สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต.
๑ – ๓๑ ธ.ค.๕๒

          การเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ ในช่วง ๑-๒๕ ธ.ค.๕๒ ได้แก่ การก่อเหตุ เท่าที่รวบได้มีจำนวนรวมทั้งสิ้น ๙๐ เหตุการณ์ ซึ่งมีลักษณะของการทุ่มพลังสุดตัวเพื่อยันการรุกของเจ้าหน้าที่ และเรียกขวัญกำลังใจของแนวร่วมเป็นสำคัญ ควบคู่ไปกับการสร้างสถิติเพื่อแสดงความคงอยู่และประสิทธิภาพในการก่อเหตุเพื่อหนุนช่วยข้อเสนอให้มีการแยกการปกครอง ๓ จชต.ของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียซึ่งเดินทางเข้ามาตรวจเยี่ยมมลายูอิสลามใน ๓ จชต. เมื่อ ๙ ธ.ค.๕๒ และเพื่อทำลายธุรกิจและขวัญกำลังใจไทยพุทธ ทั้งนี้ การก่อเหตุทั้ง ๓ จังหวัดซึ่งเท่าที่รวบรวมได้มีจำนวน ๙๐ เหตุการณ์ แยกเป็น จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุ ๓๓ เหตุการณ์ จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๒๗ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุ ๒๙ เหตุการณ์ และ จ. สงขลา มีการก่อเหตุ ๑ เหตุการณ์
         สำหรับความเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและ sympathizer ในช่วงรายงานพบว่าบรรดาสื่ออิสลาม และองค์กรด้านการเมืองและสิทธิมนุษยชน ยังคงมุ่งเน้นการปลุกเร้าเพื่อนำสู่การแยกการปกครอง ๓ จชต.อย่างไม่ลดละ ผ่านการจัดสัมนา เสวนา การให้ข่าว และการนำแนวคิดร่าง พรบ.นครปัตตานี มาขยายผลให้ดูเหมือนจริงจัง และการหากิจกรรมให้ความรู้ด้านอาชีพเพื่อดึงให้อิสลามเข้ามารวมตัวกัน ขณะที่ยุวมุสลิมกำลังพยายามนำปัญหาภายในออกสู่ภายนอกอย่างมุ่งมั่น รวมทั้งพยายามดึงมาเลเซียให้เข้ามามีบทบาทคุ้มครอง ต่อรองกับรัฐบาลไทยแทนคนไทยอิสลาม ส่วนธนาคารอิสลามก็รุกคืบขยายการครอบงำเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของไทยอิสลามใน ๓ จชต.อย่างต่อเนื่องโดยในช่วงรายงานกำลังรุกเข้าสู่ตลาดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ภาคใต้ แล้ว
         ส่วนการเคลื่อนไหวของจนท.และรัฐบาล พบว่า การป้องปรามของ จนท. กำลังสัมฤทธิผล โดยเฉพะการทำลายขวัญกำลังใจของแนวร่วม จากการที่ไม่ยอมอ่อนข้อลดความเข้มในการปฏิบัติตามท่าทีที่อ่อนแอของรัฐบาล และการเข้ามาให้กำลังใจของนายกมาเลเซีย ซึ่งหลังการเดินทางกลับจากการตรวจเยี่ยม ๓ จชต.แล้วได้มีการแถลงข่าวจับกุมแนวร่วมไทยอิสลาม เพื่อลดภาพลักษณ์ของความอหังการ์ลง ขณะที่การรูปธรรมการสร้างความพอใจให้กับมไทยอิสลามดูเหมือนจะลดลงจากการต้องใช้เวลาไปกับการการรับมือกับฝ่ายตรงข้าม การเตรียมแถลงผลงานของรัฐบาล และที่สำคัญคือ ศอ.บต. อันเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐยังไม่ลงตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีการสนับสนุนและการเปิดศูนย์ การเชื่อมโยงระหว่างอิสลามในประเทศไทยออกสู่โลกอิสลามภายนอก

แนวโน้มของสถานการณ์ ยังคงสรุปได้ว่า สถานการณ์จะคลี่คลายหรือรุนแรงขึ้น ขึ้นอยู่กับจนท.ผู้ปฏิบัติในพื้นที่เป็นสำคัญ แต่ที่น่าหนักใจและพึงตระหนักคือ ขณะที่การรุกไล่ของ จนท.สามารถจำกัดการเคลื่อนไหวของแนวร่วม โดยเฉพาะแนวร่วมปลายแถวได้อย่างน่าพึงพอใจนั้น ก็ปรากฏว่า การเดินทางลงใต้อย่างมีพิรุธและไม่กลับออกไปของกัมพูชาอิสลามจากกัมพูชา ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการปลุกเร้าให้มีการรวบรวมรายชื่อประชาชนให้ได้ ๑๐,๐๐๐ คน เพื่อนำร่างกฎหมายนครปัตตานีเข้าสู่วาระการพิจารณาของรัฐสภา

สถิติและนัยของการก่อเหตุ
          การก่อเหตุใน ๓+๑จชต.ในช่วง ๑-๓๑ ธ.ค.๕๒ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุ รวมทั้งสิ้น ๙๐ เหตุการณ์ เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ เมื่อเทียบกัน ๕๘ เหตุการณ์ ในช่วงเดียวกันของ พ.ย.๕๒ ทั้งนี้ จ.ปัตตานี ยังคงมีการก่อเหตุมากที่สุด ๓๓ เหตุการณ์ โดย อ.ยะรัง มีการก่อเหตุมากที่สุด ๑๐ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.เมือง จำนวน ๙ เหตุการณ์ ส่วน อ.โคกโพธิ์ มีการก่อเหตุ ๓ เหตุการณ์ ที่มีลักษณะมุ่งเป้าต่อทหาร ขณะที่ จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๒๗ เหตุการณ์ โดย อ.เมือง มีการก่อเหตุมากที่สุด ๙ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.บันนังสตา ๖ เหตุการณ์ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุ ๒๔ เหตุการณ์ โดย อ. ระแงะ และ อ.บาเจาะ มีการก่อเหตุมากที่สุดพื้นที่ละ ๗ เหตุการณ์โดยมีการก่อเหตุที่มุ่งต่อเป้าหมาย จนท.ทหารและ จนท.มหาดไทย ส่วน จ.สงขลา มี ๑ เหตุการณ์ ที่ อ.เทพา ทั้งนี้ การก่อเหตุ ทั้ง ๙๐ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๔๔ เหตุการณ์ รองลงมาคือการวางระเบิด ๒๗ เหตุการณ์ ซึ่งเป็นการกระทำต่อ Hard target เป็นหลัก การซุ่มยิง/ซุ่มโจมตี ๘ เหตุการณ์ การก่อกวน ๗ เหตุการณ์ การเผาอาคาร/สถานที่ ๓ เหตุการณ์ และอื่นๆ ๑ เหตุการณ์ ส่วนผู้ที่เสียชีวิตจากการก่อเหตุ ๙๐ เหตุการณ์ เท่าที่รวบรวมได้มีจำนวนรวมทั้งสิ้น ๑๔๐ คน แยกเป็นไทยพุทธ ทั้งจนท.และชาวบ้าน ๖๔ คน (เสียชีวิต ๑๑ คน บาดเจ็บ ๕๓ คน) อิสลามทั้งกลไกรัฐและชาวบ้าน ๗๖ คน (เสียชีวิต ๓๗ คน บาดเจ็บ ๓๙ คน)

ข้อพิจารณา
          การก่อเหตุ ทั้ง ๙๐ เหตุการณ์ ในช่วงระหว่าง ๑-๓๑ ธ.ค.๕๒ สามารถสรุปนัยของเหตุการณ์ได้ ดังนี้
         ๑. จำนวนการก่อเหตุ ๙๐ เหตุการณ์ มีลักษณะของการทุ่มพลังสุดตัวพลังเพื่อเร่งเพิ่มสถิติการก่อเหตุให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะ การกระทำต่อ hard target เพื่อแสดงนัยของการคงอยู่และประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องการแยกการปกครอง ๓ จชต.ของนายกมาเลย์ให้มีน้ำหนักมากขึ้น
         ๒. หลังจากนั้นในช่วงกลางเดือนก็ยังคงมีความพยายามก่อเหตุต่อ hard target ทั้งโดยการลอบวางระเบิดและการซุ่มโจมตี รวมทั้งการลอบยิงกลไกรัฐตั้งแต่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผช.ผญบ. อส.และชรบ. เพื่อยันการรุกไล่อย่างหนักและต่อเนื่องของจนท. และเรียกขวัญกำลังใจของแนวร่วมให้กลับคืนมา อย่างไรตามความยากลำบากในการเพิ่มสถิติทำให้แนวร่วมต้องหันกลับมาก่อเหตุกับ soft target ปนเข้าไปด้วย
         ๓. การลอบวางระเบิดต่อ hard target ได้มากถึง ๒๗ เหตุการณ์ และการซุ่มโจมตีอีก ๘ เหตุการณ์รวมทั้งการก่อเหตุพร้อมๆกันได้ แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ก่อเหตุเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกมาแล้ว ไม่ใช่แนวร่วมปลายแถว และยังกระจายกันอยู่พร้อมก่อเหตุเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย แม้ว่าการก่อเหตุยังมีลักษณะของการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและการสูญเสียอยู่
         ๔. การก่อเหตุยังมุ่งการทำลายธุรกิจไทยพุทธทั้งใน ๓ จังหวัดอยู่ ได้แก่ การวางระเบิดแผงขายหมูหลังตลาดเทศวิวัฒน์ ๒ ต.อาเนาะรู เขตเทศบาลเมืองปัตตานี เมื่อ ๔ ธ.ค.๕๒ การวางระเบิดปากทางเข้าตลาดสดบางนาค ถ.ระแงะมรรคา ต.บางนาค อ.เมือง จ.นราธิวาส ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ๙ รายและเสียชีวิตทันที ๒ ราย เมื่อ ๗ ธ.ค.๕๒ การลอบวางระเบิดบริเวณหน้าร้านขายของชำ “ฉัตรไชยพันธ์” ของนายวินัย ฉัตรไชยพันธ์ ในเขตเทศบาลตำบลปะลุรุ ทำให้มีผู้เสียขีวิต ๑ คน บาดเจ็บ ๑๑ คน เมื่อ๙ ธ.ค.๕๒ การกราดยิงใส่ ร้านอาหารกินรีคาราโอเกะ ของนายณรงค์ศักดิ์ ศิริวัฒน์ ที่ ม.๔ ต.รูสะมิแล บริเวณโรงแรมเซาท์เทิร์นวิว เมื่อ ๑๑ ธ.ค.๕๒ การลอบวางระเบิด ร้าน ราชาบะหมี่เกี้ยว ข้าวหมูแดง อ.เมือง จ.ปัตตานี เยื้องปั๊มน้ำมันบางจาก ริมถนนปากทางเข้าเขตเทศบาลเมืองปัตตานีของนางกลอยใจ อุดมพงษ์ไพบูลย์ ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ๑๓ ราย เมื่อ ๑๗ ธ.ค.๕๒ และการลอบวางระเบิด ร้านขายของ ที่ ถนนสุขยางค์ (ถนนสาย ๔๑๐ ) หมู่ ๒ ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา ทำให้มีผู้บาดเจ็บ ๕ คน เมื่อ ๒๔ ธ.ค.๕๒
         ๕. การรุกก่อเหตุในพื้นที่สีเขียว อันเป็นหลังพิงสุดท้ายของไทยพุทธ คือ อ.โคกโพธิ์ ยังคงเป็นไปอย่างอย่างต่อเนื่องจาก พ.ย.๕๒ เพื่อกดดันให้คนไทยพุทธถอดใจอพยพออกจากพื้นที่ โยในช่วงรายงานมีการลอบวางระเบิดหน้าโรงเรียนบ้านโคกโพธิ์ หมู่ ๔ ต.โคกโพธิ์ อ.โคกโพธิ์ ซึ่งทำให้มีผู้บาดเจ็บ ๓ คน เมื่อ ๒๓ ธ.ค.๕๒

การป้องปรามของ จนท.
         การตรวจค้นและจับกุมของ จนท.ในช่วงรายงาน ซึ่งเป็นไปอย่างหนักหน่วงและต่อเนื่องจนทำให้แกนนำแนวร่วมหลายคนเสียชีวิตและถูกจับกุม กำลังส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของแนวร่วม ทำให้ต้องมีการเคลื่อนไหวก่อเหตุหนักขึ้นเพื่อยันการรุกของจนท. สำหรับการตรวจค้นและจับกุมที่สำคัญ อาทิ การปิดล้อมตรวจค้น ที่ บ.โต๊ะมีแน ต.ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา ซึ่งสามารถวิสามัญคนร้าย ได้ ๒ คน เมื่อ ๑๕ ธ.ค.๕๒ การปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่ ม.๑ บ.อูแบ ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ซึ่งสามารถวิสามัญคนร้ายได้ ๑ คน เมื่อ ๑๖ ธ.ค.๕๒ การปิดล้อมตรวจค้นบริเวณป่าสวนกล้วย หลังปอเนาะ ม.๓ บ.บาโงยือริง ต.บือเระ อ.สายบุรี ซึ่งสามารถวิสามัญคนร้ายได้ ๑ คน เมื่อ ๒๒ ธ.ค.๕๒ การปิดล้อมตรวจค้นที่ ม.๕ บ.บลูกา ต.กาเยาะมาตี อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ซึ่งสามารถวิสามัญคนร้ายได้ ๑ คน เมื่อ ๒๓ ธ.ค.๕๒

ความเคลื่อนไหวของแนวร่วมและ sympathizer สำหรับความเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและ sympathizer ในช่วงรายงานพบว่า กลุ่มองค์กรเอกชน และสื่อ ยังคงมุ่งเน้นการปลุกเร้าเพื่อนำสู่การแยกการปกครอง ๓ จชต.อย่างไม่ลดละ ผ่านการจัดสัมนา เสวนา และการให้ข่าว ขณะที่ยุวมุสลิมกำลังพยายามนำปัญหาภายในออกสู่ภายนอกอย่างมุ่งมั่น รวมทั้งพยายามดึงมาเลเซียให้เข้ามามีบทบาทคุ้มครอง ต่อรองกับรัฐบาลไทยแทนคนมลายูอิสลาม ส่วนธนาคารอิสลามก็รุกคืบขยายการครอบงำเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของมลายูอิสลามใน ๓ จชต.อย่างต่อเนื่องโดยในช่วงรายงานกำลังรุกเข้าสู่ตลาดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ภาคใต้ แล้ว

"กลุ่มการเมืองภาคพลเมืองเพื่อท้องถิ่น" จาก เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม ๒๕ องค์กร ซึ่งมี พล.ต.ต. ... ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ เป็นแกนหลัก ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นในเรื่องนี้ในหัวข้อ "การกระจายอำนาจและการปกครองพิเศษ" ที่สมาคมจันทร์เสี้ยว อ.เมือง จ.ยะลา ประมาณ ๑๐ ธ.ค.๕๒ เพื่อสรุปว่า คนสามจังหวัดถูกรุกทางวัฒนธรรมมาก จึงควรจัดรูปแบบการปกครองใหม่ในพื้นที่สามจังหวัดโดยใช้ศาสนาอิสลามเป็นตัวกำหนด ต้องให้ชาวบ้านดำรงอัตลักษณ์อยู่ได้ ต้องมีตัวแทนของคนสามจังหวัดในรัฐบาลกลาง และ ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมาจากการเลือกตั้งของคนในพื้นที่
          - สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา จัดการเสวนาในกิจกรรม "ราชดำเนินเสวนา" ครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๒ เรื่อง “นครปัตตานี...ทางออกในวาระ ๖ ปีไฟใต้?" เมื่อ ๒ธ.ค.๕๒ ที่ห้องประชุมอิศรา กรุงเทพฯ ซึ่งสรุปว่าการตั้งรัฐปัตตานี แก้ปัญหาความไม่สงบภาคใต้ไม่ได้
          - นาย ... ที่ปรึกษาสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย เรียกร้องให้จริงใจในการแก้ปัญหา รวมทั้งต้องยอมให้มาเลย์เข้ามาร่วมจึงช่วยแก้ปัญหาได้
          - นาย ... ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และดีพเซาท์วอทช์ อดีตบรรณาธิการศูนย์ข่าวอิศรา เรียกร้องให้ยอมรับว่า การบริหารจัดการใดๆ ต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน โดยหากจะมีการจัดรูปการปกครองใหม่ ต้องพิจารณาโครงสร้างทางศาสนาเป็นสำคัญ.
          - ไทยมุสลิมดอทคอม นำบทความ “ICGแนะไทยเจรจาป่วนใต้เปลี่ยนนโยบายแก้แดนใต้ด้วยการเมือง-หยุดความรุนแรง” มาลงตีพิมพ์ ในช่วงที่นายกมาเลย์เดินทางลง ๓ จชต.เพื่อหารือรัฐไทยให้แยกการปกครอง ๓ จชต. เพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนักในการต่อรองให้กับ นรม.มาเลย์ ด้วยการชี้ให้เห็นว่ารัฐไทยควรต้องหาทางเปิดเจรจากันโจรซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใคร โดยอ้างว่าประชาชรนไม่พอใจที่มีทหารอยู่ในพื้นที่
          - นาย ... รองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เจรจาปรับการศึกษาของไทยให้สอดคล้องกับมาเลย์ สนับสนุนทุนให้ไทยอิสลามในการศึกษาต่อ ยังประเทศมาเลเซีย
          - นาย ... กรรมการบริหารพรรคประชาราช และสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง ได้ใช้การนำเสนอ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารราชการปัตตานีมหานคร พ.ศ.... เพื่อการผลักดันตัวเองให้สามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของประเด็นที่สังคมให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง โดยกำลังปลุกเร้า ให้มีการรวบรวมรายชื่อประชาชนให้ได้ ๑๐,๐๐๐ คน เพื่อนำร่างกฎหมายบรรจุเข้าสู่วาระการพิจารณาของรัฐสภา
          - ธนาคารอิสลามรุกคืบเข้าครอบงำเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของอิสลามอย่างไม่หยุดยั้ง ...หลังจากการกู้ยืมเพื่อการศึกษา มาสู่สินเชื่อเพื่อที่ดิน / ที่อยู่อาศัย โดยในช่วงรายงาน ได้รุกเข้าสู่สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ แล้ว
          - เวปไซด์อิสลาม ๓ แห่ง ได้จัดหลักสูตรการเตรียมคนอิสลามเพื่อรองรับการทำงานโดยเมื่อ ๑๓ ธ.ค. ๕๒ ได้มีการเปิดตัว“หลักสูตรเชิงปฏิบัติการมุสลิมะฮฺนักทำงานเพื่ออิสลาม ครั้งที่ ๑” ที่ ห้องอีสกานดา โรงแรมรีเจ้นท์ ครั้งแรก ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจและฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ๔ เดือน ๔ ครั้ง เริ่มเดือน ธ.ค. ๒๕๕๒-มี.ค. ๒๕๕๓

การเคลื่อนไหวของรัฐบาลไทย
         การเคลื่อนไหวของจนท.และรัฐบาล รูปธรรมการสร้างความพอใจให้กับไทยอิสลามดูเหมือนจะลดลงจากการต้องใช้เวลาไปกับการการรับมือกับฝ่ายตรงข้าม การเตรียมแถลงผลงานของรัฐบาล และที่สำคัญคือ ศอ.บต. อันเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐยังไม่ลงตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีการสนับสนุนและการเปิดศูนย์ การเชื่อมโยงระหว่างอิสลามในประเทศไทยออกสู่โลกอิสลามภายนอก ๒๓ ธ.ค.๕๒ ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.อิศรา ศานติศาสน์ รองผู้อำนวยการศูนย์นโยบายโลกมุสลิมกล่าวชี้แจงความเป็นมาของศูนย์ ฯ นายวันมูหะมัด นอร์ มะทา กล่าวปาฐกถานำ ทูตราชอาณาจักรโมร๊อกโค ประจำประเทศไทย กล่าวสุนทรพจน์ในนามตัวแทนทูตประเทศต่างๆ และช่วงบ่ายเป็นการบรรยายโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ และเจ้าของธุรกิจเอกชน

การเคลื่อนไหวของมาเลเซีย
         หลังจากที่ได้เดินทางลงพื้นที่ ๓ จชต.ในลักษณะของการเข้ามาตรวจเยี่ยมประชาชนของตนเองของนายราจิปนายกมาเลย์ เมื่อ ๙ ธ.ค.๕๒ แล้ว ทางจนท.มาเลเซียก็ได้มีการจับกุมตัว นายมูฮำหมัดฟาโร บินยาการียา อายุ ๒๗ ปี ที่อยู่ ๑๓๐ หมู่ ๒ ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส นายมะยูไน บินเจ๊ะดอเลาะ อายุ ๓๒ ปี ที่อยู่ ๗๑ หมู่ ๒ ต.ช้างเผือก อ.จะแนะ จ.นราธิวาส และ นายสารี มูฮำหมัด บินอับดุลฮาสิ อายุ ๓๗ ปี ที่อยู่ ๑๒๐ หมู่ ๕ ต.เกาะสะท้อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อ ๑๕ ธ.ค.๕๒ และต่อมา เมื่อ ๒๒ ธ.ค.๕๒ จับได้อีก ๘ คน คือ นายซาฮูดิน เจ๊ะดี อายุ ๒๓ ปี ที่อยู่ ๕๔ / ๒ หมู่ ๓ ต.ริโก๋ อ.สุไหงปาดี นายมูฮำหมัดอาสารี เจ๊ะดี ที่อยู่ ๑๕ หมู่ ๓ ต.ริโก๋ อ.สุไหงปาดี นายนิอาลาวี อับดุลบุตร อายุ ๒๓ ปี ที่อยู่ ๘ หมู่ ๑ ต.ริโก๋ อ.สุไหงปาดี นายสูไฮมี บินยูลียา อายุ ๒๔ ปี ๓๘/๔๘ ถ.ปงฮงกือปัส - เกาะตา ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี นายอับดุลบาซิ ยูนุ อายุ ๒๕ ปี หนังสือเดินทาง เลขที่ M ๖๓๓๗๖๓ ที่อยู่ ๑๓ หมู่ ๓ ต.ริโก๋อ.สุไหงปาดี นายอาลฮาตา บินดอเลาะ อายุ ๒๐ ปี ปชช. ๑ ๙๖๑๑ ๐๐๐๕๙ ๙๗ ๑ ที่อยู่ ๑๘ ถ.ปงฮงกือปัส - เกาะตา ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี นายนิปา นิเระ อายุ ๒๙ ปี ที่อยู่ ๒๖/๑ ม.๖ ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง นราธิวาส (มีหมายจับ ฉฉ ๑๕๒ /๒๕๔๙ สภ.เจาะไอร้อง) ในคดีก่อเหตุความไม่สงบลอบวางระเบิดเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ อ.เจาะไอร้อง และ นายมูฮำหมัดยูสนี ซัน อายุ ๒๐ ปี หนังสือเดินทางเลขที่ M ๖๒๘๒๒๑ ที่อยู่ ๑๒ หมู่ ๓ ต.สุไหงปาดี อ.สุไหงปาดี

ความเคลื่อนไหวของอินโดนีเซีย
         ประธานาธิบดีอินโดนีเซียในฐานะที่เป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประชากร ๒๔๐ ล้านคน ร้อยละ ๙๐ เป็นคนมุสลิม แสดงความเป็นห่วงกังวลใจเกี่ยวกับชาวมุสลิมที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นผู้ร่วมศาสนาเดียวกัน ในการเดินทางไปประเทศอินโดนีเซียของนายสุเทพ ระหว่าง ๒๓-๒๔ ธ.ค.๕๒

ความเคลื่อนไหวของกัมพูชาอิสลาม
         ในช่วงตั้งแต่ ๑๐ พ.ย.๕๒ – ๒๐ ธ.ค.๕๒ พบว่าได้มีชาวกัมพูชาอิสลาม จากหลายจังหวัดในกัมพูชา เดินทางผ่านด่านพรมแดนอรัญประเทศ อ้างจะไปเยี่ยมญาติที่ประเทศมาเลเซีย มีจำนวนรวม ทั้งสิ้นจำนวน ๕๐๖ คน และตรวจสอบพบว่ามีเดินทางกลับมาไม่ถึง ๑๐% และเมื่อ ๒๐ ธ.ค.๕๒ ได้มีชาวกัมพูชาอิสลาม จำนวน ๗๖ คน แยกเป็นชาย ๒๗ คน หญิง ๓๕ คน และเด็กชาย ๑๐ คน เด็กหญิง ๒ คน เดินทางข้ามด่านพรมแดนอรัญประเทศ จากฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชาเข้ามาในฝั่งไทย โดยทุกคนอ้างว่าจะเดินทางไปเยี่ยมญาติที่ประเทศมาเลเซีย และจากการตรวจค้นในกระเป๋าสัมภาระ จนท.ได้พบมียารักษาโรคชนิดต่างๆทั้งยาปฏิชิวนะและยาแก้ปวด แก้ไข้ ซึ่งเกินจากความจำเป็นที่จะใช้ในชีวิตประจำวัน ซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าสัมภาระได้ยึดไว้บางส่วน ก่อนจะปล่อยให้เดินทางต่อไปได้

                                               ............................................