สถานการณ์ ๓+๑ จชต. ก.พ.๕๕ ๑ - ๒๙ ก.พ.๕๕
ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในช่วงรายงาน ได้แก่ การเข้าไปแสวงประโยชน์ในเหตุการณ์ เมื่อ ๒๙ ม.ค.๕๕ ที่ บ.กาหยี ต.ปุโละปุโย ต.หนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งทำให้มลายูอิสลามเสียชีวิต ๔ รายและบาดเจ็บ ๕ ราย เพื่อเสริมสร้างบทบาทและนำพาชีวิตไปสู่ความร่ำรวยของผู้ที่ทำมาหากินกับความหายนะของ ๓+๑ จชต. ด้วยการเข้าไปปลุก/ชี้นำให้กลุ่มผู้สูญเสียรวมตัวกดดันให้รัฐจ่ายเงินเยียวยา ๗.๕ ล้านบาท ให้กับมลายูอิสลาม ทั้งเหตุการณ์ปัจจุบันและเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งเป็นไปอย่างคึกคัก ... มืการฉวยโอกาสนำประเด็นส่วนตัวและประเด็นอื่นๆแฝงเข้าไปร่วมเรียกร้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นนาง... ที่ต่อรองให้รัฐจ่ายเงินเยียวยาสามีที่หายสาบสูญ นาง...ที่เพื่อต่อรองรัฐจ่ายเงินเยียวยาให้กับบิดาที่เสียชีวิตในเหตุการณ์กรือเซะ นาง...ซึ่งลูกชายเป็นแกนนำในเหตุการณ์ตากใบ นาย...ซึ่งมีการนำประเด็นการคัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เข้ามาร่วมเรียกร้องด้วย
การก่อเหตุที่มีแนวโน้มลดความร้อนแรงลงตามลำดับจาก ต.ค.๕๔ กลับร้อนแรงและมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกเพราะได้รับแรงกระตุ้นจากผลสำเร็จในการหลอกล่อให้ จนท.ออกมาไล่ล่าผู้ก่อเหตุจนมีมลายูอิสลามเสียชีวิต ๔ รายและ บาดเจ็บ ๔ ราย ที่ จ.ปัตตานี เมื่อ ๒๙ ม.ค.๕๕ ส่งผลให้สถิติการก่อเหตุในช่วง ๑-๒๙ ก.พ.๕๕ สูงขึ้นจาก ๔๙ เหตุการณ์ในช่วงเดียวกันของม.ค.๕๕ เป็น ๖๐เหตุการณ์ แต่การเร่งสร้างผลงานได้ทำให้เกิดความผิดพลาดจนมลายูอิสลามเสียชีวิตและบาดเจ็บ ๘-๙ คน จากการลอบวางระเบิดที่หน้าสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ถ.สฤษดิ์ ต.สะบารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี เมื่อ ๙ ก.พ.๕๕ อย่างไรก็ตาม พบว่าแนวร่วมผู้ก่อเหตุ ยังคงพยายามหลีกเลี่ยงการก่อเหตุที่ต้องมีการเผชิญหน้ากับจนท.ดังจะเห็นจากการก่อเหตุทั้งหมด ๖๐ เหตุการณ์ นั้น เป็นการก่อเหตุกับ จนท.ขณะออกปฏิบัติงานหรือต่อจุดตรวจ ที่มั่น/ฐาน เพียง ๑๒ เหตุการณ์ เท่านั้น อีกทั้งยังเลือกเป้าหมายที่มีจำนวนน้อยหรือแยกออกจากลุ่มแล้ว และมีการวางระเบิดเพื่อตัดกำลังก่อนอีกด้วย ทั้งนี้ จ.ปัตตานี ยังคงเป็นพื้นที่ซึ่งมีการก่อเหตุสูงสุดเช่นเดิม
อนึ่ง มาตรการที่ไร้หลักเกณฑ์และมุ่งเอาใจเฉพาะมลายูอิสลามอย่างต่อเนื่องและไร้ความเป็นธรรมอย่างยิ่ง ดูเหมือนจะเริ่มกดดันให้ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐโดยเฉพาะ ศอ.บต. จำต้องเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องและเรียกร้องความเป็นธรรมอย่างเป็นรูปธรรมบ้างแล้ว อาทิ กลุ่มครูกรณีการไม่ได้รับค่าเยียวยาอย่างเป็นธรรม กลุ่มชาวบ้านซึ่งไม่ต้องการให้มีการถอนทหารพรานตามแรงกดดันของกลุ่ม ngo ซึ่งอ้างตัวว่าเป็นมลายูอิสลาม ขณะเดียวกันก็ดูเหมือนว่า การป้องปรามการเคลื่อนไหวก่อเหตุของแนวร่วม ด้วยการตรวจค้น/จับกุมถี่ขึ้นและมีประสิทธิผลมากขึ้นอย่างผิดสังเกตุ
แนวโน้มของสถานการณ์ ความรุนแรงการก่อเหตุมากน้อยขึ้นอยู่กับท่าที่รัฐบาลและการปฏิบัติของ จนท.ในพื้นที่ แต่ที่สำคัญคือ ผบ.ทบ.จะกล้าก้าวข้ามความหวาดกลัว ngo สั่งการให้ทหารปฏิบัติหน้าที่ปกป้องผู้บริสุทธิ์ได้หรือไม่ แต่ที่สำคัญกว่าคือจิตสำนึกของผู้บังคับบัญชาซึ่งคุมกำลังในพื้นที่ โดยเฉพาะแม่ทัพภาค ๔ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เชื่อว่าการก่อเหตุยังคงมีแนวโน้มที่ทรงตัวอยู่ในระดับ ๖๐-๗๐ เหตุการณ์ แต่สำหรับความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ที่ทำมาหากินกับความหายนะของ ๓+๑ จชต.น่าจะยังคงเป็นไปอย่างคึกคักต่อไปเนื่องจากจำนวนเงินเยียวยานั้นมีจำนวนที่มหาศาลคุ้มแก่การลงทุนลงแรง แม้จะมีสัญญาณของความขัดแย้งระหว่างผู้นำชุมชนและกลุ่ม ngo บ้างแล้วก็ตาม
ทั้งนี้เหตุการที่เชื่อว่าน่าจะนำมาเป็นเครื่องมือในการกดดันต่อรองเงินเยียวยาจากรัฐ ได้แก่ ๑.กรณีการเสียชีวิตของนายฮัสซัน มามะ อายุ ๑๖ ปี และ นายอับดุลเลาะ แวเยะ อายุ ๑๙ ปี เมื่อ ๑๘ เม.ย.๕๔ ในท้องที่ ต.ปุโลปะโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ๒.กรณีการเสียชีวิตของนายสุไลมาน แนซา อายุ ๒๕ ปี เมื่อ ๓๐ พ.ค.๕๓ ที่ ค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ๓. กรณีการเสียชีวิตและบาดเจ็บของ กลุ่มวัยรุ่นและชายฉกรรจ์ขณะกำลังเสพยาเสพติด เมื่อ ๒๒ ส.ค.๕๒ ในท้องที่ บ้านปาตาบาระ หมู่ ๑ ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ๔. กรณีการเสียชีวิตของผู้ที่ทำพิธีทางศาสนาในมัสยิดไอร์ปาแย เมื่อ ๘ มิ.ย.๕๒ ที่ ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ๕. กรณีการเสียชีวิตของอิหม่ามยะผา กาเซ็ง เมื่อ ๒๑ มี.ค.๕๑ (เยียวยาแล้วเป็นเงิน ๕.๒ ล้านบาท เมื่อ ๒๐ ก.ค.๕๔) ๖. กรณีการเสียชีวิตของนายอัสฮารี สะมะแอ จากท้องที่ ต.สะเอะ อ.กรงปินัง จ.ยะลา เมื่อ ๒๒ ก.ค.๕๐ (เยียวยาแล้ว) ๗.กรณีการเสียชีวิตและบาดเจ็บของเด็กและเยาวชน ๕ ราย ที่ ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี เมื่อ ๑๓ เม.ย.๕๐ (เยียวยาแล้ว) ๘.กรณีการเสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมและเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมที่หน้า สภ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อ ๒๕ ต.ค.๔๗ (เยียวยาแล้วเป็นเงิน ๔๗ ล้านบาท และคดีถึงที่สุดแล้ว) ๙.กรณีการเสียชีวิตของกลุ่มวัยรุ่นและชายฉกรรจ์ใช้มีดกับไม้โจมตีป้อมจุดตรวจนับสิบ แห่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วบางส่วนได้หลบหนีเข้าไปในมัสยิดกรือเซะ เมื่อ ๒๘ เม.ย.๔๗ (เยียวยาบางส่วนแล้ว)
การเคลื่อนไหวแย่งยื้อเงินเยียวยาของ ngo อิสลาม
กลุ่ม ngo ซึ่งเติบโตมาจากการทำมาหากินกับความหายนะของ ๓+๑ จชต.กำลังเข้ามาแสวงประโยชน์ด้วยการนำเหตุการณ์ ที่ บ.กาหยี ต.ปุโละปุโย ต.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อ ๒๙ ม.ค.๕๕ มาเป็นเครื่องมือทั้งในการรักษาบทบาทขององค์กรและทั้งนำสู่การต่อรองเรียกร้องเงินเยียวยาสำหรับเหตุการณ์ในอดีตอย่างคึกคัก อาทิ นาง...ที่ต่อรองให้รัฐจ่ายเงินเยียวยาให้กับสามีที่หายสาบสูญไป นาง...ที่ต่อรองรัฐจ่ายเงินเยียวยาให้กับบิดาที่เสียชีวิตในเหตุการณ์กรือเซะ นาง...ซึ่งมีลูกชายเป็นแกนนำในเหตุการณ์ตากใบ เพื่อต่อรองรัฐจ่ายเงินเยียวยาให้กับญาติที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ตากใบ
๑. กลุ่มซึ่งมีผลประโยชน์แอบแฝงที่จะนำเหตุการณ์ดังกล่าวมาเป็นเงื่อนไขนำร่องในการรุกคืบสู่การต่อรองรายได้จากการเยียวยา ๗.๕ ล้านบาท จากรัฐบาลให้กับตนเองและกลุ่ม
นาง... ประธานกรรมการมูลนิธิ... จับจองคดีผู้สูญหายที่ยังไม่พบศพ….“ การจ่ายเงินเยียวยาให้กับคนกลุ่มนี้ต้องพิจารณาให้ดี เนื่องจากจะกระทบจิตใจของผู้เสียหายมาก เช่นเดียวกับการดึงคนผู้นำในพื้นที่บางรายมาเป็นกรรมการเยียวยาต้องระมัด ระวังอย่างมาก เพราะบางคนทำตัวเป็น "โบรกเกอร์" เสียเองในหลายๆ กรณี ส่วนเรื่องค่าจัดการศพ ๒.๕ แสนบาทนั้น ต้องคิดต่อไปอีกว่า หากศพถูกทำลายหรือไม่เจอศพจะได้รับเงินเยียวยาด้วยหรือไม่ และเยียวยาเท่าไรจึงจะคุ้ม ”
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม นำโดยนาย...จับจองคดีนายรายู ดอคอ ที่บ้านเลขที่ ๕๑/๑ หมู่ที่ ๕ ตำบลรือเสาะ ซึ่งถูกจนท.นำตัวไปควบคุมตัวพร้อมกับอิหม่ามยะผา กาเซ็ง กับลูกและหลานของอิหม่ามยะผา รวมทั้งหมด ๗ คน ตั้งแต่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๑
นาง...จากเครือข่ายสตรีเหยื่อเหตุการณ์ตากใบ จังหวัดนราธิวาส จับจอง การเยียวยาจากเหตุการณ์ตากใบ ๒๕ ต.ค.๔๗ ได้คุกคามว่า ... “ เป็นไปไม่ได้ที่รัฐจะไม่ให้เงินเยียวยาญาติผู้สูญเสีย เพราะขั้นตอนหลักเกณฑ์ได้รับอนุมัติเรียบร้อยแล้ว บอกตรงๆ ถ้าไม่ให้ตามที่ประกาศต้องเป็นเรื่องแน่นอน อย่าลืมว่า ทุกฝ่ายเห็นตรงกันหมดว่าเหตุการณ์ตากใบกับกรือเซะ เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้สถานการณ์ชายแดนใต้ยืดเยื้อจนถึงวันนี้ ฉะนั้นรัฐบาลต้องเร่งปลดชนวน ”
นาง... อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนภาคใต้ กำลังปลุกระดมเครือญาติของผู้สูญเสียจากเหตุการณ์กรือเซะเมื่อ ๒๘ เม.ย.๔๗ ตากใบ ๒๕ ต.ค.๔๗ และไอร์ปาแย เมื่อ ๘ มิ.ย.๕๒ โดยคุกคามว่า “ญาติเหยื่อไฟใต้ทั้ง ๓ เหตุการณ์ไม่ได้รับเงินเยียวยาตามที่ตกลงกันไว้ คือ เท่าเทียมกับกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง โดยเฉพาะ คนเสื้อแดง ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องแน่…. วันนี้ญาติผู้สูญเสียเขาก็ฝันกันแล้วว่าจะได้รับเงินเยียวยา จะไปซื้อโอ่งมาเก็บเงินจะได้ปลอดภัย หากไม่ได้ต้องเป็นเรื่องแน่ .....” นอกจากนี้ยังได้ขยายบทบาทเข้าไปในเหตุการณ์ที่.....โดยการนำตัวแทนชาวบ้านจากหมู่ที่ ๗ ต.กำปงลูวา และ หมู่ที่ ๕ ต.วังกว้าง อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ยื่นหนังสือต่อผู้บัญชาการทหารบก เมื่อ ๑๐ ก.พ.๕๕ เพื่อกดดันให้ระงับการโยกย้ายกำลังพลของหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ ๔๘ ไม่ให้ออกนอกพื้นที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อื่น
๒. กลุ่มซึ่งเข้าไปแสวงประโยชน์เพื่อเสริมสร้าง/รักษาบทบาทขององค์กร
นาย... ประธานมูลนิธิ...จังหวัดปัตตานี นำโดย มูลนิธิ พร้อมทีมทนายความได้ เข้าจับจองคดีเหตุการณ์ ๔ ศพ ๔ บาดเจ็บที่ บ.กาหยี ต.ปุโละปุโย ต.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อ ๒๙ ม.ค.๕๕ โดยได้ ไปติดต่อ เพื่อชี้นำการเรียกร้องค่าเยียวยาจากรัฐ กับญาติผู้เสียชีวิตที่ ม.๑ หมู่บ้านตันหยงปูโล๊ะ ต.ปูโล๊ะปูโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ตั้งแต่ ๒ ก.พ.๕๕
สื่อสถาบันอิศรา ได้นำการแสดงความเห็นของngo อิสลามมาลงตีพิมพ์ในบทความต่างๆ นอกจากเพื่อสรุปว่าภาครัฐต้องให้ค่าชดเชยแก่ผู้สูญเสียมลายูอิสลามในเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งใน ๓ จชต. แล้ว ยังนำเสนอปัญหาที่จะตามมาจากการจ่ายเงินชดเชยซึ่งเชื่อว่าชาวบ้านคงได้ไม่ถึง ๗.๕ ล้านบาท อาทิ บทความ สำรวจ"คดีคาใจ"ชายแดนใต้...แนะรัฐปลดเงื่อนไข "รื้อ-เร่ง-เยียวยา" เมื่อ ๑ ก.พ.๕๕ บทความ คลอดเกณฑ์เยียวยาใต้ "ตาย-สูญหาย" ๗.๕ ล้าน ขังฟรีจ่าย ๓ หมื่น เมื่อ ๓ ก.พ.๕๕ บทความ เคลียร์ปมสงสัยเยียวยาเหยื่อไฟใต้...ถึงไหน เท่าไหร่ อย่างไร เมื่อ ๕ ก.พ.๕๕ บทความ เยียวยาใต้ไม่จบแค่ ๗ ล้านห้า...เผย ๗ ประเด็นปัญหา ชาวบ้านโวยหักเงินตั้ง"กองทุน" เมื่อ ๑๓ ก.พ.๕๕ บทความ สารพัดปัญหาเยียวยา...เคาะตัวเลขแล้วใช่ว่าจะจบ เมื่อ ๑๕ ก.พ.๕๕
นาย... ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาสังคมคัดค้าน พ.ร.ก.การบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) เมื่อ ๖ ก.พ.๕๕ เรียกประชุมเครือข่าย เพื่อวางแผนขับเคลื่อนกดดันให้เจ้าหน้าที่รัฐรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่ บ.ตันหยงบูโละห์ ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก เมื่อ ๒๙ ม.ค.๕๕ และรณรงค์ให้ยกเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘
เครือข่าย นศ.ใต้ ชุมนุมประณาม ประกอบด้วยเครือข่ายเยาวชนนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (คพช.) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (สนมท.)เมื่อ ๑ ก.พ.๕๕ ได้ชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อประณามการกระทำของ จนท.ที่ไม่รอบคอบในการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ
นัยและสถิติการก่อเหตุ
การก่อเหตุในช่วง ๑-๒๙ ก.พ.๕๕ เท่าที่รวบรวมได้สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุรวมทั้งสิ้น ๖๐ เหตุการณ์ ซึ่งเป็นสถิติที่เพิ่มขึ้นจาก ๔๙ เหตุการณ์ของเหตุการณ์ในช่วงเดียวกันของ ม.ค.๕๕ ทั้งนี้ จ.ปัตตานี ซึ่งการก่อเหตุเจาะจงต่อเป้าหมายไทยพุทธ และเริ่มขยายออกไปยังบุคลากรทางการแพทย์ มีการก่อเหตุสูงสุด ๓๐ เหตุการณ์ โดย อ.ยะรัง อ.หนองจิก อ.ปะนาเระ และ อ.กะพ้อ มีการก่อเหตุสูงสุดพื้นที่ละ ๔ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.มายอ ๓ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.นราธิวาส ซึ่งส่วนใหญ่ลอบยิงเป้าหมายอิสลามปนและจนท.ทหาร มีการก่อเหตุรวม ๒๑ เหตุการณ์ ทั้งนี้ อ.บาเจาะ มีการก่อเหตุมากที่สุด ๕ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.ระแงะ ๔ เหตุการณ์ ส่วน จ.ยะลา ซึ่งการก่อเหตุส่วนใหญ่เป็นการลอบวางระเบิด จนท.ทหาร มีการก่อเหตุรวมทั้งสิ้น ๘ เหตุการณ์นั้น อ.รามัน อ.เมือง อ.บันนังสตา และ อ.ยะหา มีการก่อเหตุพื้นที่ละ ๒ เหตุการณ์ สำหรับ ๔ อำเภอของ จ.สงขลา มีรายงานการก่อเหตุ ๑ เหตุการณ์ ที่ อ.สะบ้าย้อย โดยเป้าหมายอยู่ที่ชีวิตและทรัพย์สินของไทยพุทธ
ทั้งนี้ การก่อเหตุทั้ง ๖๐ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๓๙ เหตุการณ์ รองลงมาคือ การลอบวางระเบิด ๑๒ เหตุการณ์ การขว้างระเบิด/กราดยิงฐานและที่มั่นรวมทั้งชุดลาดตระเวน/รปภ.ทหาร ๔ เหตุการณ์ การก่อกวน ๓ เหตุการณ์ และการเผา ๒ เหตุการณ์ โดยคนไทยพุทธมีการสูญเสีย ๔๘ ราย แยกเป็นการเสียชีวิต ๗ ราย และบาดเจ็บ ๔๐ ราย ขณะที่อิสลามมีการสูญเสียรวม ๓๘ ราย แยกเป็นการเสียชีวิต ๑๘ ราย และบาดเจ็บ ๒๐ ราย
ข้อพิจารณา
๑. การก่อเหตุในช่วง ๑-๒๙ ก.พ.๕๕ มีลักษณะของการพยายามเพิ่มสถิติ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าเป็นการแก้แค้นให้กับมลายูอิสลามที่เสียชีวิตและบาดเจ็บในเหตุการณ์ ที่บ.กาหยี ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อ ๒๙ ม.ค.๕๕ แต่ดูเหมือนจะยังไม่ได้ผลเท่าที่ควรเนื่องจากสถิติเพิ่มขึ้นได้เพียง ๑๑ เหตุการณ์ เท่านั้น อีกทั้งยังมีความผิดพลาดทำให้มลายูอิสลามเสียชีวิตและบาดเจ็บมากกว่าไทยพุทธในการลอบวางระเบิดที่หน้าสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ถ.สฤษดิ์ ต.สะบารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี เมื่อ ๙ ก.พ.๕๕ นอกจากนี้ยังพบว่าการก่อเหตุส่วนใหญ่คือ ๔๘ เหตุการณ์มุ่งกระทำต่อ soft targets จากการก่อเหตุทั้งหมด ๖๐ เหตุการณ์ ขณะที่การก่อเหตุต่อ hard targets ๑๔ เหตุการณ์นั้น มีลักษณะของการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและป้องกันการสูญเสียด้วยการเลือกเป้าหมายที่มีจำนวนน้อย การกราดยิงและหลบหนี หรือ ลอบวางระเบิดก่อนแล้วเข้าซ้ำทีหลัง
๒. การก่อเหตุอย่างเจาะจงมาที่เป้าหมายและสัญลักษณ์ของความเป็นไทยพุทธ อาทิ
- เมื่อ ๒ ก.พ.๕๕ คนร้ายยิงนายวชิระ จันทร์ทิตย์ อายุ ๓๖ ปี ที่อยู่ ๒๓/๒ ม.๒ ต.เกาะละท้อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เสียชีวิต ขณะขับขี่รถยนต์กระบะเพื่อส่งน้ำมัน โดยที่นายนัสรี บือราเฮง อายุ ๑๕ ปี และนายมาหามะซูปิยัง เต๊ะ ซึ่งนั่งมาด้วยกลับไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด
- เมื่อ ๒ ก.พ.๕๕ คนร้ายเจาะจงจ่อยิงนางสาวปิยะณัฐ์ ชูปาน อายุ ๓๒ ปี พนักงานราชการ ฝ่ายธุรการ อบต.แป้น อ.สายบุรี จากจังหวัดพัทลุง แต่สอบทำงานได้ที่ อบต.แป้น อ.สายบุรี โดยเช่าบ้านอยู่ที่บ้านปาลัส อ.มายอ เสียชีวิตในเวลาต่อมา ท่ามกลางชาวบ้านที่มาจับจ่ายตลาดเป็นจำนวนมาก ในบริเวณตลาดนัดในหมู่บ้าน บ้านตาแปะ ม.๓ ต.ลางา อ.มายอ
- เมื่อ ๑๘ ก.พ.๕๕ คนร้ายไม่ทราบกลุ่มและจำนวน ได้ใช้ผ้าจีวรเก่าของพระสงฆ์ และเสื่อพลาสติกชุบน้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ลอบวางเพลิงเผาอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกตีเต ซึ่งตั้งอยู่ภายในรั้ววัดบางปอ หมู่ ๒ ต.บางปอ อ.เมืองนราธิวาส เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่บริเวณบอร์ดป้ายประกาศ และชั้นวางรองเท้า ที่ตั้งอยู่หน้าประตูทางเข้าของอาคาร ทั้งนี้ ที่เกิดไฟลุกไหม้ขึ้นนั้น กลุ่มชาวบ้านที่เดินผ่านมา เพื่อไปกรีดยางพาราในสวนด้านหลังวัด ได้ช่วยกันดับไฟไว้ได้ แต่หลังจากนั้นคนร้ายคาดว่าน่าจะเป็นกลุ่มเดียวกัน ได้หวนย้อนกลับมาลอบวางเพลิงในจุดเดิมอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ ๒ แต่ก็มีกลุ่มชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งที่เดินผ่านมาเพื่อไปกรีดยางพารา ได้ช่วยกันดับไฟไว้ได้ทันเช่นกัน
๒. แนวร่วมได้หันมาก่อเหตุกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ จ.ปัตตานี
เมื่อ ๙ ก.พ.๕๕ คนร้ายลอบวางระเบิดคาร์บอมที่หน้าสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ถ.สฤษดิ์ ต.สะบารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี เป็นเหตุให้รถยนต์ที่ผ่านมาและที่จอดไว้ใกล้ที่เกิดเหตุเสียหาย๑๑ คัน รถจักรยานยนต์จำนวน ๓ คัน รวมทั้งอาคารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีและรั้วด้วย อีกทั้งมีผู้เสียชีวิต ๑ ราย และบาดเจ็บจำนวน ๑๔ ราย
เมื่อ ๙ ก.พ.๕๕ คนร้ายยิงว่าที่ ร.ต.สมาน มะแซ อายุ ๔๒ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑/๒ ม.๕ ต.กระเสาะ อ.มายอ จ.ปัตตานี (ห้วหน้าสถานีอนามัยตำบลถนน) เสียชีวิตที่บ้านซึ่งเปิดเป็นคลินิกและร้านขายยาแผนปัจจุบัน
๓. การก่อเหตุอันเกิดจากปัญหายาเสพติดเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น ดังเช่น กรณีของการไล่ยิงกันที่อ.ปะนาเระ ๓ เหตุการณ์คือ เหตุการณ์ยิงไทยพุทธสามี-ภรรยา ที่ บ.ท่าสู ต.น้ำบ่อ เมื่อ ๑๔ ก.พ.๕๕ การยิงอิสลามที่ ม.๒ ต.น้ำบ่อ เมื่อ ๑๖ ก.พ.๕๕ และการยิงอิสลามซึ่งเป็นรองนายก อบต.บ้านนอก ที่ม.๓ ต.ควน นั้น เชื่อว่านอกจากเหตุการณ์แรกแล้ว อีก ๒ เหตุการณ์ น่าจะเป็นการฉวยโอกาสจากสถานการณ์กำจัดคู่แข่งขัน/คู่ขัดแย้ง จากการค้ายาเสพติด เนื่องจากนายหามะรอสือดี ดอเลาะ เคยถูกจับคดียาเสพติดมาก่อนแต่ใช้อิทธิพลประกันตัวออกไปเช่นเดียวกับรองนายกอบต.อาหามะรอฮีมิง มะเมะ ซึ่งพบว่ามีพฤติกรรมพัวพันการค้ายาเสพติดในพื้นที่
การเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรม
มาตรการที่ไร้หลักเกณฑ์และมุ่งเอาใจเฉพาะมลายูอิสลามอย่างต่อเนื่องและไร้ความเป็นธรรมอย่างยิ่ง ดูเหมือนจะเริ่มกดดันให้ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐโดยเฉพาะ ศอ.บต. จำต้องเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องและเรียกร้องความเป็นธรรมอย่างเป็นรูปธรรมบ้างแล้ว อาทิ กลุ่มครูกรณีการไม่ได้รับค่าเยียวยาอย่างเป็นธรรม กลุ่มชาวบ้านซึ่งไม่ต้องการให้มีการถอนทหารพรานตามแรงกดดันของกลุ่ม ngo ซึ่งอ้างตัวว่าเป็นมลายูอิสลาม
กรณีเงินเยียวยา ๗.๕ ล้านบาท การจ่ายเงินเยียวยาจำนวน ๗.๕ ล้านบาท/ราย ที่ไร้หลักเกณฑ์และไร้ความรับผิดชอบนอกจากจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง/แย่งชิงเงินในหมู่มลายูอิสลามแล้ว ยังสะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงใน ๓+๑ จชต. จนส่งผลให้เกิดความเคลื่อนไหวเรียกร้องขอความเป็นธรรมของผู้สูญเสียกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มครู ซึ่งเมื่อ ๑๙ ก.พ.๕๕ แกนนำชมรมครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กับแกนนำกลุ่มเครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบฯ ได้นัดหารือร่วมกันที่โรงแรมซี.เอส.ปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี เพื่อกำหนดแนวทางการเรียกร้องขอความเป็นธรรมกรณีเงิน เยียวยา ๗.๕ ล้านบาท แล้ว
กรณีการโยกย้ายทหารพราน การฉวยโอกาสจากเหตุการณ์ ที่ บ.กาหยี ต.ปุโละปุโย ต.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อ ๒๙ ม.ค.๕๕ กดดันให้มีการถอนทหารออกจากพื้นที่ ๓ จชต.ของกลุ่มที่อ้างตัวว่าเป็นมลายูอิสลาม ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จตามเคย ทำให้ชาวบ้านซึ่งอยู่ใต้การคุ้มครองของทหารพรานในหลายพื้นที่จำต้องออกมารวมตัวเรียกร้องไม่ให้มีการถอนทหารพราน ตัวอย่าง เมื่อ ๑๐ ก.พ.๕๕ ที่ผ่านมาชาวบ้านจำนวน ๖๐ คน ได้เดินทางมายื่นหนังสือให้กับผู้บัญชาการทหารบก ในโอกาสที่ท่านเดินทางลงมาตรวจเยี่ยมกำลังพล โดยเรียกร้องไม่ให้ย้ายกองร้อยทหารพรานที่ ๔๘ ออกจากพื้นที่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ต่อมาเมื่อ ๒๗ ก.พ.๕๕ ชาวบ้านเกาะหวาย อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ก็ได้มีการรวมตัวไปยังฐานปฎิบัติการทหารพราน ๒๒๑๒ เพื่อคัดค้านการสับเปลี่ยนกำลังออกนอกพื้นที่ และล่าสุดเมื่อ ๒๘ก.พ.๕๕ ก็ได้มีชาวบ้าน ๑๐ หมู่บ้านในพื้นที่ อ.บันนังสตา เดินทางไปพบผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ ๔๗ คัดค้านการสับเปลี่ยนหน่วยกำลังออกนอกพื้นที่เช่นกัน ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าว ยังทำได้เพียงให้แม่ทัพภาค ๔ จำต้องแบ่งรับแบ่งสู้ โดยการสั่งการให้ส่วนที่เกี่ยวข้องไปทบทวน ถ้าหน่วยใดสามารถคงอยู่ในพื้นที่เดิมได้ ก็ให้คงอยู่ หากมีความจำเป็นที่จะต้องย้ายสับเปลี่ยน ก็จะให้ไปทำความเข้าใจกับประชาชน
มาตรการป้องปรามการเคลื่อนไหวก่อเหตุ
การป้องปรามการเคลื่อนไหวก่อเหตุของ จนท.ด้วยการตรวจค้นและจับกุม ในช่วงรายงานดูเหมือนว่าจะมีความถี่ขึ้นและได้ผลขึ้นทั้งการกำจัดผู้ก่อเหตุและการยึดของกลางซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากผู้ที่ถูกจับกุมก่อนหน้าให้การสารภาพอันนำไปสู่การจับกุมและยึดของกลางได้ในเวลาต่อมา ที่สำคัญ อาทิ
- การตรวจค้นและจับกุมคนร้ายที่ บริเวณเทือกเขากุนุงจองนอง หมู่บ้านไอร์แตแต หมู่ ๕ ต.กาหลง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส หลังได้รับแจ้งจากชาวบ้านในพื้นที่ว่ามีกองกำลังติดอาวุธ กลุ่ม RKK มาหลบซ่อนตัวเพื่อวางแผนเตรียมก่อเหตุร้าย และได้มีการปะทะกับกลุ่มผู้ก่อเหตุ โดยแนวร่วมกองกำลังติดอาวุธถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญเสียชีวิต ๑ ราย เบื้องต้นยังไม่ทราบชื่อ และยึดของกลางได้จำนวนหนึ่ง เมื่อ ๒ ก.พ.๕๒
- การสอบสวนขยายผลจากนายอิบรอเฮ็ง ดอนา อายุ ๒๕ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๗๐/๒ บ้านบือแต ม.๘ ต.จะแนะ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส สมาชิกแนวร่วมกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง ระดับปฏิบัติการ ฝ่ายผลิตระเบิดและลอบวางระเบิดในพื้นที่ อ.จะแนะ จนสารภาพและซัดทอดเพื่อนที่ร่วมขบวนการอีกหลายคน และยอมรับว่า ยังได้ซุกซ่อนอุปกรณ์ผลิตระเบิดไว้ที่บ้านพักอีกจำนวนมาก ทำให้จนท.ทหารสามารถยึดอุปกรณ์ผลิตระเบิดจำนวนมากซึ่งซุกซ่อนในบ้านพักและฝังอยู่ ประกอบด้วย,ท่อ พีวีซี.กว้าง ๔ นิ้ว ยาว ๑.๕๖ ซม.,กระสุนปืน .๓๘ จำนวน ๘ นัด,กระสุนปืน ๑๑ มม.จำนวน ๑๔ นัด,กระป๋องแก๊ส ๑ กระป๋อง,กาว ๒ ตัน ๑ ชุด,ถ่านไฟฉาย ๘ ก้อน,ซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือ ๓ ซิม,สายลำโพง ๑ ชุด,รางกระสุน ๒ อัน จึงได้ยึดไว้ พร้อมประสานให้เจ้าหน้าที่ นิติวิทยาศาสตร์มาตรวจดีเอ็นเอของกลุ่มคนร้ายในกลุ่มนี้แล้ว เมื่อ๑๘ ก.พ.๕๕
- การตรวจค้นพื้นที่ บ้านเลขที่ ๑๒๖ ม.๓ ต.ศรีสาคร อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส เมื่อ ๑๘ ก.พ.๕๕จนเกิดปะทะกับกลุ่มคนร้าย ซึ่งอยู่ภายในบ้านเลขที่ดังกล่าว ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารได้รับบาดเจ็บ จำนวน ๑ นายคือ ส.อ.นพรัตน์ แสงเรืองเดช อายุ ๓๓ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๑๑/๓๙๗ ม.๑ ต.บึงยี่โถ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี กระสุนถูกบริเวณลำคอ ส่วนคนร้ายเสียชีวิต จำนวน ๑ ราย คือนายอับดุลรอแม เจ๊ะแน อายุ ๕๕ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๖๘/๑๐ ม.๖ ต.ศรีสาคร อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส และสามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยไว้ได้อีก ๓ คน คือนายรุสลัน ยือแมง อายุ ๓๔ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๓๘ ม.๕ ต.ราตาปันยัง อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี นายรอกิ เจ๊ะโซ๊ะ อายุ ๒๓ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๒/๒ ม.๒ ต.สามัคคี อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส และนายอากือบา เจ๊ะแน อายุ ๓๘ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๒๔/๔ ม.๖ ต.ศรีสาคร อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส
- การสอบสวนขยายผลจากนายหัมดี โตะลูโบะ อายุ ๒๗ ปี สมาชิกกลุ่มก่อเหตุรุนแรงระดับปฏิบัติการกลุ่มของนายฮามดี สะอะ หัวหน้ากองกำลังติดอาวุธที่เคลื่อนไหวก่อเหตุอยู่ในพื้นที่ ซึ่งทำให้สามารถตรวจยึดอุปกรณ์ยังชีพ เครื่องสนามได้เป็นจำนวนมาก จากการตรวจค้นพื้นที่ หมู่ที่ ๒ บ้านกูเบ ต.ยะลา อ.เมือง จ.ยะลา เมื่อ ๒๒ ก.พ.๕๕
- การตรวจค้นพื้นที่ บ้านปูลาสะนอ หมู่ ๓ ต.จะกว๊ะ จนเกิดการปะทะกัน แต่สามารถวิสามัญนายมะซาอูตี สาแม แกนนำกลุ่มติดอาวุธระดับสั่งการ สังกัดกลุ่ม นายมักตาร์ แวอาแซ หัวหน้าอาร์เคเค (หน่วยรบขนาดเล็กที่ผ่านการฝึกรบแบบจรยุทธ์) อายุ ๓๗ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๙ หมู่ ๓ ต.จะกว๊ะ ได้ นอกจากนี้ยังได้ควบคุมตัว นายตามีซี บากา อายุ ๓๕ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๔ หมู่ ๖ ต.สามัคคี อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ซึ่งซ่อนตัวอยู่ในบ้านเลขที่ ๘/๖ หมู่ ๓ ต.จะกว๊ะ ไว้อีกด้วย เมื่อ ๒๘ ก.พ.๕๕
มาตรการซื้อใจอิสลามของหน่วยงานรัฐ
รัฐบาลยังคงซื้อใจอิสลามอย่างมุ่งมั่นและต่อเนื่อง โดยเฉพาะ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ผอ.ศอ.บต. ซึ่งหลังจากเสนอเพิ่มเงินให้กับผู้นำศาสนา–มัสยิด รวมทั้งผลักดันการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ที่มีส่วนพัวพันกับการก่อเหตุแล้ว ในช่วงรายงานยังพยายามที่จะเพิ่มโควต้าให้มลายูอิสลามไปพิธีฮัจย์ อีก ๒๐๐ คน
ศอ.บต.ถกแนวทางสนับสนุนร่วมพิธีฮัจย์ ขอโควต้าเพิ่มอีก ๒๐๐ คน
… วันนี้ (๒๒ ก.พ.) ที่ห้องประชุมปฏิบัติการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อ.เมือง จังหวัดยะลา พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการส่งเสริมฮัจย์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามพระราชบัญญัติการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๙ (๑๑) ซึ่งกำหนดให้ ศอ.บต.มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหาให้แก่คนไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เดินทางไป ประกอบพิธีฮัจย์ ณ ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย โดยมีตัวแทนจากกรม ศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ผู้ประกอบการฮัจย์ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือ
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า ศอ.บต. ภายใต้ความร่วมมือของทุกฝ่าย ปัญหาและอุปสรรคในการส่งเสริมกิจการฮัจย์ จะได้รับการแก้ไขปัญหาให้หมดไป เพื่อผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ และปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ …. ซึ่ง ศอ.บต. พร้อมที่จะดำเนินการอย่างดีที่สุดโดยจะสรุปผลการดำเนินงานเรื่องที่ผ่านมา เป็นบทเรียน …. ศอ.บต.จะดำเนินการขอโควต้าพิเศษอีกจำนวน ๒๐๐ คน นอกเหนือจากโควต้าปกติที่ทางประเทศซาอุดิอาระเบียให้มา เพื่อที่จะให้โอกาสกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้
............................................
|