อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

| หน้าแรก | หน้าต่อไป |

ณ ที่ตั้งปราสาทเมืองสิงห์ ได้พบประะติมากรรมอันเนื่องจากพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ที่สำคัญอยู่เป็นจำนวนมาก คือ รูปพระอวโลกิเตศวร และพระนางปรัชญาปารมิตา และชิ้นส่วนของพระพุทธรูป ประะติมากรรมดังกล่าวมีอายุอยู่ในห้วงศิลปขอม แบบบายน จึงอนุมานว่าปราสาทเมืองสิงห์น่าจะสร้างขึ้นเป็นศาสนาฝ่ายมหายาน เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๑๗๐๐ - ๑๗๕๐
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงมี พระราชนิพนธ์เกี่ยวกับปราสาทเมืองสิงห์ ไว้ตอนหนึ่งว่า " ถึงปราสาททิศ 4 ด้าน ทางที่ไปนั้นเป็นต้นไผ่ครึ้ม ไม่สู้รกนัก พอเดินไปได้ แต่รอบนอกปราสาทนั้น ไม้ขึ้นรกชิดเดินไม่ได้ เราเข้าช่องปรางค์ด้านปีนขึ้นไป ตามก้อยแลงที่หักพังลงมา ถึงยอดกลางที่ทลาย เป็นกองอยู่แล้วเลียบลงไปข้างมุมทิศที่ปราสาทนี้ ให้พระพลลองวัดดูยาวด้านทิศตะวันตกไปตะวันออก 20 วา เหนือไปใต้ 18 วา มีปรางค์อยู่กลางยอด 1 แต่ทลายเสียแล้ว ไม่เห็นว่าเป็นอย่างไร ปรางค์ทิศ 4 ทิศ
รูปร่างเห็นจะเหมือนกับปรางค์ใหญ่ชักกำแพงแก้วติดกัน ข้างด้านหน้าสามด้าน ด้านหลังทิศต่อปรางค์ทิศกลางทั้งสองข้างนั้น มีหลังคายาวเป็นที่เรือนจันทน์ ในร่วมกลางสัก 4 ศอก ที่ปรางค์ และกำแพงแก้วเรือนจันทน์ทั้งปวงก่อด้วยแลงแผ่นใหญ่"
ตัวเมืองสิงห์ มีคันดินเตี้ย ๆ อยู่รอบเมือง ทั้งสองด้านอยู่ประมาณ 7 แนว ส่วนด้านทิศใต้ ติดกับแม่น้ำแควน้อยไม่มีคันดิน ภายในตัวเมือง มีคันดินจากกำแพงเมืองด้านทิศใต้ผ่านหน้า ด้านทิศตะวันออกของปราสาทวกไปทางทิศใต้ ขนานกับตัวโบราณสถาน ทางด้านเหนือไปสุดที่ กำแพงเมืองด้านตะวันตก

| หน้าแรก | หน้าต่อไป | บน |