บทที่สี่
ผลผลิตของเมืองสยาม ข้อแรกคือ ป่าไม้
๑. ต้นไผ่
เมืองสยามเต็มไปด้วยป่าไม้ ในสยามใช้ไม้ไผ่มาสีกันให้เกิดเป็นไฟได้
๒. ต้นไทรย้อย หรือต้นไม้แห่งราก
เนื้อไม้มีสรรพคุณสามารถกำจัดยุงได้
๓. ฝ้าย และนุ่น
คล้ายสำลีอย่าละเอียดมาก แต่ไใยสั้นไม่สามารถปั่นเป็นเส้นด้ายได้ จึงใช้ยัดหมอน
เบาะที่นอน
๔. ต้นไม้ที่ให้น้ำมันและยาง
ชาวสยามใช้น้ำมันชนิดต่าง ๆ จากต้นไม้บางชนิดใช้ปนกับซีเมนต์ ทำให้มีความเหนียวยิ่งขึ้น
ผนังที่ใช้ถมด้วยน้ำมันอย่างนี้ จะผ่องดีและเกลี้ยงเกลา เป็นมันราวกับหินอ่อน
ใช้ทำปูนสออิฐได้มีคุณภาพดีกว่าปูนขาวของเรา
๕. ต้นไม้ที่ใช้เปลือกต่างกระดาษหรือทำเป็นกระดาษ
ชาวสยามทำกระดาษจากผ้าฝ้ายเก่า ๆ และยังทำจากเปลือกไม้ชนิดหนึ่งคือ ต้นข่อย
ต้องนำมาบดย่อยให้ละเอียด แต่กระดาษเหล่านี้มีความหนาไม่สม่ำเสมอ ความขาวก็หย่อนกว่าของเรา
ดังนั้นชาวสยามจึงไม่ใช้หมึกจีนเขียน ส่วนมากชุบหมึกให้ดำ ซึ่งทำให้เนื้อกระดาษแน่นขึ้น
แล้วเขียนด้วยดินสอ (สอ แปลว่า ขาว) หนังสือของพวกเขาไม่เย็บเล่มสัน หากทำเป็นแผ่นยาวเหยียด
แลไม่ใช้วิธีม้วนเก็บ หากพับทบไปมา และทางที่ดีเส้นบันทัดเขียนตัวอักษรนั้น
เป็นไปตามรอยพับไม่เขียนทางขวาง นอกจากสมุดกระดาษแล้ว ชาวสยามยังจารอักษรด้วยเหล็ก
ลงบนใบไม้ชนิดหนึ่งจำพวกต้นปาล์ม เรียกใบลาน
ตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวมาก กว้างน้อย บนใบลานนี้ใช้เขียนชาดก
และมนตร์ ซึ่งพระภิกษุใช้สวดในวัด
๖. ไม้ที่ใช้ต่อเรือกำปั่น
ชาวสยามมีไม้คุณภาพดี สำหรับต่อเรือและทำเสากระโดงเรือ แต่ไม่มีต้นปอใช้ฟั่นเชือก
เชือกจึงทำด้วยใยกาบมะพร้าว ใบเรือทำด้วยเสื่อกกผืนใหญ่ ซึ่งเบาและอุ้มลมได้ดีกว่า
๗. ไม้ที่ใช้ประโยชน์อย่างอื่น
ชาวสยามมีไม้เหมาะในการสร้างเรือน ทำตัวไม้ หรือใช้ในการแกะสลัก มีทั้งไม้เบาและหนักที่สุด
ทั้งที่ผ่าง่าย และผ่าไม่เข้า ไม้ชนิดนี้ใช้ทำกงเรือได้ดีกว่าไม้ชนิดอื่น
๘. ไม้ที่ใช้ต่อเรือยาว
สยามมีต้นไม้สูง ลำต้นตรงท่อนเดียว ยางตั้งแต่ ๑๖ - ๒๐ วา ใช้วิธีขุดลงในท่อนซุงนั้น
ใช้ความร้อนเบิกปากเรือให้ผายออก แล้วเลือกไม้ท่อนยาวเท่ากันมาเสริมเป็นกราบ
เอาไม้ต่อโขนหัวเรือ และท้ายเรือ โขนหัวเรือสู งเชิด ทางท้ายค่อนข้างยื่นออกไปทางเบื้องหลัง
มักประดับด้วยจิตรกรรมจำหลัก และปิดทอง ลางลำก็ประดับด้วยสิ่งคล้ายมุก
๙. ชาวสยามไม่มีไม้อย่างที่เรามี
๑๐. ชาวสยามไม่มีไหมและป่านลินิน
ชาวสยามไม่ได้ปลูกต้นหม่อน จึงไม่มีตัวไหม ต้นป่านลินินก็ไม่มี หรือมีก็ไม่มีผู้ใดพูดถึง
ต้นฝ้ายสำลีมีอุดมสมบูรณ์ ผ้าที่ทอด้วยฝ้ายสำลีน่าใช้ ไม่เย็นชื้น เหมือนลินิน
๑๑. อบเชยและฝาง
อบเชยมีคุณภาพด้อยกว่าของเกาะสิงหฬ มีไม้ฝาง กับไม้อื่น ๆ ใช้ย้อมผ้า
๑๒. ไม้ขอนดอก หรือไม้กฤษณา
แต่ก่อนที่ปารีสราคาแพงมาก แต่ปัจจุบันราคาถูกลงมาก
บทที่ห้า
เหมืองแร่ในเมืองสยาม
๑. ชื่อเสียงของเหมืองแร่ในสยาม
ไม่มีประเทศใดมีชื่อเสียงโด่งดังว่ามั่งคั่งด้วยเหมืองแร่เท่าสยาม มีพระพุทธรูปเป็นอันมาก
กับวัตถุหล่อด้วยโลหะอยู่มากมาย เห็นได้ว่าชาวสยามสมัยก่อนชำนาญในการถลุงแร่
กว่าคนในปัจจุบันนัก มิใช่จะใช้ทองคำประดับพระพุทธรูปมากมายเท่านั้น ช่อฟ้า
ใบระกา และเพดานในโบสถ์ วิหาร ก็ยังประดับด้วยทองคำ มีผู้พบเหมืองร้างอยู่ทุกวัน
พร้อมทั้งเตาถลุงอีกเป็นอันมาก เข้าใจว่าได้ถูกละทิ้งไป ในสมัยทำสงครามกับชาวพะโค
๒. สถานภาพของเหมืองแร่ในปัจจุบัน
แม้พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน จะทรงใช้ชาวยุโรปมาค้นหาบ่อแร่ แต่พบเพียงบ่อแร่ทองแดง
ที่มีเนื้อโลหะอยู่เพียงเล็กน้อย
๓. ตัมบาค
เพื่อให้เนื้อโลหะมีคุณค่าขึ้น จึงให้เจือเนื้อแร่ทองคำเข้าไปด้วย ที่เรียกว่า
ตัมบาค ชาวพะโคใช้วิธีผสมตะกั่ว เข้ากับทองแดง ใช้หล่อรูปประติมากร และทำเป็นเหรียญกษาปน์
๔. แพทย์ชาวเมืองโปรวังซ์
ซึ่งพระเจ้ากรุงสยามเอาตัวไว้ให้ทำเหมืองแร่
๕. คำบอกเล่าของแพทย์ขางเมืองโปรวัง เกี่ยวกับเหมืองแร่ในสยาม
๖. ดีบุกและตะกั่ว
ชาวสยามได้พบและรู้จักถลุงให้ได้เนื้อโลหะมานานแล้ว
๗. เหมืองแร่แม่เหล็ก
บริเวณใกล้เมืองละโว้ มีภูเขาหินแม่เหล็กลูกหนึ่ง และอีกลูกอยู่ใกล้
ๆ กัน
๘. บ่อพลอย
ตามภูเขามีผู้พบโมราชนิดนี้
๙. เหล็กกล้า
เมืองกำแพงเพชร ชึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่มีบ่อแร่เหล็กกล้าชั้นดี ชาวเมืองขุดเอามาทำสาตราวุธ
ตามความนิยม ส่วนมีดที่เรียกว่า มีดเหน็บ
ใช้กันทั้งบ้านทั้งเมือง และไม่ถือว่าเป็นสาตราวุธ ใบมีดกว้าง ๓ - ๔ นิ้ว
ยาว ๑ ฟุต พระมหากษัตริย์พระราชทานดาบและมีดพกให้แก่ขุนนาง ขุนนางสยามเหน็บมีดพกไว้ที่เอวเบื้องซ้าย
คล้อยมาข้างหน้าเล็กน้อย ชาวปอร์ตุเกศเรียกว่า คริสต์ เสื่อมจากคำว่า
กริช
คำนี้ยืมมาจากภาษามลายู เป็นที่นิยมกันตลอดทั่วภาคบูรพาทิศ กริชจากเมือง
อะแจ (Achem) ในเกาะสุมาตรา นับว่าเยี่ยมกว่าที่อื่น สำหรับดาบ
ปกติแล้ว ทาสผู้หนึ่งจะเชิญนำหน้าเจ้านายของตนไป โดยแบกไว้บนบ่าขวา
๑๐. เหล็ก
ชาวสยามมีบ่อแร่เหล็ก และรู้จักวิธีถลุงนำมาใช้ประโยชน์ มีคนบอกว่าในกรุงสยามไม่มีแร่เหล็ก
และเป็นช่างเหล็กที่หย่อนความชำนาญ พวกเขาจึงมีแต่สมอไม้ ต้องใช้ก้อนหินผูกถ่วงให้จมน้ำ
ชาวสยามไม่มีเข็มกลัด เข็มเย็บผ้า ตะปู กรรไกร หรือกุญแจเหล็ก การสร้างเรือนไม่ใช้ตาปู
ใช้หนามไผ่ต่างเข็มกลัด
๑๑. ดินประสิวและดินปืน
ชาวสยามทำดินปืนได้เลวมาก
บทที่หก
การกสิกรรมและอู่ข้าวอู่น้ำของสยาม
๑. เมืองสยามเป็นดินโคลน
เมืองสยามน่าจะเป็นเหมือนที่เมืองอียิปต์ ว่าพื้นดินเกิดจากดินโคลนที่น้ำฝนชะลงมาจากภูเขา
ที่ตรงปากน้ำ (เจ้าพระยา) มีสันดอนโคลนอยู่แห่งหนึ่ง สกัดกั้นเรือกำปั่นขนาดใหญ่ไว้
๒. การมีน้ำท่วมทุกปี ทำให้พื้นดินสยามอุดมขึ้น
ทำให้ราชอาณาจักรนี้เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ
ของหลายประเทศ
๓. น้ำท่วมทำลายตัวแมลงต่าง ๆ
๔. ปลวกในสยาม
๕. บึ้ง
เหมือนตัวริ้น
๖. ตะขาบ
๗. ความเขลาของชาวสยามในสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
เรื่องตุ๊กแก เป็นความหลงเชื่อที่ประหลาดยิ่ง ที่รู้สึกว่าตับมันโต
ก็จะส่งเสียงร้องเพื่อเรียกแมลงไปกินตับ
๘. หิ่งห้อย
คล้ายแมลงภู่ คือ มีสี่ปีก เราไม่มีโอกาสเห็นมันเมื่อขึ้นบก มันมีแสงไฟอยู่ในลูกตา
แต่แสงสว่างนั้นออกมาจากใต้ปีก
๙. ตัวแมลงในน้ำ
แมลงบางชนิดในแม่น้ำมีพิษสงน่ากลัว
บทที่เจ็ด
เมล็ดพืชของประเทศสยาม
๑. ข้าว
เป็นพืชผลอันสำคัญของชาวสยาม เป็นอาหารอันดีที่สุด
๒. วิธีหุงข้าวด้วยน้ำบริสุทธิ์
ชาวสยามไม่ได้กินข้าวสุก ปนไปกับอาหารคาวอย่างอื่น เมื่อเขากินเนื้อหรือปลา
เขาก็จะกินกับสิ่งนั้นเปล่า ๆ โดยไม่มีข้าวปน เขาเอาปลายนิ้วขยุ้มข้าวให้เป็นคำแล้วเปิบเข้าปาก
๓. การหุงข้าวด้วยน้ำกะทิ
๔. ข้าวสาลี
ข้าวสาลีมีในประเทศสยาม ตามที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ในเมืองสยามมีแต่พระเจ้าแผ่นดินองค์เดียวที่มีไร่ข้าวสาลีอยู่
ชาวสยามเรียก ข้าวโพดสาลี คำว่า
ข้าว หมายถึง ข้าวเจ้า
มีคำบอกเล่าว่าชาวมัวร์เป็นผู้นำพันธุ์ข้าวสาลี ไปสู่เมืองสยาม ชาวฝรั่งเศสในเมืองสยาม
สั่งแป้งสาลีมาจากเมืองสุรัต ทั้งที่ใกล้ ๆ กรุงสยาม (อยุธยา) ก็มีโรงสีลม
สำหรับบดข้าวสาลีอยู่แห่งหนึ่ง ใกล้เมืองละโว้ ก็มีอีกแห่งหนึ่ง
๕. ขนมปังสดที่ทำด้วยแป้งข้าวสาลีในสยามนั้นผากเกินไป
๖. เมล็ดพืชอย่างอื่น
ได้เห็นถั่วพรรณต่าง ๆ ชาวสยามเช่นเดียวกับพวกเรา คือปลูกต้นไม้ล้มลุกไว้หลาย
ๆ พรรณด้วยกัน
บทที่แปด
การทำนา และฤดูกาลต่าง ๆ
๑. วัวและควายในการไถนา
เขาจูงมันไปด้วยเชือกเส้นหนึ่ง ที่ร้อยสนตะพายเข้าไปในกระดูกอ่อนที่แยกช่องจมูก
และเพื่อมิให้เชือกนั้นเลื่อนไหลขณะดึง เขาจึงขอดปลายเชือกให้เป็นปมทั้งสองข้าง
เชือกเส้นเดียวกันนี้ยังล่ามเข้าไปในรูพังงา ที่เจาะไว้ที่คานของคันไถ
๒. คันไถแบบสยาม
ทำอย่างง่าย ๆ ไม่มีล้อเลื่อน ประกอบด้วยคานไม้ยาวท่อนหนึ่ง อันเป็นดูก อีกท่อนหนึ่งปลายงอนอันเป็นคันถือ
อีกท่อนหนึ่งสั้นกว่าและใช้ไม้เนื้อแข็งกว่า ผูกขวางไว้เกือบจะทะแยงกันตรงใต้คันดูก
และไม้ท่อนที่สามนี้เอง ที่ติดหัวผาน มิได้ใช้ตาปูตรึงไม้ทั้งสี่ท่อนให้ติดกัน
หากใช้เชือกหนัวมัดให้ติดกันเข้าไว้
๓. วิธีนวดข้าว
ใช้วัวควาย ย่ำให้เมล็ดข้าวหลุดออกจากรวง เมื่อเมล็ดข้าวเปลือกร่วงออกหมดแล้ว
ก็ใช้วิธีกอบขึ้นโรยจากที่สูง เพื่อให้ลมพัดเอาข้าวลีบ และกากออกไป
เอาข้าวเปลือกไปตำในครกไม้กระเดื่อง หรือขัดในเครื่องสีมือที่ทำด้วยไม้
๔. มีสามฤดู มีปีสองประเภท
ฤดูหนาวเรียก หน้าหนาว
อากาศเริ่มเย็น ฤดูร้อนน้อยเรียก หน้าร้อน
คือเริ่มร้อน และฤดูร้อนใหญ่ เรียกหน้าร้อนใหญ่
คือ เริ่มร้อนมาก ปีมีอยู่สองประเภท ปีละ ๑๒ เดือน ติดต่ออยู่สองปี
และปีที่สาม มี ๑๓ เดือน
๕. วันสยามนับตามดาวเคราะห์
ไม่มีคำเรียกสัปดาห์ แต่เรียกวันทั้งเจ็ดตามชื่อ ดาวเคราะห์ อย่างเราและวันก็ตรงกัน
แต่วันที่นี่เริ่มก่อนที่ยุโรปราว ๖ ชั่วโมง
๖. สยามขึ้นศกใหม่เมื่อไร
เริ่มศกใหม่ วันขึ้นหนึ่งค่ำทางจันทรคติ ในเดือนพฤศจิกายน หรือธันวาคม ชาวสยามหาได้นับปีตามศักราชที่ล่วงไปเสมอไปไม่
หากนับตามจำนวนรอบหกสิบปี ตามแบบชาวตะวันออกทั่วไป
๗. รอบหกสิบปี (มหาจักร)
ชาวสยามมีนามประจำปีนักษัตร
๘. เดือนของชาวสยาม
นับหยาบ ๆ มี ๓๐ วัน ใช้วิธีนับเดือนตามลำดับเป็นเดือนอ้าย เดือนยี่
และต่อ ๆ ไป
๙. ฤดูกาลของสยามที่แผกกัน
สองเดือนแรกตรงกับเดือนธันวาคม เป็นฤดูหนาว เดือน ๓.๔.๕ เป็นฤดูร้อนน้อย อีก
๗ เดือน เป็นฤดูร้อนใหญ่
๑๐. มรสุม
ฤดูหนาวเป็นหน้าแล้ง อากาศแห้ง ฤดูร้อนฝนชุก อาการที่ลมประจำโลกตามฤดูกาล
ชาวปอร์ตุเกศเรียก มองเซาส์ ฝรั่งเศสเรียก มูซอง เป็นสาเหตุให้เรือกำปั่นเข้าถึงสันดอนปากน้ำได้โดยยาก
ในระยะหกเดือนที่มีมรสุมพัดจากทิศเหนือ และยากที่จะออกจากปากแม่น้ำในระยะหกเดือน
ที่มีมรสุมพัดจากทิศใต้
๑๑. เวลาทำนา และเวลาเก็บเกี่ยว
จะไถและหว่านเมื่อฝนตกชุ่มพอให้ดินอ่อนลง ว่ากันว่ารวงข้าวนั้น ย่อมหนีพ้นน้ำเสมอ
๑๒. ข้าวชนิดอื่น
ชาวสยามปลูกข้าวในที่ซึ่งน้ำท่วมไม่ถึงตามหัวเมืองต่าง ๆ ข้างชนิดนี้เป็นข้าวพันธุ์ดี
(ข้าวนาดำ) เมื่อข้าวที่เพาะเป็นกล้าไว้ในดินงอกงามตามสมควร ก็ย้ายไปปลูกในที่แห่งอื่น
ซึ่งได้ไถคราดไว้แล้ว แล้วไขน้ำเข้าเช่นเดียวกับที่เราทำนาเกลือ ต้องกักน้ำฝนไว้โดยยกคันนารอบ
ๆ แล้วนำข้าวกล้ามาดำรากมิดลงไปในดิน ที่สะกอรายเรียงกันไปโดยใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไป
๑๓. มูลเหตุที่ชาวสยามหันมาประกอบกสิกรรม
เห็นคล้อยที่เชื่อว่า คนสยามครั้งโบราณเลี้ยงชีวิต ด้วยการกินผลไม้จับปลามาเป็นอาหาร
ต่อมาชาวจีนมาสอนให้รู้จักทำไร่ไถนา
๑๔. พิธีแรกนาขวัญในสยาม
สมัยก่อนพระเจ้ากรุงสยาม เสด็จ ฯ แรกนาขวัญจรดพระนังคัล ด้วยพระองค์เอง ในวันฤกษ์ดีวันหนึ่งในรอบปี
เป็นเวลาติดต่อกันมาเกือบศตวรรษแล้ว แต่แล้วเมื่อดูทางไสยศาสตร์เห็นว่า
เป็นลางไม่ดีจึงไม่แรกนาด้วยพระองค์เองอีกต่อไป แต่ได้มอบหมายให้พิธีสำคัญนี้
ให้สมมติกษัตริย์ที่พอแต่งตั้งขึ้น
๑๕. การแรกนานั้นเป็นรัฐประศาสโนบาย
และการถือทางไสยศาสตร์ เรื่องแรกนา
น่าจะเป็นเครื่องจูงใจให้ประชาชนมีความศรัทธาในการทำไร่ทำนา ตามแบบพระมหากษัตริย์
บทที่เก้า
การสวนของชาวสยามและเครื่องดื่มเป็นครั้งคราว
๑. ผักและไม้เหง้า หัวมัน ฯลฯ
มันเทศ ควรจะได้รับการกล่าวขวัญถึงเป็นพิเศษ
๒. แตงกวา หอมหัวเล็ก กระเทียม หัวไชเท้า
ชาวสยามกินแตงกวาทั้งดิบ ๆ ทำนองเดียวกับชาวตะวันออก
๓. ดอกไม้
๔. เหตุไรจึงไม่มีผลองุ่นมุสกาต์ที่เปอร์เซีย
และเมืองสุรัต
๕. ในสยามก็ไม่มีผลองุ่นดี
๖. เครื่องดื่มสามัญของชาวสยามคือ น้ำบริสุทธิ์
เขาชอบดื่มเฉพาะที่อบมันให้หอม
๗. น้ำที่เมืองละโว้และที่ทะเลชุบศร
พระเจ้ากรุงสยามเสวยน้ำที่ตักมาจากอ่างเก็บน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งขุดขึ้นกลางทุ่งนา
มีเจ้าหน้าที่ประจำรักษาอยู่ตลอดปี ที่ทะเลชุบศร อยู่ห่างเมืองละโว้หนึ่งลี้
อ่างเก็บน้ำนี้ตั้งอยู่ชายที่ลุ่มแห่งหนึ่ง มีพื้นที่ประมาณ ๒ หรือ ๓ ลี้
รับน้ำฝนขังไว้ น้ำในบึงสะอาดและลึกมาก
๘. ชา
ชาวสยามดื่มน้ำชา แบบดื่มเล่น ๆ ไม่มีธรรมเนียมดื่มน้ำชาในแห่งอื่นในราชอาณาจักร
แต่ที่พระนครนับสมัยนิยมดื่มน้ำชาได้ลงหลักปักแน่นแล้ว พวกชาวกรุงถือว่าเป็นมรรยาทผู้ดี
อันจำเป็นต้องนำน้ำชามาเลี้ยงแขกที่มาเยี่ยม เรียกว่า ฉ่า (Tcha)
เหมือนคนจีน ที่เรียกว่า เต (the') อีกคำเรียกว่า ชา (cha)
๙. ชาสามชนิด
๑๐. ชาเป็นซับเหงื่อ
ชาวจีนและชาวตะวันออก ใช้น้ำชาเป็นยาแก้ปวดหัว แต่ต้องชงให้แก่มาก ๆ
๑๑. วิธีชงชา
มีกาทองแดงข้างในเคลือบตะกั่วเกรียบ เพื่อใช้ต้มน้ำ มีป้านทำด้วยดินแดง ใช้น้ำร้อนรินรดป้านดินเสียก่อน
เพื่อให้การ้อนตัว แล้วใส่ชาลงไปหยิบมือหนึ่ง รินน้ำเดือดเติมลงไป เมื่อปิดฝากา
แล้วยังใช้น้ำร้อนรินราดข้างนอกอีก ปิดพวยกา เมื่อชาอิ่มตัวพอสมควรคือ เมื่อใบชาหน่ายลงสู่ก้นป้านแล้ว
ก็รินน้ำลงในถ้วยกระเบื้อง ในขั้นแรกกะเพียงครึ่งถ้วยก่อน ดูว่าน้ำมันแก่เกินไปหรือมีสีจัดเกินไป
อาจทำให้พอดีด้วยการเติมน้ำ ซึ่งต้มให้เดือดในกาทองแดงอยู่เสมอ เมื่อต้องการน้ำชาเพิ่มก็เติมน้ำเดือดลงในป้านดิน
เขาไม่ใส่น้ำตาลลงในถ้วย ใช้วิธีใส่น้ำตาลกรวดก้อนเล็ก ๆ ไว้ในปาก ขบให้แหลกและดื่มน้ำชาไปพร้อม
ๆ กัน เมื่อไม่ต้องการดื่มต่อไป ก็คืนถ้วยให้โดยคว่ำปากถ้วยลงในจานรอง
๑๒. จำเป็นต้องใช้น้ำดีในการชงชา
๑๓. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องดื่มน้ำชาเมื่อยังร้อน
การดื่มเครื่องดื่มไม่ว่าชนิดใดด้วยความร้อนขนาดเดียวกัน บัดนี้ชาวตาร์ตาร์
ได้สอนให้รู้จีกดื่มชนิดใส่น้ำแข็งได้บ้างเป็นครั้งคราว
๑๔. การชอบดื่มเหล้าองุ่น
ชาวสยามไม่ยึดเอาการดื่มชาเป็นหลักนัก ชอบดื่มเหล้าองุ่นมากกว่า ถ้ามีให้ดื่มแม้ว่าเครื่องดองของเมาเป็นสิ่งต้องห้าม
ตามทางพระศาสนาก็ตาม ชาวอังกฤษและฮอลันดาบางทีก็นำเหล้าองุ่นมาจากเมืองชีราช
ในเปอร์เซียหรือจากยุโรป เหล้าองุ่นของฝรั่งเศสที่เมืองบองโดซ์ กับที่เมืองกาฮอร์ส
มาถึงกรุงสยามในสภาพอันดี เขาจะไม่กล่าวถึงเหล้าองุ่นของเมืองจีน และเมืองญี่ปุ่น
ซึ่งชั่วแต่เป็นเบียร์ผสมให้มีรสแรงขึ้นเท่านั้น
๑๕. เครื่องดื่มอย่างอื่น ตารี เนรี
ทำจากต้นไม้สองชนิดเรียกว่า ปาลมิสต์ (Palmiste) วิธีทำคือ
ตอนเย็น ๆ เอามีดไปปาดกาบต้นไม้ (ต้นตาล ?) ที่คอต้นใกล้ยอด เอาขวดผูกรองไว้
รุ่งเช้าขวดนั้นก็เต็ม ขวดดังกล่าวจากกระบอกไผ่ลำเขื่อง ๆ ตารี ทำจากต้นมะพร้าวป่าพันธุ์หนึ่ง
เนรี ทำจากต้นหมากชนิดหนึ่ง
๑๖. เหล้าบรั่นดี เป็นเครื่องดื่มที่ชาวสยามชอบมากกว่าเหล้าชนิดอื่น
และวิธีทำ ชาวสยามทำเหล้าบรั่นดีจากข้าวหมักไว้ด้วยน้ำปูนใส
ในขั้นแรกทำเป็นเมรัยก่อน พวกเขาไม่ดื่ม (เบียร์) กันเลย แต่กลั่นออกมาเป็นบรั่นดี
ซึ่งพวกเขาเรียกว่า เหล้า
๑๗. บูลปองซ เครื่องดื่มอังกฤษ
เครื่องดื่มอย่างหนึ่งเรียกว่า พั้นซ์ (Punch) เอาเหล้าบรั่นดีหนึ่งเหยือก
ผสมด้วยน้ำมะนาวหนึ่งไปน์ กับผงจันทน์เทศ เอาขนมปังทะเลแห้งปิ้ง และป่นละเอียด
คนจนเข้ากันีด
๑๘. กาแฟกับโกโก้
แขกมัวร์ในสยามดื่มกาแฟ ซึ่งมาจากเมืองอาหรับ ชาวปอร์ตุเกศดื่มโกโก้ ส่งมาจากมนิลาเมืองหลวงของฟิลิปปินส์
ซึ่งนำมาจากอินเดียภาคตะวันออกในเขตคุ้มครองของสเปน
๑๙. ผลไม้
ชาวสยามนิยมกินผลไม้ยิ่งกว่าอย่างอื่น นอกจาก ส้ม มะกรูด และทับทิมแล้ว ดูจะไม่มีผลไม้อื่นที่เรารู้จักเลย
ส้มโอ เป็นมะกรูดพันธุ์เปรี้ยว
๒๐. ผลไม้บางชนิดมีทุกฤดูกาล
คือ กล้วย ส่วนผลไม้อย่างอื่นให้ผลเพียงชั่วคราว ต้นอ้อยยาว ๖ - ๑๐ ฟุต ก็มีขึ้นแต่ที่เมืองอะแจ
เท่านั้น แต่ข้าวซึ่งเป็นอาหารสำคัญมักขาดแคลนบ่อย ๆ จึงหาซื้อกันด้วยราคาราวกับทองคำ
ซึ่งมีอยู่มากมาย จนคนเห็นเป็นสิ่งสามัญธรรมดา
๒๑. ความแตกต่างระหว่างผลไม้ของสยามกับของเรา
ข้าพเจ้ากล่าวถึงแต่ หมาก (Arek) และผลไม้ของประเทศอินเดีย โดยทั่ว
ๆ ไป
๒๒. หมากกับพลู
หมาก (Arek) ซึ่งชาวสยามเรียกว่า พลู (Plou) เป็นผลไม้จำพวกโอ๊ก
แต่มิใช่มีเปลือกแข็งเหมือนผลโอ๊กของเรา เมื่อผลแก่จนสุกจะกลายเป็นสีเหลืองและแข็งกระด้างขึ้น
เนื่อในก็พลอยแข็งไปด้วย เมื่อผ่าผลหมากออกเป็นสี่เสี้ยวแล้ว ใช้กินเสี้ยวละคำ
ปนไปกับใบไม้ชนิดหนึ่ง เรียกว่า หมาก (ความจริงคือ พลู) เขาจีบใบไม้เข้าเป็นมวนเพื่อสอดเข้าปากได้สะดวก
และใช้ปูนทำจากเปลือกหอยป้ายลงเล็กน้อย ปูนมีสีแดง พวกอินเดียมีปูนชนิดนี้ในเต้ากระเบื้องพกติดตัว
วันหนึ่ง ๆ เขาใช้หมากกับพลู อยู่ไม่ขาดปาก
๒๓. ประสิทธิผลของการกินหมาก
ทำให้ผู้กกินต้องบ้วนน้ำลายอยู่บ่อย ๆ คราบปูนทำให้เหงือกสกปรก ไม่พบคนในสยามมีกลิ่นปาก
๒๔. ประสิทธิผลอย่างอื่นของหมากกับพลู
ที่ฟันคราบน้ำหมากจะคอยจับหนาขึ้นทีละน้อย จนกลายเป็นสีดำ
๒๕. วิธีย้อมฟันและวิธีย้อมเล็บนิ้วก้อย
การย้อมฟันให้ดำ เขาใช้ซีกมะนาวที่มีรสเปรี้ยวจัดอมไว้ในกระพุ้งแก้ม และที่หน้าฟันราวหนึ่งชั่วโมง
หรือนานกว่า เพื่อให้ฟันน่วม และใช้น้ำยางชนิดหนึ่งทำจากรากไม้บางชนิด หรือจาก
(กะลา) มะพร้าวเผาไปถูฟัน เป็นเสร็จพิธี การย้อมฟันใช้เวลาสามวัน
ต้องนอนคว่ำและอดอาหารหนักจนกว่าจะครบกำหนด ชาวสยามยังนิยมย้อมเล็บมือนิ้วก้อยให้เป็นสีแดง
โดยขุดเล็บออกแล้ว ใช้น้ำยางชนิดหนึ่งทา ทำจากข้าวบดในน้ำมะนาว ผสมกับใบไม้ชนิดหนึ่งคล้ายใบทับทิม
๒๖. ต้นไม้ จำพวกปาลมิสต์ทั่วไป
|