สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต.
๑ - ๓๐ เม.ย.๕๔

          สถานการณ์ใน ๓ จชต. ที่น่าสนใจยังคงเป็น การก่อเหตุ ซึ่งในช่วงรายงานมีจำนวน ๕๔เหตุการณ์ โดยที่ จ.ปัตตานี มีลักษณะของการก่อเหตุที่มีนัยของการท้าทายอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับการมอบตัวของกลุ่มผู้ต้องสงสัย/ผู้ต้องหา คดีความมั่นคงที่ จ.ปัตตานี ซึ่งเท่าที่รวบรวมได้จำนวน ๖๘๒ คน นั้น มีการวิจารณ์กันอย่างมาก ถึงจำนวนคนที่เข้ามามอบตัว และอภิสิทธิ์ที่กลุ่มผู้ต้องหาได้รับไม่ว่าจะเป็นการยกเว้นไม่ต้องมอบอาวุธ อีกทั้งยังได้หนังสือรับรองการแสดงตัวเพื่อให้สามารถเดินทางไปมาได้อย่างสะดวก
          ส่วน การเคลื่อนไหวของนักการเมือง พบว่าเพื่อแลกกับคะแนนเสียงแล้ว นักการเมืองสามารถทำได้ทุกอย่าง แม้จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดความแตกแยกและการเสริมสร้างพลังในการแบ่งแยกดินแดน ดังเช่นพรรคเพื่อไทย เสนอข้อแลกเปลี่ยนด้วยการจะผลักดันให้ ๓ จชต.มีการปกครองตนเอง พรรคมาตุภูมิ เสนอข้อแลกเปลี่ยนด้วยการผลักดันพ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจญ์ พ.ร.บ.จัดตั้งกองทุนซะกาต พ.ร.บ.การบริหารกิจการฮาลาล และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลชารีอะห์ รวมทั้งค่าตอบแทนผู้นำศาสนาอิสลาม ขณะที่กลุ่มสมัครสว.ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกซึ่งส่วนใหญ่คือผู้นำศาสนาและเจ้าของร.ร.เอกชนสอนศาสนาอิสลาม มีการเคลื่อนไหวปลุกระดมให้มลายูอิสลามลุกขึ้นประท้วง หากสถานการณ์อันสับสนทางการเมืองทำให้การเคลื่อนไหวยังไม่ปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจน การเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรเอกชนอิสลาม พบว่ากลุ่มมุสลิมเพื่อสันติได้ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือแนะนำองค์กรให้เป็นที่ยอมรับ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความแตกแยกและกำลังกลายเป็นการยกศาสนาอิสลามขึ้นเหนือศาสนาพุทธ พร้อมปลุกระดมให้มีการก่อม๊อบเพื่อเผชิญหน้ากันใน ๙ พ.ค.๕๔ ที่ ร.ร.วัดหนองจอกเช่นเดียวกับสถาบันอิศรา กำลังนำประเด็นการโจมตีฐานปฏิบัติการที่บ้านน้ำดำ ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก ขึ้นมาเป็นประเด็นปลุกระดมให้เห็นว่าจนท.รังแกชาวบ้าน
         สำหรับการเคลื่อนไหวของทางราชการและ จนท.ของรัฐ ที่น่าสนใจ นอกเหนือจากการออกหนังสือรับรองและการไม่เรียกอาวุธจากผู้มอบตัวของ ผวจ.ปัตตานีแล้ว พบว่าการแต่งตั้งสภาที่ปรึกษาศอ.บต.ซึ่งมีการคัดเลือกตัวบุคคลเมื่อ ๓ เม.ย.๕๔ ได้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลอย่างยิ่งต่อข้าราชการและคนไทยพุทธอีกทั้งยังพบว่า ผู้ที่ได้รับคัดเลือกในจ.ปัตตานี นั้นส่วนใหญ่เป็นคนของพรรคมาตุภูมิตามคาด ซึ่งน่าจะทำให้พรรคนี้สามารถแจ้งเกิดได้ในพื้นที่นี้ได้ ขณะที่การตรวจค้นจับกุมของจนท.ดูเหมือนว่าจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง อย่างต่อเนื่องจากปลาย มี.ค.๕๔
         แนวโน้มของสถานการณ์ ความชุลมุนและสับสนทางการเมืองรวมทั้งการปล่อยข่าวการปฏิวัติเป็นระยะ โดยเฉพาะการหาเสียงมลายูเพื่อมลายูของนักการเมือง จะทำให้สถานการณ์ใน ๓ จชต.ยุ่งเหยิงอย่างน่าวิตก การทำงานของ จนท.จะยุ่งยากมากขึ้นจากการเข้ามาแทรกคุมเสียงเพื่อต่อรองกับนักการเมืองของกลุ่ม สื่อและองค์กรเอกชนอิสลามรวมทั้งกลุ่มไทยพุทธที่เข้ามาหากินกับปัญหาความไม่สงบใน ๓ จชต. ขณะที่กลุ่มแนวร่วมเองอยู่ในภาวะที่ถอยไม่ได้ ในสถานการณ์ที่ตนเองดูเหมือนจะได้เปรียบที่สุด อย่างไรก็ตาม ระดับความรุนแรงของสถานการณ์น่าจะขึ้นอยู่กับท่าทีอันชัดเจนของทหารว่าจะ “ สู้ หรือ สยบ ” “กล้า หรือ กลัว ” เป็นสำคัญ โดย มี จ.ปัตตานีเป็นตัวทดสอบ

สถิติและนัยการก่อเหตุ
         การก่อเหตุในช่วง ๑-๓๐ เม.ย. ๕๔ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุ ๕๔ เหตุการณ์ ลดลงจาก ๖๐ เหตุการณ์ ในช่วงเดียวกันของ มี.ค.๕๔ ทั้งนี้ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุมากที่สุด ๒๘ เหตุการณ์ โดย อ.ระแงะ มีการก่อเหตุสูงสุด ๗ เหตุการณ์ ขณะที่ อ.เมือง และ อ.จะแนะ มีการก่อเหตุ ๔ เหตุการณ์ เหตุการณ์ เท่ากัน รองลงมาคือ จ.ปัตตานี ซึ่งมีผวจ. และ ผกก.เป็นอิสลาม มีการก่อเหตุ ๑๔ เหตุการณ์ โดย อ.หนองจิกและ อ.ยะรัง มีการก่อเหตุมากที่สุดพื้นที่ละ ๓ เหตุการณ์ ขณะที่ อ.เมืองมีการก่อเหตุ ๒ เหตุการณ์ ส่วน จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๑๐ เหตุการณ์ โดย อ.รามัน อ.เมือง มีการก่อเหตุสูงสุด พื้นที่ละ ๔ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.สงขลา มีรายงานการก่อเหตุ ๑ เหตุการณ์ ที่ อ.เทพา ทั้งนี้การก่อเหตุทั้ง ๕๔ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๒๘ เหตุการณ์ รองลงมาคือการซุ่มโจมตี จนท. ๑๑ เหตุการณ์ เท่ากับการวางระเบิด การก่อกวน ๒ เหตุการณ์ และอื่นๆ ๒ เหตุการณ์ โดยคนไทยพุทธมีการสูญเสีย ๖๖ ราย แยกเป็นการเสียชีวิต ๘ ราย และบาดเจ็บ ๕๘ ราย สูงกว่าอิสลาม ซึ่งมีการสูญเสียรวม ๓๐ ราย แยกเป็นการเสียชีวิต ๑๑ ราย และบาดเจ็บ ๑๙ ราย

          ข้อพิจารณา
         ๑. การก่อเหตุที่ จ.ปัตตานี ซึ่งมี ผวจ.เป็นอิสลามและจะเกษียณใน ก.ย.๕๔ และได้สมัครเป็น กกต.จังหวัดต่อนั้น มีการเร่งกวาดล้างคนไทยพุทธอย่างเจาะจงโดยมีลักษณะของความพยายามตัดการสัญจรระหว่างปัตตานีตะวันออกและปัตตานีตะวันตกที่ อ.ยะรัง ในขณะที่ทางตะวันออกเน้นการก่อเหตุต่อเป้าหมายคนไทยพุทธที่ อ.ปะนาเระซึ่งเป็นพื้นที่อิทธิพลของ พรรคมาตุภูมิ โดยในช่วงรายงานมีการสร้างภาพการดักวางระเบิดรถผู้ว่าฯด้วยระเบิด น.น. ๓ ก.ก. ส่วนทางด้านตะวันตกเน้นอยู่ที่ อ.โคกโพธิ์ ซึ่งจำนวนไทยพุทธมากพอที่จะชี้เป็นชี้ตายตัวนักการเมืองและตัวส.ส.ได้ โดยในช่วงรายงานมีการบุกเข้าไปจ่อยิงลูกชายเจ้าของร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างไทยพุทธ ถึงในร้าน ที่ ม.๒ บ้านนาเกตุ ต.มะกรูด อ.โคกโพธิ์ เมื่อ ๙ เม.ย.๕๔ จนบาดเจ็บสาหัส
          ๒. การก่อเหตุทั้ง ๓ จังหวัด มีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง โดย จ.ปัตตานี แนวร่วมมุ่งเน้นก่อเหตุกับเป้าหมายไทยพุทธทั้งชาวบ้านและจนท.ซึ่งเดินทางคนเดียวเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ จ.นราธิวาส ส่วนใหญ่เป็นการก่อเหตุโจมตีฐาน/ชุดเคลื่อนที่ของทหาร และมุสลิมซึ่งทำงานให้กับรัฐ ส่วน จ.ยะลา ซึ่งการก่อเหตุมีแนวโน้มน้อยผิดปกติอย่างต่อเนื่องนั้น หากเหตุที่เกิดขึ้นจะก่อความเสียหายรุนแรงในวงกว้าง และเจาะจงพื้นที่ซึ่งเป็นที่รวมของไทยพุทธชัดเจน และชุดเคลื่อนที่ทหาร สำหรับ จ.สงขลา ซึ่งเกิดเหตุน้อย หากเจาะจงกระทำต่อเป้าหมายไทยพุทธชัดเจน
          ๓. การก่อเหตุในช่วงเวลารายงาน มีความฮึกเหิมและท้าทาย โดยมีการมุ่งกระทำต่อเป้าหมาย hard target อย่างอุกอาจ และต่อเนื่อง เพื่อทำลายขวัญและศักดิ์ศรีของทหาร ซึ่งเริ่มจากการโจมตีค่ายพระองค์ดำ ที่ ม.๑ ต.มะรือโบตก อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เมื่อ ๑๙ ม.ค.๕๔ เป็นต้นมา ส่วนในช่วงรายงานมีการก่อเหตุในลักษณะนี้ต่อ hard target ด้วยการซุ่มยิงถึง ๑๐ เหตุการณ์ และอย่างท้าทาย/ลองเชิงอำนาจรัฐอย่างยิ่ง ที่ ม.๓ บ.น้ำดำ ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก เมื่อ ๑๘ เม.ย.๕๔ ซึ่งทำให้ จนท. เสียชีวิต ๑ นาย การวางระเบิดล่อ จนท.ทหาร สังกัด ทพ.๔๑ และวางระเบิดดักพร้อมกับซุ่มโจมตีกำลังที่เข้ามาเสริม ที่ ม.๔ ต.กายูบอเกาะ อ.รามัน จ.ยะลา จนทำให้ จนท.เสียชีวิต ๒ นาย และบาดเจ็บสาหัสอีก ๙ นาย เมื่อ ๓๐ เม.ย.๕๔
          ๔. การก่อเหตุมีลักษณะข่มขู่ให้มลายูอิสลามถอนตัวจากการทำงานให้รัฐบาลอย่างต่อ-เนื่อง อาทิ การยิงอส.สะมะแอ สะมะแอ เสียชีวิตบนถนนบริเวณทางโค้งจุฬา ภรณ์ ๕ บ้านตันหยงมัส ม.๑ ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เมื่อ ๑๔ เม.ย.๕๔ การยิงอส.ทพ.มูหาหมัดยากี อามะ บาดเจ็บสาหัส บนถนนในหมู่บ้านโคกสยา ม. ๘ ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส เมื่อ ๑๖ เม.ย.๕๔ การยิงนายมูเซ๊ะ ซาเละ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บาดเจ็บที่บนถนนในหมู่บ้านแอร้อง หมู่ ๑๐ ต.ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา เมื่อ ๑๖ เม.ย.๕๔

การเคลื่อนไหวของนักการเมืองและองค์กรเอกชนอิสลาม
          การเคลื่อนไหวของนักการเมืองในช่วงเวลารายงาน พบว่าเพื่อแลกกับคะแนนเสียงแล้ว นักการเมืองสามารถทำได้ทุกอย่าง แม้การกระตุ้นให้เกิดความแตกแยกและการเสริมสร้างพลังในการแบ่งแยกดินแดน ดังเช่นพรรคเพื่อไทยเสนอข้อแลกเปลี่ยนด้วยการจะผลักดันให้ ๓ จชต.มีการปกครองตนเอง พรรคมาตุภูมิ เสนอข้อแลกเปลี่ยนด้วยการผลักดันผลประโยชน์ทั้งด้านกฏหมายและตัวเงินให้กับมลายูอิสลาม เพื่อไทย"เอาจริงชงร่าง กม.นครปัตตานี เลือกตั้งผู้ว่า เลิกศอ.บต. สถาบันอิศรา เมื่อ ๕ เม.ย.๕๔ ....พรรคเพื่อไทย (พรรคไทยรักไทยและพลังประชาชนเดิม) เตรียมซื้อใจมลายูอิสลามด้วย การเสนอร่างพระราชบัญญัติ (ร่าง พ.ร.บ.) ระเบียบบริหารราชการนครปัตตานี พ.ศ..... เพื่อจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษชื่อว่า "นครปัตตานี" ครอบคลุมพื้นที่ จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยมีผู้ว่าราชการนครปัตตานี ซึ่งราษฏร ๓ จชต.เป็นผู้เลือกขึ้นมาเป็นผู้ปกครอง และให้ยุบเลิก ศอ.บต.
          มาตุภูมิเปิดนโยบาย ดัน ๔ พ.ร.บ.เพื่อพี่น้องมุสลิม www.pinonlines.com ๑๔ เม.ย.๕๔ ….พรรคมาดุภูมิเสนอผลตอบแทนต่างๆให้กับอิสลามเพื่อแลกกับคะแนนเสียง ที่สำคัญได้แก่การผลักดัน พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจญ์, พ.ร.บ.จัดตั้งกองทุนซะกาต, พ.ร.บ.การบริหารกิจการฮาลาล และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลชารีอะห์ และค่าตอบแทนผู้นำศาสนาอิสลาม โดยไม่มีการกล่าวถึงไทยพุทธ แต่อย่างใด ที่สำคัญคือพยายามชี้นำให้เห็นว่าจนท.ที่มิใช่อิสลามมีการอุ้มฆ่าแนวร่วม

การเคลื่อนไหวขององค์กรเอกชนอิสลาม
          กลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ ยังใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือแนะนำองค์กรให้เป็นที่ยอมรับ โดยการเข้าออกพบบุคคลต่างๆเพื่อสร้างข่าว และหลอกล่อให้ผู้รับผิดชอบด้านการศึกษาคือรัฐมนตรีมาเป็นเครื่องมือกดดันร.ร.วัด ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความแตกแยกแล้ว ยังกำลังกลายเป็นการยกอิสลามขึ้นเหนือพุทธอย่างอันตรายยิ่ง ขณะที่สถาบันอิศรากำลังปลุกระดมให้ชาวบ้านอิสลามเกิดความหวาดระแวงและความเกลียดชังทหาร
         ปัญหาฮิญาบมัธยมวัดหนองจอกไม่คืบ เรื่องคาที่รองนายกสนั่น กมส.เตรียมจี้ thailandnewsdarussalam.com เมื่อ ๘ เม.ย.๕๔ .... กลุ่มมุสลิมเพื่อสันติยังคงแสดงบทบาทความเป็นเจ้าของปัญหา อันกลายเป็นจุดขายของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเดินทางพบปะและยื่นหนังสือต่อบุคคลต่างๆ เพื่อสร้างข่าว ซึ่งความพยายามดังกล่าวทำให้ดูเหมือนว่าเป็นการชูอิสลามเหนือพุทธ โดยคนไทยพุทธยังไม่ตระหนักแต่อย่างใด
         การจัดสัมมนาเรื่อง สิทธินักเรียนมุสลิมในสถานศึกษา ใน ๒๔ เม.ย.๕๔ โดยการระบุให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาฯ ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “สิทธินักเรียนมุสลิมในสถานศึกษา” เพื่อนำสู่การกดดัน ร.ร.วัดหนองจอกด้วยเสวนา “บทเรียนโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอกและผลกระทบต่อสังคมมุสลิม” โดยนายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ และ ส.ส.สามารถ มะลูลีม
         ยิ่งขุดยิ่งเจอตอ: ปัญหาหิญาบ วัดหนอง-ไม่-จอก มุสลิมไทยดอทคอม เมื่อ ๒๔ เม.ย.๕๔ ....เป็นการนำเสนอผลการเสวนาเรื่อง สิทธินักเรียนมุสลิมในสถานศึกษา ของกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ ซึ่งปรากฏว่านายฮานีฟ หยงสตาร์ ประธานคณะทำงานด้านกฏหมายกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติได้มีการปลุกระดมผ่าน web และวิทยุชุมนุมกดดันเปิดทางให้นักเรียนคลุมผ้าคลุมหัวเข้าไปเรียนใน ร.ร.วัดหนองจอก ใน ๙ พ.ค.๕๔ "ใครคือคนร้าย ใครคือผู้บริสุทธิ์?" สถาบันอิศรา เมื่อ ๒๑ เม.ย.๕๔ .... กำลังปลุกความระแวงและความเกลียดชังของชาวบ้านต่อทหาร ด้วยการออกสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ยิงถล่มฐานปฏิบัติการ ของกองร้อยทหารพรานที่ ๔๓๐๒ บ้านน้ำดำ หมู่ ๓ ต.ปูโละปูโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อ ๑๘ เม.ย.๕๔ และนำมาลงเป็นบทความเพื่อสื่อนัย ว่าทหารยิงเยาวชนอิสลาม และตอกย้ำด้วยการยกเหตุการณ์ที่วัยรุ่น ในตำบลบานาเสียชีวิต เมื่อปี ๒๕๕๐ ขึ้นมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ปัจจุบัน เพื่อสรุปว่าเป็นเหตุการณ์ทำนองเดียวกัน

การเคลื่อนไหวของรัฐและจนท.ของรัฐ
         การรับมอบตัวผู้ต้องหาคดีความมั่นคง
               นายภาณุ อุทัยรัตน์ รักษาการเลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เปิดเผย เมื่อ ๒๒ เม.ย.๕๔ ว่า ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม ๒๕๕๔ นั้น ผลการดำเนินการ ในการรับรายงานตัวของกลุ่มบุคคลผู้ถูกพาดพิงตามเป้าหมายของแต่ละจังหวัด ดังนี้ คือ จังหวัดปัตตานี เป้าหมาย ๔๘๓ คน รายงานตัว ๕๖๓ คน คิดเป็น ๑๐๐% จังหวัดยะลา เป้าหมาย ๖๖๕ คน รายงานตัว ๕๔๓ คน คิดเป็น ๘๓% จังหวัดนราธิวาส เป้าหมาย ๑๗๙ คน รายงานตัว ๕๗๒ คน คิดเป็น ๑๐๐% รวมเป้าหมาย ๑,๓๒๗ คน รายงานตัว ๑,๖๗๘ คน ส่วนจังหวัดสงขลาไม่ปรากฏข้อมูลผู้ถูกพาดพิงหรือต้องสงสัยแต่อย่างใด
              อย่างไรก็ตาม การมอบตัวของกลุ่มผู้ต้องสงสัย/ผู้ต้องหา คดีความมั่นคงที่ จ.ปัตตานี ซึ่งเท่าที่รวบรวมได้จำนวน ๖๘๒ คน นั้น มีการวิจารณ์และแสดงความกังขากันอย่างมาก เนื่องจากการมอบตัวในครั้งนี้ ผู้เข้ามอบตัวเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขให้“รัฐจะต้องแสดงความจริงใจ โดยการจะออกหนังสือรับรอง ที่พกพาได้ให้กับผู้ที่เข้ามามอบตัว” และไม่มีการมอบอาวุธ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ปฏิเสธความผิด ไม่มอบอาวุธ แต่ขอให้พ้นจากความผิด งดเว้นการเข้าสู่ระบบยุติธรรม ถืออาวุธอย่างเปิดเผยได้ นั่นเอง

            

การตรวจค้น/จับกุม
          การตรวจค้น จับกุมของ จนท.ดูเหมือนจะเป็นไปอย่างคึกคักและต่อเนื่องจากปลาย มี.ค. ๕๔ ซึ่งเท่าที่รวบรวมได้พบว่าในช่วงรายงานมีการตรวจค้นและจับกุมจำนวน ๑๑ ครั้ง โดยอยู่ที่ จ. นราธิวาส เป็นส่วนใหญ่ ที่สำคัญ ได้แก่ การตรวจ ค้นบ้านเลขที่๑๐๔ หมู่ ๑ ต.กายูบอเกาะ อ.รามัน จ.ยะลา ซี่งสามารถวิสามัญนาย อัสมัน เจ๊ะเล็ง แนวร่วมคนสำคัญได้ เมื่อ ๖ เม.ย.๕๔ การตรวจค้นบ้านลีซ็งใน หมู่ที่ ๕ ต.จะกว๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา ซึ่งสามารถวิสามัญ นายมะ ดือราแม แกนนำแนวร่วมได้ เมื่อ ๙ เม.ย.๕๔ การตรวจค้น บริเวณเชิงเขาหลังหมู่บ้านปาหนัน ม.๔ ต.ศรีสาคร อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส สามารถยึด อุปกรณ์ประกอบวัตถุระเบิดได้จำนวนหนึ่ง เมื่อ ๒๐ เม.ย.๕๔

                                               ............................................