะเลประมาณ ๓๒๐ กิโลเมตร
                    - ท่าเรือกัมปงโสม  ตั้งอยู่ที่จังหวัดกำปงโสม (สีหนุวิลล์) อยู่บนฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย เหนือท่าเรือไปเล็กน้อย
                    - ท่าเรือเรียม  ตั้งอยู่ที่จังหวัดกัมปงโสม (สีหนุวิลล์)  อยู่บนฝั่งด้านอ่าวไทย อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวกัมปงโสม


ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกัมพูชา
            ประเทศกัมพูชา มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็นสมัยที่สำคัญคือ
            สมัยฟูนัน (Funan)  เป็นห้วงเวลาที่ได้รับวัฒนธรรมจากศาสนาพราหมณ์ฮินดู จากอินเดีย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๖ นับถือพระศิวะ และพระวิษณุ (พระนารายณ์) มีการดัดแปลงตัวอักษรของอินเดียมาเป็นตัวอักษรเขมร ศูนย์กลางความเจริญอยู่ทางมณฑลไปรเวียง ทางตอนใต้และลุ่มน้ำทะเลสาป รวมดินแดนที่เป็นของไทย ลาว และเวียดนาม ในปัจจุบันบางส่วน พลเมืองมีเผ่าฟูนัน เขมร และจาม ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบริเวณตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำโขง
            สมัยเจนละ (พ.ศ.๑๐๗๘ - ๑๓๔๕)  ในระหว่างที่อาณาจักรฟูนัน มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่นั้น มีดินแดนที่เป็นเมืองขึ้นอยู่อาณาจักรหนึ่ง ซึ่งขอมเรียกว่า อาณาจักรเจนละ ชื่อ กัมพูชา เริ่มในยุคนี้เนื่องจากกษัตริย์สมัยเจนละ ชื่อว่า กัมพู อาณาจักรเจนละแบ่งดินแดนออกอาณาจักรย่อยคือ อาณาจักรตอนเหนือชื่อ กุมพูปุระ อาณาจักรตอนใต้เชื่อ วิชัยปุระ ต่อมากษัตริย์ของกัมพูปุระองค์หนึ่ง ทำสงครามมีชัยชนะแล้ว ได้ส่งกองทัพไปตีอาณาจักรฟูนันได้ รวมเข้ามาอยู่ในอาณาจักรเจนละ
            อาณาจักรเจนละเจริญรุ่งเรืองอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาอาณาจักรศรีวิชัย ได้แผ่อำนาจเข้าไปในอินโดจีน อาณาจักรเจนละ ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีวิชัย
            สมัยขอมหรือนครวัด (พ.ศ.๑๓๔๕ - ๑๗๓๕)  เมื่อประมาณ พ.ศ.๑๓๔๕ กษัตริย์กัมพูปุระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ครองราชย์อยู่ระหว่าง พ.ศ.๑๓๔๕ - ๑๔๑๒ ได้รวบรวมอาณาจักรกัมพูปุระ และวิชัยปุระเข้าด้วยกัน ตั้งเป็นอาณาจักรใหม่เรียกว่า อาณาจักรขอม พระองค์ได้กู้อิสรภาพของอาณาจักรขอม จากอาณาจักรศรีวิชัยเป็นผลสำเร็จ พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ตั้งอาณาจักรขอม มีอำนาจมากสามารถแผ่อำนาจออกไป จนทำให้อาณาจักรขอมแผ่ออกไปกว้างขวางกินพื้นที่ ถึงหนึ่งในสามของอินโดจีน เป็นระยะเวลาประมาณ ๔๐๐ ปี
            ราชวงศ์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ได้ครองอาณาจักรขอมจนถึงปี พ.ศ.๑๔๒๐ จึงได้ขาดสายลง และได้มีราชวงศ์ใหม่ โดยมีปฐมราชวงศ์คือ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑ มีราชโอรสเป็น พระเจ้ายโสวรมันที่ ๑ ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๑๔๓๒ - ๑๔๕๑ กษัตริย์องค์นี้ได้สร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่นครธม ต่อมาได้มีกษัตริย์อีกหลายราชวงศ์ จนถึงพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ซึ่งครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ.๑๖๕๕ - ๑๖๙๕ เป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจสูงสุดในประวัติศาสตร์ของขอม พระองค์ได้ทรงให้สร้าง นครวัด และทำสัญญาไมตรีกับจาม และจีน
            สมัยเป็นเมืองขึ้นของพม่าและไทย (พ.ศ.๑๖๐๐ - ๒๔๑๐)  อาณาจักรขอมรุ่งโรจน์สูงสุดแล้ว ก็ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลงเนื่องจากถูกพม่า สมัยพระเจ้าอโนราธามังช่อ เข้ามารุกราน และยึดเป็นเมืองขึ้น ซึ่งในห้วงเวลาดังกล่าว อาณาจักรขอมยังไม่ยับเยินมากนัก ยังพอตั้งตัวได้ใหม่ ในระยะอีกเกือบประมาณร้อยปี ต่อมาจนถึงรัชสมัยพระเจ้ารามคำแหงฯ ของไทย ขอมถูกขับไล่ออกจากดินแดนที่เป็นของประเทศไทยปัจจุบันได้หมด อำนาจของอาณาจักรขอมได้หมดลงในประมาณปี พ.ศ.๑๘๙๐ นับแต่นั้นมาอาณาจักรสยาม ก็รุ่งโรจน์ขึ้นแทนที่อาณาจักรขอมในดินแดนสุวรรณภูมิ
            สมัยตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส (พ.ศ.๒๔๐๐ - ๒๔๙๗)  อาณาาจักรกัมพูชาได้เสื่อมลงเป็นลำดับ จนตกเป็นประเทศราชของไทย ต่อมาฝรั่งเศสได้เข้ามารุกราน และแสวงเมืองขึ้นในอินโดจีน กัมพูชาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๖ และในปี พ.ศ.๒๔๑๐ ฝรั่งเศสได้บีบบังคับให้ไทย ทำสัญญายอมรับรองอำนาจของฝรั่งเศส ในการคุ้มครองอารักขากัมพูชา หลังสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ ฝรั่งเศสกับกัมพูชาได้ทำความตกลงเมืองปี พ.ศ.๒๔๘๙ ให้กัมพูชาปกครองดินแดนตนเอง โดยรวมอยู่ในสหภาพฝรั่งเศส กัมพูชาได้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐
            ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ฝรั่งเศสปราชัยในการรบกับเวียตมินห์ ที่เมืองเดียนเบียนฟู เป็นเหตุให้ต้องเปิดการประชุม ๑๔ ชาติ ที่เมืองเจนีวา เพื่อนำสันติภาพมาสู่อินโดจีน ความตกลงเจนีวาในครั้งนั้น กำหนดให้ฝรั่งเศสมอบเอกราชให้แก่ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา กัมพูชาจึงได้เป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์ นับแต่นั้นมา
สังคมวัฒนธรรม
            ประชากร  ชาวเขมรแท้มีอยู่ประมาณร้อยละ ๘๕ ของประชากรทั้งหมด มีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวดำแดง หน้าผากโหนก ผมหยิกดำ จมูกหนา ริมฝีปากหนา
            สำหรับชนกลุ่มน้อยของเขมรมีหลายเผ่าพันธุ์ได้แก่ สะโอจ บัน ซำเร กวยหรือสวย สะเตียงหรือพวกข่า
            นอกจากชนกลุ่มน้อยดังกล่าวแล้ว ยังมีชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกัมพูชาอีกหลายเชื้อชาติได้แก่ ปาทาน จาม ลาว พม่า จีน เวียดนาม และไทย  ชาวกัมพูชาเชื้อสายจีนมีอยู่ประมาณร้อยละห้า เชื้อสายเวียดนามประมาณร้อยละเจ็ด  เชื้อสายไทย ลาว อินเดีย จาม มาเลเซีย และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ประมาณร้อยละสาม
                สภาพความเป็นอยู่ของประชากรสมัยก่อน  แบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม
                    กลุ่มชาวเมือง  ได้แก่ พวกเจ้าหรือเชื้อพระวงศ์ พวกพ่อค้าคหบดี ส่วนมากเป็นเขมรเชื้อสายเวียดนามหรือจีน มีอาชีพค้าขาย อีกพวกหนึ่งเป็นชนชั้นกลาง มีความรู้ดีพอสมควร ส่วนมากรับราชการหรือทำงานบริษัท ชาวเมืองเหล่านี้มีความเป็นอยู่อย่างทันสมัย รักความก้าวหน้า แต่มีจำนวนน้อยกว่าชาวชนบท
                    กลุ่มชาวชนบท  มีลักษณะคล้ายคลึงกับชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะที่อยู่ห่างไกลความเจริญ มีการศึกษาน้อยเพียงแค่อ่านออกเขียนได้ และพวกที่อ่านหนังสือไม่ออกก็มีอยู่บ้าง ชาวชนบทส่วนใหญ่ใช้วัดเป็นสถานที่เรียนหนังสือ แต่เป็นการเรียนชั้นต้นเท่านั้น เพียงให้อ่านออกและเขียนได้  ชาวชนบทมีความเป็นอยู่ง่าย ๆ  ไม่มีความกระตือรือร้น มีความเป็นกันเอง
                สังคมกัมพูชาในอดีต  ถือแนวการแบ่งชั้นวรรณะของอินเดีย แต่เนื่องจากชาวกัมพูชาส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา จึงทำให้การแบ่งชั้นวรรณะไม่เคร่งครัดนัก อาจมีการเลื่อนชั้นขึ้นลงได้ตามสถานภาพของบุคคล ซึ่งขึ้นอยู่กับการศึกษา ทรัพย์สิน และตำหน่งทางราชการ โดยทั่วไปการแบ่งชั้นในสังคมมีสี่ชั้นคือ
                   ราชวงศ์  เป็นชั้นที่ได้รับความเคารพยกย่องอย่างสูงสุด ได้รับการศึกษาสูง เนื่องจากมีโอกาสและทรัพย์สินมากกว่า และเป็นกลุ่มที่ปกครองประเทศสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน
                   ข้าราชการและคหบดี  เป็นปัญญาชนที่มีอิทธิพลใการบริหารประเทศ เพราะมีส่วนเป็นกลไก การบริหารในระดับสูง ระดับกลาง และระดับต่ำ
                   ราษฎร  เป็นชนชั้นในสังคมที่มีจำนวนมากที่สุด แต่ไม่มีอำนาจและอิทธิพลใด ๆ เพราะเป็นพวกถูกปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ไม่ค่อยมีการศึกษา และไม่มีที่ดินของตนเอง
                    พ่อค้า  ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศเช่น จีน เวียตนาม อีนเดีย และชาวยุโรป เป็นกลุ่มที่ดำเนินการทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำการค้าขาย โดยเฉพาะชาวเวียตนาม จะเป็นช่างฝีมือ แพทย์ และทำการประมง ชาวยุโรปมีอยู่เป็นส่วนน้อย ตกค้างอยู่ตั้งแต่ครั้งกัมพูชาเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ชาวยุโรปเหล่านี้มักดำรงตำแหน่งสำคัญในวงราชการและวงการค้า และสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในวงการเมือง ในการบริหารประเทศด้วยเนื่องจากมีทรัพย์สินและมีการศึกษาดี
            ศาสนา ในสมัยโบราณชาวกัมพูชานับถือภูตผี และเชื่อในเวทย์มนต์คาถาต่าง ๆ เช่นเดียวกับคนในสมัยโบราณอื่น ๆ ต่อมาแม้ชาวกัมพูชาจะได้นับถือศาสนาต่าง ๆ แล้วก็ตาม แต่ในส่วนลึกของจิตใจก็ยังคงภูติผีและไสยศาสตร์อยู่
            ก่อนที่คอมมิวนิสต์จะเข้าปกครองประเทศ ประชาชนชาวกัมพูชานับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๙๕ ที่เหลือนับถือคริตศาสนานิกาย นิกายโรมันคาทอลิก และนิกายโปรเตสแตนท์ ส่วนศาสนาอิสลามนั้นพวกที่นับถือได้แก่ ผู้ที่มีเชื้อสายแขกจาม และเชื้อสายมลายู
            พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของกัมพูชา เป็นฝ่ายเถรวาท และมีสองนิกายคือมหานิกาย และธรรมยุตินิกาย เช่นเดียวกับของไทย

...............................................