อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

| หน้าแรก |

วัดราชบูรณะ


วัดมเหยงค์

วัดใหญ่ชัยมงคล

วัดภูเขาทอง

วัดมงคลบพิตร

ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมือง
หมอแกย์ปีเฟอร์ได้เขียนไว้ว่า
รอบกรุงมีหมู่บ้านมากด้วยกัน บางแห่งอยู่ในเรือลอยมากกว่าบ้าน โยกย้ายไปตามที่ต้องการ เมื่อมีงานก็ลอยเรือเที่ยวเร่ขายของเป็นอาชีพ สำหรับบ้านปกติจะสร้างด้วยไม้ไผ่ประกอบกับไม้กระดาน 
บ้านนี้ปลูกตามริมฝั่งแม่น้ำ ปลูกบนเสาสูง ถึงหนึ่งฟาทอม เพื่อไม่ให้น้ำท่วมถึง แต่ละบ้านมีบันไดสำหรับลงแม่น้ำในหน้าแล้ง หมู่บ้านที่อยู่ลึกออกไปจากฝั่งน้ำ และไม่ถูกน้ำท่วม ก็ไม่ต้องใช้เรือ และในบริเวณดังกล่าวจะมีวัดวาอาราม ที่ฝังศพ และที่เผาศพ ซึ่งเมื่อเผาแล้วก็จะก่อเจดีย์ครอบอัฐิ และเถ้า สร้างไว้เป็นหย่อม ๆ ไป

วาระสุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา
เซนเยอร์บริโกด์ บาดหลวงชาวฝรั่งเศส เขียนไว้ได้ความว่า วัดและโรงเรียนสามเณรของเราก็ถูกไฟไหม้ พวกเข้ารีดที่วัดเซนด์ ปอล ถูกจับเป็นเชลยหมด นำไปไว้ยังวัดท่าใหม่ พม่าเที่ยวเอาไฟเผาบ้านเรือน ทุบทำลาย ข้าวของ และฆ่าฟันผู้คนทิ้งไปหมด
เมื่อพม่ายึดโรงเรียนสามเณรได้ ๘ วัน ก็ตีกรุงแตก พม่าเข้าไปในพระนครได้ จับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และบุคคลสำคัญจำตรวน ส่วนพระเจ้ากรุงสยามหนีข้าศึกไปได้ และสวรรคตที่โพธิ์สามต้น เมื่อพม่ายกทัพกลับไปแล้ว เมื่อพม่าเข้ากรุงได้แล้ว ก็จุดไฟเผาบ้านเรือน ทำลายข้าวของต่าง ๆ อยู่ถึง 15 วัน ฆ่าผู้คนไม่เลือกหน้า และได้พยายามฆ่าพระสงฆ์ไปนับจำนวนไม่ถ้วน พม่ายกทัพกลับโดยออกจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1767 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2310


| หน้าแรก | บน |