สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต.
๑ - ๓๐ เม.ย.๕๒

          การก่อเหตุในช่วงตั้งแต่ ม.ค.๕๒ – เม.ย.๕๒ ดูเหมือนว่าผู้ก่อเหตุสามารถก่อเหตุตามปกติได้เฉลี่ยเดือนละ ๗๕ – ๙๐ เหตุการณ์ เท่านั้น โดยจำนวนความถี่ที่เพิ่มขึ้นจากนั้นเป็นเพราะมีวัตถุประสงค์เฉพาะในลักษณะโหมก่อเหตุเฉพาะวัน ดังเช่นใน มี.ค.๕๒ มีการก่อเหตุถึง ๒๕ เหตุการณ์ ใน ...มี.ค.๕๒ เพื่อต่อรองให้มีการปล่อยตัวแกนนำให้หลบหนีจากการปิดล้อม/จับกุม ขณะที่ใน เม.ย.๕๒ ซึ่งการก่อเหตุเท่าที่รวบรวมได้มีจำนวนรวมทั้งสิ้น ๑๑๐ เหตุการณ์ นั้น หากพิจารณาลักษณะและความเข้มของการก่อเหตุด้วยแล้วพบว่าไม่แตกต่างกับ ๓ เดือนแรกของปี ๒๕๕๒ เนื่องจากจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้นมีลักษณะของการก่อกวนเพื่อคงสถิติไม่ให้ลดน้อยลงและถัวเฉลี่ยไม่ให้การก่อเหตุใน ๓ จชต. มีความแตกต่างกันมากนัก ถึง ๒๕ – ๓๐ เหตุการณ์ โดย จ.ปัตตานี เป็นพื้นที่ที่มีการก่อเหตุมากที่สุด ๔๘ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.ยะลา ๓๒ เหตุการณ์ ใกล้เคียงกับ ๓๑ เหตุการณ์ ของ จ.นราธิวาส ส่วน จ.สงขลา ไม่ปรากฏรายงานการก่อเหตุอย่างผิดปกติ
          ขณะที่การตรวจค้น/จับกุมของ จนท.ยังคงเป็นไปอย่างได้ผลและต่อเนื่อง ทั้งการควบคุมตัวและการวิสามัญผู้ต้องหาที่มีหมายจับ ส่งผลให้แกนนำแนวร่วมระดับชาติ สื่อ และองค์กรเอกชนอิสลามต้องเร่งแก้เกมส์ด้วยการโหมสร้างภาพความน่าหวาดกลัวของทหาร เพื่อสรุปว่าจะต้องมีการยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ฯ และจัดตั้งศาลความมั่นคงที่มีอิสลามเป็นผู้พิพากาขึ้น นอกเหนือจากการสร้างกระแสกดดันให้รัฐบาลยกเลิกความพยายามให้มลายูอิสลามเรียนภาษาไทย พร้อม ๆ ไปกับการพยายามดึงโลกอิสลามเข้ามาแทรกแซงในปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ ตั้งแต่การตั้งศาลซารีอะห์อย่างเต็มรูปแบบ เมื่อ มี.ค.๕๒ ส่วนใน เม.ย.๕๒ ได้มีความพยายามดึงโลกอิสลามเข้ามาร่วมในความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มพลังนอกสภา
          อย่างไรก็ตาม ในขณะที่แกนนำอิสลามกำลังรุกเรียกร้องผลประโยชน์ให้กับอิสลามอย่างหนัก ก็ปรากฎว่ารัฐบาลโดยเฉพาะ ศอ.บต.ยังคงพยายามชื้อใจอิสลามเพิ่มขึ้นตามไปด้วยอย่างไม่ลดละ และด้วยความภาคภูมิใจ ไม่ว่าจะเป็นการเร่งกระบวนการให้เงินกู้ยืมแก่นักเรียนอิสลาม การทยอยส่งนักเรียนอิสลามไปเรียนต่างประเทศ หรือการเร่งผลักดันให้มีการตั้งศาลซารีอะห์อย่างครอบคลุม โดยได้มีการส่งผ่านภารกิจดังกล่าวไปยัง ยธ.แล้ว
          แนวโน้มสถานการณ์ เชื่อว่าการก่อเหตุมีแนวโน้มอ่อนแรงลง จึงต้องพยายามก่อเหตุเพื่อแสดงความคงอยู่ และเพื่อหนุนช่วยแกนนำในการผลักดันให้มีการยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ฯ และเรียกร้องผลประโยชน์ใกล้กับอิสลาม โดยมี ศอ.บต.เป็นเครื่องมือหลีกในการตอบสนองอย่างไรก็ตามการก่อเหตุอาจเพิ่มจำนวนความถี่และความรุนแรงขึ้นได้ โดยเฉพาะใน จ.สงขลา หากแกนนำแนวร่วมได้รับรู้ว่าทางราชการประเมินพลังของแนวร่วมว่าอ่อนแอลง ทั้งนี้สถานการณ์ใน ๓ จชต.จะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือเลวร้ายลง น่าจะขึ้นอยู่กับความสามารถของกองทัพที่จะฝ่าแรงกดดันของแกนนำอิสลาม เพื่อคงไว้ซึ่งมาตรการที่สามารถตรวจค้นและจับกุมผู้ก่อเหตุไก้โดยไม่มีการเตือนให้ผู้ต้องหา/ผู้ต้องสงสัย รู้ตัวและหลบหนีได้ทัน เป็นสำคัญ

สถิติและนัยการก่อเหตุ
          การก่อเหตุในช่วง ๑ – ๓๐ เม.ย.๕๒ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุ ๑๑๐ เหตุการณ์ ใกล้เคียงกับ ๑๑๓ เมื่อ มี.ค.๕๒ ทั้งนี้ จ.ปัตตานี ซึ่งมีนายธีรเทพ ศรียะพันธ์ เป็น ผวจ. และนายอับดุลการีม ยีดำ เป็นหน้าห้อง มีการก่อเหตุมากที่สุด ๔๗ เหตุการณ์ โดย อ.ยะรัง มีการก่อเหตุ ๑๒ เหตุการณ์ แต่ส่วนใหญ่มีลักษณะของการก่อกวนเพื่อเพิ่มสถิติ รองลงมาคือ อ.หนองจิก ซึ่งมีการก่อเหตุ ๙ เหตุการณ์ ขณะที่ อ.เมืองและ อ.สายบุรี มีการก่อเหตุ พื้นที่ละ ๘ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๓๒ เหตุการณ์ โดย อ.เมือง มีการก่อเกตุสูงสุด ๑๓ เหตุการณ์ ขณะที่ อ.ยะหามีการก่อเหตุ ๗ เหตุการณ์ ส่วน จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุ ๓๑ เหตุการณ์ โดย อ.รือเสาะ มีการก่อเหตุสูงสุด ๗ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.เจาะไอร้อง มีการก่อเหตุ ๖ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลา ไม่ปรากฏรายงานการก่อเหตุ
         ทั้งนี้การก่อเหตุทั้งหมด ๑๑๐ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๕๓ เหตุการณ์ รองลงมาคือการวางระเบิด ๒๐ เหตุการณ์ (โดยส่วนใหญ่มุ่งกระทำต่อ Hard Target ) การซุ่มยิง/โจมตี ๑๖ เหตุการณ์ การวางเพลิง/เผา ๑๖ เหตุการณ์ และอื่น ๆ อาทิ การฟัน/แทง การเผายางรถยนต์ ๕ เหตุการณ์

          ข้อพิจารณา
         ๑. สาเหตุหนึ่งที่ยังทำให้การก่อเหตุเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการจับกุมอย่างเข้มงวดและอย่างต่อเนื่องก็ตาม เป็นเพราะไม่มีกฎหมายเฉพาะที่สามารถกักขังผู้กระทำความผิดด้านความมั่นคงได้ ทำให้ต้องมีการปล่อยตัวทั้งผู้ต้องหาและผู้ต้องสงสัยในที่สุด จนชาวบ้านเชื่อว่า จนท.จับตัวคนผิดหรือกลั่นแกล้งประชาชน
          ๒. การก่อเหตุใน เม.ย.๕๒ โดยข้อเท็จจริงแล้วไม่ต่างกับช่วง ม.ค. – มี.ค.๕๒ หากจำนวนที่สูงขึ้นเป็นเพราะมีการก่อเหตุในลักษณะก่อกวนเพื่อคงสถิติ และถัวเฉลี่ยจำนวนการก่อเหตุใน ๓ จชต.ให้ใกล้เคียงกัน มีการโหมก่อกวนอย่างง่าย ๆ อาทิ การเผายางรถยนต์ ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ถึง ๑๐ เหตุการณ์ เมื่อ ๑๕ เม.ย.๕๒ ที่ จ.ปัตตานี ต่อมาที่ จ.ยะลา ก็ได้เกิดเหตุก่อกวนซึ่งส่วนใหญ่คือการยิงกราดฐานปฏิบัติการทหารแล้วหนี อีก ๘ – ๙ เหตุการณ์ เมื่อ ๒๐ เม.ย.๕๒ ล่าสุดที่ จ.นราธิวาส ได้เกิดเหตุวาง/ขว้างระเบิด เปา รร.เสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ อีก ๙ เหตุการณ์ เมื่อ ๒๘ เม.ย.๕๒
          ๓. การก่อเหตุใน เม.ย.๕๒ ดูเหมือนว่าจะแผ่วหรืออ่อนแรงลงในช่วงครึ่งเดือนแรก โดย จ.ปัตตานี และนราธิวาส มีการก่อเหตุเฉลี่ยประมาณวันละ ๑ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.ยะลา เฉลี่ ๒ วัน ต่อเหตุการณ์ ส่งผลให้ในช่วงครึ่งหลังของเดือนจึงต้องมีการโหมก่อเหตุอย่างหนัก เพื่อแสดงความคงอยู่และหนุนช่วยแกนนำในการกดดันให้มีการยกเลิก รก.ฉุกเฉิน ฯ
          ๔. การก่อเหตุที่ทำให้ชาวบ้านและ จนท.เสียชีวิตและบาดเจ็บ อย่างท้าทายต่ออำนาจรัฐอย่างยิ่ง อาทิตย์
               - การยิงถล่มขบวนรถไฟที่ ๔๖๓ ซึ่งวิ่งต้นทางจากสถานีรถไฟพัทลุงจรดปลายทางสถานีรถไฟสุไหงโกลก เหตุเกิดห่างจากสถานีรถไฟสะโลตราแตะ ประมาณ ๒๐๐ เมตร ช่วงบริเวณ ม.ซ๖ ต.เฉลิม อ.ระแงะ ทำให้ จนท.รถไฟ และ อส.ทพ.เสียชีวิต ๑ ราย และบาดเจ็บสาหัส ๓ นาย เมื่อ ๑๐ เม.ย.๕๒
              - การยิงถล่มร้านน้ำชาในท้องที่ ม.๗ ริมถนนสายปะแต – กาโต๊ะ ต.ปะแต อ.ยะหา ทำให้ชาวบ้านบาดเจ็บสาหัส ๔ ราย เมื่อ ๒๐ เม.ย.๕๒
              - การยิงถล่มบริเวณหน้า สภ.จะกว๊ะ ต.ตะโล๊ะหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งกำลังเล่นฟุตบอลอยู่บริเวณลานจอดรถ๔/อาคารอำนวยการของ สภ.จ๊ะกว๊ะ ได้รับบาดเจ็บ ๘ นาย เมื่อ ๒๓ ใม.ย.๕๒
              - การวางระเบิดหน้าร้านขายก๋วยจั๊บ ริมถนนสายรือเสาะ – จะกว๊ะ ม.๒ เขตเทศบาลตำบลรืเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ของนางปราณี อ่อน ทำให้มีผุ้ได้รับบาดเจ็บสาหัส ๑๖ ราย เมื่อ ๒๔ เม.ย.๕๒
              - การใช้อาวุธสงครามยิงชาวบ้านขณะนั่งเล่นอยู่ในบ้าน ที่บ้านสูแก ม.๕ ต.ปะแต อ. ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๔ คน และบาดเจ็บสาหัส ๑ คน เมื่อ ๒๘ เม.ย.๕๒

การตรวจค้น/จับกุม
          ในช่วงเวลารายงานพบว่า จนท.ยังสามารถใช้ พรก.ฉุกเฉิน ฯ ในการตรวจ/จับกุม ได้อย่างสัมฤทธิ์ผลและต่อเนื่อง ที่สำคัญได้แก่
               - การตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย ๓ แห่ง เมื่อ ๔ เม.ย.๕๒ คือ ที่ ม.๓ ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี สามารถควบคุมผู้ต้องสงสัยตามกฎอัยการศึกได้จำนวน ๗ ราย ประกอบด้วย นายมูฮัมหมัดแอรี ดือราเซะ นายยูกฟรี มะหะ นายคอซี เจ๊ะแกร์ นส.รอกีเยาะ มะหะ นายอับดุลกอเดร์ สาเลง นายการียา วาแม และ นายอุเซ็ง มะหะ ส่วนที่ ม.๒ ต.น้ำดำ อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี สามารถจับกุมผู้ต้องหา/ผู้ต้องสงสัยได้ ๓ ราย ได้แก่ นายซาการียา ดือราแม นายอุสมาน หะนิมะ และนายมะยาลี มูดอ ขณะที่ ต.ปะโด อ.มายอ สามารถควบคุมตัวกลุ่มแนวร่วมได้ ๒ ราย คือ นายมะรูติง ปาเงาะ และ นายอิบบรอเฮง มามุ โดยทั้งสองอยู่ในกลุ่มเครือข่ายของ นายอาหะมะ จาจ้า แกนนำ RKK ที่รับผิดชอบก่อเหตุในพื้นที่ อ.ยะรัง และ อ.มายอ
               - การตรวจค้นจับกุมที่ ม. ๒ ต.บาตง อ.รือเสาะ จนสามารถวิสามัญ นายมาหามะ สะโต ได้ เมื่อ ๔ เม.ย.๕๒
              - การตรวจค้นจับกุมที่ อ.หนองจิก และ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ซึ่งสามารถจับกุม นายมูฮาหมัดนูรูดิง มะรอแม หรือโตะแซ สมาชิกกลุ่มก่อความไม่สงบระดับสั่งการ (มีหมายจับใสคดีความมั่นคงหลายคดี) นายอิสมะแอ อาแว (ผู้ต้องหาตามหมายจับคดีความมั่นคง) พร้อมควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยอีก ๑๙ คน เมื่อ ๑๓ เม.ย.๕๒
              - การตรวจค้นจับกุมที่ บ.ยานิง ม.๒ ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง สามารถวิสามัญ นายรอซือดี มามะ แกนนำแนวร่วม RKK และคุมตัว นายอุสมาน เจ๊ะแต รวมทั้ง นายอัมรี มือลี ได้ เมื่อ ๒๙ เม.ย.๕๒

การเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและ SYMPATHIZER อิสลาม
          การเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและ SYMPATHIZER อิสลาม ในช่วงรายงาน ยังคงมุ่งเน้นอยู่ที่การสร้างกระแสกดดันให้มีการยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ฯ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ม.ค.๕๒ หลังการจุดประกายให้ความหวังเพื่อซื้อใจอิสลามของนายกรัฐมนตรี โดยเริ่มจากการปูกระแสของสถาบันอิศรา และตอบรับจาก นาย......สส. หลายพรรค จ.นราธิวาส นอกจากนี้ ยังพบนัยของการต่อต้านการเรียนรู้ภาษาไทยของอิสลาม ความพยายามดึงโลกอิสลามเข้ามาแทรกแซง ในความขัดแย้งภายในประเทศ การเรียกร้องผลประโยชน์ให้กับคนอิสลาม โดยเฉพาะการเสนอตั้งศาลความมั่นคง ที่มีอิสลามเป็นผู้พิพากษา
          สถาบันอิศรา ได้ลงบทวิจารณ์ถึงจุดอ่อน และปัญหาของ พรก.ฉุกเฉิน ฯ ๖ บทความ ได้แก่ วิเคราะห์ต่ออายุ พรก.ฉุกเฉิน ฯ ครั้งที่ ๑๕ .....บทวิพากษ์จากนักสิทธิมนุษยชนระดับโลก เมื่อ ๓ เม.ย.๕๒ วิเคราะห์ต่ออายุ พรก.ฉุกเฉิน ฯ ครั้งที่ ๑๕ ....ผู้ต้องสงสัยมีสิทธิ์น้อยกว่าผู้ต้องหา เมื่อ ๘ เม.ย.๕๒ นายก ฯ เงื้อค้าง .....ครม. ยอมต่ออายุ พรก.ฉุกเฉิน ฯ ชายแดนใต้ ฉลุย เมื่อ ๑๘ เม.ย.๕๒ สมชาย หอมลออ ต่อต้านก่อการร้ายจะได้ผลเมื่อยึดหลักสิทธิมนุษยชน เมื่อ ๑๘ เม.ย.๕๒ รศ.ดร.มารค ตามไท มาตรการของรัฐจะไม่ได้ผล ถ้าสังคมรับไม่ได้ เมี่อ ๑๙ เม.ย.๕๒ ทนายแดนใต้ชำแหละปัญหา พรก.ฉุกเฉิน ฯ เมื่อ ๑๙ เม.ย๕๒
          นาย.... ส.ส.นราธิวาส พรรคราษฎร ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาศึกษาปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกร้องให้เพิ่มประสิทธิประโยชน์ให้แก่อิสลาม ทั้งด้านการศึกษา ค่าตอบแทนผู้นำศาสนา โดยเฉพาะการตั้งศาลความมั่นคง ที่มีอิสลามเป็นผู้พิพากษา และยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ฯ
          พล.ต.ต. ...ผู้อำนวยการมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ พยายามโน้มน้าวให้เห็นว่า ชาวบ้านไม่พอใจ การที่รัฐส่งเสริมการใช้ภาษาไทย จนทำให้คนมลายูรู้ภาษาไทยวมากขึ้น ทั้งไม่เห็นด้วยกับการต่ออายุ พรก.ฉุกเฉิน ฯ
          นาย..... ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ พยายามจะส่งนัยว่า การเรียนรู้ภาษาไทย ทำให้คนมลายูไม่สามารถกลมกลืนกับอิสลามนอกประเทศมากกว่า ๒๕๐ ล้านคนได้
          นาย.... อุปนายกหัวหน้าฝ่ายสิทธิมนุษยชน สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย มองว่ารัฐไม่พอใจที่ชาวบ้านเขียนป้ายชื่อหมู่บ้าน เป็นภาษามลายู และอักษรยาวี
          นาย ... กรรมการอิสลามประจำกรุงเทพ ฯ พยายามดึงเหตุการณ์ภายในประเทศ ออกสู่โลกอิสลาม ด้วยการพยายามรื้อฟื้นความบาดหมาง กรณีกรือเซะและตากใบ หลังจากเมื่อ มี.ค.๕๒ ศอ.บต. ก็ได้เชิญผู้นำศาสนาจากต่างประเทศเข้ามาบรรยาย เรื่องศาลชีอะห์ ขณะที่เกี่ยวข้องยังหาข้อยุติไม่ได้
          นอกจากนี้ ยังพบว่า ตัวแทนของนักศึกษาจาก ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน ๓๑ ราย ที่ไปศึกษาต่อยังคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนกับ นายสุรสีห์ โกศลนาวิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร้องเรียนกรณี สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา จัดหลักสูตรสาธารณสุขให้เรียนแทนหลักสูตรพยาบาล เพราะทางสถาบันไม่มีคณะพยาบาลศาสตร์

ความเคลื่อนไหวของรัฐบาล
         ในช่วงรายงาน ปรากฏความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ อาทิ การจำยอมให้มีการต่ออายุ พรก.ฉุกเฉิน ฯ ออกไปจนถึง ๑๙ ก.ค.๕๒ (ระหว่าง ๒๐ เม.ย. – ๑๙ ก.ค.๕๒) นอกจากนั้น ยังคงเป็นความมุ่งมั่นซื้อใจอิสลามอย่างไม่ลดละ อาทิ
          - การดำเนินการให้นักศึกษาอิสลามกู้ยืมเงิน ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย / กยศ. ได้ทันเปิดภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๒ เนื่องจากมี นศ.อิสลามยื่นความจำนงขอกู้เข้ามาแล้วกว่า ๑๑,๐๐๐ คน โดยเฉพาะ นศ.จำนวน ๑๑,๒๘๓ คน ให้ได้รับสิทธิกู้ในส่วนของค่าเล่าเรียน เพื่อทางมหาวิทยาลัยบางแห่ง จะได้ออกเกรดให้
          - การทยอยส่ง นศ.อิสลาม เดินทางไปเรียนต่อในต่างประเทศ ตามโครงการให้ทุกแก่ นศ.อิสลาม จาก ๓ + ๑ จชต. ปีละ ๑,๐๐๐ คน ของ ศอ.บต.

                                               ............................................