สรุปสถานการณ์ ๓ + ๑ จชต. ๑ – ๓๑ ม.ค.๕๓
ขณะที่การก่อเหตุที่โหมสุดตัว เมื่อ ธ.ค.๕๒ เริ่มอ่อนแรงลง ดังจะเห็นจากความถี่ในการก่อเหตุเท่าที่รวบรวมได้ลดลงเหลือ ๕๙ เหตุการณ์ เมื่อเทียบกับ ๙๐ เหตุการณ์ ในช่วงเดียวกันของ ธ.ค.๕๒ และการหันมาก่อเหตุที่มุ่งกระทำต่อเป้าหมายที่อ่อนแอเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะต่อครอบครัวไทยพุทธระหว่าการเดินทาง ซึ่งเกิดติดๆกันในช่วงกลางเดือน ส่งผลให้คนไทยพุทธใน ๓ จชต.ที่มีอยู่เพียงประมาณ ๑๐ % ของประชากรทั้งหมดใน ๓ จชต.สูญเสียมากกว่าอิสลาม โดยจ.ปัตตานี มีการก่อเหตุสูงสุด ๓๔ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.นราธิวาส ๑๔ เหตุการณ์ จ.ยะลา ๙ เหตุการณ์ และจ.สงขลา ๒ เหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม กระบวนการปลุกเร้าความเข้มข้นของมลายูอิสลาม และการแยกพุทธแยกอิสลามออกจากกันของทั้งนักการเมือง สื่ออิสลาม กลุ่มทุนอิสลาม กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า NGO และ องค์กรนักศึกษา นำโดย สถาบัน ...และ มอ .... กลับชัดเจนขึ้นตามลำดับ อันเป็นการต่อยอดจากการปูกระแสแยกการปกครอง ๓ จชต./นครรัฐปัตตานี ซึ่งสนับสนุนโดยสถาบัน ...ที่ขณะนี้ได้เสนอให้ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาท้องถิ่นของชาติไทยต่อราชบัณฑิตยสภาแล้ว
สำหรับการเคลื่อนไหวของรัฐบาล และพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลสรุปได้ว่ายังคงพยายามทำความพอใจให้กับคนส่วนใหญ่ใน ๓ จชต.อย่างไม่ลดละ นอกจากการพยายามเสนอเพิ่มเงินอุดหนุนให้กับสถาบันการศึกษาอิสลามโดยใช้งบประมาณเพิ่มประมาณ ๒,๐๔๖ ล้านบาท แล้วยังมีการสั่งการให้ลดกำลังพลในพื้นที่ลง การเตรียมนำมาตรา ๒๑ ของพ.ร.บ.ความมั่นคง ฯ มาใช้เพื่อเปิดทางให้แนวร่วมเข้ามอบตัวโดยไม่มีการลงโทษ และการเสนอร่างพระราชบัญญัติการใช้กฎหมายอิสลามฯ ขณะที่การตรวจค้น จับกุมของ จนท.ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสัมฤทธิ์ผล แม้จะเป็นการดำเนินการหลังการก่อเหตุก็ตาม จนส่งผลให้รัฐบาล เมื่อ ๑๙ ม.ค.๕๓ จำต้องยอมขยายเวลา การใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกไปอีก ๓ เดือน ตั้งแต่ ๒๐ ม.ค.-๑๙ เม.ย. ๕๓
แนวโน้มของสถานการณ์ เชื่อว่าการเคลื่อนไหวก่อเหตุยังถูกจำกัดด้วยมาตรการตรวจค้นและจับกุมตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ยังคงต้องมีอยู่อย่างต่อเนื่องจากการที่กฏหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถจับกุม/คุมขังกลุ่มผู้ก่อเหตุได้ และการก่อเหตุจะแรงขึ้นเป็นช่วงๆเฉพาะกิจ เท่านั้น ส่วนระดับความรุนแรงในการก่อเหตุจะมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับจนท.ผู้ปฏิบัติในพื้นที่เป็นสำคัญ
สิ่งที่ต้องพึงตระหนักอย่างยิ่ง ก็คือความพยายามยัดเยียดบทบาทของตนเองต่อสังคม ด้วยการนำเสนอและผลักดัน “การแยกการปกครอง/นครปัตตานี” ในการแก้ปัญหาความไม่สงบใน ๓ จชต.มาเป็นเครื่องมือหลอกล่อสังคมและคะแนนนิยมจากมลายูอิสลามของนักวิชาการ และนักการเมือง นอกจาก จะส่งผลกระทบต่อความพยายามอยู่ร่วมกันของคนพุทธและอิสลามใน ๓ จชต.แล้ว ที่สำคัญคือทุกชีวิตใน ๓ จชต.กำลังรอคอยวันที่จะมีการประกาศจัดตั้งรัฐปัตตานี” ซึ่งหมายถึงวันไร้อำนาจรัฐโดยสิ้นเชิง ดังนั้น ในหลายพื้นที่เริ่มมีการเตรียมการ การสะสมกำลัง รวมทั้งกองกำลังปกป้องตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคมของตนเอง อย่างเงียบๆ บ้างแล้ว ทั้งในกลุ่มอิสลามล้วน กลุ่มพุทธล้วน กลุ่มพุทธกับจีน และ กลุ่มพุทธกับอิสลาม กันแล้ว และอีกประการคือการให้กำลังทหารไทยพุทธรอการเข้าไปละหมาดของทหารอิสลาม ทำให้ทหารไทยพุทธกลายเป็นเป้านิ่งสำหรับการลอบทำร้ายโดยลำพัง
นัยและสถิติการก่อเหตุ
การก่อเหตุในช่วง ๑-๓๑ ม.ค.๕๓ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุ จำนวน ๕๙ เหตุการณ์ ลดลง ๓๑ เหตุการณ์ เมื่อเทียบกับการเกิดเหตุ ๙๐ เหตุการณ์ ในช่วง ๑-๓๑ ธ.ค.๕๒ ทั้งนี้ จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุ มากที่สุด ๓๔ เหตุการณ์ โดย อ.สายบุรี มีการก่อเหตุสูงสุด ๑๐ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.ยะรัง ๖ เหตุการณ์ ส่วน จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุ ๑๔ เหตุการณ์ โดย อ.บาเจาะ มีการก่อเหตุมากที่สุด ๔ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.รือเสาะ มีการก่อเหตุ ๓ เหตุการณ์ เท่ากัน ขณะที่ จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๗ เหตุการณ์ โดยเป็นการก่อเหตุใน อ.เมือง เกือบทั้งหมด ๕ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลา มีการก่อเหตุ เพียง ๒ เหตุการณ์ เท่านั้นที่ อ.เทพา ทั้งนี้การก่อเหตุทั้ง ๕๙ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๓๖ เหตุการณ์ รองลงมาคือ การวางระเบิด ๑๗ เหตุการณ์ การวางเพลิง/เผา ๕ เหตุการณ์ และการซุ่มโจมตี ๑ เหตุการณ์
ข้อพิจารณา
๑. การก่อเหตุจำนวน ๕๙ เหตุการณ์ พบว่ามีลักษณะคล้าย after shock หลังการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ครั้งแรกไปแล้ว เพื่อไม่ให้สถิติลดลงอย่างฮวบฮาบ
๒. การก่อเหตุมีลักษณะของของความพยายามที่จะก่อเหตุให้ได้อย่างอ่อนล้า จึงมุ่งเน้นมาที่ soft target เป็นสำคัญ โดยมีการโจมตีต่อ hard target เพียง ๑ เหตุการณ์ เท่านั้น นอกจากการลอบวางระเบิดแล้วหลบหนี
๓. การก่อเหตุมุ่งเน้นคนไทยพุทธที่ป้องกันตนเองไม่ได้โดยเฉพาะผู้ที่ใช้จยย.เป็นพาหนะเดินทางเป็นครอบครัว และผู้หญิง และอย่างโหดเหี้ยมเพื่อปกปิดความอ่อนล้า ส่งผลให้คนไทยพุทธเสียชีวิตและบาดเจ็บ เท่าที่รวบรวมได้ ๔๘ คน ขณะที่อิสลามเสียชีวิตและบาดเจ็บ รวม ๓๘ คน อาทิ
-การยิงนายดำรงค์ ลิ่มดำรง ขณะขี่จยย.อยู่บนถนนที่ หมู่ ๘ บ้านดือราแฮ ต.ตะลุโบะ อ.เมือง จ.ปัตตานี ทำให้นายดำรงค์และ นางสุดาภรณ์ ภรรยา ซึ่งยกมือไหว้ขอชีวิต จนเสียชีวิตทั้ง ๒ คน และราดน้ำมันจุดไฟเผาอย่างโหดเหี้ยมต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก เมื่อ ๑๔ ม.ค.๕๓
- การยิงครอบครัว นายภิรมย์ อนุรักษ์ ๔ คน ขณะขี่จยย อยู่บนถนนสาย ๔๒ ปัตตานี-นราธิวาส หมู่ ๓ ต.บางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ทำให้ นายภิรมย์ อนุรักษ์ เสียชีวิตและ ด.ญ.พัชรี กลางแก้ว อายุ ๑๑ ปี นักเรียนชั้น ป.๖ โรงเรียนเทศบาล ๒ บาดเจ็บสาหัส เมื่อ ๑๔ ม.ค.๕๓
ข้อสังเกตุ
กำลังผสมพุทธ อิสลาม มีทั้งผลดีและเสีย โดยส่วนเสียที่กำลังจะเห็นได้ชัดขึ้น คือการไทยพุทธต้องไปรอคอย อิสลามในการละหมาดอย่างเป็นเวลา ทำให้กลายเป็นเป้านิ่งในการถูกลอบยิงหรือการลอบวางระเบิด ดังเช่น กรณี การลอบวางระเบิดมีเหตุระเบิด ทหารไทยพุทธขณะรอทหารอิสลามเข้าไปละหมาด บริเวณบ้านปานแด ม.๒ ต.ปานัน อ.มายอ จ.ปัตตานี ที่ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน ห่างจากมัสยิดนีซอมุดดีน ประมาณ ๓๐ เมตร ทำให้ สอ.สราวุธ กุลธิกวด อายุ ๒๖ ปี ถูกสะเก็ดและแรงระเบิดตามร่างกายหลายแห่งเสียชีวิต ขณะนำส่งโรงพยาบาล ส่วนพลทหารศักรินทร์ เนียมนวล อายุ ๒๒ ปี และ พลทหารสันติ ศรีสัตมัน อายุ ๒๒ ปี ทั้งสามนายสังกัด ร้อย ร.๑๕๓๑๒ ฉก.ปัตตานี ๒๕ ถูกสะเก็ดระเบิดบริเวณลำตัวอาการสาหัส ขณะที่พลทหารซุลกีฟรี หมัน ซึ่งกำลังทำละหมาดอยู่ในมัสยิด ปลอดภัย เมิ่อ ๒๙ ม.ค.๕๓
การเคลื่อนไหวของแกนนำและsympathizer อิสลาม
กระบวนการปลุกเร้าความเข้มข้นของมลายูอิสลาม และการแยกพุทธแยกอิสลามออกจากกัน ชัดเจนขึ้นตามลำดับ ต่อยอดจากการปูกระแสแยกการปกครอง ๓ จชต./นครรัฐปัตตานี ของบรรดานักการเมืองและนักวิชาการซึ่งสนับสนุนโดยสถาบัน ... ซึ่งขณะนี้ได้เสนอให้ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาท้องถิ่นของชาติไทยต่อราชบัณฑิตยสภาแล้ว โดยในช่วงรายงาน นักการเมืองกำลังเร่งหาเสียงด้วยการเรียกร้องให้รัฐบาลมีการรื้อฟื้นเหตุกาณ์ในอดีตขึ้นมาทบทวนเพื่อซื้อใจอิสลาม ซึ่งก็ได้ผล ขณะที่สื่อก็พยายาม discredit จนท.เพื่อสร้างยอดขายต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เช่นเดียวกับนักวิชาการ/และนักศึกษาที่กำลังแข่งสร้างผลงาน ด้วยการต่อต้านนโยบายของรัฐโดยเฉพาะ พรก.ฉุกเฉิน พร้อมๆไปกับการปลุกกระแสชาตินิยมมลายูอิสลาม อย่างสอดคล้องกับการเร่งสร้างอาณาจักรธุรกิจอิสลามที่ส่งนัยแล้วว่าเพื่ออิสลามโดยเฉพาะ
- มอ.... ใช้สถาบันเป็นสถานที่ปลุกระดมและปลุกเร้าความเป็นมลายูอิสลามที่ต้องมีภาษาและการปกครองของตนเอง ผ่านการจัดเวทีสัมมนา และนิทรรศการ โดยในช่วงรายงานได้มีการจัดไปแล้ว ๑ ครั้ง ใช้ชื่อว่า มหกรรมสันติภาพชายแดนใต้ (Peace Southern Festival)ระหว่าง ๑๖-๑๗ ม.ค.๕๓ ร่วมกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ (สนน.จชต.)และ ชมรม STP สันติศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ และกำลังจะจัดครั้งที่ ๒ โดยใช้ชื่อว่า สัปดาห์เศรษฐศาสตร์และการจัดการในอิสลาม ครั้งที่ ๔ ระหว่าง ๒๗-๓๐ ม.ค.๕๓
- นาย ...รองประธานกรรมโครงการปัตตานี ... บริษัทฯ .. “… เสียงตอบรับจากพี่น้องมุสลิมในพื้นที่ดีมากๆ โดยกล่าวว่าอยากให้โครงการดังกล่าวนี้เกิดขึ้นโดยเร็ว … และนับเป็นโครงการที่ทำให้นักธุรกิจมุสลิมและทั่วไปในพื้นที่มีกำลังใจ มีพลังในการดำเนินธุรกิจต่อไป ...ในเร็วๆนี้ ทางโครงการ Pattani ... จะเริ่มมีการจ้างงานกว่า ๒๐๐อัตรา ทั้งนี้ ….มุสลิมผู้สนใจที่ต้องการทำงานที่จังหวัดปัตตานีก็ให้เตรียมเอกสาร ซึ่งในเร็วๆนี้ก็จะประกาศให้ทราบอย่างเป็นทางการ …”
- สถาบัน ... ยังคงพยายามที่จะ discredit จนท. อย่างต่อเนื่องผ่านบทความต่างๆ ได้แก่ บทความ “บ้านซือเลาะ ปลายทางของนายกฯ”...ต้นทางของสันติสุข เมื่อ ๘ ม.ค.๕๓ เพื่อชี้นำว่าทางการปรักปรำหมู่บ้านอิสลามว่าเป็นพื้นที่อันตราย บทความ ความผิดพลาดเชิงยุทธการ ความจริงที่ทหาร (อาจ) ไม่อยากฟัง เมื่อ ๑๐ ม.ค.๕๓ เพื่อชี้นำว่า แม้ความถี่ของการก่อเหตุลดลง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทหารสามารถคุมสภาพพื้นที่ได้ บทความ ย่างปีที่ ๗ ไฟใต้ (๑) เทียบสถิติเหตุรุนแรงลดลงจริงหรือ? เมื่อ ๑๓ ม.ค.๕๓ เพื่อจะชี้นำว่า สถานการณ์ใน ๓ +๑ จชต.ไม่ได้ดีขึ้น เพราะความถี่ในการก่อเหตุแม้ลดลง แต่ความ รุนแรงเพิ่มขึ้น บทความ “จับจังหวะผู้ต้องหายิงมัสยิดเข้ามอบตัว สอดรับแผนรัฐไทยรุกเคลียร์ใจโลกมุสลิม” เมื่อ ๑๕ ม.ค.๕๓ เพื่อจะชี้นำว่าการมอบตัวของผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อเหตุที่มัสยิดไอปาแย เป็นเพียงการจัดฉาก หลังจากมีการปกป้องมาตลอดเพราะผู้ต้องหาเป็นคนไทยพุทธ
- นาย ... ส.ส.สัดส่วน พรรค ปชป. ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วอร์รูมภาคใต้) “... นอกจากการคลี่คลายคดียิงมัสยิคอัลฟุรกอน ต.ไอปาแย แล้ว ตนยังขอให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ....รื้อฟื้นคดีสำคัญในอดีต เช่น คดีกรือเซะ คดีตากใบ ฯลฯ กลับมาดำเนินการอีกครั้ง ...ตนจึงอยากเสนอให้นำรายงานของคณะกรรมการอิสระสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์ที่กรือเซะและตากใบชุดที่มีนายจรัญ มะลูลีม ... ร่วมเป็นกรรมการอยู่ ....มาเป็นแนวทางในการดำเนินการ….”
- นาย ... เลขาธิการ สนนท. เมื่อ ๑๗ ม.ค.๕๓ “...ความไม่เป็นธรรมทั่วประเทศล้วนเกิดจากรัฐทั้งสิ้น .....สำหรับการประกาศใช้กฎอัยการศึกหรือกฎหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ตามนโยบายของรัฐ เพื่อลดความรุนแรงที่เกิดขึ้น หากบอกว่ารัฐดำเนินนโยบายมาถูกทางแล้วคงเป็นการโกหกโดยสิ้นเชิง ...เนื้อหามันมีแค่ว่า “ข้อที่หนึ่งทหารถูกทุกอย่าง ข้อที่สองหากทหารทำผิดให้ย้อนกลับไปดูข้อที่หนึ่ง….”
- นาย ... คณะกรรมการบริหาร สนน.จชต.กล่าว เมื่อ ๑๗ ม.ค.๕๓ ว่า “…..ประชาชนต้องอยู่กันเป็นกลุ่มก้อน ไม่เช่นนั้นก็จะถูกรังแกอีก …. เยาวชนในพื้นที่ควรตระหนักและจะเริ่มต่อสู้ด้วยตนเองไม่ใช่ให้คนอื่นมานำ….ทั้งนี้ก่อนตายก็ขอทำอะไรซักอย่างเพื่อสังคมของตนและขอให้คนหนุ่มสาวและพี่น้องประชาชนร่วมมือกัน เพื่อความสงบสุขของสังคม
- นางสาว ... อดีตประธานเครือข่ายนักศึกษาเยาวชนเพื่อสันติภาพ กล่าวเมื่อ ๑๗ ม.ค.๕๓ “..รัฐไม่เคยให้อำนาจแก่ประชาชนอย่างจริงจังและไม่เคยสนใจว่าประชาชนต้องการอะไร ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมารวมกัน เพราะว่าคนอื่นปกครองเรามานานเกินไปแล้ว .....และที่สำคัญคือถึงเวลาแล้วที่ต้องลุกขึ้นมาจับมือกัน….”
- พล.อ. ... ผู้อำนวยการศูนย์ ... สถาบันพระปกเกล้า กล่าวเมื่อ ๑๗ ม.ค.๕๓ ว่า “.....ชาวมลายูใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ก็ต้องสร้างความเข้มแข็งของตัวเองด้วย ต้องสร้างคุณค่าในอัตลักษณ์ของตัวเอง โดยการนำประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของตัวเองมาเรียงร้อยและนำเสนอออกสู่สาธารณะ….”
- นาย ... บรรณาธิการ ... บุกกาซีน กล่าว เมื่อ ๑๗ ม.ค.๕๓ ว่า “.....วันนี้ควรต้องมีอุทยานภาษาและวัฒนธรรมมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แล้ว อย่างเช่นในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีแห่งนี้ โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาที่ต้องเป็นผู้ผลักดันในเรื่องนี้ ”
การซื้อใจหาเสียงจากอิสลาม
หลังจากที่นายวีรวัฒน์ วรรณศิริ อุปนายกสมาคมสภาการศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย เสนอขอให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามของมัสยิด หรือมูลนิธิ ซึ่งได้รับเงินอุดหนุนสามารถเก็บค่าธรรมเนียมอื่นได้ ขอเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวแก่นักเรียนในสถานศึกษาเอกชนอีก ๑๐% จากปัจจุบันที่รัฐให้การอุดหนุนอยู่ที่ ๗๐% เพิ่มเป็นอุดหนุน ๘๐%โดยใช้งบประมาณเพิ่มประมาณ ๒,๐๔๖ ล้านบาท และให้ทยอยอุดหนุนเพิ่มจนครบ ๑๐๐% ในอีก ๓ ปีข้างหน้า แล้วปรากฏว่ารัฐบาลก็ยังได้มีความพยายามทำความพอใจให้กับคนส่วนใหญ่ใน ๓ จชต. ต่อไปอย่างมุ่งมั่น อาทิ
เมื่อ ๗ ม.ค.๕๓ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งปรับนโยบายแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ให้ กอ.รมน.ลดกำลังพลในพื้นที่ โดยอ้างการใช้กำลังมากแก้ปัญหาได้ไม่ยั่งยืน ให้หันเน้นสร้างความเข้าใจและความไว้วางใจกับชาวบ้านแทน เมื่อ ๑๑ ม.ค.๕๓ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เตรียมนำมาตรา ๒๑ ของพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยอ้างเพื่อดึงบุคคลผู้หลงผิดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กลับมาเป็นแนวร่วมของรัฐบาล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการทำงานของภาครัฐ เมื่อ ๑๖ ม.ค.๕๓ นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว “ ....นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายคดีที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญและต้องการทำให้เกิดความชัดเจน มากที่สุด คือ คดีนายสมชาย นีละไพจิตร ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม โดยสั่งการให้ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นคนดูแล เพราะเป็นคดีที่เป็นตัวชี้วัดความรู้สึกของประชาชนมากในระดับหนึ่ง สามารถสร้างเป็นแรงผลักดันในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ ซึ่งขณะนี้ พล.ต.อ.ธานีได้เริ่มประชุมคณะทำงานแล้ว… เมื่อ ๒๗ ม.ค.๕๓ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ /อนุกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนในกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยองค์กรด้านการศาสนาอิสลามและศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสนอร่างพระราชบัญญัติการใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกและการพิจารณาคดี และการปรับปรุงการพิจารณาคดีในศาล รวมทั้งอำนวยความสะดวกความยุติธรรมนอกศาล และการให้มีศาลเฉพาะในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับครอบครัวมรดกด้วย ..จะมีการเสนอให้จัดตั้งสำนักงานศาลยุติธรรมใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา
............................................
|