การเมืองและการปกครอง
เขตแดนที่เป็นประเทศอินโดนีเซีย ปัจจุบันเป็นอาณาเขตที่กำหนดไว้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๓
ก่อนหน้านั้น เขตแดนของอินโดนีเซียแตกต่างออกไปจากที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
ก่อนสงครามมหาเอเซียบูรพา อินโดนีเซียเป็นที่รู้จักกันในนามของหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์
ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ประมาณ ๑๓,๖๗๗ เกาะ เกาะที่สำคัญคือ เกาะชวา เกาะสุมาตรา
เกาะสุลาเวสี หรือเกาะเซเลเบส บางส่วนของเกาะกาลิมันตันหรือเกาะบอร์เนียว
และบางส่วนของเกาะอีเรียนชยา ชาวดัทช์เริ่มเข้ามามสีอาณานิคม เหนือหมู่เกาะดังกล่าว
ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๑๔๕ และตั้งแต่นั้นมาอินโดนีเซียก็ตกอยู่ในการปกครองของเนเธอร์แลนด์
เป็นระยะเวลาประมาณสามศตววรรษครึ่ง จนนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๕ ระหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพา
ญยี่ปุ่นได้เข้ามายึกครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออก
หลังสงครามมหาเอเซียบูรพาสงบลง เนเธอร์แลด์ได้ส่งกำลังกลับเข้ามาในอินโดนีเซียวอีก
โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอังกฤษ ซึ่งเข้าครอบครองอินโดนีเซีย หลังจากขับไล่ญี่ปุ่นออกไป
อินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชพร้อมกับประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.๒๔๘๘ และประกาศหลักปัญจศีล
ดร.ซูการ์โน ได้รับการเลือกเป็นประธานาธิบดี ได้มีการต่อสู้เพื่อเอกราชแลกด้วยเลือดเนื้อ
และชีวิตของชาวอินโดนีเซียนับแสนคน ในที่สุดอินโดนีเซียก็ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒
รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.๒๔๘๘
กำหนดใให้อินโดนีเซียมีการปกครองในรูปรัฐเดียว มีระบบการปกครองเป็นแบบรวมทั้งประเทศ
(United Structure) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้ารัฐบาล
เมื่อดัทช์โอนอำนาจอธิปไตยใให้อินโดพนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒ อินโดนีเซียก็มีรัฐธรรมนูญ
ฉบับที่ ๒ กำหนดให้อินโดนีเซีย มีการปกครองแบบสหพันธสาธารณรัฐ (Federation)
เรียกชื่อประเทศว่า สหรัฐอินโดนีเซีย (United State of Indonesia) ต่อมาในปี
พ.ศ.๒๔๙๓ อินโดนีเซียก็นำเอารัฐธรรมนูญฉบับที่สาม มาใช้ปกครองประเทศ กำหนดให้อินโดนีเซียกลับมีระบบการปกครองแบบรวมทั้งประเทศเหมือนรัฐธรรมนูญฉ
บับแรก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
ฉบับปี พ.ศ.๒๔๘๘ มาใช้ใหม่
หลักปัญจศีล (Panja Sila)
ปรัชญาที่สำคัญมากของอินโดนีเซียคือ หลักปัญจศีลของ ดร.ซูการ์โน เป็นหลักที่มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งของอินโดนีเซีย
ตลลอดระยะเวลาตั้งแต่อินโดนีเซียได้รับเอกราชเป็นต้นมา มีความเปว็นมาคือ ในปี
พ.ศ.๒๔๘๘ มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมการใให้อินโดนีเซียได้รับเอกราช
ญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝ่ายยึดครองอินโดนีเซียอยู่ในขณะนั้น ให้การอุปการะในการประชุมครั้งนี้
ดร.ซูการ์โน เป็นผู้แสวงหาหลักการขั้นพื้นฐาน สำหรับนำมาประสานความสามัคคี
ระหว่างปรัชญาของกลุ่มอิสลาม
ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการที่จะเห็นประเทศอินโดนีเซียใหม่ หลังจากได้รับเอกราชแล้วเป็นประเทศที่ปกครองโดยผู้นำทางศาสนาอิสลาม
กับกลุ่มพลเรือนคณะชาตินิยม
ซึ่งเปว็นกลุ่มที่มีปรัชญยาแนวทางสังคมนิยม
เพื่อเป็นรากฐานประสานความสามัคคีทั้งทางสังคมและการเมืองวระหว่างคนสองกลุ่มดังกล่าว
ซูการ์โน จึงวางหลักปัญจศีลให้เป็นปรัชญาของประเทศคือ อินโดนีเซียจะยึดมั่นอยู่ในเรื่องชาตินิยม
สากลนิยม รัฐบาลโดยประชาชน ความยุติธรรมในสังคม และความเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว
หลักปัญจศีลของซูการ์โน ได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งจากกลุ่มชาตินิยม ส่วนกลุ่มอิสลามต้อนรับอย่างไม่เต็มใจนัก
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอินโดเนเซีย
คำปรารถ
โดยเหตุที่ความเป็นเอกราชย่อมเป็นสิทธิของทุกชาติ การตกอยู่ภายใต้อาณัติของชาติอื่นจึงเป็นการขัดต่อหลักมนุษยธรรม
และความยุติธรรม และเป็นสิ่งที่ควรจะขจัดให้หมดสิ้นไป
การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประเทศอินโดเนเซียที่มีเอกราช ได้บรรลุถึงขั้นตอนแห่งความสำเร็จ
และขณะนี้ประชาชนชาวอินโดเนเซีย ได้ก้าวไปสู่การมีรัฐอินโดเนเซีย ซึ่งประกอบด้วยความเป็นเอกราช
เอกภาพ อธิปไตย นิติธรรม และความเจริญรุ่งเรือง
ด้วยพระพรของพระผู้เป็นเจ้า และด้วยแรงดลใจแห่งอุดมคติอันสูงส่ง เพื่อชีวิตแห่งชาติเสรี
ประชาชนชาวอินโดเนเซียจึงได้ประกาศเอกราช ณ บัดนี้
การตั้งรัฐบาลแห่งชาติอินโดเนเซียก็เพื่อทำนุบำรุงประชาชนและอาณาเขตดินแดนเพื่อส่งเสริมสาธารณประโยชน์
เพื่อยกมาตรฐานการครองชีพ และเพื่อเข้ามีส่วนร่วมในการสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้นในโลก
ทั้งนี้ โดยมีรากฐานอยู่บนความเป็นเอกราช สันติสุขถาวร และความเป็นธรรมในสังคม
ความเป็นเอกราชของชาติเรา ได้มีระบุในรัฐธรรมนูญแห่งรัฐอินโดเนเซีย ซึ่งเป็นที่ได้ตั้งขึ้นในรูปของสาธารณรัฐ
โดยมีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เราเชื่อมั่นในองค์พระผู้เป็นเจ้า
ซึ่งอยู่เหนือสรรพสิ่งทั้งปวง เชื่อในควมยุติธรรมและศีลธรรมของมนุษยชาติ และในความเป็นเอกภาพของอินโดเนเซีย
เราเชื่อในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอาศัยความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับประชาชน โดยมีการให้คำแนะนำปรึกษาเป็นแกนนำ
เพื่อที่จะบรรลุถึงความเป็นธรรมในสังคมสำหรับ
ปวงชนชาวอินโดเนเซีย
หมวด ๑ ระบอบการปกครองและอำนาจอธิปไตยของรัฐ
มาตรา ๑
- อนุมาตรา ๑
รัฐอินโดเนเซียเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว มีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ
- อนุมาตรา ๒
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจนี้โดยทางสภาประชาชน
(Madjelis Permusjawaratan Rakjat)
หมวด ๒ สภาประชาชน
มาตรา ๒
- อนุมาตรา ๑
สภาประชาชนประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผู้แทนของเขตภูมิภาค และกลุ่มอื่น
ๆ ตามที่กำหนดในบทบัญญัติของกฎหมาย
- อนุมาตรา ๒
ให้สภาประชาชนประชุมกันในเมืองหลวงอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุก ๆ ๕ ปี มติของสภาประชาชนให้ตัดสินโดยคะแนนเสียงข้างมาก
มาตรา ๓
ให้สภาประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ และกำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐไว้กว้าง ๆ
หมวด ๓ อำนาจบริหาร
มาตรา ๔
- อนุมาตรา ๑
อำนาจบริหารเป็นของประธานาธิบดีตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
- อนุมาตรา ๒
ให้มีรองประธานาธิบดีคนหนึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่
มาตรา ๕
- อนุมาตรา ๑
ให้ประธานาธิบดีโดยความยินยอมเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจนิติบัญญัติ
- อนุมาตรา ๒
ให้ประธานาธิบดีออกกฤษฎีกาประกาศใช้กฎหมายทั้งหลาย
มาตรา ๖
- อนุมาตรา ๑
ผู้เป็นประธานาธิบดีจะต้องเป็นพลเมืองอินโดเนเซียซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองโดยกำเนิด
- อนุมาตรา ๒
ให้สภาประชาชนเป็นผู้เลือกประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดีโดยคะแนนเสียงข้างมาก
มาตรา ๗
ให้ประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งเป็นเวลา ๕ ปี แต่เมื่อครบกำหนดนี้แล้วมีสิทธิได้รับเลือกใหม่ได้
มาตรา ๘
ในกรณีที่ประธานาธิบดีถึงแก่กรรม ถูกถอดถอน หรือหมดความสามารถที่จะทำหน้าที่ได้
ให้รองประธานาธิบดีเข้ารับตำแหน่งแทน จนครบวาระของประธานาธิบดีคนก่อน
มาตรา ๙
ก่อนเริ่มเข้ารับหน้าที่ ให้ประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี กล่าวถ้อยคำอย่างเป็นทางการต่อสภาประชาชนหรือสภาผู้แทนราษฎร
ดังนี้
คำสาบานของประธานาธิบดี
(รองประธานาธิบดี)
"ข้าพเจ้าขอสาบานต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดเนเซีย
(รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดเนเซีย) อย่างซื่อสัตย์สุจริต และสุขุมรอบคอบ
เพื่อธำรงรักษารัฐธรรมนูญ และเพื่อให้การเป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่าง
ๆ ทุกประการ และข้าพเจ้าจะอุทิศตนเพื่อรับใช้ประเทศชาติ"
คำปฏิญาณของประธานาธิบดี
(รองประธานาธิบดี)
"ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดเนเซีย
(รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดเนเซีย) อย่างซื่อสัตย์สุจริตและสุขุมรอบคอบ
เพื่อธำรงรักษารัฐธรรมนูญ และเพื่อให้การเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่าง
ๆ ทุกประการ และข้าพเจ้าจะอุทิศตนเพื่อรับใช้ประเทศชาติ"
มาตรา ๑๐
ประธานาธิบดีเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ
มาตรา ๑๑
ให้ประธานาธิบดี โดยความยินยอมเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ประกาศสงครามสร้างสันติภาพ
และทำสนธิสัญญากับประเทศต่าง ๆ
มาตรา ๑๒
ให้ประธานาธิบดีเป็นผู้ประกาศใช้กฎอัยการศึก ในระหว่างเวลาที่มีเหตุฉุกเฉิน
ให้กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่า จะให้ใช้บังคับกฎอัยกาศึก ภายใต้เงื่อนไขอย่างใด
และจะให้มีการดำเนินการอย่างไรหลังจากที่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกแล้ว
มาตรา ๑๓
- อนุมาตรา ๑
ให้ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งเอกอัครราชทูต ทูต และกงสุล
- อนุมาตรา ๒
ให้ประธานาธิบดีเป็นผุ้รับการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต ทูต และกงสุล ของประเทศอื่น
ๆ
มาตรา ๑๔
ให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้อภัยโทษ นิรโทษกรรม ให้เลิกการพิจารณาคดีอาญา และให้สิทธิบุคคลกลับคืนเป็นดังเดิม
มาตรา ๑๕
ให้ประนธานาธิบดีมีอำนาจให้ยศ ตำแหน่ง อิสริยาภรณ์ และเครื่องหมายเชิดชูเกียรติอย่างอื่น
หมวด ๔ สภาที่ปรึกษาสูงงสุด
มาตรา ๑๖
- อนุมาตรา ๑
ให้กฎหมายกำหนดองค์ประกอบของสภาที่ปรึกษาสูงสุด
- อนุมาตรา ๒
ให้สภาที่ปรึกษาสูงสุดมีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ประธานาธิบดีในเรื่องต่าง ๆ ที่ประธานาธิบดี
ได้ขอคำแนะนำปรึกษามา และให้มีสิทธิที่จะยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล
หมวด ๕ กระทรวง
มาตรา ๑๗
- อนุมาตรา ๑
ให้รัฐมนตรีทั้งหลายเป็นผู้ช่วยเหลือประธานาธิบดี
- อนุมาตรา ๒
ประธานาธิบดี เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีจากหน้าที่
- อนุมาตรา ๓
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ในหน่วยราชการที่ตนได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่
หมวด ๖ การปกครองท้องถิ่น
มาตรา ๑๘
การแบ่งเขตดินแดนของประเทศอินโดเนเซีย เป็นหน่วยปกครองตลอดจนการวางรูปแบบของการปกครองท้องถิ่น
ให้กระทำโดยกฎหมายโดยให้สอดคล้องกับหลักการที่ให้มีการปรึกษาหารือ และมีสิทธิตามจารีตประเพณีของเขตดินแดนแต่ละท้องถิ่น
หมวด ๗ สภาผู้แทนราษฎร
มาตรา ๑๙
- อนุมาตรา ๑
การจัดองค์งานของสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปตามที่กำหนดในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
- อนุมาตรา ๒
ให้สภาผู้แทนราษฎรประชุมกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๒๐
- อนุมาตรา ๑
ให้กฎหมายทุกชนิดออกได้โดยความยินยอมเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร
- อนุมาตรา ๒
ถ้าร่างกฎหมายใดสภาผู้แทนราษฎรไม่ยอมให้ผ่าน ร่างกฎหมายนั้นจะยื่นเสนอใหม่อีกเป็นครั้งที่สอง
ในระหว่างวาระประชุมเดียวกัน ของสภาผู้แทนราษฎรมิได้
มาตรา ๒๑
- อนุมาตรา ๑
สมาชิกสภผู้แทนราษฎรย่อมมีสิทธิที่จะเสนอร่างกฎหมายได้
- อนุมาตรา ๒
ภาษีทุกรูปแบบให้กำหนดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ถ้าประธานาธิบดีไม่ยอมให้ผ่านร่างกฎหมายเกี่ยวกับภาษีใด ร่างกฎหมายนั้นจะยื่นเสนอใหม่อีกเป็นครั้งที่สอง
ในระหว่างวาระประชุมเดียวกัน ของสภาผู้แทนราษฎรมิได้
มาตรา ๒๒
- อนุมาตรา ๑
ในระหว่างเวลาที่มีเหตุฉุกเฉิน ให้ประธานาธิบดีมีอำนาจออกกฤษฎีกา ซึ่งบังคับใช้แทนกฎหมาย
- อนุมาตรา ๒
กฤษฏีกาทั้งหลายซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ออกจะต้องมีการให้สัตยาบัน โดยสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างวาระประชุมต่อไป
- อนุมาตรา ๓
ถ้าปรากฎว่ามิได้มีการให้สัตยาบันดังกล่าว ให้กฤษฎีกานั้นเป็นอันยกเลิกไป
หมวด ๘ การเงินการคลัง
มาตรา ๒๓
- อนุมาตรา ๑
งบประมาณรายรับและรายจ่ายของทุกปี ได้กำหนดโดยบัญญัติของกฎหมาย ถ้าในปีใดสภาผู้แทนราษฎร
มิได้รับรองเห็นชอบ กับงบประมาณที่รัฐบาลเสนอ ก็ให้ใช้งบประมาณของปีก่อนหน้านั้น
- อนุมาตรา ๒
ภาษีทุกรูปแบบให้กำหนดโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย
- อนุมาตรา ๓
ชนิดราคาและค่าของเงินตรา ให้กำหนดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
- อนุมาตรา ๔
เรื่องอื่นใดอันเกี่ยวกับการคลัง ให้กำหนดโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย
- อนุมาตรา ๕
ให้มีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน มีหน้าที่ตรวจสอบ สอบบัญชี และประนอมหนี้ทั้งหลาย
อันเกี่ยวกับการเงินการคลัง และผลของการสอบบัญชีดังกล่าว ให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร
หมวด ๙ อำนาจตุลาการ
มาตรา ๒๔
- อนุมาตรา ๑
อำนาจตุลาการให้เป็นของศาลสูงสุด และศาลชั้นล่างตามที่กฎหมายได้จัดตั้ง
- อนุมาตรา ๒
การจัดองค์งาน และอำนาจของศาลที่กล่าวนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
มาตรา ๒๕
คุณสมบัติของการเป็นผู้พิพากษา และเงื่อนไขในการปลดจากหน้าที่ ให้กำหนดโดยบทบัญญัติของกฎหมาย
หมวด ๑๐ ความเป็นพลเมือง
มาตรา ๒๖
- อนุมาตรา ๑
พลเมือง ได้แก่ ชาวอินโนเซียโดยกำหนด รวมตลอดทั้งบุคคลที่มีใบสำคัญการแปลงชาติแล้ว
- อนุมาตรา ๒
บรรดาเรื่องทั้งหลายที่มีผลกระทบกระทั่งถึงความเป็นพลเมือง ให้กำหนดโดยบทบัญญัติของกฎหมาย
มาตรา ๒๗
- อนุมาตรา ๑
พลเมืองทุกคนย่อมมีสถานะทางกฎหมาย และทางปกครองเสมอกัน และจะต้องเคารพต่อกฎหมาย
และการปกครองโดยไม่มีข้อยกเว้น
- อนุมาตรา ๒
พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิในการทำงาน และมีสิทธิที่จะมุ่งหวังในมาตราฐานการครองชีพที่เหมาะสม
มาตรา ๒๘
เสรีภาพในการชุมนุมกัน และสิทธิที่จะก่อตั้งเป็นองค์กร เสรีภาพในการพูด เสรีภาพของหนังสือพิมพ์
ตลอดจนเสรีภาพอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ให้กำหนดโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย
หมวด ๑๑ ศาสนา
มาตรา ๒๙
- อนุมาตรา ๑
รัฐตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเชื่อมั่นในองค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด
แต่พระองค์เดียว
- อนุมาตรา ๒
รัฐให้หลักประกันเสรีภาพของประชาชนในการนับถือ และแสดงออกซึ่งความเชื่อในศาสนาของตน
หมวด ๑๒ การป้องกันประเทศ
มาตรา ๓๐
- อนุมาตรา ๑
พลเมืองทุกคนอาจถูกเกณฑ์ให้เข้าร่วมในการป้องกันประเทศ
- อนุมาตรา ๒
บรรดาเรื่องทั้งหลายที่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศ ให้กำหนดโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย
หมวด ๑๓ การศึกษา
มาตรา ๓๑
- อนุมาตรา ๑
พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะได้การศึกษา
- อนุมาตรา ๒
ให้รัฐบาลก่อตั้งและดำเนินการ ซึ่งระบบการศึกษาของชาติ ตามที่กำหนดโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย
มาตรา ๓๒
ให้รัฐบาลปรับปรุงส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติอินโดเนิซีย
หมวด ๑๔ ประโยชน์สุขของสังคม
มาตรา ๓๓
- อนุมาตรา ๑
ให้จัดระบบเศรษฐกิจในแบบสหกรณ์
- อนุมาตรา ๒
การผลิตแขนงที่สำคัญต่อรัฐ และซึ่งกระทบกระเทือนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่
ให้อยู่ในความควบคุมดูแลของรัฐ
- อนุมาตรา ๓
ผืนดินและท้องน้ำ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในผืนดินและท้องน้ำ ให้อยู่ในความควบคุมดูแลของรัฐ
และจะนำมาใช้ เพื่อประโยชน์สุขอันสูงสุดของประชาชน
มาตรา ๓๔
ให้รัฐคุ้มครองดูแลแก่เยาวชนผู้ยากไร้ และขาดผู้ดูแล
หมวด ๑๕ ธงชาติและภาษา
มาตรา ๓๕
ธงชาติของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย ให้เป็นธงสีแดงและสีขาว
มาตรา ๓๖
ภาษาราชการให้ใช้ภาษาอินโดเนเซีย
หมวด ๑๖ การแก้ไขเปลี่ยนแปลง
มาตรา ๓๗
- อนุมาตรา ๑
สมาชิก ๒ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาประชาชน จะต้องอยู่ในที่ประชุม
ในระหว่างที่มีการประชุม ปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ
- อนุมาตรา ๒
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ จะทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับการเห็นชอบจากสมาชิกอย่างน้อย
๒ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ที่อยู่ในที่ประชุม
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๓๘
- อนุมาตรา ๑
ให้คณะกรรมการเตรียมการ เพื่อความเป็นเอกราชของอินโดเนเซีย กำหหนดจะเตรียมการสำหรับระยะเวลา
และการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลอินโดเนเซีย
- อนุมาตรา ๒
สถาบันทางราชการ และกฎหมายที่มีอยู่ทั้งหมดให้เป็นไปโดยสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญนี้
- อนุมาตรา ๓
ในขั้นแรกนี้ให้คณะกรรมการเตรียมการเพื่อความเป็นเอกราชของอินโดเนเซีย เป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี
และรองประธานาธิบดี
- อนุมาตรา ๔
ก่อนถึงระยะเวลาเลือกตั้งของสภาประชาชน สภาผู้แทนราษฎร และสภาที่ปรึกษาสูงสุดตามรัฐธรรมนูญนี้
ให้ประธานาธิบดีด้วยความช่วยเหลือ ร่วมมือจากคณะกรรมการแห่งชาติ เป็นผู้ใช้อำนาจของสภาที่กล่าวข้างต้น
บทบัญญัติเพิ่มเติม
๑. ภายใน ๖ เดือนจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ให้ประธานาธิบดีแห่งอินโดเนเซียกำหนด
และเตรียมการทุกอย่างที่ระบุในรัฐธรรมนูญ
๒. ภายใน ๖ เดือน หลังจากเลือกตั้งสภาประชาชน ให้สภาประชาชนประชุมกันเพื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
ความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ
ได้แก่ ประเทศกลุ่มมหาอำนาจ กลุ่มประเทศอินโดนีเซีย และกับประเทศไทย
สหรัฐอเมริกา
นับตั้งแต่ประธานิธิบดี ซูการ์โน ขึ้นดำรงตำแหน่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ สหรัฐอเมริกาได้กลับมามีบทบาทสำคัญ
ในการให้ความช่วยเหลือแก่อินโดนีเซียอีก เพื่อไม่ให้คอมมิวนิสต์กลับมามีอิทธิพลในอินโดนีเซียอีก
ประเทศจีน
อินโดนีเซียประกาศระงับความสัมพันธ์กับประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ เนื่องจากจีนให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ในการก่อกบฏ
ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ อยู่ในภาวะเสื่อมโทรมตลอดมานับแต่นั้น ต่อมาในปี
พ.ศ.๒๕๑๕ อินโดนีเซียได้ออกคำแถลงว่าสิ่งสำคัญที่สุด ในการกลับไปมีความสัมพันธ์ขั้นปกติระหว่างกันคือ
จีนจะต้องยอมรับว่าอินโดนีเซีย มีรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงรัฐบาลเดียว
และจีนต้องระงับความช่วยเหลือ สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียโดยสิ้นเชิง
ซึ่งในเวลาต่อมาจีนได้สนองตอบต่อท่าทีของอินโดนีเซีย
ในระหว่างปี พ.ศ.๒๕๒๐ ความสัมพันธ์ระหว่างอินโดนีเซียกับจีน มีท่าทีกระเตื้องขึ้น
จนถึงขั้นเตรียมการที่จะสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน แต่จากคำแถลงของนายเติ้งเสี่ยวผิง
รองนายกรัฐมนตรีของจีน ระหว่างการเยือนมาเลเซียว่า จีนจะไม่เลิกสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์มลายา
ทำให้วงการต่าง ๆ คัดค้านการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับจีน
ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ แนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองดีขึ้นมาก อินโดนีเซียมีการติดต่อการค้ากับจีนโดยผ่านสิงคโปร์
และฮ่องกง
ประเทศรัสเซีย
จากการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ครั้งใหญ่ในอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ ทำให้สัมพันธภาพระหว่างสหภาพโซเวียตรัสเซีย
กับอินโดนีเซีย เสื่อมโทรมลงมาก สหภาพโซเวียตได้ตอบโต้ท่าทีของอินโดนีเซียด้วยการงดความช่วยเหลือ
ยุติการให้หรือการขายอุปกรณ์ และอะไหล่ยุทโธปกรณ์ทางการทหาร หยุดการดำเนินงานตามโครงการต่าง
ๆ เช่น โครงการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำ
ในระยะต่อมา ปี พ.ศ.๒๕๑๗ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองกระเตื้องขึ้นมาก
อินโดนีเซียได้เปรียบดุลการค้า กับสหภาพโซเวียตประมาณ ๑,๒๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
ในปี พ.ศ.๒๕๒๕ อินโดนีเซียได้ขับนักการทูต และเจ้าหน้าที่สายการบินโซเวียตออกนอกประเทศ
ในข้อหาปฏิบัติการจารกรรมในดินแดนอินโดนีเซีย ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ
อยู่ในภาวะที่เย็นชา แต่กลับดีขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ เมื่ออินโดนีเซียได้ตกลงที่จะเปิดเมืองท่าสี่แห่ง
ให้เรือสินค้าของสหภาพโซเวียต เข้าขนถ่ายสินค้าได้
ประเทศญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเป็นประเทศในกลุ่มประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือแก่อินโดนีเซียระหว่างปี
พ.ศ.๒๕๑๘ - ๒๕๒๐ ชาวญี่ปุ่น ได้เข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียมาก เป็นอันดับหนึ่ง
โดยมีเงินลงทุนถึงประมาณ ๒,๐๐๐ ล้านเหรียญอเมริกา
ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ ได้มีการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองขึ้นไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งผ่านเทคโนโลยีจากชาวญี่ปุ่น
ไปสู่คนพื้นเมืองชาวอินโดนีเซีย
ในปี พ.ศ ๒๕๒๗ ได้มีการแถลงภายหลังการหารือกับญี่ปุ่นในประเด็นของปัญหากัมพูชาที่เกี่ยวกับเวียดนาม
และทางอินโดนีเซีย ได้เสนอแผนฟื้นฟูสันติภาพในกัมพูชา
ประเทศในตะวันออกกลาง
มีความสัมพันธ์เป็นอย่างดีกับอินโดนีเซียตลอดมา เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม
ในปี พ.ศ.๒๕๑๙ อินโดนีเซียได้รับความช่วยเหลือจากประเทศซาอุดิอาระเบียและประเทศอิหร่านในการพัฒนาโรงงานผลิตปุ๋ยยูเรีย
ในปี พ.ศ.๒๕๒๐ ประธานาธิบดีซูฮาร์โต ได้เดินทางไปเยือนกลุ่มประเทศตะวันออกกลางเจ็ดประเทศ
หลายประเทศได้แสดงความจำนง ที่จะให้ความช่วยเหลืออินโดนีเซีย ในโครงการต่าง
ๆ และประธานาธิบดีซูฮาร์โต ก็ได้แถลงสนับสนุนการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์
ประเทศในกลุ่มอินโดจีน
ได้แก่ เวียดนาม ลาวและกัมพูชา
ประเทศเวียดนาม
อินโดนีเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนามเหนือ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗
แต่ความสัมพันธ์ ได้เสื่อมทรามลงในปี พ.ศ.๒๕๑๐ โดยเฉพาะที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะในอินโดจีน
ในปี พ.ศ.๒๕๑๙ สัมพันธภาพระหว่างสองประเทศเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ
ในปี พ.ศ.๒๕๒๐ ทั้งสองประเทศ ได้เจรจากันในปัญหาติมอร์ตะวันออก ปัญหาการรับรองอาเซียน
และเขตสันติภาพ ปัญหาไหล่ทวีป ซึ่งทั้งสองประเทศ มีข้อขัดแย้งกันบางประการเกี่ยวกับการกำหนดเขตไหล่ทวีปบริเวณตอนเหนือหมู่เกาะนาตูนา
ในทะเลจีนใต้ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๗ ได้มีการประชุมแก้ไขปัญหา ไหล่ทวีประหว่างสองประเทศครั้งที่
๗ การประชุมไม่ประสบผลสำเร็จ
ประเทศลาว
ความสัมพันธ์ระหว่างอินโดนีเซียกับลาวยังอยู่ในลักษณะที่ห่างเหินกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน
ประเทศกัมพูชา
อินโดนีเซียกับกัมพูชาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑
ก่อนหน้านั้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ อินโดนีเซียได้เคยแถลงให้การรับรองรัฐบาลกัมพูชา
หลังจากที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้ายึดครองกัมพูชาได้ แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลกัมพูชา
ทั้งนี้เพราะกัมพูชาเคยแถลงต่อต้านอินโดนีเซีย ในการที่ใช้กำลังเข้ายึดครองติมอร์ตะวันออก
อินโดนีเซียตระหนักถึงภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งเกิดจากการสนับสนุนของจีนเป็นหลัก
ส่วนภัยจากเวียดนามถือเป็นรอง การมองภัยคุกคามของภูมิภาค ที่แตกต่างจากประเทศอาเซียนอื่น
มีสาเหตุมาจากสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของอินโดนีเซีย ที่เป็นเกาะอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่
ประกอบกับประสบการณ์ที่ขมขื่น จากการก่อกบฏคอมมิวนิสต์ในประเทศซึ่งจีนให้การสนับสนุน
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ ด้วยเหตุนี้อินโดนีเซียจึงมีการติดต่อกับเวียดนามใกล้ชิดมากกว่าประเทศอาเซียนอื่น
ประเทศเพื่อนบ้าน
ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
ประเทศมาเลเซีย
อินโดนีเซียได้ประกาศใช้นโยบายเผชิญหน้ากับมาเลเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖
เมื่อมาเลเซียประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูต กับอินโดนีเซียเนื่องจากอินโดนีเซียไม่ยอมรับรองการสถาปนาประเทศมาเลเซีย
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๙ ประเทศทั้งสองได้กลับคืนดีกัน
หลังจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านก็ดีขึ้นด้วย
ต่อมาอินโดนีเซียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมอาเซียนเมื่อปี
พ.ศ.๒๕๑๐ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ประกอบด้วยประเทศสมาชิกคือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
จากการก่อตั้งสมาคมอาเซียนดังกล่าว เป็นเหตุให้อินโดนีเซีย เร่งรัดสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมาเลเซีย
และสิงคโปร์ขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐
ความร่วมมือกับมาเลเซียได้แก่ การประมง การค้า อุตสาหกรรมดีบุก และยาง สำหรับด้านการศึกษาและวัฒนธรรม
ทั้งสองประเทศได้ตกลง ให้มีการใช้ตัวสะกดในภาษาอินโดนิเซีย และมาเลเซีย ให้เหมือนกันได้ทำความตกลงอาณาเขตทางทะเล
ให้แบ่งส่วนที่มีความกว้างน้อยกว่า ๑๒ ไมล์ และถือว่าช่องแคบมะละกา
เป็นน่านน้ำอาณาเขตของประเทศทั้งสอง
ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ อินโดนิเซียแถลงว่า จะจำกัดการเดินเรือในช่องแคยนี้ โดยกำหนดห้ามเรือบรรทุกน้ำมัน
ขนาดตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ ตันขึ้นไป ไม่ให้ผ่านช่องแคบมะละกา ให้ไปใช้ช่องแคบลอมบ๊อค
ทางตะวันออกของเกาะบาหลี กับช่องแคบมาคัสซา
ระหว่างเกาะกาลิมันตัน
สุลาเวสี อันเป็นน่านน้ำอาณาเขตของอินโดนิเซียกันแทน และกำหนดให้เรืออื่น
ๆ นอกจากนี้ที่จะผ่านช่องแคบมะละกา จะต้องขออนุญาตจากอินโดนิเซียและมาเลเซียก่อน
ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ มีการเจรจาประจำปีของประเทศทั้งสอง มีการเจรจาเรื่องปัญหากัมพูชา
เรียกร้องให้เลขาธิการสหประชาชาติ จัดการประชุมระหว่างประเทศ เพื่อยุติความขัดแย้งในกัมพูชา
และเรียกร้องให้เวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชา อีกเรื่องหนึ่งคือ ปัญหากบฎมุสลิมในภาคใต้ของฟิลิปปินส์
ทั้งมาเลเซีย และอินโดนิเซีย ยืนยันในการที่จะเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย โดยมาเลเซียรับจะเป็นเจ้าภาพในการเจรจา
ระหว่างแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร กับรัฐบาลฟิลิปปินส์
ปัญหาสิทธิดินแดนบางแห่งที่ขัดแย้งกัน เนื่องจากอินโดนิเซียใช้หลักการกำหนดอาณาเขตน่านน้ำของประเทศ
ที่เป็นกลุ่มเกาะ ทำให้บริเวณโดยรอบ กลุ่มเกาะนาตูนา
และอานัมบัส ในทะเลจีนใต้เป็นของอินโดนิเซีย
ยังผลให้มาเลเซียตะวันตก ถูกตัดขาดจากมาเลเซียตะวันออก เนื่องจากทางผ่านทั้งทางทะเลและทางอากาศ
ตกเป็นของอินโดนิเซีย จึงต้องทำการเจรจากันต่อไป นอกจากนั้นประเทศทั้งสองยังมีปัญหาการแย่งสิทธิเหนือกลุ่มเกาะกิลิตัน
และซิปิตัน
ซึ่งอยู่นอกฝั่งรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย
ฟิลิปปินส์
ความสัมพันธ์กับฟิลิปปินส์ ในระยะหลัง ๆ ดำเนินไปด้วยดี ในฐานะเป็นภาคีอาเซียนด้วยกัน
ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนระหว่างประเทศทั้งสอง ครั้งที่ ๙ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗
ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงในความร่วมมือ และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยตามแนวชายแดนของประเทศทั้งสอง
ซึ่งได้ลงนามร่วมกันตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นต้นมา
สิงคโปร์ ความสัมพันธ์เป็นไปด้วยดี
มีการข้อตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดน และการปราบปรามการค้าของเถื่อน
ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ ได้มีการลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับการพัฒนาเกาะบาตัม
ของอินโดนิเซีย
ให้เป็นเขตแดนเศรษฐกิจเสรี สำหรับการลงทุนของต่างประเทศ
การประชุมคณะกรรมการชายแดนอินโดนิเซีย -
ปาปัว นิวกินี ได้มีการลงนามในข้อตกลงพรมแดนระหว่างประเทศอินโดนิเซีย
กับปาปัว นิวกินี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ เพื่อใช้ทดแทนข้อตกลงฉบับปี พ.ศ.๒๕๒๒ สาระสำคัญคือ
ทั้งสองประเทศจะไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดนของแต่ละประเทศ ให้ที่พักพิงแก่กองกำลังเพื่อต่อต้านรัฐบาลของแต่ละฝ่าย
และปาปัว นิวกินี จะต้องพิจารณาส่งผู้อพยพชาวอิเรียน จายา กลับคืนสู่บ้านเกิดเมืองนอน
การคลี่คลายปัญหาติมอร์ตะวันออก
ทางรัฐบาลออสเตรเลีย เคยมีนโยบายให้ชาวติมอร์ตะวันออก มีสิทธิกำหนดความสมัครใจของตนเอง
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ จึงก่อให้เกิดความตึงเครียดระหว่างออสเตรเลียกับอินโดนิเซีย
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ไทยกับอินโดนิเซียมีความสัมพันธ์ และความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดตลอดมา และเพิ่มมากขึ้น
เมื่อได้เข้าร่วมในการก่อตั้ง สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน
- ASEAN) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐
ความร่วมมือระหว่างไทยกับอินโดนิเซีย เป็นความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ
และวัฒนธรรม และอินโดนิเซียในฐานะที่เป็นสมาชิกกลุ่มประเทสไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
กลุ่มประเทศอิสลาม และกลุ่มประเทศ ผู้ผลิตน้ำมันเป็นสินค้าออก (โอเปค) อินโดนิเซียได้ให้ความช่วยเหลือไทยในหลายกรณี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขัดขวางการที่ ผู้แทนขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.) จะเสนอปัญหาเข้าสู่ที่ประชุมองค์การของกลุ่มประเทศอิสลาม
|