อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

| หน้าแรก | หน้าต่อไป |

พระนครศรีอยุธยา เคยเป็นราชธานีของไทยเป็นระยะเวลาถึง 417 ปี มีกษัตริย์ปกครองรวม 5 ราชวงศ์ นับจำนวนทั้งสิ้น 33 พระองค์ นับตั้งแต่พระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระะบรมราชาธิบดี แห่งราชวงศ์เชียงราย เป็นปฐมกษัตริย์ ได้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1893
จนถึงพรเจ้าเอกทัศน์หรือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์ กษัตริย์พระองค์สุดท้ายที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า สิ้นสุดการเป็นราชธานีไทย เมื่อปี พ.ศ. 2310
ตลอดระยะเวลากว่าสี่ศตวรรษ พระนครศรีอยุธยาได้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้แก่ชนชาติไทย และแก่ชาวโลกมากมาย  เป็นเพชรน้ำเอกแห่งสุวรรณภูมิอย่างที่ไม่มีเพชรเม็ดใดเทียบเทียมได้  ตลอดห้วงระยะเวลาในประวัติศาสตร์  นับเป็นมรดกไทยและมรดกโลกที่ทรงคุณค่าต่อจากกรุงสุโขทัย  องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  (United Nation  Education  Science  and  Culture  Organization  (UNESCO)  ได้ประกาศให้เป็นมรดกโลก  พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕
จากการสำรวจพบซากโบราณสถานที่เป็นรากฐานของประสาทราชวัง  กำแพงเมือง  และวัดวาอารามคนที่ยังหลงเหลืออยู่ ๒๐๐  แห่ง  ในเขตแถวเมืองซึ่งล้อมรอบด้วยแม่น้ำสำคัญ  ๓  สาย คือ  แม่น้ำลพบุรี  แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยา  แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรือง ยิ่งใหญ่ อลังการ์  ของพระมหานครแห่งนี้


พระบรมมหาราชวัง
ชาวต่างประเทศที่ได้มาเห็นอยุธยาในครั้งนั้นได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับพระราชวังไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๓ พอประมวลได้ดังนี้
ในอยุธยาสมัยนั้นมีพระราชวังอยู่ ๓  แห่ง คือ  แห่งแรกพระราชวังที่พระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนทรงสร้างไว้  ตั้งอยู่ค่อนไปทางกลางพระนคร  ประกอบด้วยพื้นที่สี่เหลี่ยมใหญ่,  ปันเป็นส่วน,  มีตำหนักเป็นอันมาก  ทำเป็นหลังคาหลายชั้นตามแบบสถาปัตยกรรมจีน  ด้านหน้าปิดทองตลอด  ภายในกำแพงพระราชวัง  และภายนอกมีโรงช้างยาวเหยียด  มีช้างผูกเครื่องลายวิจิตรอยู่ร้อยกว่าเชือก  พระราชวังแห่งที่สอง  เรียกว่า  วังหลวง  อยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง  พื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมเหมือนกัน  แต่ไม่ใหญ่เท่าพระราชวังแห่งแรก  เดิมเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน  แต่ในขณะนั้นให้เป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช  ส่วนพระราชวังแห่งที่  ๓  เล็กกว่าสองแห่งที่กล่าวแล้ว  เป็นที่อยู่ของเจ้ากรมช้างต้น  มีเจ้าในราชวงศ์ประทับอยู่  องค์หนึ่งเป็นเจ้ากรมช้างต้น  เป็นควาญ  และผู้จัดแจงช้างต้นสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน

| หน้าแรก | หน้าต่อไป | | บน |