สรุปสถานการณ์ใน จชต.

๑ - ๓๑ ธ.ค.๕๑

                ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจใน จชต.ระหว่าง ๑ - ๓๑ ธ.ค.๕๑ ยังคงได้แก่การก่อเหตุซึ่งเท่าที่รวบรวมได้มีจำนวน ๑๑๘ เหตุการณ์ โดย จ.ปัตตานีมีการก่อเหตุมากที่สุดคือ ๓๙ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.นราธิวาส และ ยะลามีการก่อเหตุเท่ากันคือ จังหวัดละ ๓๗ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลามีการก่อเหตุเพียง ๕ เหตุการณ์ ทั้งนี้พบว่าการก่อเหตุที่ดูเหมือนจะมุ่งเน้นการลอบวาง  ระเบิดซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย ปลอดภัยที่สุดในการเพิ่มสติถิ โดยเพิ่มการลอบวางระเบิดต่อเป้าหมายซึ่งเป็น soft target ที่เป็นไทยพุทธด้วย โดยไม่คำนึง หากจะมีคนอิสลามเข้ามาบาดเจ็บหรือเสียชีวิตด้วยในลักษณะของความย่ามใจ/ได้ใจ ดังที่เคยเกิดขึ้นใน ต.ค.๔๙ ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่มีการยยึดอำนาจการปกครองเมื่อ ๑๙ ก.ย.๔๙
            แกนนำแนวร่วมและ sympathizer อิสลาม กำลังเร่งสร้างประเด็นความไม่เป็นธรรม มาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างบทบาทตนเองด้วยการนำเสนอและยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ซึ่งในบางประเด็นได้กลายมาเป็นการตอกย้ำความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติศาสนา ไม่ว่าจะเป็นการชี้นำให้เห็นว่ารัฐเอื้อไทยพุทธมากกว่ามลายูอิสลาม การแสดงความข้องใจ/ไม่ไว้วางใจกับการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคง หรือการแสดงการเป็นตัวแทนอิสลามต่อรองกับรัฐบาล ที่สำคัญคือ มีการรวมตัวเป็นกลุ่มพลังร่วมอาชีพอันจะมีผลต่อการต่อรองและการตัดสินใจของรัฐบาล ขณะที่พบว่าชาวบ้านอิสลามมีท่าทีที่ไม่เป็นมิตรต่อทางการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการไม่อาบน้ำศพผู้เสียชีวิต การไม่ยอมให้ จนท.เข้าไปตรวจสอบผู้เสียชีวิต การไม่ยอมให้ปากคำต่อ จนท.ของผู้บาดเจ็บ และการไม่ยอมให้ทหารพัฒนาตั้งฐานในพื้นที่
            อย่างไรก็ตามปรากฎว่ารัฐบาลก็ยังคงมุ่งมั่นซื้อและรักษาน้ำใจอิสลามต่อไป ทั้งโดยการประกาศจะดูแลกันเป็นการพิเศษ การตัดสินปล่อยตัวผู้ต้องหา และการเตรียมนำผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชนอิสลามให้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการบริหารและการปกครองพื้นที่ของตนเอง ขณะที่การตรวจค้น/จับกุม ในช่วงรายงานยังคงเป็นไปอย่างเข้มข้น ซึ่งทำให้การจับกุมและวิสามัญแกนนำและแนวร่วมคนร้ายได้อย่างน่าพึงพอใจ
            แนวโน้มของสถานการณ์
            แนวโน้มของสถานการณ์ใน จชต. ในกรณีที่ไม่มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นเชื่อว่าน่าจะเลวร้ายลง เมื่อพิจารณาจาก
            ๑. น่าจะมีความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานทหารผ่าน กอ.รมน.กับหน่วยงานพลเรือนผ่านการตั้งสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) จะทำให้การประสานแก้ปัญหา   จชต.ที่กำลังได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมต้องสะดุดลงอย่างน่าเสียดาย
            ๒. กลุ่มตรงข้ามกับรัฐบาลกำลังเน้นใช้มลายูอิสลามเป็นเครื่องมือสะท้อนความไม่เป็นธรรมเพื่อ discredit  รัฐบาล ซึ่งจะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการใช้ความเด็ดขาดต่อแนวร่วมอิสลาม ที่กำลังสัมฤทธิ์ผลอยู่
            ๓. การเป็นรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับการหนุนช่วยจากอิสลามผ่าน พธม.น่าจะทำให้เกิดการต่อรองผลประโยชน์ทั้งโดยเปิดเผยและไม่เปิดเผย จะส่งผลกระทบต่อขวัญ กำลังใจทำให้ผู้ปฏิบัติในพื้นที่เกิดความลังเลและไม่กล้าตัดสินใจ

สถิติและนัยของการก่อเหตุ<
            การก่อเหตุในช่วง ๑ - ๓๑ ธ.ค.๕๑ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่า มีการก่อเหตุ ๑๑๘ เหตุการณ์ เพิ่มขึ้นจาก ๑๐๐ เหตุการณ์ใน พ.ย.๕๑โดยเป็นการก่อเหตุกระจายกันไป ในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน โดย จ.ปัตตานีมีการก่อเหตุสูงสุด ๓๙ เหตุการณ์ ทั้งนี้ อ.ยะรัง มีการก่อเหตุสูงสุด ๑๕ เหตุการณ์ และ อ.สายบุรี ๗ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.นราธิวาส ๓๗ เหตุการณ์ โดย อ.บาเจาะ มีการก่อเหตุสูงสุด ๘ เหตุการณ์ และ อ.รือเสาะ ๗ เหตุการณ์ เท่ากับ จ.ยะลา การก่อเหตุ ๓๗ เหตุการณ์ โดย อ.เมือง มีการก่อเหตุสูงสุด ๑๓ เหตุการณ์ และ อ.รามัน ๑๑ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลา มีการก่อเหตุเพียง ๕ เหตุการณ์ เท่านั้น โดยแยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๕๖ เหตุการณ์ รองลงมาคือการวางระเบิด ๒๘ เหตุการณ์ (เป็นการวางระเบิด Hard Target   ๑๗ เหตุการณ์) การซุ่มโจมตี (hard target  ) เกิดขึ้น ๑๗ เหตุการณ์ การวางเพลิง/เผา  ๑๐ เหตุการณ์ และการก่อกวน เหตุการณ์ อาทิ การถอดน๊อตเสาไฟฟ้า หมุดรางรถไฟ ยิงกราดบ้านเรือน เผาเรือน โยนระเบิดใส่รถ ๗ เหตุการณ์
            ข้อสังเกตุของการก่อเหตุใน ธ.ค.๕๑ พบว่ามีลักษณะของ
            ๑. การรุกเพื่อเป็นฐานพลังให้กับแกนนำที่เป็นนักการเมืองและที่แอบแฝงอยู่ในรูปขององค์กรเอกชน/  หากมีข้อเสนอต่อรองจากรัฐบาล
            ๒. ความย่ามใจ/ได้ใจ ในลักษณะเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นเกือบตลอดปี ๒๕๕๐
            ๓. การวางระเบิดโดยเฉพาะการมุ่งเป้าต่อ soft traget   ที่เป็นไทยพุทธ โดยไม่คำนึงหากจะมีคนอิสลามเข้ามาบาดเจ็บหรือเสียชีวิตด้วย ในลักษณะเดียวกับที่เคยเกิดใน ต.ค.๔๙
            ๔. การกระจายการกอ่เหตุใน ๓ จชต.ให้มีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งหากจะเกิดการจต่อรองใด ๆ ขึ้น น้ำหนักการต่อรองจะได้ครอบคลุมทั้ง ๓ จังหวัด
            ๕. การสูญเสียของ จนท.ในช่วงรายงานสูงขึ้นอย่างน่าวิตกดังเช่นกรณีการหลอกล่อให้ จนท.ไปติดกับโดนระเบิด ที่ร้านขายของชำ ม.๑ ต.ดุซงญอ อ.จะแนะ ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม ๕ ราย เจ้าหน้าที่ตำรวจและชาวบ้านบาดเจ็บ ๑๒ ราย เมื่อ ๕ ธ.ค.๕๑ กรณีการลอบวางระเบิดข้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บูกิต หมู่ ๑๒ ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง ทำให้ทหารบาดเจ็บ ๘ ราย เมื่อ ๒๓ ธ.ค.๒๕๕๑ กรณีการซุ่มยิง จนท.ทหารร้อย ร.๑๕๒๒ ที่ ม.๙ ต.ปะแต อ.ยะหา เป็นเหตุให้ทหารเสียชีวิต ๑ นาย บาดเจ็บ ๓ นาย เมื่อ ๒๙ ธ.ค.๕๑ กรณีการสดักซุ่มยิง จนท.ทหารสังกัดร้อย ร.๘๐๑๓ ที่ ม.๕ ต.ปล่องหอย อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี ซึ่งทำให้ทหารเสียชีวิต ๑ นาย บาดเจ็บ ๖ นาย เมื่อ ๒๙ ธ.ค.๕๑

การตรวจค้น/จับกุม
            การตรวจค้น/จับกุม ในช่วงรายงานยังคงเป็นไปอย่างเข้มข้น ซึ่งทำให้การจับกุมและวิสามัญแกนนนำและแนวร่วมคนร้าย ได้อย่างน่าพึงพอใจ ทั้งนี้ การตรวจค้นและจับกุมที่สำคัญ อาทิ
            - การจู่โจมตรวจค้นบ้านของนายดอเลาะ โต๊ะโมง ที่หมู่ ๕ ต.ลาโล๊ะ อ.รือเสาะ เมื่อ ๔ ธ.ค.๕๑จนสามารถจับกุมนายนาซรูดิง มาเยาะกาเซะ ผู้ต้องหา คดีสังหาร น.ส.จูหลิง ปงกันมูล ครูโรงเรียนบ้านกูจิงรือปะ ต.เฉลิม อ.ระแงะ คดียิงเจ้าหน้าที่ตำรวจและพนังงานรถไฟเสียชีวิตบนขบวนรถไฟสายนครศรีธรรมราช เมื่อ ๒๔ มิ.ย.๕๑ และคดียิงนางลัดดา สุทธามณี เจ้าของร้านขายเสื้อผ้า หลังสถานีรถไฟลาโล๊ะ อ.รือเสาะ เสียชีวิตเมื่อ ๒ พ.ย.๕๑
            - การจับกุมตัว นายตูรีคี มะตง และนายมะรอเซะ ดือราแม ผู้ต้องหา คดีลอบวางระเบิดคาร์บอมบ์ที่บริเวณลานจอดรถตลาดกลางผลไม้และหน้าร้านน้ำชาตรงข้ามที่ว่าการอำเภอสุคิริน อ.สุคิริน จ.นราธิวาส เมื่อ ๔ พ.ย.๕๑
            - การปิดล้อมหมู่บ้าน ปะกาลือสง หมู่ ๖ ต.ตุยง อ.หนองจิก เมื่อ ๑๒ ธ.ค.๕๑ ซึ่งสามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาและผุ้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคงได้จำนวน ๖ คน ซึ่งในจำนวนนี้คือ นายมูหามัด เจะและ แกนนำในพื้นที่
            - การปิดล้อมการตรงวจพื้นที่ บ้านลำดา ม.๓ ต..ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา และได้เกิดยิงปะทะกับกลุ่มคนร้าย เป็นเหตุให้ จนท.ตร.ได้รับบาดเจ็บ ๑ นาย คนร้ายเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ๑ คน และสามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ ๘ คน เมื่อ ๒๑ ธ.ค.๕๑
            ข้อสังเกต ของการตรวจค้นและจับกุม
            ๑. การจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยในบริเวณที่เกิดเหตุ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ โดยผู้ถูกจับกุมบริเวณที่เกิดเหตุทั้งหมด ไม่เคยมีหมายจับและไม่มีประวัติและไม่ใช่แกนนำแนวร่วม ขณะที่การโปรยตะปูเรือใบหรือตัดต้นไม้ขวางทางเพื่อสะกัดกั้นการติดตามของ จนท.กลับไม่ค่อยพบ
            ๒. การมอบตัว/แสดงตัวของผู้หลงผิด ซึ่งมีทั้งชาวบ้าน ผู้นำศาสนา และผู้นำท้องถิ่น รวม ๑๕๘ คน จากพื้นที่ ๖ หมู่บ้านของ ๒ ตำบล คือ ต.สาวอ ๕๘ คน และ ต.บาตง จำนวน ๑๐๐ คน เมื่อ ๑๑ ธ.ค.๕๑ นำมาโดยแกนนำแนวร่วมจาก ต.สาวอ

ความเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและsympathizer อิสลาม
            นักวิชาการ/NGO /ทนายความอิสลาม ได้ฉวยโอกาสที่รัฐบาลยังตั้งตัวไม่ติด ระดมเสนอข้อเรียกร้องต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างบทบาทของกลุ่ม และเพิ่มความเข้มข้นของมลายูอิสลาม ซึ่งในบางประเดินได้กลายมาเป็นการตอกย่ำความแตกต่างเรื่องเชื้อชาติศาสนา ไม่ว่าจะเป็นการชี้นำให้เห็นว่ารัฐเอื้อไทยพุทธมากกว่ามลายูอิสลาม การแสดงความข้องใจ/ไม่ไว้วางใจกับการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคง หรือการแสดงการเป็นตัวแทนอิสลามต่อรองไม่ให้มีการตั้งหน่วยทหารพัฒนาในที่ดินอิสลาม ที่สำคัญคือมีการรวมตัวเป็นกลุ่มพลังร่วมอาชีพ อันจะมีผลต่อการต่อรองและการตัดสินใจของรัฐบาล ขณะที่ ชาวบ้านอิสลามมีท่าทีที่ไม่เป็นมิตรต่อทางการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการไม่อาบน้ำศพผู้เสียชีวิต การไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบผู้เสียชีวิตและไม่ยอมให้ทหารพัฒนาตั้งฐานในพื้นที่
            การเคลื่อนไหวของแกนนำ และ sympathizer
            - ผศ.....อาจารย์ประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) กล่าวหาว่ารัฐลำเอียงเข้าข้างไทยพุทธ โดยยกตัวอย่างการสนับสนุนอาวุธป้องกันตนเองว่า หมู่บ้านชาวไทยพุทธได้รับการสนับสนุนอาวุธจากทางการ ขณะที่ชุมชนอิสลามไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเท่าเทียมกัน
            - สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย นำโดยนาย.....ตัวแทนทนายความ - นาย.....หัวหน้าฝ่ายสิทธิมนุษยชน สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย และ น.ส.....ผู้ประสานงานโครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย มูลนิธิผสานวัฒนธรรมร่วมมือกับตัวแทนทนายความหลายประเทศในอาเซียน เตรียมจัดตั้ง "สมาคมทนายความมุสลิมอาเซียน" ที่ประเทศมาเลเซีย เพื่อสร้างพลังในการเรียกร้องสิทธิและความถูกต้องให้กับประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้
            - นาย ....หัวหน้าฝ่ายสิทธิมนุษยชน สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย (ยมท.)แสดงความไม่เชื่อมั่นว่าการใช้กฎหมายความมั่นคงแล้วจะไม่มีการละเมิดหลักการตามกฎหมาย การเบี่ยงเบนคดีและความโปร่งใสตรวจสอบได้
            - น.ส....ผู้ประสานงานโครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เสนอให้มีการจัดตั้ง "คณะกรรมการอิสระเพื่อการตรวจสอบศึกษา วิเคราะห์ การกำหนดนโยบายการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบไปปฏิบัติจนเกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินของประชาชน" ขึ้น
            - นาย .....เลขาธิการศูนย์ทหารความมุสลิม ต้องการให้มีองค์กรอิสระที่ไม่ใช่รัฐอยู่ในกระบวนการพิจารณาเบี่ยงคดีตามมาตรา ๒๑ เช่น สภาทนายความ เป็นต้น
            - สถาบันอิศรา ตีพิมพ์บทความ ๓ บทความ เพื่อปลุกให้คนอิสลามเกลียดชัง/หวาดระแวงทหารมากขึ้น ได้แก่ บทความเรื่องเหยี่อไฟใต้ฝากการบ้านถึงรัฐบาล ปชป. เรื่องกระสุนจากความหวาดระแวง..นาทีชีวิตของพ่อลูกบนรถเบรคแตกพุ่งชนด่านตรวจ และเรื่องศาลยกคำร้องคดีประวัติศาสตร์ภารโรงหายตัวลึกลับภรรยาเหลี่ยร่ำไห้ลั้นขอสู้ต่อ
            - นาย....แห่งโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิและอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยทักษิณ เสนอแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งสรุปได้ว่า ให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีอำนาจในการออกกฎระเบียบใด ๆ เพื่อใช้ในการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรัฐจะต้องจัดสรรให้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐โดยเฉพาะต้องมีศาล ชารีอะฮฺเพื่อตัดสินคดีความที่มีมุสลิมเป็นคู่กรณี แยกจากศาลทั่วไป
            - รายการ "ดีสลาตัน ณ แดนใต้ ซึ่งริเริ่มโดยนาย.....ผู้อำนาวยการ ส.ส.ท.เป็นความพยายามรวมตัวกันของผู้แทนทั้งภาควิชาการ ภาคประชาสังคมและสื่อท้องถิ่น เพื่อนำเสนอข้อมูลชายแดนใต้ และโดยเฉพาะข้อมูลจากโลกภายนอกที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวไทยมุสลิมในภูมิภาคอื่น ๆ และข่าวสารของประเทศมุสลิมเพื่อบ้าน
            การเคลื่อนไหวของชาวบ้าน
            - ชาวบ้านได้ให้เด็กปิดกั้นทางไม่ให้ จนท.เข้าไปภายในบ้านที่นายมูฮำหมัด บือโต จาก ต.กอลำ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ถูกยิงเสียชีวิต ทำให้ จนท.ไม่สามารถทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้ เมื่อ ๑ ธ.ค.๕๑
            - ชาวบ้าน หมู่ ๕ ต.ตะบิ้ง อ.สายบุรี กว่า ๑๐๐ คน รวมตัวกันต่อต้านการตั้งฐานปฏิบัติการของทหารพรานในพื้นที่บ้านลานช้าง โดยมีนักศึกษาและนักสิทธิมนุษยชนจากคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพของนาง .....เข้าร่วมแสดงบทบาทนำในการเจรจาจนเป็นผลสำเร็จ
            - นายรุสลัน กาซอ นายมูฮำหมัดรุสลี ยีดา และ นายบือราเฮง มูนะ ซึ่งถูกยิงบาดเจ็บ เมื่อ ๒๖ ธ.ค.๕๑ ที่ ม.๒ ต.หนองจิก จ.ปัตตานี ไม่ยอมให้การกับเจ้าหน้าที่
            - ญาติของนายดาโอ๊ะ เจ๊ะนิ ซึ่งอยู่ในสังกัดของนาย....ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อ ๙ ธ.ค.๕๑ ไม่ได้มีการอาบน้ำศพ ตามที่นายดาโอ๊ะ เคยสั่งไว้ก่อนเสียชีวิต

การซื้อใจอิสลามของรัฐบาล
            ๑. รัฐบาลเตรียมจัดตั้งองค์กรใหม่ โดยให้ผู้นำศาสนา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบจ.เทศบาล อบต. กำนัน ผุ้ใหญ่บ้าน และผุ้ทรงคุณวุฒิภาคประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนอิสลามเข้าร่วมในการหยุดวงจรความไม่สงบและพัฒนาพื้นที่ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
            ๒. ผู้สมัครผู้ว่า กทม.สังกัด ปชป. ประกาศจะให้ความสำคัญกับอิสลามมากขึ้น โดยจะสนับสนุน
                 ๑. จัดให้มีการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรีบยนที่มีนักเรียนมุสลิม ร้อยละ ๒๐ ขึ้นไป 
                 ๒.พัฒนาบุคลากรอิสลามศึกษา
                 ๓. พิจารณาปรับอัตราค่าตอบแทนกับบบุคลากรอิสลามศึกษาและ ๔. เพิ่มโครงการบ้านหนังสือประจำมัสยิด เพื่อให้ชาวบ้านมุสลิมและเยาวชนสามารถเข้ารับการบริการได้สะดวก และส่งเสริมความรู้ด้านต่าง ๆ นอกจากนี้จะมีมาตรการส่งเสริมการค้าอุตสาหกรรมค้าอุตสาหกรรมฮาลาล คือส่งเสริมการขายและส่งออกอาหารมุสลิม เพื่อให้แม่บ้านชาวมุสลิม ประกอบอาหารที่มีรสชาติ สามารถค้าขายในตลาดสากลได้
            ๓. ยกฟ้อง นายกอเซ็ง หรืออูเซ็ง หรือมะนาเซ หรือชาการิม เจาะเลาะ หรือเจาะเลาะ หรือเจ๊ะเล๊าะ "ซาการิม (pulo) จำเลยในความผิดฐานร่วมกันเป็นกบฎเพื่อแบ่งแยกราชอาณาจักร สะสมกำลังพลและอาวุธ สมคบกันเพื่อเป็นกบฎ และสมคบกันเป็นช่องโจร เพื่อกระทำความผิด เมื่อ ๑ ธ.ค.๕๑

แนวโน้มของสถานการณ์
            สถานการณ์ใน จชต.มีแนวโน้มน่าจะเลวร้ายลง เมื่อพิจารณาจาก
            ๑. การสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นระหว่าง หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการควบคุม/แก้ไขปัญหาใน ๓ ๑ จชต. โดยเฉพาะสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) ที่จะตั้งขึ้นใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ กับ กอ.รมน.ภาค ๔ ส่วนหน้า ที่มีแม่ทัพภาคที่ ๔ เป็นผู้อำนวยการ ซึ่งจะทำให้เกิดความขัดแย้งแย่งอำนาจและงบประมาณอันจะนำไปสู่การเป็นศัตรูกันระหว่างหน่วยงาน ของทหารกับพลเรือนอย่างน่าวิตก
            ๒. กลุ่มตรงข้ามกับรัฐบาลกำลังเน้น "ประชาธิปไตยและความเป็นธรรมในสังคม" ในการต่อสู้กับรัฐบาล ดังนั้นจึงเชื่อว่า จะต้องมีการโหมกระพือประเด็นความไม่เป็นธรรมโดยการยกกรณีอิสลามใน ๓ จชต.มาใช้ในการ   รัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการใช้ความเด็ดขาดต่อแนวร่วมอิสลาม ที่กำลังสัมฤทธิ์ผลอยู่
            ๓. พธม. ซึ่งสามารถชุมนุมยือเยื้อได้ก็เพราะแรงหนุนจากอิสลามจากชายแดนใต้ ดังนั้นจึงน่าจะมีการต่อรองแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะการฉวยโอกาสเรียกร้องต่อรองจาก   และนักการเมืองอิสลาม ทั้งโดยเปิดเผยและไม่เปิดเผย ในเรื่องการปกครองแบบพิเศษตามวิถีอิสลาม ที่มีศาลศาสนาเป็นของบตนเอง อันจะส่งผลกระทบทำให้ผู้ปฏิบัติในพื้นที่เกิดความลังเลและความไม่กล้าตัดสินใจ