สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต.
๑ - ๓๑ ก.ค.๕๒

          รูปธรรมความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองบางพรรคที่เสื่อมถอยลง โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและแม้กระทั่งในภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ฐานเสียงของพรรค ทำให้พรรคนั้นต้องทำทุกอย่างเพื่อยึดครองคะแนนเสียงของมลายูอิสลามใน ๓ จชต. ให้ได้โดยจะไม่คำนึงว่าจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือชีวิตและทรัพย์สินของคนกลุ่มน้อยไทยพุทธ หรือแม้แต่จะนำสู่การล้างแค้นระหว่างคนต่างเชื้อชาติและศาสนา ขณะที่การก่อเหตุก็ยังมีลักษณะที่ต้องการคงความรุนแรงไว้เพื่อเป็นพลังหนุนในการต่อรองผลประโยชน์ระหว่างแกนนำกับรัฐบาล แต่ยังไม่สามารถเพิ่มความถี่ขึ้นได้ เนื่องจาก จนท.ยังคงการป้องปรามไว้อย่างเหนียวแน่น
          อย่างไรก็ตาม พบว่าการเคลื่อนไหวของนักการเมืองอิสลามระดับชาติ ดูเหมือนจะแผ่วลงในลักษณะของการรอดูท่าทีของทหารกับรัฐบาลที่ดูเหมือนจะมีความขัดแย้งกันอยู่และเพื่อประเมินความได้เปรียบเสียเปรียบของตนเองหากพรรคการเมืองประสบความสำเร็จในการผลักดันให้ ๓ จชต.แยกการบริหารและการปกครองขณะที่กลุ่มองค์กรเอกชนกำลังเร่งใช้เงื่อนไขความหวาดระแวงและความร้าวฉานระหว่างพุทธกับอิสลาม โดยเฉพาะการเข้าไปแสวงผลประโยชน์จากเหตุการณ์ที่มัสยิดไอปาแย เพื่อสร้างอิทธิพลและคะแนนนิยมให้กับตนเองและองค์กรอย่างต่อนื่อง
          แนวโน้มของสถานการณ์ สรุปได้ว่าในสภาพที่ดูเหมือนว่าเสถียรภาพของรัฐบาลไม่ค่อยมั่นคงนักขณะที่คะแนนนิยมของพรรคการเมืองบางพรรคก็ดูเหมือนจะเสื่อมถอยลง จนหมดโอกาสที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้อีก หากมีการเลือกตั้งในอนาคต จะกดดันให้บางบางพรรคต้องรุกหนักในการซื้อใจอิสลามใน ๓ จชต. โดยมี ศอ.บต.ในทุกรูปแบบเป็นเครื่องมือสำคัญ ด้วยเหตุนี้ความรุนแรงในการก่อเหตุและการสูญเสียของคนไทยพุทธและอิสลามที่ไม่อยู่กับแนวร่วมจะมากน้อยเพียงใด จึงขึ้นอยู่กับความกล้าในการปฏิบัติงานของ จนท.ในพื้นที่เป็นสำคัญ

สถิติและนัยของการก่อหตุ
          สถิติการก่อเหตุ
          การก่อเหตุในช่วง ๑ – ๓๑ ก.ค.๕๒ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุ รวมทั้งสิ้น ๗๒ เหตุการณ์ ใกล้เคียงกับการเกิดเหตุ ๗๐ เหตุการณ์ ในช่วง ๑ – ๓๐ มิ.ย.๕๒ ทั้งนี้ จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุมากที่สุด ๓๕ (ก่อกวนเล็ก ๆ น้อย ๕ เหตุการณ์) โดย อ.มือง มีการก่อเหตุมากที่สุด ๑๑ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.หนองจิก ๕ เหตุการณ์ ส่วน อ.มายอและ อ.ยะรัง พื้นที่ละ ๔ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุ ๒๒ เหตุการณ์ โดย อ.รือเสาะ มีการก่อเหตุมากที่สุด ๗ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.ระแงะ ๕ เหตุการณ์ และ อ.เจาะไอร้อง ๓ เหตุการณ์ ส่วน จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๑๔ เหตุการณ์ โดย อ.รามัน มีการก่อเหตุมากที่สุด ๕ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.ยะหา ๓ เหตุการณ์ และ อ.บันนังสตา ๓ เหตุการณ์ สำหรับ จ.สงขลา ไม่ปรากฏรายงานการก่อเหตุ ทั้งนี้การก่อเหตุทั้ง ๗๒ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๔๒ เหตุการณ์ รองลงมาคือการวางระเบิด ๑๙ เหตุการณ์ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นการกระทำต่อ Hard Target การซุ่มยิง/ซุ่มโจมตี ๔ เหตุการณ์ และการก่อกวน ๓ เหตุการณ์
         สำหรับลักษณะการก่อเหตุใน ก.ค.๕๒ สรุปได้ว่า พยายามคงความรุนแรงหลักเลี่ยงการเผชิญหน้า และเน้นเป้าหมายคนไทยพุทธมากขึ้น
         ๑. การก่อเหตุ มีลักษณะของความพยายามคงความรุนแรงละหนักหน่วง เพื่อเป็นฐานพลังต่อรองให้กับแกนนำใช้อ่างประกอบ “การแยก ๓ จชต. ออกจากการบริหารและการปกครองของประเทศไทย มีความชอบธรรมมากขึ้น
         ๒. การลอบวางระเบิดซึ่งเกิดขึ้นนถึง ๑๙ เหตุการณ์ หากมีการโจมตีและซุ่มยิงวเพียง ๔ เหตุการณ์ แสดงให้เห็นว่าผู้ก่อเหตุพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการวางระเบิดเพื่อหลอกล่อให้ จนท.เข้าไปติดกับถูกระเบิดและถูกโจมตีซส้ำ ๓ เหตุการณ์ ได้แก่ การลอบวางระเบิดบนถนนสายโกตาบารู – ท่าเรือ ม.๓ ต.ยะต๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา เพื่อหลอกล่อให้ จนท.ถึง ๒ ชุดคือ ทหารชุดร้อย ร.๑๕๒๒๔ และ จนท. ตร สภ.รามัน เข้าไปตรวจสอบพื้นที่และจุดระเบิดและซุ่มโจมตี จนเป็นผลให้ทหารบาดเจ็บ ๔ นาย และบาดเจ็บสาหัส ๒ นาย เมื่อ ๗ ก.ค.๕๒ การลอบวางเพลิงอาคารเอนกประสงค์ที่ทำการกลุ่มทอผ้าของ อบต.ไทรทอง และกดระเบิดหลังจากทหารจากหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี ๒๖ และฝ่ายปกครองกลับจากการเข้าตรวจสอบพื้นที่ ทำให้ จนท.บาดเจ็บ ๔ นาย เมื่อ ๒๔ ก.ค.๕๒ และการยิงหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อหลอกล่อให้ จนท.ทหาร ร้อย ร.๑๕๑๒๒ ฉก.๓๘ ได้ไปตรวจสอบที่เกิดเหตุและซุ่มยิงขณะเดินทางกลับฐานปฏิบัติการที่ ม.๔ ต.บาโงสะโต อ.ระแงะ เป็นเหตุให้ จนท.ทหาร ได้รับบาดเจ็บ ๒ นาย เมื่อ ๓๐ ก.ค.๕๒
         ๓. การก่อเหตุ มีการมุ่งเป้าหมายมาที่ชาวบ้านไทยพุทธถี่ขึ้นผิดสังเกต ถึง ๘ เหตุการณ์ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต ๕ คน และบาดเจ็บ ๓ คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการยิงและเผา ๑ เหตุการณ์ ได้แก่ การยิงและเผานายประดิษฐ์ พงษ์มโนรมย์ ที่ ม.๑๐ ต.เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เมื่อ ๑๘ ก.ค.๕๒ และอีกเหตุการณ์ที่ท้าทายอย่างยิ่งได้แก่ การยิงใส่ฐานปฏิบัติการทหารร้อย ร.๔๕๐๖ กรมทหารพรานที่ ๔๕ ตั้งอยู่ในฟาร์มตัวอย่างโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ บ.กือธง ม.๓ ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง และเกิดการยิงปะทะกันนาน ๕ นาที เมื่อ ๑๐ ก.ค.๕๒

การป้องปรามการเคลื่อนไหวของแนวร่วม
         การป้องปรามการเคลื่อนไหวของแนวร่วมในช่วงเวลารายงานยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่ส่วนใหญ่ดูเหมือนจะเป็นการติดตามจับกุมหลังการก่อเหตุ ทั้งนี้ การตรวจค้นจับกุมที่สำคัญ อาทิ การปิดล้อม/ตรวจค้นที่ ม.๖ บ.ปากาจีนอ ต.ดอนรัก อ.หนองจิก ซึ่งสามารถจับกุมนายอับดุลรอเซาะ สุหลง อายุ ๔๕ ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดปัตตานี ที่ จ.๖๑๑/๑๕ ในคดีเกี่ยวข้องกับความมั่นคงและเป็นแกนนำระดับสั่งการขบวนการ RKK ได้เมื่อ ๒๒ ก.ค.๕๒ การตรวจค้นห้องเช่าไม่มีเลขที่ ถ.โรงเหล้า สาย ก. ต.สะบารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี ซึ่งวิสามัญคนร้ายได้ ๑ คน แต่ จนท.ตร.ได้รับบาดเจ็บ ๒ นาย เมื่อ ๒๕ ก.ค.๕๒ และต่อมาเมื่อ ๒๖ ก.ค.๕๒ ก็ได้เข้าล้อมตรงวจค้นที่ ม.๔ บ.คลองชาติ ต.นาเกตุ องโกโพธิ์ ซึ่งสามารถวิสามัญผู้ต้องสงสัยเสียชีวิต ๑ คน และจับกุมได้ ๒ คน ส่วน จนท.เสียชีวิต ๑ นาย

การเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและ sympathizer
         สถาบันอิศรา ลงบทความหลากหลายเพื่อจะโน้มน้าวให้เห็นว่า การคงไว้ซึ่งกำลังทหารและการต่ออายุ พรก.ฉุกเฉิน ฯ คือตัวเร่งการปลดปล่อยรัฐปัตตานี
         นักวิชาการ พยายามนำการก่อเหตุมาโน้มน้าวให้เห็นว่าต้องแก้ปัญหาด้วยการ จัดตั้งเขตปกครองพิเศษ
         นาย......ส.ว.ปัตตานี พยายามโน้มน้าวให้รัฐแสดงการยอมรับว่าอิสลามเป็นคนไทยด้วยการเข้าไปดำเนินการให้มีการใช้กฎหมายอิสลามอย่างเป็นระบบ
         นาย......นักสิทธิมนุษยชน ได้นำการที่ยังไม่มีการลงโทษผู้กระทำผิดในกรณีกรือเซะ สะบ้าย้อย ตากใบ และมัสยิดไอปาแย มาสรุปให้เห็นว่าอิสลามไม่ได้รับความเป็นธรรม พร้อมทั้งให้ความเห็นว่า กฎอัยการศึกและ พรก.บริหารสถานการณ์ฉุกเฉินให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากเกินไป
         นาย.....สนับสนุนให้แก้ปัญหาความรุนแรงใน ๓ จชต.ด้วยการแยก ๓ จชต.ออกไปเป็นเขตปกครองพิเศษ ให้คนในพื้นที่ดูแลกันเอง
         น.ส...... ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลอาญา เมื่อวันที่ ๒๙ มิ.ย.๕๒ ที่ไม่รับคำร้องให้เพิกถอนคำสั่งของศาลจังหวัดสงขลา กรณีไต่สวนการตายของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ตากใบ ทั้ง ๗๘ ราย ตานเพราะขาดอากาศหายใจ
         องค์กรเอกชนในพื้นที่ ๓ จชต. หลายองค์กรซึ่งหนึ่งในนั้นคือ องค์กรโครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคัมครองทางกฎหมาย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม โดยผู้ประสานงานยังคงเข้าไปแสวงผลประโยชน์จากเหตุการณ์ที่ไอปาแย สร้างบทบาทกับองค์กรโดยการจัดงาน “ระลึก ๔๐ วัน เหยื่อความรุนแรงที่มัสยิดอัลฟุรกอน ไอปาแย” ซึ่งมี พล.ต.ต.....ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ เป็นผู้ประสานงาน เมื่อวันที่ ๑๘ ก.ค.๕๒ ที่ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส โดยที่ชาวบ้านไม่ได้เห็นด้วยหรือรับรู้ต่อการเข้ามาแสวงประโยชน์ดังกล่าว

การซื้อใจอิสลามของรัฐบาล
         ๑. เมื่อ ๒๓ ก.ค.๕๒ ได้กำหนดขอบข่ายของการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก “การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ” ซึ่งจะใช้เฉพาะ ๓ ๑ จชต. โดยผู้ที่เสียชีวิต จะได้รับเงินช่วยเหลือตั้งแต่ ๒๐๐,๐๐๐ – ๔๐๐,๐๐๐ บาท
         ๒. การลงพื้นที่ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เพื่อเยี่ยมเยียนประชาชนของนาย...... รมช.มหาดไทย เมื่อต้น ก.ค.๕๒ ได้เลือกที่จะพักที่บ้านของนายนิมะ นิแว กำนัน ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง
         ๓. นาย .....รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าคดีคนร้ายยิงถล่มมัสยิดไอปาแย อ.เจาะไอร้อง โดยระบุชื่อและที่อยู่ของคนไทยพุทธที่ถูกออกหหมายจับไปแล้ว ๑ ราย ซึ่งหลังจากนั้น ปรากฏว่าคนไทยพุทธถูกลอบยิงถี่ขึ้น อาทิเมื่อ ๒๓ ก.ค.๕๒ คนร้ายใช้อาวุธสงครามกราดยิงใส่ ส.ต.ท.สุภาวดี ตั้งประสมสุข เสียชีวิตที่ ม.๓ ต.เกาะจัน อ.มายอ ต่อมาเมื่อ ๒๔ ก.ค.๕๒ ยิงนายทวัณ พุฒนิล บาดเจ็บขณะเดินอยู่บริเวณสวนยางพารา พื้นที่ บ.บึงน้ำใส ม.๕ ต.โล๊ะหะลอ อ.รามัน และยิงนายพิน ศรีรัตน์ เสียชีวิตที่ ม.๕ บ.โคกกูแว ต.พร่อน อ.ตากใบ และเมื่อ ๒๘ ก.ค.๕๒ ยิงนายโกศล เกษมสุข และนางผ่องศรี เกษมสุข ภรรยา เสียชีวิต ที่ ม.๙ ต.ปากล่อ อ.โคกโพธิ์ และยิงนายอนุพงษ์ สุวรรณนิตยฺ จาก ต.ยาบี เสียชีวิตที่ ม.๑ บ.มะพร้าวต้นเดียว ต.ลิปะสะโง อ.หนองจิก
         ๔. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อ ๒๙ ก.ค.๕๒ โดยในช่วงเช้าได้ไปที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เพื่อติดตามการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาความใม่สงบของฝ่ายความมั่นคง ซึ่งนายสุเทพได้พบปะกำลังพลสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ (อส.จชต.) จำนวน ๖๐๐ คน ซึ่งอยู่ระหว่างการอบรมหลักสูตรจัดตั้งและทดแทนสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี ๒๕๕๒ รุนที่ ๓
         โดยกองกำลัง อส.จชต.เหล่านี้ รัฐบาลได้สนับสนุนให้จัดตั้งในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ จำนวน ๑,๘๐๐ คน เพื่อปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยประจำหมู่บ้านจำนวน ๓๐๐ หมู่บ้าน หมู่บ้านละ ๖ คน เป็นกำลังหนุนเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร

                                               ............................................