สรุปสถานการณ์ใน จชต.

๑ - ๓๑ ส.ค.๕๑

                ความเคลื่อนไหวที่สำคัญใน จชต.ในช่วง ๑ - ๓๑ ส.ค.๕๑ ยังคงได้แก่การก่อเหตุ ซึ่งเท่าที่รวบรวมได้มีจำนวน ๑๐๑ เหตุการณ์ สูงกว่าการก่อเหตุจำนวน ๘๖ เหตุการณ์ ใน ก.ค.๕๑ โดยเป็นการก่อเหตุต่อเป้าหมายที่เป็น hard target  ค่อนข้างชัดเจน และอย่างค่อนข้างมีคุณภาพ ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากแนวร่วมมีความพร้อมในการก่อเหตุครั้งใหญ่ แต่โอกาสยังไม่เอื้ออำนวย และการฉวยโอกาสจากความรุนแรงทางการเมืองที่เพิ่มขึ้น โดย จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุสูงสุด ๓๖เหตุการณ์ รองลงมาได้แก่ จ.นราธิวาส ๓๕ เหตุการณ์ จ.ยะลา ๒๓ เหตุการณ์ และ จ.สงขลา ๑๐ เหตุการณ์ อย่างก็ตามในการก่อเหตุดังกล่าว มีการหลอกล่อให้ จนท.เข้าไปโดนระเบิดอย่างได้ผลถึง ๒ ครั้ง น่าจะแสดงให้เห็นถึงความไม่พร้อมอย่างยิ่งของทั้ง จนท.และเครื่องมือในการตรวจจับวัตถุระเบิด
           การตรวจค้น/จับกุมอันเป็นมาตรการสกัดการเคลื่อนไหวอย่างเสรี และการป้องปรามการก่อเหตุครั้งใหญ่ ที่ได้ผลในระดับหนึ่งนั้นดูเหมือนว่ากำลังจะตกอยู่ในสภาพของ "จุดแข็งที่อาจกลายเป็นจุดอ่อน" อย่างน่าวิตก จากความพลาดพลั้งในการปฏิบัติที่ไม่แนบเนียนของ จนท.และจากการที่บรรดาแกนนำแนวร่วมและ sympathizer    ตั้งแต่สถาบัน....นาง....ตลอดจน นาย...พยายามเข้ามาเคลื่อนไหวสกัดกั้นด้วยการหาวิธี discredit  รัฐบาล บั่นทอนคงวามมั่นใจของ จนท.และสร้างความแตกแยกระหว่างเชื้อชาติและศาสนาอย่างได้ผล ดังจะเห็นได้ชัดจากกรณีการตรวจค้นปอเนาะดาลอที่ จ.ปัตตานี ซึ่งทางกลุ่มแกนนำและ sympathizer สามารถกดดันจนทางการต้องเปิดการเจรจา และยอมจ่ายค่าชดเชยให้กับเจ้าของปอเนาะในที่สุด ซึ่งผลจากการเพลี้ยงพล่ำของรัฐในครั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้บรรดานักศึกาาอิสลามซึ่งได้เพลาบทบาทลงตั้งแต่กลาง มิ .ย.๕๐ โหมกระแสเข้าไปแทรกแซงการตรวจค้น/จับกุมนักศึกษาที่ จ.ยะลา ได้อีกครั้งหนึ่ง และล่าสุดคือการทำหนังสือเรียกนางแยนะ สะแลแม นักสิทธิมนุษยชนท้องถิ่นให้ไปพบ
อันเป็นการเปิดโอกาสให่สื่อนำไปชี้นำให้สาธารณชนเห็นว่าทหารกำลังข่มขู่/คุกคามชาวบ้าน
           การเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและ  sympathizer   ในช่วงรายงานพบว่านอกจากจะกำลังมุ่งเพิ่มอภิสิทธิ์กับคนอิสลามแล้ว ยังมุ่งเน้นการพลิกสถานการณ์ที่ดูเหมือนงจะเป็นรองทางด้านการทหาร โดยการสกัดกั้นมาตรการการตรวจค้น/ตรวจจับ และการเรียกร้องขอเปิดการเจรจากับรัฐบาลไทย ขณะที่รัฐบาลยังคงพยายามซื้อใจอิสลามอย่างต่อเนื่อง ด้วยการให้เงินสนับสนุนผู้เดินทางไปทำพิธีทางศาสนาที่นครเมกกะ และการขยายและเพิ่มทุนให้แก่นักศึกษาอิสลามในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนนำทั่วประเทศ
            การก่อเหตุมีแนวโน้มจะมีจำนวนถี่ขึ้น โดยเฉพาะ อ.ยะหา และ อ.บันนังสตา เมื่อพิจารณาจากการประการแรก การที่แนวร่วมยังไม่มีโอกาสก่อเหตุครั้งใหญ่ ประการที่ ๒ การยกเลิกเคอร์ฟิวใน อ.ยะหา และ อ.กันยายนของทุกปี เป็นช่วงการสร้างผลงานของจข้าราชการให้เข้าตาผู้บังคับบัญชา และโดยเฉพาะใน จชต. ข้าราชการจะชะลอการทำงานหรือการกระทำใด ๆ อันจะเป็นการเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหรือทำให้อิสลามไม่พอใจ

การก่อเหตุที่มุ่งเน้นต่อ
            การก่อเหตุในช่วง ๑ - ๓๑ ส.ค.๕๑ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุ ๑๐๑ เหตุการณ์ สูงกว่าการก่อเหตุ จำนวน ๘๖ เหตุการณ์ ในช่วง ๑ - ๓๑ ก.ค.๕๑ โดย จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุสูงสุด ๓๖ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.นราธิวาส ๓๓ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๒๓ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลา มีการก่อเหตุ ๑๐ เหตุการณ์ โดบยแยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๕๕ เหตุการณ์ (รวมการฟัน ๒ เหตุการณ์ และแทง ๑ เหตุการณ์) รองลงมาคือการวางระเบิด ๒๗ เหตุการณ์ กดารซุ่มโจมตี/ยิง ๑๕ เหตุการณ์ การวางเพลิง/เผา ๓ เหตุการณ์ และการก่อกวน ๑ เหตุการณ์ โดยมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวม ๑๗๗ คน แยกเป็นไทยพุทธทั้งจนท.และชาวบ้านเสียชีวิต ๗ บาดงเจ็บ ๙๐ คน รวม ๙๗ คน ขณะที่อิสลามเสียชีวิต ๒๖ คน บาดเจ็บ ๕๔ คน รวม ๘๐ คน
            ทั้งนี้การก่อเหตุมีลักษณะของการมุ่งกระทำต่อเป้าหมายทหาร/ตำรวจ และในลักษณะที่ไม่สามารถก่อเหตุใหญ่ได้ แม้จะมีความพร้อมหากโอกาสไม่เอื้ออำนวย อีกทั้งมีลักษณะเป็ยนการกระทำของผู้ที่ได้รับการฝึกมาแล้ว โดยเฉพาะมีการลวง จนท.เข้าไปติดกับถึง ๓ ครั้ง ครั้งแรก ม.๒ ต.กอลำ อ.ยะรัง เมื่อ ๑๐ ส.ค.๕๑ แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ครั้งที่ ๒ ที่ม.๗ ต.ปากล่อ อ.โคกโพธิ์ เมื่อ ๑๓ ส.ค.๕๑ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวม ๑๐ คน และครั้งที่ ๓ ที่เขตเทศบาล อ.สุไหงโกลก เมื่อ ๒๑ ส.ค.๕๑ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวม ๓๕ คน นอกจากนี้ยังพบว่า ความเป็นไทยพุทธยังคงเป็นเป้าหมายของการทำลายล้าง โดยเห็นจากการลอบวางละเบิดบริเวณท่าเรือ ม.๓ ต.เกาะสะท้อน ต.ตากใบ เมื่อ ๑๔ ส.ค.๕๑ ซึ่งทำให้คนงานไทยพุทธบาดเจ็บ ๘ คน และการลอบวางระเบิดที่เขตเทศบาล อ.สุไหงโกลก เมื่อ ๒๑ ส.ค.๕๑ ซึ่งทำให้คนไทยพุทธบาดเจ็บและเสียชีวิต รวม ๓๐ คน

การตรวจค้น/จับกุม "จากจุดแข็งที่กำลังกลายเป็นจุดอ่อน"
            สำหรับยการตรวจค้น/จับกุม อันเป็นมาตรการสกัดการเคลื่อนไหวอย่างเสรี และการป้องปรามการก่อเหตุครั้งใหญ่ที่ได้ผล ในระดับหนึ่งนั้น ดูเหมือนว่าจะตกอยู่ในสภาพของ "จุดแข็งที่อาจกลายเป็นจุดอ่อน" อย่างน่าวิตก จากความพลาดพลั้งในการปฏิบัติที่ไม่แนบเนียน และจากการที่บรรดาแกนนำแนวร่วมและsympathizer
 เข้ามาเคลื่อนไหว  รัฐบาล บั่นทอนความมั่นใจของ จนท. และสร้างความแตกแยกระหว่างเชื้อชาติและศาสนา โดยเฉพาะในกรณีปอเนาะดาลอ ซึ่งทำให้ จนท.ต้องเปิดการเจรจา และจ่ายค่าชดเชยใให้กับทางปอเนาะในที่สุด
            ต่อมาเมื่อมีการตรวจค้นและจับกุมนักศึกษา ๕ คน (นายอิสมาแอ เต๊ะ นายอามีซี มานาก นายรุสลัน ตุหยง นายแวรอซี ลาเต๊ะ และนายมะรอมลี ลาเต๊ะ) ที่ในเขตเทศบาลนครยะลา เมื่อวันที่ ๑๕ ส.ค.๕๑ ก็ปรากฎว่ากลุ่มองค์กรเอกชน อาทิ ฮิวแมน ไรท์ วอชท์ และองค์กรนิรโทษกรรมสากล รวมทั้งเครือข่ายนักศสึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน กลุ่มสหพันธ์นิสิตนักศึกษาชายแดนใต้ และองค์กรภาคีก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวปกป้องและชี้นำให้สังคมหวาดระแวงต่อการปฏิบัติการของ จนท.อีกเช่นกัน ทั้งโดยการออกแถลงการณ์และการชุมนุมแสดงความไม่พอใจ จนต้องมีการเจรจาและยินยอมให้กลุ่มนักศึกษาเข้าเยี่ยมผู้ที่ถูกจับกุม

การเคลื่อนไหวของแนวนำแนวร่วมและ sympathizer
            การเคลื่อนไหวของแนวนำแนวร่วมและ sympathizer  ในช่วงรายงานพบว่านอกจากการมุ่งเน้นการพลิกสถานการณ์ที่ดูเหมือนจะเป็นรองทางด้านการทหาร โดยการสกัดกั้นมาตรการตรวจค้น/ตรวจจับ และยังพบการเรียกร้องขอเปิดการเจรจากับรัฐบาลไทย เพื่อผ่อนคลายแรงกดดันจากมาตรการป้องปรามการก่อเหตุของรัฐบาลไทย รวมทั้งการมุ่งกดดันให้ทางราชกสารไทยเพิ่มอภิสิทธิ์กับคนอิสลามอีกด้วย
            สถาบัน....นำประเด็นการตรวจค้น รร.สมบูรณ์ศาสน์/ปอเนาะดาลอ ม.๕ ต.ตันหยงดาลอ อ.ยะหริ่ง เมื่อ ๑ ส.ค.๕๑ มาลงเป็นบทความ ๒ บทความ บทความแรก เสียงครวญจากปอเนาะดาลอ ขอให้ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย และบทความที่สอง รัฐหวั่นน้ำผึ้งหยดเดียว เปิดเวทีเคลียร์ใจปอเนาะดาลอ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างด้าว เพื่อชี้นำให้เห็นว่ารัฐบาลกระทำรุนแรงเกินไปเป็นการไม่ให้เกียรติสถาบันอันเก่าแก่ พร้อมทั้งคุกคามที่จะต้องไม่ให้เกิดขึ้นอีก จนในที่สุดเมื่อ ๕ ส.ค.๕๑ หน่วยงานด้านความมั่นคงทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร ได้ตัดสินใจจัดเวทีเพื่อสร้างความเข้าใจขึ้นที่สถาบันปอเนาะสมบูรณ์ศาสน์ พร้อมทั้งต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับปอเนราะแห่งนี้เพื่อลดแรงกดดัน
            - นาง....ได้ส่งอาสาสมัครเข้าไปยังปอเนาะดาลอ จ.นราธิวาส เช่นเดียวกับ เคยที่เข้าไปแทรกแซงการดำเนินการของ จนท.ที่ปอเนาะยือนือเระ จ.นราธิวาส มาแล้ว พร้อมทั้งให้สัมภาษณ์ชี้นำสังคมให้เห็นว่า มีความไม่ชอบมาพากลในการตรวจค้น พร้อมทั้งกดดันให้ จนท.ฝ่ายความมั่นคงและนิติวิทยาศาสตร์เปิดเผยข้อเท็จจริง และส่งเรื่องให้มีการไต่สวนการตายโดยไม่ชักช้า เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมได้ทำหน้าที่พิสูจน์ข้อเท็จจริงทั้งหมด
            - นาย...จากโครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม พยายามชี้นำให้สังคมเห็นว่านักศึกษาทั้ง ๕ คน จะไม่ได้รับความเป็นธรรม พร้อมทั้งเตรียมประสานเพื่อขอเข้าเยี่ยมนักศึกษากลุ่มนี้
            - นาย ....ประธานเครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (คพช.) และสมาชิกสหพันธ์นิสิตนักศึกษา แห่งประเทศไทย (สนนท,) เรียกร้องให้ภาครัฐชี้แจงเหตุผลของการจับกุมอย่างตรงไปตรงมาด้วย เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด และต้องดำเนินการจับกุมนักศึกษาตามหลักนิติธรรมอย่างเคร่งครัด
            - กลุ่มสหพันธ์นิสิตนักศึกษา.....และองค์กรภาคี จำนวน ๑๔๐ คน ชาย ๖๐ คน หญิง ๘๐ คน ได้เดินทางมาร่วมชุมนุมบริเวณหน้า ศฝร.ภ.๙ เมื่อ ๒๔ ส.ค.๕๑ เพื่อแสดงความไม่พอใจ กรณี จนท.ฉก. ๑๑ จับกุมนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา จำนวน ๕ คน เมื่อ ๑๕ ส.ค.๕๑ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทางการชี้แจงเหตุผลของการจับกุมนักศึกษาดังกล่าว สาธารณชนต่อภาคอย่างตรงไปตรงมา
            - นาย...สส.จากพรรคเพื่อแผ่นดิน อภิปรายในสภาเมื่อ ๗ ส.ค.๕๑ แสดงความไม่พอใจกรณีนักเรียนพยาบาลอิสลาม ๓,๐๐๐ คน ที่กระจายไปศึกษาตามสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ เกิดความไม่พอใจและอึดอัดใจต่อกฎ ระเบียบของ รพ.รามาธิบดี รพ.ศิริราช และวิทยาลัย ฯ ตรัง จนต้องทำหนังสือร้องเรียนมาที่นาย....พร้อมทั้งคุกคามว่าหากกระทรวงที่เกี่ยวข้องไม่เร่งแก้ไขแล้วเหตุการณ์จะลุกลามขยายวง กลายเป็นความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติและศาสนา ที่สำคัญมีการปราบปรามไม่ให้ จนท.เข้าไปใช้บรรดานักเรียนพยาบาลอิสลามเป็นหูเป็นตา/เสริมสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ โดยอ้างว่าพยาบาลต้องเป็นกลางในการดูแล และคุ้มครองคนเจ็บป่วย
            - นาย ....หัวหน้าฝ่ายกิจการต่างประเทศขององค์กรปลอดปล่อยรัฐปัตตานีหรือพูโล (Patani United Liberation : PULO  ) ให้สัมภาษณ์ชี้นำให้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นใน จชต.เป็นผลมาจากความพยายามในการต่อสู้เพื่อรักษาวัฒนธรรมของชาวมุสลิมในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของไทย ที่ถูกทางการไทยล่วงละเมิด พร้อมทั้งเร่งรัฐให้รัฐบาลไทยเปิดการเจรจาสงบศึกกับ PULO  โดยอ้างว่าเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่การยุติความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย
            - วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) และโครงการพัฒนาหลักสูตรปอเนาะ หรือ ซีพีอาร์ - โปรเจค (CPR - Project  ) มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาอิสลามชั้นสูงในประเทศไทย ร่วมกับสถาบันนานาชาติแห่งแนวคิดอิสลาม (The Internation Institute Thought - IIIT ) มาเลเซีย กำหนดจัด "การประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยระบบการศึกษาอิสลามในสังคมกลุ่มใหญ่และชนกลุ่มน้อยเป็นมุสลิม ยุทธศาสตร์และภาพกว้าง ระหว่าง ๒๓ - ๒๕ ส.ค.นี้ ที่หอประชุมเช็คดาวุด อัลฟะฏอนี วิทยาลัยอิสลามศึกษา (วอศ.) ม.อ.ปัตตานี

การซื้อใจอิสลามของทางราชการยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
            ขณะอิสลามกำลังรุกคืบกดดันให้รัฐบาลยอมรับความเป็นอิสลามที่ต้องมีอภิสิทธิ์และต้องได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ อยู่นั้นก็ปรากฎว่ารัฐบาลยังคงพยายามซื้อใจอิสลามอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงรายงานทั้งการให้เงินสนับสนุนผู้เดินทางไปทำพิธีทางศาสนาที่นครเมกกะ และการขยายและเพิ่มทุนให้แก่นักศึกษาอิสลามในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศ
            - สั่งให้ผ่อนปรนลดเวลาเคอร์ฟิว (มาตรการห้ามออกจากเคหสถานในยามวิกาล) ในพื้นที่ อ.ยะหา และ อ.บันนังสตา จ.ยะลา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เนับถือศาสนาอิสลาม ได้ปฏิบัติศาสนกิจอย่างเต็มที่
            - ขยายเวลาการให้ทุนนักเรียนอิสลามใน จชต.เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ๙ แห่ง ที่หมดวาระลงในปีการศึกษา ๒๕๕๑ ต่อไปอีก ๕ ปี (๒๕๕๒ - ๒๕๕๖) อีกทั้งยังเพิ่มทุนการศึกษาจากเดิม ๑๖ ทุน เป็น ๔๔ ทุน เพื่อให้ครบ ๔๔ อำเภอ อีกทั้งเพิ่มวงเงินทุนจาก ๒๐,๐๐๐ บาท เป็น ๔๐,๐๐๐ บาท สำหรับสายวิทย์ และ ๑๕,๐๐๐ บาท เป็น ๓๐,๐๐๐ บาท สำหรับสายอักษร นอกจากนี้ยังมีโครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๕ อีก ๕๐๐ ทุน
            - เปิดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการประกอบพิธีฮัจญ์ ประจำปี ๒๕๕๒ ของจัวหวัดชายแดนภาคใต้ รุ่นที่ ๑ จำนวน ๑,๕๐๐ คน โดยการอบรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ได้มีความรู้ความเข้าใจ ในหลักการ และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อให้การประกอบพิธีดำเนินไปอย่างครบสมบูรณ์ตามหลักศาสนา ทั้งนี้ รัฐบาลได้ส่งคณะอามีรุ้ลฮัจญ์ และ จนท.จากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ไปดูแลอย่างใกล่ชิดอีกด้วย ขณะที่ ศอ.บต.ก็จะให้เงินช่วยเหลือผู้ที่จะเดินทางไปทำพิธีฮัจญ์ ๘๘ ราย ๆ ละ ๑ แสนบาท ถ้าเป็นหญิงเพิ่มคนติดตามอีก ๑ คน