สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต. ๑ - ๓๑ ก.ค.๕๕
การก่อเหตุในช่วงรายงานมีลักษณะของการแข่งกันทำสถิติ ซึ่งทำให้ทั้ง ๓ จังหวัดมีสถิติการก่อเหตุที่ใกล้เคียงกัน การฉวยโอกาสใช้ช่วงเวลาสำคัญทางศาสนาอิสลามแสดงนัยให้เห็นถึงความเป็นศัตรูกันของคนต่างเชื้อชาติและศาสนาอย่างรุนแรงด้วยการโจมตีทำลายล้างเป้าหมายที่เป็นสัญญลักษณ์ของความเป็นไทยพุทธ ไม่ว่าจะเป็นจนท.ทหาร คนไทยพุทธ สถานที่ราชการ ฐาน จุดตรวจ แหล่งทำมาหากินของคนไทยพุทธ ซึ่งเกิดขึ้นถึง ๕๑ เหตุการณ์ จากการก่อเหตุเท่าที่รวบรวมได้ทั้งหมด ๗๕ เหตุการณ์ รวมทั้งความพยายามแสดงศักยภาพข่มขู่ด้วยก่อเหตุกับ hard targets ถี่เป็นระยะถึง ๒๐ เหตุการณ์ ....ซึ่งการก่อเหตุดังกล่าวประกอบกับการประโคมข่าวการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ได้ก่อเกิดความตื่นตระหนกอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในรายละเอียดของการก่อเหตุทั้งหมดแล้ว จะพบว่าการก่อเหตุต่อไทยพุทธและจนท.ไทยพุทธที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักนั้น มีลักษณะของการ “ลอบกัด” เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าด้วยการลอบวางระเบิด แล้วหลบหนีไป ซึ่งเกิดขึ้นถึง ๒9 เหตุการณ์ จากการก่อเหตุทั้งหมด ๗๕ เหตุการณ์ อีกทั้งความสูญเสียในหลายเหตุการณ์ยังเกิดจากความประมาทของจนท. และความด้อยปัญญาและขาดจิตสำนึกของผู้บังคับบัญชาที่ไม่ได้สนใจปรับยุทธวิธีรับมือกับการโจมตีของแนวร่วมซึ่งส่งสัญญานความรุนแรงมาให้เห็นเป็นระยะอย่างเป็นรูปธรรม อีกด้วย
สถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มพลังอื่นใด ส่งผลให้แกนนำแนวร่วมและsympathizers อิสลามต้องชะลอการเคลื่อนไหวลง จะมีก็เพียงการเคลื่อนไหวประปรายโดยไม่ได้หวังว่าจะต้องได้ผลอย่างจริงจัง อาทิ การมารวมตัวชูป้ายเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าให้ความเป็นธรรมต่อโรฮิงญามุสลิม ของกลุ่มที่อ้างตัวเป็นนักศึกษาประมาณ ๒๐ คน เมื่อ ๒๓ ก.ค.๕๕ อย่างไรก็ตาม การจ่ายค่าเยี่ยวยาของรัฐบาลเพื่อเอาใจมวลชนเสื้อแดงที่ได้บานปลายมาจนถึงการเรียกร้องขอค่าเยี่ยวยาของกลุ่ม ngo ซึ่งเข้าไปแสวงประโยชน์ทำมาหากินในเหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓+๑ จชต. โดยเฉพาะนาง..... และนาง..... ได้นำสู่การเรียกร้องของผู้บริสุทธ์ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงเช่นกันอย่างต่อเนื่อง จากกลุ่มครู เมื่อ ๒๘ มิ.ย.๕๕ และล่าสุดจากกลุ่มชาวบ้านทั้งพุทธและอิสลามที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง เมื่อ ๑๗ ก.ค.๕๕
สำหรับความเคลื่อนไหวของจนท. ในช่วงรายงานดูเหมือนว่าจะให้ความสนใจในการป้องปรามการเคลื่อนไหวก่อเหตุของแนวร่วมมากขึ้น ซึ่งในหลายๆกรณีสามารถจับกุมและวิสามัญแนวร่วมได้ พร้อมๆไปกับการแสดงท่าทีให้ความสนใจอย่างเป็นนามธรรมกับความเป็นอยู่ของคนไทยพุทธมากขึ้น โดยการจัดโครงการให้คนไทยพุทธไปรวมตัวกันเล่าความทุกข์ให้กับจนท.ของกอ.รมน.ได้รับฟัง เมื่อ ๑๘ ก.ค.๕๕ ขณะที่รัฐบาลก็ยังคงพยายามแก้ไขปัญหาคว่ามรุนแรงใน ๓ จชต.ได้อย่างน่าขบขัน โดยเฉพาะการแก้ปัญหาด้วยเผยแพร่ภาษา“ยาวี”ออกโทรทัศน์ ทั้งๆที่มลายูอิสลามสามารถฟังภาษาไทยออกอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้แนวคิดดังกล่าวของรัฐบาลจึงเปรียบเสมือนของแถมหลังจากการเรียกร้องขอใฃ้ภาษามลายูถิ่นใน ๓ จชต.ประสบความสำเร็จไปนานแล้ว
แนวโน้มสถานการณ์ ยังคงยืนยันว่า หากไม่มีสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เชื่อว่าการก่อเหตุก็จะยังคงมีอยู่ต่อไปในลักษณะนี้ ทั้งนี้ความรุนแรง/ความสูญเสียจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงของแต่ละฝ่ายขึ้นอยู่กับ “การจัดการ”ของ“คนในพื้นที่” ในการที่จะเอาตัวเองรอดให้ได้ ตามภูมิปัญญาของแต่ละคน และจิตสำนึกของ จนท. เท่านั้น ปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นมาตรการใหม่ทั้งของรัฐบาล หรือหน่วยงานความมั่นคงซึ่งทำตามหน้าที่ไม่ใช่ด้วยจิตสำนึกและความตระหนัก ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อครรลองที่กำลังจะเป็นไป แต่อย่างใด
สิ่งที่ต้องพึงระวัง ความไม่ยืดหยุ่นของทหารที่ไม่สามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยเฉพาะการช่วยชีวิตคนบริสุทธ์ ด้วยเหตุผลที่ว่ายังไม่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา และการตั้งตัวอยู่ในความประมาทของทหาร จนทำให้ ชาวบ้านต้องออกมาเป็นผู้ปกป้องให้รอดพ้นจากการโจมตีของแนวร่วม กำลังทำให้ชาวบ้านเกิดความไม่พอใจและลดศรัทธาต่อความเป็น “ทหาร”ของทหารลงอย่างน่าวิตก นอกจากนี้ การออกข่าวแก้ตัวในทำนองว่าการก่อเหตุของคนร้ายเกิดจากการตอบโต้การป้องปรามของจนท.ได้ซึมซับเข้าสู่ความรู้สึกของชาวบ้าน จนทำให้ชาวบ้านไม่กล้าต่อสู้/ตอบโต้ แนวร่วมเพราะกลัวการกลับมาล้างแค้น สถิติและนัยของการก่อหตุ
การก่อเหตุในช่วง ๑-๓๑ ก.ค.๕๕ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุรวมทั้งสิ้น ๗๕เหตุการณ์ ซึ่งเป็นสถิติที่ลดลงจาก ๘๔ เหตุการณ์ของช่วงเดียวกันของ มิ.ย.๕๕ ทั้งนี้ จ. ยะลา ซึ่งมีการก่อเหตุรวมทั้งสิ้น ๒๖ เหตุการณ์ โดย อ.บันนังสตา มีการก่อเหตุมากที่สุด ๑๐ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.รามัน มีการก่อเหตุ ๗ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุ ๒๖ เหตุการณ์ เท่ากัน นั้น อ.โคกโพธิ์ ซึ่งมีคนพุทธมากที่สุดในจังหวัด มีการก่อเหตุ ๖ เหตุการณ์ อ.กะพ้อ ซึ่งมีคนพุทธน้อยที่สุดในจังหวัด และ อ.ยะหา มีการก่อเหตุ พื้นที่ละ ๓ เหตุการณ์ ส่วน จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุรวม ๒๒ เหตุการณ์ โดย อ.รือเสาะ และ อ.ระแงะ มีการก่อเหตุมากที่สุดพื้นที่ละ ๕ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.เจาะไอร้อง มีการก่อเหตุ ๔ เหตุการณ์ สำหรับ ๔ อำเภอของ จ.สงขลา มีการก่อเหตุ ๑ เหตุการณ์ ที่ อ.เทพา
ทั้งนี้ การก่อเหตุทั้ง ๗๕ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบวางระเบิด การยิง M ๗9 เข้ายังฐานที่มั่นทหาร สถานีตำรวจ และอาคารร้านค้าของไทยพุทธ ๒9 เหตุการณ์ การลอบยิงตัวบุคคล ๓๕ เหตุการณ์ การเผา ๕ เหตุการณ์ การก่อกวน และการโจมตีจุดตรวจและกำลังทหาร ประเภทละ ๓ เหตุการณ์ โดยคนไทยพุทธ(ทั้งชาวบ้านและจนท. มีการสูญเสีย ๘๖ ราย แยกเป็นการเสียชีวิต ๒๐ ราย และบาดเจ็บ ๖๖ ราย ขณะที่อิสลามมีการสูญเสียรวม ๔๓ ราย แยกเป็นการเสียชีวิต ๑๘ ราย และบาดเจ็บ ๒๕ ราย ทั้งนี้ไม่นับรวมผู้เสียชีวิต ๒ ราย และบาดเจ็บอีก ๑ ราย ที่ไม่สามารถระบุเชื้อชาติและศาสนาได้
ข้อพิจารณา
การก่อเหตุมีลักษณะของการแข่งกันทำสถิติ และฉวยโอกาสใช้ช่วงเวลาสำคัญทางศาสนาอิสลามแสดงนัยให้เห็นถึงความเป็นศัตรูกันของคนต่างเชื้อชาติและศาสนาอย่างรุนแรงด้วยการโจมตีทำลายล้างเป้าหมายที่เป็นสัญญลักษณ์ของความเป็นไทยพุทธ ไม่ว่าจะเป็นจนท.ทหาร คนไทยพุทธ สถานที่ราชการ ฐาน จุดตรวจ แหล่งทำมาหากินของคนไทยพุทธ และแสดงศักยภาพด้วยการก่อเหตุกับ hard targets ในช่วงเวลาใกล้ๆกัน ดังนี้
๑.การก่อเหตุมีลักษณะของการแข่งขันกันสร้างสถิติสร้างผลงาน จะเห็นจาก การก่อเหตุของทั้ง ๓ จังหวัด มีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน คือ จ.ปัตตานี และ จ.ยะลา พื้นที่ละ ๒๖ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุ ๒๒ เหตุการณ์
๒.การก่อเหตุเพื่อส่งนัยให้เห็นถึงการประกาศความเป็นศัตรูกับรัฐไทยผ่านการเข่นฆ่าและการทำลายล้างสิ่งที่เป็นสัญญลักษณ์ของความเป็นไทยในช่วงเวลาสำคัญทางศาสนาของตน ดังจะเห็นได้จากการก่อเหตุ ซึ่งเท่าที่รวบรวมได้ทั้งหมด ๕๑ เหตุการณ์นั้น เป็นการก่อเหตุกับเป้าหมายที่เป็นสัญญลักษณ์ของความเป็นไทยพุทธ ไม่ว่าจะเป็น ชาวบ้าน/ทหารไทยพุทธ อาคารสถานที่ของทางราชการหรือสถานประกอบธุรกิจของไทยพุทธ ถึง ๕๑ เหตุการณ์
๓.การก่อเหตุหลายเหตุการณ์ ซึ่งจะดูเหมือนได้สร้างความตระหนกตกใจและความสูญเสียมากกว่าในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่าการก่อเหตุนั้นๆยังคงมีลักษณะของการ“ลอบกัด”เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ด้วยการลอบวางระเบิดซึ่งเกิดขึ้นถึงเกิดขึ้นถึง ๒9 เหตุการณ์ จากการก่อเหตุทั้งหมด ๗๕ เหตุการณ์
๔.การก่อเหตุต่อ hard targets เพื่อประกาศศักดา แม้จะสร้างความสูญเสียอย่างหนักให้กับเป้าหมายก็ตาม แต่จะเห็นว่ายังคงเป็นวิธีที่การ “ลอบกัด” ทั้งนั้น ด้วยการลอบวางระเบิดตามเส้นทางผ่านของ จนท. หรือการยิง M ๗9 ระยะไกลไปยังฐาน หรือที่มั่นทหาร ซึ่งเกิดขึ้นถึง ๒๐ เหตุการณ์ จากทั้งหมด ๒๒ เหตุการณ์ แยกเป็นเหตุที่เกิดใน จ.นราธิวาส ๑๐ เหตุการณ์ จ.ยะลา ๗ เหตุการณ์ และจ.ปัตตานี ๓ เหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม การสูญเสียส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความประมาทของ จนท. ซึ่งปล่อยให้แนวร่วมเข้ามาประชิดตัวโดยไม่รู้ตัว การถูกหลอกล่อให้เข้าสู่กับดัก และความเขลา ไร้ความตระหนัก ของผู้บังคับปัญชาที่ม่ได้สนใจปรับยุทธวิธีรับมือกับการก่อเหตุที่เพิ่มระดับความรุนแรงขึ้น ดังเช่นในกรณี
- สภ.รือเสาะ ซึ่งเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ที่ได้รับแจ้งว่ามีการลอบวางระเบิด และโดนระเบิดซึ่งคนร้ายได้ฝังดักไว้ ที่ สวนสาธารณ กาญจนาภิเษก ม.๒ ต.รือเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เมื่อ ๔ ก.ค.๕๕ ซึ่งส่งผลให้ เจ้าหน้าที่อส.-ตร.-ทหาร และประชาชน บาดเจ็บ ๑๒ ราย ในจำนวนนี้สาหัส ๓ ราย
- จนท.ทหาร ร้อย ร.๑๕๑๒๓๓ ฉก.นราธิวาส ๓๐ ซึ่งตั้งจุดตรวจอยู่ที่บริเวณสามแยก บ.ท่าเรือ ต./อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ปล่อยให้คนร้ายขับรถยนต์กระบะ ๒ คัน และ จยย. ๓ คัน เข้าประชิด ใช้อาวุธปืนสงครามกราดยิงใส่ป้อมจุดตรวจ จึงไม่สามารถตอบโต้กลับได้ จนชาวบ้านต้องออกมายิงตอบโต้ช่วยไว้ทัน ซึ่งก็ทำให้จนท.ทหารเสียชีวิต ๑ นาย บาดเจ็บ ๔ นาย และราษฏรเสียชีวิต ๑ ราย บาดเจ็บ ๒ ราย
- นายอัฐพล แซ่ว่อง รปภ.สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง อ.โคกโพธิ์ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสายนาเกตุ-โคกโพธิ์ ที่ ม. ๒ บ.มะกรูด ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ได้ปล่อยให้คนร้ายเดินเข้าประชิดตัวและประกบยิงจนเสียชีวิตคาที่ ขณะเข้าเวรรักษาความปลอดภัยอยู่ภายในป้อมยามปากทางเข้าอาคารสำนักงาน เมื่อ ๑9 ก.ค.๕๕
- จนท.ทหารชุด ร้อย ร.๑๕๓๒๖๑ ฉก.ปัตตานี ๒๕ ยังคงต้องออกลาดตระเวนดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชน ด้วยจยย. ทั้งที่การโจมตีต่อเป้าหมายจนท.ทหารของแนวร่วมได้ยกระดับขึ้นเป็นการใช้รถกระบะร่วมกับจยย.มาระยะหนึ่งแล้ว อีกทั้งผู้ว่า ‘ฮายีอับดุลกอเดร์ บิน เจ๊ะแต’ ก็กำลังจะเกษียญใน ๓๐ ก.ย.๕๕ จนเป็นผลให้จนท.ทหารชุดดังกล่าวถูกคนร้ายประมาณ ๒๐ คน ใช้รถยนต์กระบะ ๓ คัน ขับประกบข้างรถจยย.และกระหน่ำยิงจนเสียชีวิต ๔ นาย บาดเจ็บสาหัสและไม่สามหัส ๒ นาย ที่บนถนนเส้นทางระหว่าง อ.มาย- บ้านปาลัส บริเวณ หมู่ ๓ ต.ถนน อ.มายอ จ.ปัตตานี เมื่อ ๒๗ ก.ค.๕๕
ข้อพึงตระหนัก
 :
ความไม่ยืดหยุ่นของทหารที่ไม่สามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยเฉพาะการช่วยชีวิตคนบริสุทธ์ ด้วยเหตุผลที่ว่ายังไม่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา และการตั้งตัวอยู่ในความประมาทของทหาร กำลังทำให้ชาวบ้านเกิดความไม่พอใจและลดศรัทธาต่อความเป็น “ทหาร”ของทหารลงอย่างน่าวิตก นอกจากนี้ การออกข่าวแก้ตัวในทำนองว่าการก่อเหตุของคนร้ายเกิดจากการตอบโต้การป้องปรามของจนท.ได้ซึมซับเข้าสู่ความรู้สึกของชาวบ้าน จนทำให้ชาวบ้านไม่กล้าต่อสู้/ตอบโต้แนวร่วม เพราะกลัวการกลับมาล้างแค้น
ความเคลื่อนไหวของรัฐบาล
 :
รัฐบาลก็ยังคงพยายามแก้ไขปัญหาความรุนแรงใน ๓ จชต.ได้อย่างน่าขบขัน โดยเฉพาะการแก้ปัญหาด้วยเผยแพร่ภาษา“ยาวี”ออกโทรทัศน์ ซึ่งเปรียบเสมือนของแถมหลังจากการเรียกร้องขอใฃ้ภาษามลายูถิ่นใน ๓ จชต.ของกลุ่มซึ่งอ้างอุดมกาณ์รื้อฟื้นรัฐปัตตานีประสบความสำเร็จไปเรียบร้อยไปนานแล้ว
ยิ่งลักษณ์ปิ๊งไอเดียดับไฟใต้เล็งสื่อสารภาษายาวีออกทีวี ….เมื่อเวลา ๑๒.๓๐ น.วันที่ ๒๖ ก.ค.๒๕๕๕ ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเหตุการณ์รุนแรงทางภาคใต้ ซึ่งมีการพุ่งเป้าโจมตีไปที่เจ้าหน้าที่มากขึ้น ว่า เบื้องต้นได้หารือ กับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ก็ยังเป็นห่วงอยู่ ….." แต่ขณะเดียวกันเราก็คงต้องเริ่มเสริมสร้างความเข้าใจ ….. เช่น ทางด้านของทีวีหรือการสื่อสารให้เป็นภาษายาวีเพื่อจะได้ถ่ายทอดความเข้าใจ และรวมถึงการทำงานด้านพัฒนาและความช่วยเหลือ พี่น้องประชาชนด้วย ซึ่งต้องคงต้องทำควบคู่กันไป " นายกฯ กล่าว……(breakingnews.nationchannel.com ๒๖ ก.ค.๕๕)
มึนไอเดียนายกฯผุด"ทีวียาวี"ดับไฟใต้...ชาวบ้านบอกฟังไทยได้ ชอบดูละครช่อง ๓-๗…..จาก การสำรวจพฤติกรรมการชมโทรทัศน์ของประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่าไม่ว่าจะเป็นการรับชมทาง "ฟรีทีวี" หรือ "ทีวีดาวเทียม" ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็นิยมชมชอบรายการบันเทิงมากกว่าติดตามข่าวสาร โดยเคเบิลทีวีช่องละคร ที่นำละครที่ออกอากาศทางฟรีทีวีแล้วมาวนฉายย้อนหลัง ได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างมาก บางบ้านถึงขนาดเปิดค้างไว้ตลอดทั้งวัน สำหรับ "ฟรีทีวี" ที่ชาวบ้านชอบดู คือ ช่อง ๓ กับช่อง ๗ ส่วนใหญ่ดูละคร ดูข่าว รายการคุยข่าว ข่าวสามมิติ ประเด็นเด็ดเจ็ดสี รวมทั้งรายการเกมโชว์ทั่วไป ซึ่งเรื่องภาษาไม่ได้เป็นปัญหา เพราะคนในพื้นที่ส่วนใหญ่ฟังภาษาไทยรู้เรื่อง คนสามจังหวัดมีปัญหาเรื่องการสื่อสารด้วยการพูดภาษาไทยให้ถูกต้องเท่านั้น ไม่ได้มีปัญหาเรื่องการฟัง โดยเฉพาะการรับสื่อจากโทรทัศน์เพื่อความบันเทิง .... (สำนักข่าวอิศรา ๑ ส.ค.๕๕)
การป้องปรามการเคลื่อนไหวของแนวร่วม
ในช่วงเวลารายงานดูเหมือนว่าทั้งทหารและตำรวจได้มีการออกตรวจค้นและจับกุมแนวร่วมเพิ่มขึ้น ซึงในบางกรณีก็สามารถจับกุมและวิสามัญแนวร่วมคนสำคัญได้ แม้ว่าหลังจากนั้นคนกลุ่มนี้จะถูกนำเข้าไปฟอกซื้อใจให้เป็นเพียงผู้หลงผิดเพื่อนำกลับสู่ครอบครัวในที่สุด ทั้งนี้การตรวจค้นและจับกุมที่สำคัญ ได้แก่
- การตรวจค้นบริเวณสวนอ้อย หลังสุเหร่าดารุสลาม ม.๕ บ้านสะนิง ต.บาราเฮาะ อ.เมือง จ.ปัตตานี เมื่อ ๑๑ ก.ค.๕๕ ซึ่งสามารถวิสามัญนายอดินันท์ มะสะอิ อายุ ๒๘ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๒9/๗ ม.๔ ต.บาราเฮาะ อ.เมืองปัตตานี แกนนำแนวร่วมได้ และจับกุม ได่อีก ๕ ราย ได้แก่ นายอับดุลรินิง ละอะ อายุ ๓๐ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๕๑/๕ ม.๕ ต.บาราเฮาะ อ.เมือง จ.ปัตตานี นายมูฮัมหมัด แวละแม อายุ ๒๓ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๒ ม.๕ ต.บาราเฮาะ อ.เมือง จ.ปัตตานี นายอับดุลรอฮิม แวละแม อายุ ๓๐ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๕๑/๕ ม.๕ ต.บาราเฮาะ อ.เมือง จ.ปัตตานี นายรอซารี ถามะ อายุ ๒๘ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๖/๓ ม.๕ ต.บาราเฮาะ อ.เมือง จ.ปัตตานี และ นายอับดุลรอนิง สะอะ อายุ ๓๐ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๔๑/๕ ม.๕ ต.รูสะมิแล อ.เมืองปัตตานี มีหมายจับ ป.วิอาญา คดีความมั่นคง จำนวน ๕ หมาย การเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและsympathizers
สถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มพลังอื่นใดนอกจากกลุ่มกลุ่มเสื้อแดง เหลืองและหลากสี ส่งผลให้แกนนำแนวร่วมและsympathizers อิสลามต้องชะลอการเคลื่อนไหวลง จะมีก็เพียงการเคลื่อนไหวประปรายโดยไม่ได้หวังว่าจะต้องได้ผลอย่างจริงจัง อาทิ การมารวมตัวชูป้ายเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าให้ความเป็นธรรมต่อโรฮิงญามุสลิมของกลุ่มที่อ้างตัวเป็นนักศึกษาประมาณ ๒๐ คน เมื่อ ๒๓ ก.ค.๕๕
กลุ่มนศ.ไทยมุสลิมชุมนุมจี้"เต็งเส่ง"ให้ความเป็นธรรมโรฮิงญา….กลุ่มนักศึกษาประมาณ ๒๐ คนที่อ้างตัวว่ามาจาก ๕ กลุ่มคือ สมาคมนิสิตนักศึกษาไทยมุสลิม สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเครือข่ายนักศึกษาและเยาวชนเพื่อพิทักษ์ประชาชน เดินทางมาชูป้ายชุมนุมด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล ฝั่งถนนพิษณุโลก ในช่วงที่พล.อ. เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่า กำลังหารือกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บนตึกไทยคู่ฟ้า …..กลุ่มนักศึกษาทำแถลงการณ์ถึงพล.อ.เต็งเส่ง เรียกร้องให้ชาวโรฮิงญาจากกรณีเมื่อวันที่ ๓ มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่เกิดเหตุการณ์ที่ชาวยะไข่กว่า ๓๐๐ คน บุกโจมตีและทำร้ายชาวพม่ามุสลิม ๑๐ คนบนรถบัส แต่รัฐบาลพม่ากลับนิ่งเฉยและปฏิเสธที่จะให้องค์กรเพื่อมนุษยชนเข้าไปให้ความ ช่วยเหลือชาวโรฮิงญา โดยตอนท้ายของแถลงการณ์เรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย รวมทั้งประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด กดดันเพื่อให้เกิดการปกป้องรักษาชีวิตและสอบสวนให้ความเป็นธรรมกับชาวโรฮิงญา รวมทั้งวอนต่อสื่อไทยในการรายงานข่าวตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นด้วย (breakingnews.nationchannel.com ๒๓ ก.ค.๕๕)
การเคลื่อนไหวของกลุ่มพลังที่ได้รับผลกระทบจากเหตุความรุนแรง
การจ่ายค่าเยี่ยวยาของรัฐบาลเพื่อเอาใจมวลชนเสื้อแดงที่ได้บานปลายมาจนถึงการเรียกร้องขอค่าเยี่ยวยาของกลุ่ม ngo ซึ่งเข้าไปแสวงประโยชน์ทำมาหากินในเหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓+๑ จชต. โดยเฉพาะนาง..... และนาง.....ได้นำสู่การเรียกร้องของผู้บริสุทธ์ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงเช่นกันอย่างต่อเนื่อง จากกลุ่มครู เมื่อ ๒๘ มิ.ย.๕๕ และล่าสุดจากกลุ่มชาวบ้านทั้งพุทธและอิสลามที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง เมื่อ ๑๗ ก.ค.๕๕
ชาวบ้านจชต.ขอความเป็นธรรมกรณีเงินเยียวยา ชาวบ้านจังหวัดชายแดนใต้ กว่า ๓๐๐ คน รวมตัวเรียกร้องขอความเป็นธรรม กรณีเงินเยียวยา อ้างได้รับผลกระทบเท่าเทียมกัน......ที่สนามช้างเผือกเทศบาลนครยะลา อ.เมือง จ.ยะลา ได้มีประชาชนชาวไทยพุทธและมุสลิม จากพื้นที่จังหวัดยะลา และปัตตานี จำนวนกว่า ๓๐๐ คน ได้รวมตัวกันเรียกร้องขอความเป็นธรรม กรณีที่รัฐบาลให้การช่วยเหลือเงินเยียวยาไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งประชาชนที่มารวมตัวกันได้เดินทางจากสนามช้างเผือกเทศบาลนครยะลา ไปยังศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อไปยื่นหนังสือต่อ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อขอให้มีการพิจารณาโดยไม่แบ่งชนชั้นและเหตุการณ์ เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทุกคนได้รับผลกระทบเท่าเทียมกันทั้งหมด…..…..(innnews ๑๗ ก.ค.๕๕)
............................................
|