สรุปสถานการณ์ใน
๓ + ๑จชต.
๑ - ๒๘ ก.พ.๕๒)
การเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในช่วง ก.พ.๕๒ ยังคงได้แก่ การก่อเหตุซึ่งเท่าที่รวบรวมได้มีจำนวน
๘๓ เหตุการณ์ โดยแยกเป็นการก่อเหตุใน จ.ปัตตานี
สูงสุด
๓๑ เหตุการณ์รองลงมาคือ จ.นราธิวาส
และ จ.ยะลา จังหวัดละ
๒๕ เหตุการณ์เท่ากับ และ จ.สงขลา
๒ เหตุการณ์ ทั้งนี้การก่อเหตุที่ลดจำนวนความถี่ลง มีลักษณะความเหี้ยมโหด
และท้าทายอำนาจรัฐมากขึ้น เพื่อให้แกนนำแนวร่วมและ
sympathizer อิสลาม นำไปขยายผลชี้นำให้เห็นว่า เมื่อรัฐใช้การปราบปรามรุนแรง
ก็จะถูกตอบโต้อย่างรุนแรงกลับมา อันจะนำมาซึ่งข้อสรุปให้ใช้การเมืองนำการทหารอย่างเป็นรูปธรรม
และการถอนทหารในที่สุด ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวอย่างสอดประสานกับการโหมนำประเด็นการเสียชีวิต
ของแกนนำแนวร่วมโน้มน้าว/ชี้นำให้เห็นว่าเป็นการกระทำของทหาร ทั้งในภาคภาษาไทย
ยาวีและมาเลย์ อย่างซ้ำซากและต่อเนื่อง
การตรวจค้น/จับกุม ยังคงเป็นไปอย่างได้ผล ในการจำกัดการเคลื่อนไหวของแนวร่วมได้
ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะแนวร่วมระดับปลายแถว จนดูเหมือนว่า ต้องมีการนำแนวร่วมระดับปฎิบัติการออกมาก่อเหตุแทนแล้ว
อย่างไรก็ตาม มาตรการเชิงรุกดังกล่าวก็ยังมีอุปสรรคอย่างมาก ได้แก่ ประการแรก
การขัดขวางจากองค์กรจัดตั้งอิสลาม ซึ่งมีการโหมประสานกดดันให้มีการถอนทหาร
โดยอ้างการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการใช้ความรุนแรงเกินเหตุ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะทำให้
จนท.ต้องลดประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานลงในระดับหนึ่ง และประการที่สอง
การใช้กฎหมายผิดประเภท/ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งทำให้ต้องมีการทยอยปล่อยตัวแกนนำ
แนวร่วมสำคัญ ๆ ออกมาก่อเหตุ/สร้างความหวาดกลัวเพิ่มขึ้นให้กับชาวบ้านอยู่ตลอดเวลา
อย่างน่าวิตก
ในขณะที่แกนนำและ sympathizer อิสลาม กลุ่มหนึ่งนำโดย นาง.....ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
น.ส.... แกนนำเครือข่ายเยาวชนนักศึกษาเพื่อสันติภาพ และสถาบัน.... กำลังโหมเคลื่อนไหวสร้างความแตกแยก
และ discredit จนท. อย่างต่อเนื่องอยู่นั้น หน่วยงานของรัฐก็ได้ร่วมมือกับอิสลามอีกกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการ พยายามจัดโครงการเสวนา/อบรม เพื่อปลูกฝังให้มลายูอิสลาม
เรียนรู้การอยู่ร่วมกันโดยสันติกับคนต่างเชื้อชาติศาสนา
แนวโน้มของสถานการณ์
เชื่อว่าแรงกดดันให้มีการถอนทหาร และการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน น่าจะยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
และทุกวิถีทาง โดยเฉพาะ การถอนทหารออกจากวัด และโรงเรียน เพื่อให้ง่ายต่อการสลายความเป็นไทยพุทธออกจาก
๓ จชต. และพึงระวังการเป้าหมายพระสงฆ์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญด้านขวัญและกำลังใจ
ในการคงอยู่ของคนไทยพุทธ รวมทั้งแนวโน้มการรุกคืบเข้าสู่เป้าหมายไทยพุทธ ที่
อ.แม่ลาน โดยเฉพาะ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ซึ่งเปรียบเสมือนหลังพิงสุดท้ายของไทยพุทธ
ข้อพึงตระหนัก
ประการแรก ในขณะที่แกนนำแนวร่วม และ sympathizer
อิสลาม กำลังรุกกดดันทหารอย่างหนักและต่อเนื่อง ก็ดูเหมือนความผิดพลาดอย่างง่าย
ๆ ของ จนท. ก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ดังนั้น จึงควรต้องมีการทบทวน/เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น
เพราะการถอนหรือการโยกย้ายกำลังทหาร จะส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อชุมชนพุทธ ประการที่สอง
พบว่าแนวร่วมอิสลามกำลังปลุกระดมมวลชนในพื้นที่ ที่ชาวบ้านเริ่มเอนเอียงเข้าอิงอำนาจรัฐ
ให้เกิดความหวาดระแวงต่อ จนท. แล้ว ดังนั้น จึงควรทบทวนและติดตามความเคลื่อนไหวในพื้นที่
ที่เชื่อว่า จนท.คุมสภาพได้แล้วด้วย
นัยและสถิติการก่อเหตุ
การก่อเหตุในช่วง ๑ - ๒๘ ก.พ.๕๒ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุจำนวน
๘๓ เหตุการณ์ ลดลง ๑๔ เหตุการณ์ เมื่อเทียบกับการเกิดเหตุ ๙๗ เหตุการณ์ ในช่วง
๑ - ๓๑ ม.ค.๕๑ ทั้งนี้ จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุมากที่สุด ๓๑ เหตุการณ์ โดย
อ.ยะรัง มีการก่อเหตุสูงสุด ๗ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๒๕
เหตุการณ์ โดย อ.บันนังสตา มีการก่อเหตุสูงสุด ๗ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.นราธิวาส
มีการก่อเหตุ ๒๕ เหตุการณ์ โดย อ.รือเสาะ มีการก่อเหตุสูงสุด ๖ เหตุการณ์
ส่วน จ.สงขลา มีการก่อเหตุเพียง ๒ เหตุการณ์ เท่านั้น โดยแยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล
๔๙ เหตุการณ์ รองลงมาคือ การวางระเบิด
๑๙ เหตุการณ์ (ส่วนใหญ่เป็นการวางระเบิดต่อ Hard Target เกือบทั้งหมด
) การซุ่มยิง/ซุ่มโจมตี
เกิดขึ้น ๕ เหตุการณ์ การวางเพลิง/เผา
๕ เหตุการณ์ (เป็นการเผารถ ๓ เหตุการณ์) การฟัน/แทง
๓ เหตุการณ์ และการก่อกวน
๒ เหตุการณ์
ข้อพิจารณา
๑. การก่อเหตุจำนวน ๘๒ เหตุการณ์ พบว่ามีลักษณะของการก่อเหตุของมืออาชีพ
หรือผู้ที่ได้รับการฝึกมาอย่างดี ไม่ใช่แนวร่วมระดับปลายแถว ตั้งแต่การไล่ล่าตามประกบยิง
การจ่อยิงซ้ำจนเสียชีวิต หลังจากเป้าหมายหมดทางต่อสู้แล้ว การก่อเหตุหลอกล่อให้
จนท.เข้าไปติดกับ และการฆ่าตัดคอ
๒. การก่อเหตุมีลักษณะของการ " เมื่อแรงมา
ก็แรงกลับไป " เพื่อให้แกนนำและ sympathizer
อิสลาม นำไปขยายผลสะกัดกั้น และลดความเข้มในการไล่ล่าติดตามจับกุมของ จนท.
ที่กำลังเข้าใกล้ตัวของแนวร่วมสำคัญเข้าทุกขณะ โดยที่รัฐบาลยังตั้งตัวยับยั้งการรุกคืบของ
จนท.ไม่ทัน
๓. การก่อเหตุมีลักษณะของการชี้นำให้เห็นว่า
ความรุนแรงกำลังเพิ่มขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านเชื่อว่า
รัฐไม่สามารถคุมสถานการณ์ได้ ซึ่งเมื่อประกอบกับการที่แกนนำแนวร่วม ถูกปล่อยตัวออกมาเป็นระยะด้วยแล้ว
ส่งผลให้ชาวบ้านในหลายพื้นที่ จำต้องหันกลับไปยืนอยู่กับแนวร่วม ดังเช่นที่
ม.๖ บ.ปะกาลือสง ต.ตุยง ที่สำคัญคือ เพื่อชี้นำให้เห็นว่า การปฎิบัติการทางทหารที่ใช้งบประมาณมหาศาล
ไม่สามารถยุติการก่อเหตุได้ เพื่อให้สอดประสานกับการเรียกร้อง ให้มีการถอนทหาร
ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อชาวบ้านไทยพุทธ ในพื้นที่ ๓ จชต. ซึ่งทุกวันนี้
ยังคงอยู่ได้เพียงเพราะการปกป้อง/คุ้มครองจากทหารไทยพุทธนอกพื้นที่ เท่านั้น
๔. การก่อเหตุมีลักษณะของการมุ่งเจาะจงทำลายขวัญของคนไทยพุทธ
ที่ดูเหมือนจะเริ่มแข็งแกร่งขึ้น ภายใต้การปกป้องของทหาร ตั้งแต่การฆ่าแล้วตัดคอทั้งทหารและชาวบ้าน
โดยเฉพาะการลอบวางระเบิดพระสงฆ์ เพื่อไม่ให้พระสงฆ์ออกบิณฑบาตร
หรือปฎิบัติกิจของสงฆ์ได้ โดยเมื่อ ม.ค.๕๒ ลอบวางระเบิดพระสงฆ์จากวัดวชิรปราการ
ต.โกตาบารู อ.รามัน ส่วนใน ก.พ.๕๒ ลอบวางระเบิดพระสงฆ์ จากวัดเขาเข็มทอง ต.แว้ง
อ.แว้ง
๕. การก่อเหตุดูเหมือนกำลังรุกเข้าสู่
อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ซึ่งเปรียบเสมือนหลังพิงสุดท้ายของคนไทยพุทธแล้ว
แม้จะยังไม่ชัดเจนนักก็ตาม
การตรวจค้น/จับกุม
การตรวจค้น และจับกุมยังคงเป็นไปอย่างเข้มข้น ต่อเนื่อง และสัมฤทธิ์ผล แม้จะเกิดความสูญเสียด้วยเช่นกัน
โดยเฉพาะผลสัมฤทธิ์ในการสะกัดกั้นการเคลื่อนไหวของแนวร่วมระดับปลายแถว จนทำให้แนวร่วมที่ได้รับการฝึกมาแล้ว
ต้องออกทำงานเอง ส่งผลให้แกนนำและองค์กรจัดตั้งของอิสลาม ต้องออกมาต่อต้านอย่างเต็มที่
ดังนั้น ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ก็อาจเป็นชนวนนำมาซึ่งการถอนทหารได้ โดยเฉพาะการถอนทหารในพื้นที่
ที่เกิดปัญหาความขัดแย้งกับชาวบ้านอิสลาม ดังที่เคยต้องถอนกำลังออกมาจากในหลายพื้นที่แล้ว
ล่าสุดก็คือ การเรียกร้องให้ถอน ตชด.ชุดพลร่ม (หน่วยรบพิเศษ ๒) จาก อ.หัวหิน
จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งตั้งฐานปฎิบัติการอยู่ที่บ้านสายตาเอียด ต.ตลิ่งชัน
ออกจากพื้นที่ของชาวบ้านอิสลามใน อ.บันนังสตา ส่งผลให้คนไทยพุทธจาก บ.ตลิ่งชัน
บ.ฉลองชัย บ.เขาน้ำตก บ.ภักดี ๑ ภักดี ๒ และภักดี ๓ อ.บันนังสตา และ อ.ธารโต
จ.ยะลา จำนวนประมาณ ๕๐๐ คน ต้องออกมารวมตัวกันต่อต้าน เรียกร้องให้ทหารอยู่ต่อไป
เมื่อ ๒๖ ก.พ.๕๒ ซึ่งจะทำให้ความเป็นศัตรูกันระหว่างพุทธ - อิสลาม ชัดเจนขึ้น
แล้วจะเป็นอันตรายต่อไทยพุทธ หากต้องมีการถอนทหารออกไปในที่สุด
การเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วม และ
อิสลาม
ในช่วงรายงานพบว่า องค์กรจัดตั้งอิสลาม
ตั้งแต่นักศึกษา สื่อ องค์กรสิทธิมนุษยชน จนถึง อบต. กำลังประสานโหมปลุกกระแสให้มีการถอนทหารออกจาก
๓ จชต. โดยการนำประเด็นการเสียชีวิตของแกนนำแนวร่วมมาโน้มน้าว
และชี้นำสังคมให้เห็นว่า ทหารอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งยังคุกคามจะต่อต้านทหารอีกด้วย
นักศึกษา
กำลังโหมใช้ประเด็นการตรวจค้น/จับกุม ละการก่อเหตุเป็นเครื่องมือในการแข่ง
และเสริมสร้างบทบาทให้เป็นที่รู้จัก/ยอมรับของสังคม โดย น.ส...แกนนำเครือข่ายเยาวชนนักศึกษาเพื่อสันติภาพ
หรือ คยนส. ได้หยิบยกประเด็นการเสียชีวิตของ นายอับดุลการิม ยูโซ๊ะ อิหม่ามประจำมัสยิดบ้านกาหยี
ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เมื่อ ๓๐ ม.ค.๕๒ มาเป็นเงื่อนไขการรื้อฟื้นบทบาทอีกครั้งหนึ่ง
จากที่เพลาบทบาทลงหลังจากการร่วมเคลื่อนไหว เรียกร้องให้มีการถอนทหาร ยกเลิก
curfew ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ระหว่าง ๓๑ พ.ค. - ๔ มิ.ย.๕๐ ซึ่งในครั้งนี้
น.ส...ได้ยืนยันว่า จะอยู่ตรงข้ามกับรัฐ ขณะที่นาย ....นายกองค์การบริหารองค์การนักศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) เตือนว่า นักศึกษาอาจต้องออกมาปกป้องชาวบ้าน
ส่วนนาย...เลขาธิการสหพันธ์นิสิตศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ส่งนัยคุกคามว่า
นศ.ไม่พอใจ และไม่ไว้ จนท. และพร้อมจะเคลื่อนไหวได้ทุกเมื่อ
องค์กรเอกชน
โดยนาง... ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ พยายามที่จะชี้นำให้เห็นว่า
การให้อำนาจแก่ทหารอย่างเบ็ดเสร็จ เป็นการนำมาซึ่งการละเมิดสิทธิมนุษยชน และส่งนัยแสดงความไม่เห็นด้วยกับการมีทหาร
เข้าไปดูแลความปลอดภัยใน รร. รวมทั้งแสดงความไม่พอใจต่อการที่สำนักงานของตนที่
จ.ปัตตานี ถูกตรวจค้นเช่นเดียวกับ สถานที่อื่นในบริเวณเดียวกัน และเรียกร้องให้ยกเลิก
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขณะที่ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม พยายามชี้นำสังคมโดยไม่มีการระบุหลักฐานว่า
มีผู้ที่ศาลตัดสินยกฟ้องถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ลอบสังหารไปมากกว่า
๑๑ ราย จากจำนวนผู้ที่ถูกยกฟ้อง ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๙ รวมทั้งสิ้น ๑๕ ราย
สถาบัน........
โหมลงบทความ discredit ทหารอย่างหนัก และต่อเนื่องด้วยการพยายามโน้มน้าว
และชี้นำให้สาธารณชนเชื่อว่า ทหารอยู่เบื้องหลังการตายของผู้นำศาสนาหลายคน
และไม่จริงใจในการทำงานมวลชน โดยการนำประเด็นเดิม ๆ มาตีพิมพ์ซ้ำ ๆ ที่สำคัญคือ
การแปลออกมาเป็นภาษามลายู และยาวี ได้แก่ บทความคำสัมภาษณ์สุดท้าย " อิหม่ามเหยื่อกระสุน"
- ผบ.พตท.ยันเจ้าหน้าที่รัฐไม่เกี่ยว เมื่อ ๑ ก.พ.๕๒ ความแคลงใจยังไม่คลายที่สายบุรี......
เมื่อนักศึกษาลงพื้นที่พิสูจน์ความจริง เมื่อ ๒ ก.พ.๕๒ จากอิหม่ามสะตอปา .......ถึงอิหม่ามอับดุลการิม
เมื่อ ๒ ก.พ.๕๒ กังขาปัญหาใต้ของ เจะอามิง โตะตาหยง...งบไม่น้อยแต่ทำไมยังด้อยพัฒนา
? เมื่อ ๙ ก.พ.๕๒ รัฐอ่วมเจอถล่มปมละเมิดสิทธิ์ชายแดนใต้ จับตานักศึกษาชุมนุมใหญ่
เมื่อ ๑๔ ก.พ.๕๒ ค้นความจริงที่เมาะมาวี สางปมเจ้าหน้าที่ยิงคนพิการ? เมื่อ
๑๕ ก.พ.๕๒ ชะตากรรมของหมู่บ้านสันติสุข ความจริงอีกด้านที่ชายแดนใต้
เมื่อ ๑๖ ก.พ.๕๒ ค้นความจริงที่เมาะมาวี สางปมเจ้าหน้าที่ยิงคนพิการ ? เมื่อ
๑๘ ก.พ.๕๒ คำสัมภาษณ์สุดท้าย "อิหม่ามเหยื่อกระสุน" เมื่อ ๒๒ ก.พ.๕๒
กลุ่มทนายความ
โดย นาย...ทนายความจากศูนย์ทนายมุสลิม ส่งนัยเตือนรัฐและฝ่ายความมั่นคง ไม่ให้ขัดขวางการจัดชุมนุมประท้วงประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ของนักศึกษา
กลไกรัฐระดับท้องถิ่น
พบว่า รองนายก อบต. โกตาบารู อ.รามัน จ.ปัตตานี กำลังกดดันให้ถอนทหารออกจาก
วัดวชิรปราการ โดยอ้างว่ามี จนท.ตร.แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีทหาร
ชาวบ้านอิสลาม
ผู้นำชาวบ้าน ม.๕ บ.กูมุง ต.ปะแต อ.ยะหา ส่งนัยต่อรอง โดยอ้างว่าทหารไม่จริงใจและทอดทิ้ง
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ ที่ชาวบ้านอาจหันไปร่วมมือกับแนวร่วม
ความเคลื่อนไหวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แม้ว่ารัฐบาลดูเหมือนจะไม่กล้าจริงใจ ในการแก้ปัญหาความไม่สงบใน ๓ + ๑ จชต.
หากยังมีหน่วยงานสของรัฐที่กำลัง พยายามหาทางแก้ปัญหา โดยการพยายามโน้มน้าวให้มลายูอิสลาม
สามารถอยู่ร่วมกับคนต่างเชื้อชาติและศาสนาได้ ได้แก่
โครงการอบรมสัมมนา " เยาวชนมุสลิม:มลายูมุสลิมกับวิถีไทย "
ของ ศอ.บต. ซึ่งได้มีการเชิญนักวิชาการด้านอิสลาม ได้แก่ นายวินัย สะมาอุน
นายนูรุดดิน สารีมิง ดร.อณัส อมาตยกุล ดร.มะรอนิง สะลิมิง และนายอุสมาน
ราษฎร์นิยม มาเป็นวิทยากร เพื่อสร้างความเข้าใจในประวัติศาสตร์ .......ซึ่งก็ดูเหมือนวิทยากรทั้งหมด
ยังมีท่าทีเป็นบวกอยู่
โครงการเสวนาสัมพันธ์สามศาสนิก พุทธ คริสต์
และอิสลาม ของกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ
ทหาร (พตท.) และคณะกรรมการศาสนิกสัมพันธ์จังหวัดปัตตานี โดยจัดเป็นกิจกรรมต่อเนื่องโดยครั้งแรก
เมื่อวันที่ ๒๑ ม.ค.๒๕๕๒ ที่ โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี ส่วนครั้งที่ ๒
ที่โบราณสถานกรือเซะ เมื่อ ๒๒ ก.พ.๕๒ เพื่อให้มลายูอิสลามรับรู้การอยู่ร่วมกันโดยสันติ
แนวโน้มของสถานการณ์
เชื่อว่า แรงกดดันให้มีการถอนทหาร และยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน น่าจะยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
และทุกวิถีทาง โดยเฉพาะการกดดันให้ถอนทหาร ออกจากวัดและโรงเรียน เพื่อให้ง่ายต่อการสลายความเป็นไทยพุทธ
ออกจาก ๓ จชต. เมื่อพิจารณาจากประการแรก ไทยพุทธซึ่งเป็นเป้าหมายของการผลักดันให้ออกจาก
๓ จชต. ยังสามารถคงอยู่ใน ๓ จชต. ได้เพียงเพราะการคุ้มครองของกำลังทหารจากนอกพื้นที่เท่านั้น
ประการที่สอง การตรวจค้น / จับกุม ของ จนท.
ซึ่งกำลังส่วนใหญ่คือ ทหาร นอกจากจะสามาถสะกัดการเคลื่อนไหวของแนวร่วมปลายแถวได้อย่างพอใจแล้ว
ยังดูเหมือนจะรุกคืบใกล้แนวร่วมคนสำคัญ เข้าทุกขณะ และประการที่สาม
รัฐบาลเอง ก็ดูเหมือนยังไม่มีโอกาสเข้าแทรก หนุนช่วยแนวร่วมได้อย่างเป็นรูปธรรม
ข้อพึงตระหนัก
ประการแรก
ในขณะที่แกนนำแนวร่วม และ sympathizer อิสลาม กำลังรุกกดดันทหารอย่างหนัก
และต่อเนื่อง ก็ดูเหมือนความผิดพลาดอย่างง่าย ๆ ของ จนท. ก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
ดังนั้น จึงควรต้องมีการทบทวน / เพิ่มความระมัดระวัง ให้มากขึ้น เพราะการถอนหรือโยกย้ายกำลังทหาร
จะส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อชุมชนพุทธ
ประการที่สอง
พบว่าแนวร่วมอิสลาม กำลังปลุกระดมมวลชนในพื้นที่ ที่ชาวบ้านเริ่มเอนเอียงเข้าอิงอำนาจรัฐ
ให้เกิดความหวาดระแวงต่อ จนท.แล้ว ดังนั้น จึงควรทบทวนและติดตามความเคลื่อนไหวในพื้นที่
ที่เชื่อว่า จนท.คุมสภาพได้แล้ว ด้วย
|