สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต. ๑ - ๓๑ ส.ค.๕๒
เสถียรภาพที่ไม่มั่นคงอย่างยิ่งของรัฐบาล ประกอบกับเป็นการโยกย้ายและการพิจารณางบประมาณ ทำให้แนวร่วมจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องโหมก่อเหตุที่มีลักษณะของ “การถูกจำกัดด้วยปริมาณ จึงต้องเพิ่มความรุนแรงเป็นการชดเชย” ให้เพิ่มขึ้นให้ได้ เพื่อเป็นฐานสนับสนุนให้แกนนำซึ่งอยู่ในคราบของนักการเมืองและนักสิทธิมนุษยชน ใช้เป็นเงื่อนไขต้อรองให้มีการลดงบประมาณด้านความมั่นคงลง และสอดแทรกเงื่อนไขการให้ประชาชนในพื้นที่ภายใต้ความควบคุมของ NGO เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการวิถีชีวิตของตนเอง ทำสำคัญคือการก่อเหตุมีการแยก พุทธ – อิสลาม ชัดเจนขึ้น แกนนำแนวร่วม sympathizer และกลุ่มที่เข้ามาแสวงประโยชน์จากปัญหาความหวาดระแวงของคนต่างเชื่อชาติ/ศาสนา ใน ๓ จชต. ยังคงประสานการเคลื่อนไหวใช้เงือนไขที่รัฐบาลไม่สามารถหยุดการก่อเหตุและการก่อเหตุที่มีความรุนแรงขึ้นโดยละเลยไม่นำพาการที่เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวเชิงกว้างได้ ชี้นำให้สังคมเห็นว่าการมีทหารนอกพื้นที่เข้าไปประจำอยู่ใน ๓ จชต. ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ หากต้องให้คนในพื้นที่เข้ามามีส่วนในการแก้ปัญหากันเองและด้วยการซ่อนเร้นการกดดันให้มีการปลดอาวุธคนไทยพุทธไว้อย่างชาญฉลาด ที่สำคัญคือความพยายามเสี้ยมความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับทหาร อย่างไม่ลดละ ทั้งโดยการประชุม สัมมนา การให้สัมภาษณ์ และการตีพิมพ์บทความ รวมทั้งการอ้าง “ความสมานฉันท์” คุกคามให้เกิดการเบี่ยงเบนข้อเท็จจริง เพื่อจะทำให้การแก้ไชปัญหาไม่ถูกจุด/ตรงประเด็น ในขณะที่แนวร่วมกำลังทำทุกวิถีทางเพื่อลดบทบาททหารใน ๓ จชต.อย่างหนักในช่วงฤดูการโยกย้ายให้ความดีความชอบอยู่นั้น ทางทหารก็กำลังเล่งซื้อใจอิสลามแข่งกับรัฐบาล ซึ่งกำลังพยายามทุกวิถีทางที่จะให้ ๓ จังหวัดมีการบริหารและการปกครองที่แตกต่างจากส่วนอื่นของประเทศอย่างไม่ลดละเช่นกัน ด้วยการประกาศยกเลิก curfew ในพื้นที่อันตราย ๒ แห่งคือ ที่ อ.บันนังสตา และ อ.ยะหา อย่างถาวร อันจะทำให้แนวร่วมสามารถทำงานได้สะดวกขึ้น ซึ่งก็ปรากฏว่าได้รับการสนองตอบจากแนวร่วมเป็นอย่างดีในทันที ด้วยการก่อเหตุทั้งก่อนและหลังการยกเลิก curfew ใน ๒ อำเภอรวมกันถึง ๑๔ เหตุการณ์ และอีก ๔ เหตุการณ์ที่ อ.กรงปีนัง มากกว่าครั้งหนึ่งของการก่อเหตุรวมกันทั้งจังหวัด แนวโน้มของสถานการณ์เชื่อว่าในสภาวะที่ข้าราชการต้องซื้อใจอิสลาม เพิ่อป้องกันตำแหน่งไม่ให้ถูกโยกย้าย การแย่งชิงตำแหน่งสมาชิก อบต.และการเก็บเกี่ยวคะแนนนิยมสำหรับการเลือกตั้งที่อาจมีขึ้นได้ทุกขณะ โดยเฉพาะการหาเสียงในลักษณะอิสลามเพื่ออิสลามอันเป็นกลยุทธหลักของกลุ่ม....แห่งพรรค....และพรรค....น่าจะทำให้สถานการณ์ใน ๓ +๑ จชต.เลวร้ายลง โดยเฉพาะจะทำให้ความหวาดระแวงของคนต่างเชื้อชาติศาสนาให้กลายมาเป็นศัตรูระหว่างกัน ดังนั้นนอกเหนือจากการต้องเฝ้าระวังการก่อเหตุที่มีลักษณะแคบแต่ลึก ซึ่งอาจเพิ่มจำนวนขึ้นได้แล้ว ยังควรต้องระวังการปลุกระดม/การปลุกปั่นให้ชาวบ้านออกก่อม๊อบต้านอำนาจรัฐบาล และโดยเฉพาะการผลักดันให้ ๓ จชต.มีการบริหารและการปกครองที่มีลักษณะแตกต่างจากส่วนใหญ่ของประเทศ
สถิติ ลักษณะ และนัยของการก่อเหตุ การก่อเหตุใน ๓ + ๑ จชต.ในช่วง ๑ – ๓๑ ส.ค. ๕๒ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่า มีการก่อเหตุรวมทั้งสิ้น ๙๖ เหตุการณ์ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ๒ เหตุการณ์ เมื่อ ก.ค.๕๒ อย่างไรก็ตาม หากตัดการก่อกวนด้วยการแจกใบปลิว การเผาสถานที่ การขว้างระเบิดและการผ่านยิงฐานทหารอย่างง่าย ๆ เพื่อสนร้างสถิติ ๑๔ เหตุการณ์ แล้ว จำนวนการก่อเหตุก็จะไม่แตกต่างกันนัก ทั้งนี้ จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุมากที่สุด ๓๙ เหตุการณ์ (ก่อกวนแจกใบปลิว ๖ เหตุการณ์) โดย อ.ยะรัง มีการก่อเหตุมากที่สุด ๘ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.เมือง ๖ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุ ๒๘ เหตุการณ์ เป็นการข้างระเบิดง่าย ๆ ๕ เหตุการณ์ โดย อ.บาเจาะ มีการก่อเหตุมากที่สุด ๖ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.ศรีสาคร และ อ.ระแงะ มีการก่อเหตุพื้นที่ละ ๔ เหตุการณ์ เท่ากัน หากที่ อ.ศรีสาคร เป็นการกระทำต่อชุดลาดตระเวน/คุ้มครองครู ขณะที่ อ.ระแงะ เป็นการกระทำต่อตัวบุคคล ส่วนที่ จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๒๗ เหตุการณ์ โดย อ.ยะหา มีการก่อเหตุมากที่สุด ๙ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.เมือง ๖ เหตุการณ์ อ.บันนังสตา ๕ เหตุการณ์ และ อ.กรงปินัง ๔ เหตุการณ์ สำหรับ จ.สงขลา มีการก่อเหตุ ๒ เหตุการณ์ ที่ อ.สะบ้าย้อย และ อ.เทพา ทั้งนี้การก่อเหตุ ๙๕ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๕๑ เหตุการณ์ รองลงมาคือการวางระเบิด ๒๒ เหตุการณ์ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นการกระทำต่อ การซุ่มยิง/ซุ่มโจมตี ๑๒ เหตุการณ์ และการก่อกวน ๖ เหตุการณ์ การเผาอาคาร/สถานที่ ๓ เหตุการณ์ และการชุมนุม ๑ เหตุการณ์ สำหรับการก่อเหตุใน ส.ค.๕๒ สรุปได้ว่า มีลักษณะของความพยายามที่จะเพิ่มปริมาณและเพิ่มความรุนแรงในการก่อเหตุแต่ละครั้ง เพื่อชดเชยปริมาณที่เพิ่มขึ้นได้ยาก และการก่อเหตุมีการแบ่งแยกพุทธ – อิสลาม ชัดเจนดังนี่ - การก่อเหตุในหลายเหตุการณ์ สะท้อนให้เห็นว่ามีการแบ่งแยก พุทธ – อิสลาม ชัดเจน ดังเช่น กรณีการสังหาร จนท.รังวัดที่ดิน ที่ อ.บาเจาะ เมื่อ ๑๕ ส.ค.๕๒ นั้น คนร้ายเจาะจงฆ่าเฉพาะคนไทยพุทธ แต่ไม่ฆ่าอิสลามด้วยกัน หรือกรณีการวางระเบิดร้านอาหารสวนกล้วย เมื่อ ๒๕ ส.ค.๕๒ นั้น เหยื่อเป็นคนไทยพุทธทั้งหมด ซึ่งในกรณีหลังนี้เห็นได้ว่า พุทธและอิสลามไม่สามารถอยู่รวมกันได้ - จำนวนการก่อเหตุที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากมีเงื่อนไขความขัดแย้งทางการเมืองเข้ามาหนุนช่วย และการก่อเหตุง่าย ๆ เพื่อสร้างสถิติ อาทิ การวางใบปลิว การเผาอาคาร/สถานที่ การฉบผ่านขว้างระเบิดหรือกราดยิง แสดงให้เห็นว่าเพราะการเคลื่อนไหวถูกจำกัด ทำให้ต้องเพิ่มความรุนแรงในการก่อเหตุแต่ละครั้งเป็นการชดเชย - การลอบวางระเบิดที่สูงถึง ๒๒ เหตุการณ์ โดยเฉพาะมีการกระทำต่อ และไม่สามารถควบคุมเป้าหมายได้ แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่จนตรอกของแนวร่วม เนื่องจากการวางระเบิดเป็นการสร้างสถิติที่ง่ายที่สุดและปลอดภัยที่สุด - ที่การซุ่มโจมตีเพิ่มจำนวนขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นการสร้างภาพลักษณ์เข้มแข็ง/แข็งแกร่งของแนวร่วมเท่านั้น เนื่องจากในการซุ่มโจมตีทั้งหมด ๑๗ เหตุการณ์ นั้น เป็นการเข้าโจมตีหลังมีการระเบิดจนเป้าหมายบาดเจ็บแล้ว ๓ เหตุการณ์ และเป็นการข้างระเบิดและกราดยิงที่มั่นในลักษณะ เพื่อความปลอดภัย ๘ เหตุการณ์ - เมื่อพิจารณาจากการซุ่มโจมตีที่มีการเผชิญหน้า/ปะทะ โดยเจ้าหน้าที่เป็นฝ่ายสูญเสียมากกว่าและการหลอกล่อให้ จนท.เข้ามาติดกับ ประกอบกับการก่อกวนง่าย ๆ ที่ลดน้อยลง อาจสรุปได้ว่า แนวร่วมระดังล่างถูกควบคุมการเคลื่อนไหวจนทำให้ต้องใช้การปฏิบัติของผู้ที่ได้รับการฝึกมาแล้ว - แพร่กระจายใบปลิวโจมตีสถาบันในลักษณะที่ครอบคลุมเหตุการณ์นอก ๓ จชต. เป็นครั้งแรก ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ย่อมส่งผลกระทบต่อโครงการหลวงซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญ ของการแยก ๓ จชต. ของทั้งแกนนำแนวร่วมและรัฐบาล - มีการหลอกล่อเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจและข้าราชการ เข้าสู่กับดักอย่างได้ผล แม้จะลดจำนวนเหตุการณ์ลง หากความสูญเสียแต่ละครั้งยังสูงอยู่ อย่างไรก็ตาม ความระมัดระวัง เป็นเหมือนดาบ ๒ คม เนื่องจากทำให้ จนท.ไม่สามารถออกช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที อันมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของ จนท. - มีการปลุกพลังมวลชนเข้ามาหนุนช่วยต่อรองกับรัฐบาลแล้ว หลังจากที่ได้หยุดไปตั้งแต่กลางปี ๒๕๕๐ โดยได้เริ่มแล้วที่ ต.ปะเสยาวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี การเคลื่อนไหวของแนวร่วม sympathizer และกลุ่มแสวงประโยชน์
แกนนำแนวร่วม sympathizer และกลุ่มที่เข้ามาแสวงหาประโยชน์จากปัญหาความหวาดระแวงของคนต่างเชื้อชาติ / ศาสนาใน ๓ จชต. ยังคงประสานการเคลื่อนไหวใช้เงื่อนไขที่รัฐบาล ไม่สามารถหยุดการก่อเหตุ และการก่อเหตุที่มีความรุนแรงขึ้น โดยละเลยไม่นำพาการที่เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวเชิงกว้างได้ ชี้นำให้สังคมเห็นว่าการมีทหารนอกพื้นที่เข้าไปประจำอยู่ใน ๓ จชต. ไม่สามาถแก้ไขปัญหาได หากต้องให้คนในพื้นที่เข้ามามีส่วน ในการแก้ไขปัญหากันเอง และด้วยการซ่อนเร้นการกดดันให้มีการปลดอาวุธ คนไทยพุทธไว้อย่างชาญฉลาด ที่สำคัญคือ ความพยายามเสี้ยมความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับทหาร อย่างไม่ลดละ ทั้งโดยการประขุม สัมมนา การให้สัมภาษณ์ และการตีพิมพ์บทความ รวมทั้งการอ้าง “ความสมานฉันท์” คุกคามให้เกิดการเบี่ยงเบนข้อเท็จจริง ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหาไม่ถูกจุด ได้แก่ - องค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒๒ องค์กร ร่วมกันทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้รัฐบาลทบทวนการทำงาน และเร่งรัดหาตัวผู้กระทำความผิดกรณี การลอบสังหารหมู่ประชาชนที่มัสยิดอัลฟุรกอน แต่ที่สำคัญคือ ๑ ใน ๔ ข้อเรียกร้องขององค์กรภาคประชาสังคมคือ การฉวยโอกาสเรียกร้อง รัฐบาลดำเนินการปลดอาวุธของพลเรือน ที่ไร้สังกัดทุกฝ่ายโดยเร่งด่วน
คณะเอกอัครราชทูตกลุ่มประเทศสมาชิกโอไอซี (OIC) ประกอบด้วยเอกอัครราชทูต จากประเทศบังคลาเทศ อิหร่าน คูเวต ปากีสถาน กาตาร์ สหรัฐเอมิเรดส์ (ยูเออี) คาซัคสถาน โอมาน มาเลเซีย อินโดนิเซีย และบรูไนดารุสลาม พร้อมสื่อมวลชนที่มีอิทธพลของประเทศมุสลิม ได้เดินทางเข้าไปตรวจสอบสถานการณ์ และความเป็นอยู่ของอิสลามใน ๓ จชต.
- สถาบันอิศรา ยังคงดึงรั้งให้กรณีไอปาแย ยืดเยื้อเพื่อจุดขายต่อไป โดยการโน้มน้าวให้สาธารณชน ให้เชื่อว่า OIC ไม่พอใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้ง ๆ ที่โดยแท้จริงแล้วทาง OIC ดูเหมือนจะพอใจต่อการที่รัฐบาลเอาอกเอาใจอิสลามอย่างผิดปกติอยู่แล้ว อีกทั้งยังพยายามปลุกปั่นให้ชาวบ้านเกิดความต่อต้าน และหวาดระแวงต่อการเข้าไปให้การช่วยเหลือชาวบ้านของทางราชการ
ดร....สส. ระบบสัดส่วน พรรค... และอดีตนักวิชาการ เริ่มดำเนินการจากกรณีไอปาแย เพื่อชี้นำว่ารัฐบาลไม่ได้แก้ไขปัญหาความเป็นธรรมอย่างแท้จริง พร้อมทั้งนำ OIC มาเป็นเครื่องมือในการคุกคามรัฐบาลของตนเอง เพื่อสรุปว่าควรมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ อย่างสอดคล้องกับความต้องการของ นรม.
นาย......นักสิทธิมนุษยชนและที่ปรึกษาสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย (ยมท.) พยายามตอกลิ่มความขัดแย้งทหาร – รัฐบาล โดยการโน้มน้าวให้รัฐบาลเห็นว่า การแก้ปัญหาภาคใต้ของรัฐบาลอยู่ภายใต้การควบคุมของทหาร
ประธานสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุข จังหวัดยะลา และอดีตรองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา พยายามโน้มน้าวให้แม่ทัพภาคที่ ๔ มั่นใจว่า การยกเลิก curfew ในพื้นที่ อ.ยะหา และ อ.บันนังสตา อย่างถาวรว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้องตรงกับความต้องการของประชาชน การแข่งขันซื้อใจอิสลามของรัฐบาลและทหาร
การขาดเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาล ทำให้ทั้งรัฐบาลและทหารต้องแข่งกันซื้อใจอิสลาม อย่างไม่ลดละ โดยรัฐบาลใช้การเหยียบย่ำคนไทยพุทธ การนำตัวแทนอิสลามจากต่างประเทศมาให้กำลังใจคนใน ๓ จชต. การแยกงานความมั่นคงออกจากงานพัฒนา ให้ชัดเจนขึ้น และสำคัญคือ การแยกให้ ๓ จชต. มีการบริหารและการปกครองที่แตกต่างออกไป จากส่วนอื่นของประเทศไทย เป็นจุดขาย ขณะที่ทหารก็ใช้ชีวิตและทรัพย์สิน ของคนบริสุทธิ์มาเป็นจุดขายแข่งกับรัฐบาล
นายก ฯ สั่งการให้ตำรวจออกหมายจับผู้ที่ก่อเหตุที่มัสยิดไอปาแย เพิ่มขึ้นให้ได้ พร้อมนำรูปผู้ต้องหาติดประจานให้ทั่ว ๓ จชต. ซึ่งจะทำให้ความแตกแยกระหว่างคนต่างเชื้อชาติ และศาสนาใน ๓ จชต. ร้าวลึกลงไปอีก ครม.เห็นชอบยกระดับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ให้ขึ้นตรงกับฝ่ายการเมือง และที่สำคัญคือ มีงบประมาณเป็นของตนเอง ซึ่งจะทำให้การซื้อ ของรัฐบาลสะดวกและรวดเร็วขึ้น รมว.ต่างประเทศ นำคณะเอกอัครราชทูตกลุ่มประเทศสมาชิกโอไอซี ลงตรวจตราดูความเป็นอยู่ของอิสลาม ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทัพภาค ๔ ประกาศยกเลิก curfew ในพื้นที่อันตราย ๒ แห่งคือ ที่ อ.บันนังสตา และ อ.ยะหา อย่างถาวร ตั้งแต่ ๑๐ ส.ค.๕๒ เป็นต้นไป เพื่อให้แนวร่วมสามารถทำงานได้สะดวกขึ้น ซึ่งก็ปรากฏว่าได้รับการสนองตอบจากแนวร่วม เป็นอย่างดีในทันที ด้วยการก่อเหตุทั้งและหลัง การยกเลิกกฎอัยการศึกใน ๒ อำเภอ รวมกันถึง ๑๔ เหตุการณ์ และอีก ๔ เหตุการณ์ ที่ อ.กรงปินัง มากกว่าครึ่งหนึ่งของการก่อเหตุรวมกันทั้งจังหวัด
............................................
|