สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต.
๑ - ๓๐ มิ.ย.๕๒

          ในสถานการณ์ที่รัฐบาลถูกรุมเร้าด้วยหลากหลายปัญหา โดยเฉพาะด้านการเมืองและเศรษฐกิจอย่างหนัก จนทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลไม่มั่นคงอย่างยิ่ง ประกอบกับการถูกปฎิเสธจากมวลชนในภาคอื่นรวมทั้งฐานเสียงใน กทม.บางส่วนถูก พธม.แย่งยึดไป ทำให้รัฐบาลจำต้องยอมทำทุกอย่างเพื่อซื้อใจคนส่วนใหญ่ใน ๓ จชต. แม้กระทั่งปฎิเสธคนส่วนใหญ่ของประเทศ ด้วยเหตุนี้ การกดดันเพื่อให้รัฐบาล ดำเนินการแยกการบริหารและการปกครอง ๓ จชต.ออกจากประเทศไทยไปปกครองตามวิถีอิสลาม ของกลุ่มที่อ้างการรื้อฟื้นรัฐปัตตานีทั้งในพื้นที่และในส่วนกลางในทุกรูปแบบ จึงเป็นไปอย่างสอดประสาน หนักหน่วง และรุนแรงขึ้นตามลำดับ สอดคล้องกับเสถียรภาพของรัฐบาลที่ลดน้อยถอยลงตามลำดับ ขณะที่การปฎิบัติของ จนท. แม้จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิผล หากเป็นไปอย่างละล้าละลัง จากท่าทีอันเป็นลบของรัฐบาล ศอ.บต.และ กอ.รมน.
         สำหรับแนวโน้มของสถานการณ์เชื่อว่าตราบเท่าที่รัฐบาลอยู่อย่างขาดเสถียรภาพ การก่อเหตุในลักษณะคงความหนักหน่วงไว้จะยังคงมีอยู่ต่อไป และความสำเร็จใน การแยก ๓+ ๑ จชต. ออกจากการปกครองของประเทศไทยทั้งโดยพฤตินัยและนิตินัย ก็จะมีความเป็นไปได้สูงขึ้นตามลำดับ

สถิติและนัยของการก่อเหตุ
          สถิติการก่อเหตุ
          การก่อเหตุในช่วง ๑ – ๓๐ มิ.ย.๕๒ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุ รวมทั้งสิ้น ๗๐ เหตุการณ์ ใกล้เคียงกับการเกิดเหตุ ๖๙ เหตุการณ์ ในช่วง ๑ - ๓๑ พ.ค.๕๒ ทั้งนี้ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุมากที่สุด ๒๙ เหตุการณ์ กระจายกันไปใน ๙ อำเภอ อำเภอละ ๒ – ๔ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๒๓ เหตุการณ์ โดย อ.รามัน มีการก่อเหตุสูงสุด ๕ เหตุการณ์ ส่วน จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุ ๑๘ เหตุการณ์ โดย อ.มือง อ.ยะรัง อ.สายบุรี มีการก่อเหตุมากที่สุด พื้นที่ละ ๔ เหตุการณ์ สำหรับ จ.สงขลา ไม่ปรากฏรายงานการก่อเหตุอย่างผิดปกติ ทั้งนี้การก่อเหตุทั้ง ๗๐ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๓๗ เหตุการณ์ รองลงมาคือการวางระเบิด ๒๓ เหตุการณ์ ทั้งต่อ Hard Target และ Soft Target (โดยการกระทำต่อ Soft Target ส่วนใหญ่คือสถานที่ประกอบธุรกิจของคนไทยพุทธ) การวางเพลิง/เผา ๒ เหตุการณ์ การซุ่มยิง/ซุ่มโจมตี ๒ เหตุการณ์ การฆ่าตัดคอแล้วเผา ๑ เหตุการณ์ และการก่อกวน ๓ เหตุการณ์
          ลักษณะการก่อเหตุ
         การก่อเหตุมีความรุนแรงและหนักหน่วงในลักษณะของการสร้างมวลชน เพิ่มด้วยการก่อเหตุกับสัญลักษณ์ทางศาสนาของอิสลาม และการเพิ่มความแตกแยก หวาดระแวง และความเกลียดชังระหว่างคนต่างศาสนาให้ร้าวลึกจนยากที่จะประสานกลับคืนด้วยการสลับการก่อเหตุกับสัญลักษณ์ของศาสนาและวัฒนธรรมพุทธและอิสลาม อันจะเป็นการทำให้สถิติและความรุนแรงในพื้นที่ไม่ลดลง ซึ่งจะเป็นรูปธรรมให้รัฐบาลนำไปอ้างประกอบ “การแยก ๓ จชต.” ออกจากการบริหารและการปกครองของประเทศไทย มีความชอบธรรมขึ้น ทั้งนี้การก่อเหตุในลักษณะล่อแหลมดังกล่าวที่อันตรายอย่างยิ่ง นอกเหนือจากการมุ่งสังหารครูไทยพุทธ ถึง ๔ เหตุการณ์แล้วคือ การจ่อยิงพระสงฆ์ขณะบิณฑบาต ที่ ต.ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา เมื่อ ๑๒ มิ.ย.๕๒ การกราดยิงชาวบ้านอิสลามในมัสยิดอัลฟูรกอนที่หมู่ ๘ ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง เมื่อ ๘ มิ.ย.๕๒ และการกราดยิงเด็ก ผู้หญิงและคนชราในบริเวณวัดไพโรจน์ประชาราม หมู่ ๒ ต.รือเสาะออก อ.รือเสาะ เมื่อ ๒๒ มิ.ย.๕๒
         นอกจากนี้ยังพบการก่อเหตุเพื่อหลอกล่อให้ จนท.เข้าไปติดกับ และการปลอมแปลงตัวในการก่อเหตุ ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียหนักขึ้น อาทิ การแต่งกายเลียนแบบทหาร ดักยิงครูไทยพุทธ เมื่อ ๒ มิ.ย.๕๒ การยิงอาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) ประจำที่ว่าการอำเภอยี่งอ เพื่อหลอกล่อให้ จนท.เข้าพื้นที่และกดระเบิด เมื่อ ๗ มิ.ย.๕๒ การหลอกล่อให้ จนท.มานำรถที่ใส่ระเบิดไว้กลับไปไว้ที่โรงจอดรถสถานีตำรวจภูธรสายบุรี จ.ปัตตานี เมื่อ ๑๖ มิ.ย.๕๒

การป้องปรามการเคลื่อนไหวก่อเหตุของเจ้าหน้าที่
         การป้องปรามการเคลื่อนไหวก่อเหตุของ จนท. ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิผล แต่เกิดความละล้าละลังในการปฏิบัติ จากท่าทีการซื้อใจอิสลามอย่างชัดเจนของรัฐบาลและความไม่ชัดเจนใน “การเดินไปในทิศทางเดียวกัน ระหว่างรัฐบาลกับกองทัพและระหว่าง ศอ.บต.ซึ่งกำลังซื้อใจอิสลามเพื่อให้นายก ฯ กับ กอ.รมน.ซึ่งพยายามจะทำให้ตัวเองเชื่องว่าการให้และการปล่อยตัวผู้ต้องหาจะเปลี่ยนใจโจรได้ สำหรับการตรวจค้นที่สำคัญอาทิ การตรวจค้นพื้นที่ ต.ตะโล๊ะกาโปร์ จนสามารถจับกุมนายสมาน บินเฮ่ม ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงและมีหมายจับอยู่หลายคดีได้ การตรวจค้นที่ ต.บ่อทอง อ.หนองจิก ซึ่งสามารถจับกุมนายอุสมาน กาเซ็ง และนายอับดุลการิม กาเซ็ง ผู้ต้องหาตามหมายจับคดีความมั่นคงของ อ.โคกโพธิ์ และ อ.หนองจิก หลายคดีได้ เมื่อ ๘ มิ.ย.๕๒ การตรวจค้น หมู่ ๘ บ้านตือระ ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา ซึ่งสามารถวิสามัญแนวร่วมที่สำคัญ ๔ ราย เมื่อ ๑๘ มิ.ย.๕๒

การเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและ sympathizer
         การเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและ sympathizer กำลังนำเอาประเด็นการก่อเหตุที่มีความหนักหน่วงขึ้นมาสร้างเป็นเงื่อนไขเพื่อชี้ให้เห็นว่า การปกครองโดยอิสลามเพื่ออิสลามด้วยวิถีอิสลาม เท่านั้นจึงจะทำให้สถานการณ์ความรุนแรงใน ๓+ ๑ จชต.สงบลงได้ ทั้งโดยการจัดประชุม การจัดเสวนา การออกแถลงการณ์ การตีพิมพ์บทความ ซึ่งสรุปออกมาอย่างสอดประสานได้แก่ เชื้อชาติและศาสนา เป็นความภาคภูมิใจที่ต้องรักษาไว้ซึ่งความแตกต่างอย่างเคร่งครัด ความไม่เป็นธรรมเกิดจากการที่คนส่วนใหญ่ใน ๓ จชต.ไม่ได้เข้ามามีส่วนในการบริหารและการปกครองกันเอง ความอยุติธรรมเกิดจากการที่มี จนท.จากภายนอกโดยเฉพาะทหารเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ การละเมิดสิทธิมนุษยชน เกิดจากการที่ จนท.สามารถปิดล้อม/ตรวจค้นได้โดยไม่แจ้งให้ผู้กระทำผิดรู้ตัวล่วงหน้า
         ที่สำคัญคือการเคลื่อนไหวต่อต้านการเข้าไปปฏิบัติงานของหน่วยรบพิเศษ ของนาย...ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอิสลาม และอดีตรองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา การกดดันให้มีการยกเลิก พรก.ฉุกเฉินของนาย...นักวิชาการอิสระ การกดดันให้มีการรื้อฟื้นคำพิพากษาคดีตากใบของสถาบันอิศรา

การซื้อใจอิสลามของรัฐบาล
         การซื้อใจอิสลามของรัฐบาลยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องและกระตือรือร้นมากขึ้นตามลำดับ สอดคล้องกับเสถียรภาพของรัฐบาลที่ดูจะย่ำแย่ลงทุกขณะ ขณะที่รูปธรรมของการ “ไม่เอา” พรรคการมึองบางพรรคของมวลชนนอกภาคใต้ ก็ชัดเจนขึ้นตามลำดับไม่ว่าจะเป็น การแยก ๓ จชต.ออกไปบริหารกันเอง ของผู้ที่เรียกตัวเองว่ามลายูอิสลาม การเลือกตั้ง ผวจ.ซึ่งจะทำให้ทั้ง ๓ จชต.มีผู้ว่าเป็นอิสลามทั้งหมด หลังจากที่มี ส.ส. ส.ว. อบจ. อบต. กำนัน ผญบ. ผช.ผญบ. ชรบ.เป็นอิสลาม เกือบทั้งหมดแล้ว หรือการตั้งศาลชารีอะห์ ซึ่งแม้จะอ้างว่าเป็นศาลครอบครัว หากแต่อิสลามในพื้นที่ได้รับการบอกกล่าวถึงการเป็นบันไดขั้นแรกของการนำไปสู่การมีอำนาจตุลาการเป็นของตนเอง ขณะที่ผู้นำกำลังมีการผลักดันศาลความมั่นคงที่มีผู้พิพากษาเป็นอิสลาม

แนวโน้มของสถานการณ์
         สำหรับแนวโน้มของสถานการณ์ในกรณีที่ไม่มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นเชื่อว่า ตราบเท่าที่รัฐบาลยังถูกกดดันด้วยหลากหลายปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปได้ทุกขณะ ประกอบกับการถูกปฏิเสธจากมวลชนในภาคอื่น รวมทั้งฐานเสียงใน กทม.บางส่วนถูก พธม.แย่งยึดเอาไป น่าจะทำให้ รัฐบาลจำต้องทำทุกอย่างเพื่อยึดภาคใต้เป็นฐานเสียงสุดท้าย สำหรับการคงอยู่ในถนนการเมืองของพรรค ดังนั้นการกดดันให้รัฐบาลตอบสนองข้อเรียกร้องทั้งโดยการก่อเหตุและการประสานการเรียกร้องจากการนำแนวร่วมอิสลาม ซึ่งแผงตัวอยู่ในรูปของนักการเมืองและ NGO ทั้งแท้และเทียม จะยังคงเป็นไปอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง

                                              ....................................................