| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเสวยราชสมบัติ เมื่อพระชมมายุได้ ๓๒ พรรษา

๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ตั้งคณะอภิรัฐมนตรีสภา ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดิน

๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๘
            พ.ศ.๒๔๖๙ ให้มีการร่างกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็นครั้งแรก และสำเร็จเป็น พระราชบัญญัติ เมื่อ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๑ มีผลบังคับใช้เมื่อ ๑ เมษายน ๒๔๗๒

พ.ศ.๒๔๖๙
            กรมอากาศยาน เดิมขึ้นตรงกรมเสนาธิการทหารบก เปลี่ยนเป็นให้ขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม

๑๙ เมษายน ๒๔๖๙
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งราชบัณฑิตยสภา ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเดิมคือ กรรมการหอสมุดสำหรับพระนคร

๑๒ มิถุนายน ๒๔๖๙
            ให้รวมโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่กรุงเทพ ฯ (ถนนซังฮี้) กับโรงเรียนราชวิทยาลัยที่บางขวาง เป็นโรงเรียนเดียวกันเรียกว่า โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และให้ยุบโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่เชียงใหม่ด้วย “โรงเรียนมหาดเล็ก” ต่อมาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “โรงเรียนมหาดเล็กหลวง” คือ วชิราวุธวิทยาลัย

๒๕ สิงหาคม ๒๔๖๙
            ลงนามในสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส กำหนดเส้นเขตแดนตั้งแต่จังหวัดเชียงราย ถึงอุบลราชธานี สัญญาฉบับนี้ไม่ได้ถือร่องน้ำลึกเป็นเส้นเขตแดน ฉะนั้นเกาะทุกเกาะจึงเป็นของอินโดจีน ฝรั่งเศสให้สัตยาบัน เมื่อ ๒๙ มิถุนายน ๒๑๔๗๐

๑ มกราคม ๒๔๖๙
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดสะพานพระราม ๖ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก อยู่ตอนเหนือขึ้นไปใกล้จังหวัดนนทบุรี เขตตำบลบางกรวย

๒๗ กรกฎาคม ๒๔๗๐
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ทรงปรับปรุงสภาป้องกันพระราชอาณาจักร สภาดังกล่าวประกอบด้วยฝ่ายทหารและกระทรวงทบวงการเมืองฝ่ายพลเรือน มีหน้าที่ร่วมกันพิจารณา และวางนโยบายในการป้องกันพระราชอาณาจักร กับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่จะต้องขอให้ทรงพระราชทานคำปรึกษา

๓๑ กรกฎาคม ๒๔๗๐
            ภาพยนต์ที่คนไทยสร้างขึ้นเรื่องแรก เรื่อง “โชคสองชั้น” เริ่มฉายวันนี้

๕ ธันวาคม ๒๔๗๐
            วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ โรงพยาบาลเมาท์ ออเบิร์น (Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเสท สหรัฐอเมริกา

๑๓ กรกฎาคม ๒๔๗๑
            จดทะเบียนบริษัทเดินอากาศจำกัด ทุนจดทะเบียน ๖๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อดำเนินการขนส่งทางอากาศในประเทศ

๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
            เครื่องบินจากสายการบินฮอลันดา ซึ่งเป็นประเทศแรกในยุโรป ที่เปิดสายการบินจากยุโรปสู่เอเซีย ได้มาลงที่ดอนเมือง เพื่อเดินทางไปปัตตาเวียในชวาต่อไป

๑๕ มกราคม ๒๔๗๑
            กรมไปรษณีย์โทรเลขได้เปิดการสื่อสาร ทางวิทยุโทรเลขโดยตรงกับยุโรปโดยติดต่อกับกรุงเบอร์ลิน เป็นครั้งแรก

๑ เมษายน ๒๔๗๒
            วันที่ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๔๗๑ มีผลบังคับใช้ คณะรัฐมนตรี กำหนดให้วันนี้เป็นวันข้าราชการพลเรือน ตั้งแต่ปี ๒๕๒๓

๒๔ กันยายน ๒๔๗๒
            วันมหิดล เป็นวันที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สิ้นพระชนม์ด้วยโรคตับอักเสบ ที่โรงพยาบาลศิริราช พระชนมายุ ๓๘ ชันษา (ประสูติ ๑ มกราคม ๒๔๓๔)

๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๒
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ เฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงสงขลานครินทร์

๙ มกราคม ๒๔๗๒
            วันวางศิลาฤกษ์ สร้างสะพานพุทธยอดฟ้า กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นเจ้าหน้าที่ก่อสร้าง โดยมีนาย อี ฟอร์โน เป็นสถาปนิก สร้างตามแบบของบริษัท ดอร์แมนลอง ประเทศอังกฤษ ใช้งบประมาณ ๔ ล้านบาท

๓ เมษายน ๒๔๗๓
            ได้มีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นครั้งสุดท้าย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ

๙ พฤษภาคม ๒๔๗๓
            กองทัพไทย สั่งซื้อรถถังขนาดเล็กจากอังกฤษ ๑๐ คัน ขนาด ๒.๕ ตัน เข้ามาใช้ในราชการกองทัพ

๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
            ได้มีการเปิดวิทยุกระจายเสียงขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่ตำบลพญาไท

๒๒ ธันวาคม ๒๔๗๓
            ปรากฏยศ พลตำรวจตรี เป็นครั้งแรก คือ นายพลตำรวจตรีพระยาอาษา พลนิกร

พ.ศ.๒๔๗๔
            กระทรวงกลาโหม รับโอนงานของกระทรวงทหารเรือมาขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหม

๑๓ กรกฎาคม ๒๔๗๔
            รัฐบาลไทยได้จัดตั้งบริษัทเดินอากาศจำกัด (บ.ด.อ.) ขึ้นเพื่อบริการขนส่งทางอากาศด้านสินค้า และผู้โดยสารทั้งภายในและต่างประเทศ ต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นบริษัทเดินอากาศไทยจำกัด (บ.ด.ท.)

๑๒ สิงหาคม ๒๔๗๔
            ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมศิลปกรรม พ.ศ. ๒๔๗๔

๑๗ สิงหาคม ๒๔๗๔
            พลตรี เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (เจ้าน้อยมหาพรหม ณ น่าน) ผู้ครองนครน่านถึงแก่พิราลัย ในวันนี้ มีอายุ ๘๕ ปี เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ได้เป็นเจ้านครน่าน เมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๖๒ เป็นองค์สุดท้าย ต่อมาไม่มีเจ้าผู้ครองนคร

๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้รวมกระทรวงทหารเรือ เข้ากับกระทรวงกลาโหม เพราะมีหน้าที่เตรียมการป้องกันพระราชอาณาจักร และลดฐานะกระทรวงทหารเรือเป็น กรมทหารเรือ

๑๒ มีนาคม๒๔๗๔
            หล่อระฆังใบใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ที่วัดกัลยาณมิตร

๑๙ มีนาคม ๒๔๗๔
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า รำไพพรรณี เสด็จสหรัฐอเมริกาเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อรับการรักษาพระเนตร โดยได้เสด็จผ่านฮ่องกงและญี่ปุ่น จากญี่ปุ่นเสด็จโดยเรือเอมเปรสออฟเจแปน ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ถึงแวนคูเวอร์ แล้วเสด็จโดยรถไฟจากแวนคูเวอร์เข้าสหรัฐอเมริกาในมลรัฐดาโกดาเหนือ เมื่อ ๑๐ เมษายน ๒๔๗๔

๒ เมษายน ๒๔๗๕
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด สะพานปฐมราชานุสรณ์เป็นทางการ สะพานนี้ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก และเฉลิมฉลองในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ ๑๕๐ ปี

๔ เมษายน ๒๔๗๕
            งานพระราชพิธีสมโภชกรุงเทพมหานคร ครบรอบ ๑๕๐ ปี

๖ เมษายน ๒๔๗๕
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ทรงมีพระราชปรารภที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ ประชาชนชาวไทยในวันนี้ แต่คณะรัฐมนตรีกับพระบรมวงศานุวงศ์คัดค้านเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาอันสมควร

๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
            คณะราษฎร์ได้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศสยาม ให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ

๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๕
            ประกาศปลด นายทหารชั้นนายพลทั้งกองทัพ เมื่อคราวคณะราษฎร์ยึดการปกครอง แล้วกลับให้มียศนายพล เมื่อ ๓๑ ตุลาคม ๒๔๗๙

๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย

๖ กรกฎาคม ๒๔๗๕
            พระเจนดุริยางค์ ได้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติขึ้นใหม่ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะราษฎร ทำนองเพลงชาตินี้ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

๗ กรกฎาคม ๒๔๗๕
            ทำนองเพลงชาติ ได้บรรเลงครั้งแรก ณ บริเวณสวนดุสิต โดยพระเจนดุริยางค์

๑๒ สิงหาคม ๒๔๗๕
            วันพระราชสมภพสมด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และเป็นวันแม่แห่งชาติ

๑๕ ตุลาคม ๒๔๗๕
            ตั้งกองพันนาวิกโยธินขึ้นเป็นครั้งแรก โดยขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของกองชุมพลทหารเรือ

๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย มี ๖๘ มาตรา

๒ กรกฎาคม ๒๔๗๖
            เปิดโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง โรงภาพยนตร์ปรับอากาศแห่งแรกของเมืองไทย และเป็นแห่งที่ ๒ ในภาคตะวันออก

๘ กรกฎาคม ๒๔๗๖
            เริ่มมีพระธรรมเทศนาทางวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรก คืนละหนึ่งกัณฑ์ ตลอดพรรษา

๑๔ กันยายน ๒๔๗๖
            วันสิ้นพระชนม์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นโอรสองค์ที่ ๒๕ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงได้รับสมญานามว่า พระบิดาแห่งรถไฟไทย ทางราชการกำหนดให้วันนี้เป็นวันบุรฉัตร

๑๑ ตุลาคม ๒๔๗๖
            กำลังทหารบกหัวเมือง ภายใต้การนำของนายพลเอก พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้ยกกำลังจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดอยุธยาเข้ามายึดพระนคร เพื่อทำการปราบปรามพวกรัฐบาลที่มีความคิดในทางคอมมิวนิสต์

๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๖
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อ กรมการทหารเรือ เป็น กองทัพเรือ เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม

๑๖ ธันวาคม ๒๔๗๖
            ปรับปรุงกองทัพบก จัดตั้งกรมจเรทหารบก จัดตั้งโรงเรียนเทคนิคทหารบก และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

๑๒ มกราคม ๒๔๗๖
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ และพระบรมราชนีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จประพาสยุโรป และประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จนวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระองค์

๑ เมษายน ๒๔๗๗
            ให้มีรัฐพิธีเฉลิมฉลองปีใหม่และสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ที่ท้องสนามหลวง เป็นครั้งแรก

๑๗ พฤษภาคม ๒๔๗๗
            วันเปิดโรงเรียนนาฎศิลป กรมศิลปากร โดยครั้งแรกชื่อว่า โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ต่อมาในปี ๒๔๘๘ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนนาฎศิลป จนถึงปัจจุบันนี้ โดยมี พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีคนแรกของกรมศิลปากร เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น สถานที่ตั้งอยู่บริเวณท่าช้าง วังหน้า ติดกับโรงละครแห่งชาติ

๑๕ กรกฎาคม ๒๔๗๗
            พิธีเปิดอนุสาวรีย์ คุณหญิงโม (ท้าวสุรนารี) ที่นครราชสีมา ท้าวสุรนารี สมภพ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒ ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ เมษายน ๒๓๙๕ คุณหญิงโม มีวีรกรรมร่วมกับกรมการเมืองโคราช ๒ ครั้ง เมื่อ ๑๗ มีนาคม และ ๒๐ มีนาคม ๒๓๖๙ ครั้งหลังคุณหญิงโมเป็น "แม่กองกองหนุน" ออกรบกลางแปลงกับฝ่ายทหารเวียงจันทน์ ๓,๖๐๐ คน ที่ทุ่งสัมริด

๒๐ สิงหาคม ๒๔๗๗
            เลิกการประหารชีวิตด้วยวิธีตัดศีรษะ วันนี้เป็นการตัดศีรษะรายสุดท้าย ที่วัดหนองจอก อำเภอมีนบุรี นักโทษเป็นหญิงชื่อ นางล้วน มีลูกอ่อนอายุ ๑ เดือน

๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๗
            มีการประกวดนางสาวไทย เป็นครั้งแรก

๒ มีนาคม ๒๔๗๗
            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ เวลา ๑๓.๔๕ น. ตามเวลาในประเทศอังกฤษ เนื่องจากไม่ทรงเห็นชอบกับรัฐบาลคณะราษฎร์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ในการออกกฎหมายบางเรื่อง

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |