สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต.
๑ - ๓๐ มิ.ย.๕๓

          เหตุการณ์การชุมนุมของนปช./เสื้อแดงทำให้แกนนำแนวร่วมและ sympathizer ไม่สามารถเข้าสู่พื้นที่ข่าวได้นานนับเดือน ดังนั้นเมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวคลี่คลายลง กลุ่มผลประโยชน์ภาคใต้จึงเริ่มโหมการเคลื่อนไหว โดยในช่วงเวลารายงาน พบว่ากลุ่มแนวร่วม และsympathizer โดยเฉพาะสื่อกำลังมุ่ง discredit ทหารอย่างสอดคล้องกับนโยบายเร่งถอนทหารนอกพื้นที่ออกจาก ๓ จชต.ของนาย นรม.ใน ๒ ประเด็น ประเด็นแรก คือการพยายามชี้นำให้สังคมเชื่อว่า ทหารเป็นผู้ทำให้ผู้ต้องสงสัยในค่ายอิงคยุทธบริหาร ปัตตานี เสียชีวิตเมื่อ ๓๐ พ.ค.๕๓ ซึ่งสามารถกระตุ้นให้นักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวกดดันทหารอีกครั้งหนึ่ง และประการที่สอง คือการพยายามชี้นำให้เห็นว่าทหารเป็นผู้ทำให้เกิดการระเบิดที่ย่านตลาดเก่ายะลา เมื่อ ๘ มิ.ย.๕๓ ขณะที่นักการเมืองก็มีการเคลื่อนไหวในลักษณะการหาเสียงจากมลายูอิสลามชัดเจนขึ้น และที่น่าวิตกอย่างยิ่ง คือความเป็นตัวตนที่แท้จริงของมลายูอิสลามในจ.สตูล ซึ่งพร้อมจะร่วมเดินไปในทิศทางเดียวกันกับ มลายูอิสลามใน ๓ จชต. ได้ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนแล้ว เมื่อ ๓ พ.ค.๕๓ ซึ่งมีการชุมนุมแสดงความไม่พอใจหากมีการตัด จ.สตูลออกจากคำว่าจังหวัดชายแดนใต้ไม่รวมจ.สตูลเข้าไปด้วย
          ขณะที่การก่อเหตุยังคงเกิดขึ้นในระดับคงตัวเพื่อรักษาความคงอยู่ โดยมีการโหมก่อเหตุพร้อมๆกัน เพื่อแสดงให้เป็นที่สังเกตุ ๒ ระลอก คือในช่วงต้นเดือนที่มีลักษณะของการก่อกวนเพื่อรักษาสถิติ และระลอกที่ ๒ ในช่วงกลางเดือน หากสถิติการก่อเหตุก็ยังคงไม่แตกต่างจากช่วงที่ผ่านๆมา ซึงเท่าที่รวบรวมได้มีจำนวน ๖๔ เหตุการณ์ โดยจ.ยะลามีการก่อเหตุมากที่สุด ๒๔ เหตุการณ์ รองลงมา จ.ปัตตานี ๒๑ เหตุการณ์ จ.นราธิวาส ๑๗ เหตุการณ์และจ.สงขลา ๒ เหตุการณ์

แนวโน้มของสถานการณ์
          จากการประเมินว่าน่าจะมีการเลือกตั้งในปลายปี ๒๕๕๓ จะกระตุ้นให้นักการเมืองเร่งหาเสียงด้วยการเรียกร้องให้มีการแยกการปกครอง ๓ จชต. การยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และการถอนทหาร หนักขึ้น เช่นเดียวกับ กลุ่ม ngo ซึ่งต้องเคลื่อนไหวอย่างหนักเพื่อคุมเสียงมวลชนไว้ต่อรองกับนักการเมือง ดังนั้นความผิดพลาด พลาดพลั้งของจนท. โดยเฉพาะทหารคือเหยื่ออันโอชะของอิสลามกลุ่มนี้ ทั้งนี้ ประเด็นที่จะถูกนำมาโหมกระพืออย่างต่อเนื่องต่อไปยังคงได้แก่ เหตุการณ์ไอร์ปาแย และการเสียชีวิตในห้องขังของผู้ต้องหา เช่นเดียวกับนักศึกษาที่เริ่มมีพฤติกรรมท้าทายอำนาจรัฐมากขึ้นโดยเริ่มมีการสัก RKK ไว้ที่หลังมืออย่างเปิดเผยแล้ว

สิ่งที่น่าสังเกต ได้แก่
         ๑. การเคลื่อนตัวเข้าใกล้ ๓ จชต.ของมลายูอิสลามใน จ.สตูล โดยเฉพาะท่าทีของประธานชมรมอิหม่ามจ.สตูล และประธานสมาพันธ์มุสลิมจ.สตูล
         ๒. การรุกคืบของหน่วยงาน/องค์กรระหว่างประเทศในการหนุนช่วยให้มีการแยกการปกครอง ๓+๑+๑ จชต.และในภาคอื่นๆที่มีคนกลุ่มน้อยอยู่เป็นจำนวนมาก กำลังปรากฏชัดเจนขึ้นตามลำดับอย่างน่าวิตก

การเคลื่อนไหวของแกนนำและ sympathizer
         ในช่วงเวลารายงาน พบว่ากลุ่มแนวร่วม และsympathizer โดยเฉพาะสื่อกำลังมุ่งทำลายความน่าเชื่อถือ( discredit) ทหารอย่างสอดคล้องกับนโยบายเร่งถอนทหารนอกพื้นที่ออกจาก ๓ จชต.ของ นรม.โดยการพยายามชี้นำให้สังคมเชื่อว่า ทหารเป็นผู้ทำให้ผู้ต้องสงสัยซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ในค่ายอิงคยุทธบริหาร ปัตตานี เสียชีวิตเมื่อ ๓๐ พ.ค.๕๓ ซึ่งสามารถกระตุ้นให้นักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวกดดันทหารอีกครั้งหนึ่ง และการ ชี้นำให้เห็นว่าทหารเป็นผู้ทำให้เกิดการระเบิดที่ย่านตลาดเก่ายะลา เมื่อ ๘ มิ.ย.๕๓ ขณะที่นักการเมืองอิสลามก็มีการเคลื่อนไหวเตรียมการลงเลือกตั้งและการหาเสียงจากมลายูอิสลามชัดเจนขึ้น
         สถาบันอิศรา มีความพยายามอย่างหนักที่จะโน้มน้าวให้สังคมเชื่อว่านายสุไลมาน แนซา ไม่ได้ฆ่าตัวตายระหว่างถูกคุมตัวในค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อ ๓๐ พ.ค.๕๓ ด้วยการลงบทความซ้ำซากอย่างต่อเนื่องถึง ๗ บทความ เพื่อดึงให้เหตุการณ์ยืดเยื้อต่อไปอันจะนำไปสู่ข้อสรุปให้มีการถอนทหารและการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่างสอดคล้องกับนโยบายของ นรม. ได้แก่ บทความ เทียบข้อเท็จจริง"ทหาร-องค์กรสิทธิ์" กับสาเหตุการเสียชีวิตคาค่ายทหารของผู้ต้องสงสัยคดีความมั่นคง เมื่อ ๑ มิ.ย.๕๓ บทความ พิสูจน์เบื้องหลังการตายคาค่ายทหาร เมื่อ ๑ มิ.ย.๕๓ บทความ ปากคำจากทุกฝ่าย...พิสูจน์เบื้องหลังการตายคาค่ายทหาร เมื่อ ๑ มิ.ย.๕๓ บทความ เปิดผลชันสูตรศพ"สุไลมาน" ไม่พบร่องรอยถูกทำร้าย เมื่อ ๒ มิ.ย.๕๓ บทความ กรรมการสิทธิฯจ่อรับสอบคดีปริศนาผูกคอตายในค่ายทหาร เมื่อ ๓ มิ.ย.๕๓ บทความ ว่าด้วย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก่อการร้าย และปริศนาการตายของ “สุไลมาน แนซา” เมื่อ ๕ มิ.ย.๕๓ บทความ ปากคำจากทุกฝ่าย ว่าด้วยการตายของสุไลมาน แนซากับผลสะเทือนรุนแรงกว่าที่คาด เมื่อ ๑๒ มิ.ย.๕๓ บทความ ประธานกรรมการสิทธิฯแถลงผลสอบเบื้องต้นการตายของ “สุไลมาน แนซา” ไม่ชอบมาพากล! เมื่อ ๒๕ มิ.ย.๕๓ โดยเฉพาะบทความนี้ ได้มีการนำสถิติศาลสั่งยกฟ้องผู้ต้องสงสัยมาตีพิมพ์ไว้ร่วมกัน เพื่อเบี่ยงเบนให้สาธาณชนเกิดความไขว้เขวเข้าใจผิดว่าจนท.จับกุมผู้บริสุทธิ์ บทความ ประธานกรรมการสิทธิฯแถลงผลสอบเบื้องต้นการตายของ “สุไลมาน แนซา” ไม่ชอบมาพากล! เมื่อ ๒๕ มิ.ย.๕๓
         นอกจากนี้ ยังลงบทความ คลี่ปมกังขา…ระเบิดบนถนนหน้ามัสยิดกลางยะลา! เมื่อ ๑๑ มิ.ย.๕๓ เพื่อชี้นำสังคมให้คล้อยตามว่าทหารเป็นผู้ทำให้เกิดการระเบิด ขณะที่บทความ ปาบึ้มหน้ามัสยิดที่สายบุรี…อีกหนึ่ง“เหตุร้ายอธิบายยาก”เมื่อ ๒๒ มิ.ย.๕๓ ได้พยายามตอกลิ่มความเจ็บแค้น ด้วยการนำภาพชาวบ้านแห่ศพ นายอับดุลการิม ยูโซ๊ะ อิหม่ามประจำมัสยิด บ.กาหยี อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ที่ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อ ๓๐ ม.ค.๕๒ เข้ามาเป็นภาพประกอบ ส่วนบทความล่าสุด เรียนไอร์แลนด์เหนือ...จากมิคสัญญีสู่สันติภาพ เมื่อ ๓๐ มิ.ย.๕๓ เป็นความพยายามชี้นำให้เห็นว่าการยินยอมให้แยก ๓ จชต.ไปปกครองกันเองตามวิถีอิสลาม จะยุติความรุนแรงได้
         สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้(สนน.จชต.) นำโดยมีนายกริยา มูซอเลขาธิการ สนน.จชต. เป็นตัวแทนในการยื่นจดหมายเปิดผนึกแก่แม่ทัพภาคที่ ๔ ที่ค่ายสิรินธร จ.ปัตตานี เมื่อ ๖ มิ.ย. ๕๓ เพื่อขอให้ภาครัฐแสดงความโปร่งใสและแสดงความรับผิดชอบในการใช้อำนาจในการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ทั้งนี้มีนายกองค์การบริหารองค์การนักศึกษา มอ.ปัตตานี นายอับดุลเลาะ สารีมา อ่านจดหมายเปิดผนึกให้ตัวแทนแม่ทัพภาคที่ ๔ พล.ต.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ รองแม่ทัพภาคที่ ๔ และรอง ผอ.รมน.ภ.๔ รับทราบถึงข้อเสนอของทางสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีทั้งหมด ๗ ข้อเสนอ ซึ่งดูเหมือนเป็นความพยายามรื้อฟื้นบทบาทของนักศึกษา ที่ขาดหายไปนานนับปี
         หมอแว ติงงบฯ ๕๔ ไม่สนองการศึกษาชายแดนใต้.....การประชุมสภาผู้แทนราษฏร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๔ เมื่อ๒๗ พ.ค.๕๓ น.พ.แวมาฮาดี แวดาโอะ ส.ส.นราธิวาส พรรคเพื่อแผ่นดิน อภิปรายว่า นโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปี ของรัฐบาล ไม่ได้เอื้อต่อการศึกษาด้านศาสนาและภาษา ซึ่งจากการพูดคุยกับประชาชนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ประชาชนมีความหวังว่า หากลูกเรียนจบชั้น ป.๖ อยากให้ลูกมีความรู้ ๓-๔ อย่าง คือ อ่านออกเขียนได้ ทั้งภาษาไทย มาลายู และภาษาอังกฤษ มีความสามารถในการอ่านภาษาอาหรับในคัมภีร์อัลกุรอาน มีความรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และมีความรู้ดีรู้ชั่ว แต่จากการตรวจสอบ พบว่า นโยบายเรียนฟรีของรัฐบาล ไม่ได้ครอบคลุมความต้องการทางการศึกษาของชาวไทยมุสลิมใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ASTV ผู้จัดการออนไลน์ พ.ค.๕๓)
         พล.อ.สนธิฯ ตอบรับร่วม รบ.อ้างเสริมเสถียรภาพ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ ยอมรับว่า มีการตอบรับเข้าร่วมรัฐบาล เพื่อเพิ่มเติมเสียงให้มีเสถียรภาพแล้ว ส่วนเรื่อง ตำแหน่งให้ ส.ส.นั้น พรรคจะไปเจรจาต่อรองกันเอง ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายก-รัฐมนตรี ในฐานะผู้จัดการรัฐบาล ที่กล่าวว่า อาจมีการทาบทามพรรคเล็กร่วมรัฐบาล (ประชาชาติอิสลามออนไลน์)

ความเป็นหนึ่งเดียวกันกับ ๓ จชต.ของมลายูอิสลามใน จ.สตูล
          หลังจากที่ได้มีการปลุกระดมให้มลายูอิสลามใน จ.สตูลออกไปชุมนุมต่อต้านหากมีการตัด จ.สตูลออกจากนิยาม จังหวัดชายแดนใต้เมื่อ ๓ พ.ค.๕๓ แล้ว แกนนำก็ยังคงการเคลื่อนไหวกดดันอย่างต่อเนื่อง
         อิหม่ามหมัดโหด ละใบแด ประธานชมรมอิหม่ามจังหวัดสตูล หนึ่งในแกนนำของเครือข่าย ๙๙ องค์กรของ จ.สตูล ที่ได้เคลื่อนไหวคัดค้านการตัด จ.สตูล ออกจากนิยามคำว่าจังหวัดชายแดนใต้ ให้สัมภาษณ์ …. “เหตุผลของเราก็คือ สตูลกับสามจังหวัดชายแดนคือปัตตานี นราธิวาส และยะลามีวัฒนธรรมเหมือนกัน และมีพื้นที่ติดกับชายแดนมาเลเซีย จากประวัติศาสตร์สตูลเพิ่งแยกออกมาจากรัฐไทรบุรี (รัฐเคดาห์ในปัจจุบัน) ประเทศมาเลเซียมาประมาณร้อยปีมานี้เอง ......ถ้าหากสุดท้ายสภาผู้แทนราษฎรมีมติตัดสตูลออกจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ พวกเราคนสตูลจะคืนบัตรประชาชนให้กับรัฐทั้งจังหวัด และจะติดป้ายประณาม……….
         นายซอบรี หมัดหมัน ปลัดอำเภอทุ่งหว้า จ.สตูล ….....สตูลอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาโดยตลอด เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ……ที่สำคัญสตูลมีความคล้ายคลึงกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แทบทุกด้าน ทั้งศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี คือมีประชากรนับถือศาสนาอิสลามถึงร้อยละ ๘๐ และยังเป็นพื้นที่การใช้กฎหมายอิสลามในคดีครอบครัวและมรดกด้วย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้บังคับใช้เฉพาะสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น และบางส่วนของ จ.สตูล ประชาชนก็พูดภาษามลายู ทั้งยังมีชายแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซีย”

สถิติและนัยของการก่อเหตุ
          การก่อเหตุในช่วง ๑-๓๑ มิ.ย. ๕๓ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุ จำนวน ๖๔ เหตุการณ์ (อีก ๒ เหตุการณ์ไม่น่าใช่การก่อเหตุ) ใกล้เคียงกับ ๖๐ เหตุการณ์ พ.ค. ๕๓ ทั้งนี้ จ.ยะลา เป็นพื้นที่ ที่มีการก่อเหตุ มากที่สุด ๒๔ เหตุการณ์ โดย อ.เมือง มีการก่อเหตุสูงสุด ๑๐ เหตุการณ์ และ อ.รามัน ๗ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.ปัตตานี ๒๑ เหตุการณ์ โดย อ.มายอ อ.สายบุรี และอ.ทุ่งยางแดง มีการก่อเหตุมากที่สุด พื้นที่ละ ๔ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.เมือง ๓ เหตุการณ์ขณะที่ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุ ๑๗ เหตุการณ์ โดย อ.ระแงะ มีการก่อเหตุมากที่สุด ๔ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลา มีการก่อเหตุรวม ๒ เหตุการณ์ใน อ.เทพา ทั้งนี้ การก่อเหตุทั้ง ๖๔ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๓๖ เหตุการณ์ รองลงมาคือการวางระเบิด ๒๑ เหตุการณ์ การ ก่อกวน ๕ เหตุการณ์ และการเผาและการแทงอย่างละ ๑ เหตุการณ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวม ๙๑ คน แยกเป็น พุทธ ๓๒ คน (เสียชีวิต ๘ คน บาดเจ็บ ๒๔ คน) อิสลาม ๕๙ คน (เสียชีวิต ๒๕ คน บาดเจ็บ ๓๔ คน)

ข้อพิจารณา
          ๑. การก่อเหตุมีลักษณะของการเร่งทำสถิติไม่ให้ลดลง และเพื่อสื่อให้เห็นความคงอยู่ของขบวนการ ด้วยการโหมก่อเหตุหลายๆ เหตุการณ์ใน ๒ ช่วงเวลา คือช่วงต้นเดือนซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อกวน และกลางเดือนซึ่งส่วนใหญ่เป็นการกระทำต่อเป้าหมายที่อ่อนแอ เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสีย
          ๒. การก่อเหตุดูเหมือนจะเจาะจงกระทำต่ออิสลามที่ทำงานให้กับรัฐเพิ่มขึ้นทั้ง ผญบ. ทหารพราน และชรบ.ดังเช่น การยิงถล่มใส่รถยนต์กระบะ ที่บริเวณโค้งมะโยง ม.๒ บ.ยะบะ ต.รือเสาะ ทำให้นาย นาวี แวหะมะ ผญบ.สะโล ม.๗ ต.รือเสาะ บาดเจ็บสาหัส เมื่อ ๒ มิ.ย.๕๓ การยิงอส.ทพ.มูฮัมหมัดซาอุดี ซาแม สังกัดทหารพรานที่ ๔๑๐๒ กรมทหารพรานที่ ๔๑ ต.วังพญา อ.รามัน จ.ยะลา บาดเจ็บที่หน้าบ้านพักเลขที่ ๕๙/๑ ม. ๓ บ.บันนังลูวา ต.หน้าถ้ำ อ.เมือง จ.ยะลา เมื่อ ๕ มิ.ย.๕๓ การยิง อส.ทพ.มะดารี สาเอาะ เสียชีวิตบนถนนสายมายอ-ปาลัส ม.๕ ต.ลางา อ.มายอ จ.ปัตตานี เมิอ ๑๑ มิ.ย.๕๓ การยิงถล่มรถที่ถนนสาย บ.พะปูเงาะ-กำปง- บือแน ม. ๖ ต.จะกว๊ะ ทำให้นายเลาะแม อาบู ผญบ.จะกั๊วะ เสียชีวิต เมื่อ ๑๒ มิ.ย.๕๓ การยิงนายมาหามะมักตา กาหลง ผช.ผญบ.ม.๔ ต.เมาะมาวี บาดเจ็บสาหัส บริเวณสนามฟุตบอลใน บ.เมาะมาวี ม.๔ ต.เมาะมาวี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เมื่อ ๑๘ มิ.ย.๕๓ การยิงถล่มนายกูเฮง ยูโซ๊ะ ผญบ.ไอร์ปาเซ บาดเจ็บสาหัสที่ ม. ๘ ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เมื่อ ๑๙ มิ.ย.๕๓ การยินายรอเสะ มะลี ผช.ผญบ.บาโงฮูมอ หมู่ ๕ ต.กาวะ ที่ ม. ๕ ต.กาวะ อ.สุไหงปาดี เมื่อ ๒๗ มิ.ย. ๕๓

การตรวจค้นและจับกุมของจนท.
          การตรวจค้นและจับกุมของจนท.ในช่วงเวลารายงานยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสัมฤทธิ์ผล แม้ความถี่ดูเหมือนจะลดลงก็ตาม ที่สำคัญได้แก่ การตรวจค้นจับกุมในพื้นที่ บ.ดารุสอิซาน ม.๑๔ ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ซึ่งสามารถจับกุมแกนนำและสมาชิกกองกำลังติดอาวุธ RKK ได้ ๕ คน เมื่อ ๖ มิ.ย.๕๓ การตรวจค้นจับกุมในพื้นที่ ม. ๑ บ.กอตอรานอ ต.คลองใหม่ อ.ยะรัง สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ ๑ ราย คือ นายมะยาแม กอสา แกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบระดับสั่งการ รับผิดชอบก่อเหตุในพื้นที่ อ.โคกโพธิ์ และเขตรอยต่อ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา เมื่อ ๑๓ มิ.ย.๕๓ การตรวจค้นจับกุมผู้ต้องหาคดีความมั่นคง ๓ คดี ได้ผู้ต้องหา ๓ ราย ประกอบด้วย นายมูหัมหมัดซูรัยมาน หะยีกาจิ นายมะแอ ขะเด และนายมะหามะพารอ บือแน เมื่อ ๑๕ มิ.ย.๕๓

                                              ....................................................