สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต.
๑ - ๓๑ มี.ค.๕๒

          การเคลื่อนไหวที่สำคัญใน ๓+๑ จชต. ในช่วง ๑ – ๓๑ มี.ค.๕๒ ยังคงได้แก่การก่อเหตุ การตรวจค้น/จับกุม การเคลื่อนไหวของแกนนำและ และการซื้อใจอิสลามของรัฐบาล
          การก่อเหตุ ซึ่งเท่าที่รวบรวมได้ จำนวน ๑๑๓ เหตุการณ์นั้น หากดูเผิน ๆ ดูเหมือนจะรุนแรงและถี่ขึ้น แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่าการก่อเหตุที่เพิ่มความถี่ขึ้น เกิดจากสถานการณ์บังคับให้ต้องทำเพื่อช่วยแกนนำสำคัญที่กำลังจะถูกจับกุม ถึง ๒๕ เหตุการณ์ ในช่วงระหว่าง ๒๕ – ๒๖ มี.ค.๕๒ อย่างไรก็ตาม การก่อเหตุมีความรุนแรงเพื่อสื่อในการตอบโต้แบบตาต่อตาฟันต่อฟัน กับการตรวจค้น/จับกุมอย่างเด็ดขาดและต่อเนื่องในลักษณะการวัดใจ/เก็งใจว่า จนท.จะถอดใจ จะถอยหรืออ่อนข้อให้กับแนวร่วมตามกระแสกดดันของรัฐบาล แกนนำและsympathizer หรือไม่ โดยสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การก่อเหตุยังเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการจับกุมอย่างเข้มงวดและอย่างต่อเนื่องก็ตาม เป็นเพราะไม่มีกฎหมายเฉพาะที่สามารถกักขังผู้กระทำความผิดด้านคงวามมั่นคงได้ จนทำให้ชาวบ้านเชื่อว่า จนท.จับตัวคนผิดหรือกลั่นแกล้งประชาชน
          การตรวจค้นและจับกุม ตาม พรก.ฉุกเฉิน ฯ ซึ่งเป็นมาตรการเดียวที่สร้างความอุ่นใจให้กับสุจริตชนใน ๓ จชต.โดยเฉพาะไทยพุทธมาโดยตลอดในช่วงประมาณ ๒ ปีที่ผ่านมา ก็ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิผล โดยเฉพาะใน จ.นราธิวาส ซึ่งทำให้แนวร่วมระดับปลายแถวไม่สามารถออกทำงานได้ จนต้องมีการส่งแนวร่วมระดับปฏิบัติการที่ผ่านการฝึกมาแล้ว ต้องเข้ามาทำงานแทน ส่งผลให้การก่อเหตุลดความถี่ลงหากเพิ่มความรุนแรง ท้าทายและเหี้ยมโหด อย่างไรก็ตามมาตรการที่มีประสิทธิภาพดังกล่าว แต่ดูเหมือนเริ่มมีปัญหาแล้วที่ จ.ปัตตานี จากการปล่อยให้แกนนำแนวร่วมคนสำคัญและพรรคพวกหลบหนีไปอย่างมีพิรุธ
          การเคลื่อนไหวของแกนนำและ sympathizer อิสลาม ซึ่งในช่วงรายงานกำลังฉวยโอกาสที่ ปชป.เป็นรัฐบาล โหมปลุกกระแสความไม่เป็นธรรมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อปูทางสู่การถอนทหารและการยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ฯ และการผลักดันการตั้งและบังคับใช้ศาลชารีอะห์อย่างเต็มรูปแบบกับอิสลามทั่วประเทศ อย่างต่อเนื่องและใกล้สัมฤทธิผลอย่างน่าวิตก
          การซื้อใจอิสลามของรัฐบาล ยังคงเป็นไปอย่างกระตือรือร้นและมุ่งมั่น โดยในช่วงรายงานได้แก่ การเริ่มให้มีการสอนภาษามลายูท้องถิ่นใน รร.สามัญของรัฐ การบรรจุครูอัตราจ้างเป็นข้าราชการเพิ่มขึ้น การเพิ่มโควตาผู้ไปประกอบพิธีฮัจจ์ ขณะที่ได้มีการตัดงบจัดงานทางพุทธศาสนาจาก ๑๐ ล้านบาทลงเหลือ ๒ ล้านบาท และเตรียมเสนอ กม.ให้นายอำเภอสึกพระได้ และพยายามหามาตรการลดกำลังทหารใน ๓ จชต.พร้อม ๆ ไปกับการยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน รวมทั้งป้องกันการรับรู้ถึงความโหดเหี้ยมของแนวร่วมของคนทั้งประเทศ
สถิติและนัยการก่อเหตุ
          การก่อเหตุในช่วง ๑ – ๓๑ มี.ค.๕๒ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่า มีการก่อเหตุ ๑๑๓ เหตุการณ์ เพิ่มขึ้น ๓๐ เหตุการณ์ เมื่อเทียบกับการเกิดเหตุ ๘๓ เหตุการณ์ ในช่วง ๑ – ๒๘ ก.พ.๕๒ ทั้งนี้ จ.ปัตตานี ซึ่งมีนายธีรเทพ ศรียะพันธ์ เป็น ผวจ.และนายอับดุลการีมยีดำ เป็นหน้าห้อง มีการก่อเหตุมากที่สุด ๔๘ เหตุการณ์ โดย อ.เมือง ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้ติดต่อกัน อ.หนองจิก มีการก่อเหตุ ๑๓ เหตุการณ์ ขณะที่ อ.หนองจิก ซึ่งดูเหมือนว่า จนท.โดยเฉพาะ ตร.หากไม่จำเป็นก็จะไม่เข้ายุ่งเกี่ยวในพื้นที่ มีการก่อเหตุสูงสุด ๑๐ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุ ๓๒ เหตุการณ์ โดย อ.บาเจาะ และ อ.เมือง มีการก่อเหตุสูงสุดอำเภอละ ๗ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๓๐ เหตุการณ์ โดย อ.เมืองมีการก่อเหตุสูงสุด ๑๑ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.ยะหา มีการก่อเหตุ ๘ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลา มีการก่อเหตุเพียง ๓ เหตุการณ์เท่านั้น โดยแยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๖๗ เหตุการณ์ รองลงมาคือการวางระเบิด ๓๓ เหตุการณ์ (ทั้งต่อ Hard Target และ Soft target ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถานที่ประกอบธุรกิจของไทยพุทธ) การซุ่มยิง/ซุ่มโจมตีเกิดขึ้น ๔ เหตุการณ์ การวางเพลิง/เผา ๖ เหตุการณ์ และอื่น ๆ อาทิ การฟัน/แทง ๓ เหตุการณ์
         ข้อพิจารณา
          ๑. สำหรับสาเหตุหนึ่งที่ยังทำให้การก่อเหตุเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการจับกุมอย่างเข้มงวดและอย่างต่อเนื่องก็ตาม เป็นเพราะไม่มีกฎหมายที่สามารถกักขังผู้กระทำความผิดด้านความมั่นคงได้ ดังนั้นเมื่อคุมตัวไปก็ต้องปล่อยตัวออกมาในที่สุด จนชาวบ้านเชื่อว่า จนท.จับตัวคนผิดหรือกลั่นแกล้งประชาชน ซึ่งก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ข้าราชการที่เกี่ยวกับการตัดสินคดีด้านความมั่นคงหลายคนถอดใจ และย้ายออกจากพื้นที่ ซึ่งหากผุ้ที่เข้ามารับหน้าที่แทนเป็นคนนอกพื้นที่ ที่ไม่มีประสบการณ์ในปัญหาเหล่านี้ น่าจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงได้
          ๒. การก่อเหตุโดยข้อเท็จจริงแล้วไม่ต่างจากกับช่วงที่ผ่านมา หากจำนวนที่สูงขึ้นผิดปกติ เนื่องจากมีการโหมก่อเหตุถึง ๒๕ ครั้ง ในช่วง ๒๔ – ๒๖ มี.ค.๕๒ เพียง ๓ วัน เพื่อเบนความสนใจของ จนท.และสาธารณชนให้ออกจากการปิดล้อมเพื่อปล่อยตัวนายมะซอเร ดือรามะ แกนนำแนวร่วมคนสำคัญที่ ๖.ปะกาฮะรัง อ.เมืองปัตตานี
          ๓. พบว่าการก่อเหตุนอกจากจะเพิ่มความเหี้ยมโหดขึ้นเพื่อสื่อนัยน์ตาต่อตาฟันต่อฟัน ในลักษณะการวัดใจ/เก็งใจว่าฝ่ายรัฐว่าจะถอย/อ่อนข้อให้กับแนวร่วม แสตามกระแสกดดันของแกนนำและ sympathizer หรือไม่ แล้วยังมีการก่อเหตุอย่างท้าทาย/อุกอาจมากขึ้น อาทิ การใช้ระเบิดขว้างมากขึ้นแม้กระทั่งกับเป้าหมายทหาร ซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ที่ว่าการตรวจค้น/จับกุมอย่างเข้มงวด ทำให้แนวร่วมสระดับปลายแถว ไม่สามารถออกทำงานได้ ทำให้แนวร่วมระดับปฏิบัติการที่ผ่านการฝึกมาแล้วต้องเข้ามาทำงานแทน อาทิตย์
              - การยิงแล้วจุดไฟเผานางสุพร สองแก้ว อายุ ๔๘ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๖๗/๓ ม.๔ ต.ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา เสียชีวิต ขณะที่ขับขี่รถ จยย.เพียงคนเดียว จากการตรวจสอบพบว่าสภาพศพถูกเผาไหม้เกรียมพร้อมด้วยรถ จยย.ส่วนคนร้ายได้หลบหนี เมื่อ ๒๖ มี.ค.๒๕๕๒
              - การโยนระเบิดชนิดแสวงเครื่องใส่ทหารสังกัด ร.๔๗๑๔ จำนวน ๖ นาย ขณะออก ลว.ที่บริเวณเส้นทางลัดสายพงยือไร – มาลายูบางกอก ม.๑๑ ต.สะเตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา ทำให้ อส.ทพ.ได้รับบาดเจ็บ ๔ นาย เมื่อ ๒๖ มี.ค.๒๕๕๒
          ๔. นอกจากนี้ยังพบว่าแนวร่วมมีการปรับเปลี่ยนวิธีการก่อเหตุต่อเป้าหมาย จากที่เป็นมาอย่างต่อเนื่องคือการก่อเหตุเพื่อหลอกล่อให้ จนท.มาติดกับ มาเป็นการ การแต่งชุดคล้ายทหารดักยิงเป้าหมายและการหลอกให้ทหารตามล่าคนไทยพุทธเพิ่มขึ้นอีก อาทิ
          การหลอกล่อสังหารไทยพุทธ การที่คนร้ายสวมใส่ชุดลายพรางคล้ายเจ้าหน้าที่ยีนถืออาวุธปืนอยู่บนถนน สาย ๔๒ เก่า ม.๓ ต.ตะบิ้ง อ.สายบุรี เรียกให้นายพรภิรมย์ คลอดแคล้ว อายุ ๔๑ ปี และนายสมศักดิ์ ชีวพะนาน อายุ ๒๕ ปี ชาว อ.สายบุรี จ.ปัตตานี หนุดรถ แล้วใช้อาวุธปืนกราดยิงใส่และลากทั้งสองคนลงมายิงซ้ำอีกครั้ง จนเสียชีวิตบนถนน ก่อนที่จะราดน้ำมันเผาทั้งคนและรถอย่างโหดเหี้ยม เมื่อ ๔ มี.ค.๕๒ ... ขณะที่อิสลามซึ่งมาด้วยกันปลอดภัย
          การสร้างความหวาดระแวงและความแตกแยกระหว่างทหารและไทยพุทธ การยิงนายสวาท ไตรวงศ์จาก ต.ยาบี ที่ ม.๒ บ.ท่ากูโบ ต.ปูโละปุโย อ.หนองจิก บาดเจ็บ แล้วโทรแจ้งทหารว่าเป็นคนร้ายที่ถูกยิงบาดเจ็บ เพื่อให้ทหารตามล่า โดยมีวัยรุ่นอิสลามจำนวนหนึ่งขี่มอเตอร์ไซด์ตามประกบดูเหตุการณ์ เมื่อ ๑๙ มี.ค.๕๒
          ซึ่งการก่อเหตุเช่นนี้ นับว่าอันตราบมากหากเกิดการยิงไทยพุทธขึ้น เนื่องจาก ณ เวลานี้ การคงอยู่ของคนไทยพุทธใน ๓ จชต.ขึ้นอยู่กับการปกป้องดูแลของทหารไทยพุทธเป็นสำคัญ และทหารยังคงอยู่ใน ๓ จชต. ได้ท่ามกลางกระแสกดดันให้มีการถอนทหาร ก็เพราะการมีคนไทยพุทธให้การปกป้องดูแลนั่นเอง เพราะฉะนั้นเมื่อใดก็ตามที่เกิดความบาดหมาง หรือความหวาดระแวงกันระหว่างชาวบ้านไทยพุทธและทหารไทยพุทธ ก็หมายถึงการสูญสิ้นทั้งคนไทยพุทธและทหารไทยพุทธใน ๓ จชต.นั่นเอง
          การหลอกล่อให้ จนท.มาติดกับ ได้แก่
              - การยิงอิสลาม บาดเจ็บสาหัส ที่ ม.๖ ต.ตุยง อ.หนองจิก เพื่อหลอกล่อให้ทหารพรานสังกัดกองร้อย ร.๔๓๑๓ ตรวจสอบจุดเกิดเหตุ แล้วจุดระเบิดขณะเดินทางกลับ ส่งผลให้อาสาทหารพราน (อส.ทพ.) ๒ นายบาดเจ็บ เมื่อ ๒๓ มี.ค.๕๒
              - การยิงนายจรูญ รัตนบุญ บาดเจ็บสาหัส และนางสุชาดา รัตนบุญ เสียชีวิตที่บ้านเลขที่ ๑๐๗ ถนนเพชรเกษม เขตเทศบาลตำบลบาเจาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เมื่อ จนท.เข้ามาตรวจสอบ จึงกดระเบิดที่ลอบนำไปวางไว้บนแคร่วางสินค้า ซึ่งอยู่หน้าร้านด้านนอกประตูติดกับทางเข้า ทำให้ จนท.ตร.บาดเจ็บ ๒ นาย เมื่อ ๒๕ มี.ค.๕๒
              - ลอบวางเพลิงป้อมยามของโรงเรียนคณะราษฎร ๒ ฯ จนท.ทหารชุด ร้อย ร.๕๐๓๕ และวางระเบิดไหล่ทางถนนภายในหมู่บ้าน ม.๓ ต.ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา ได้เกิดเกตุระเบิดขึ้น เป็นเป้าให้ จนท.ทหารที่เข้าไปตรวจสอบพื้นที่ ได้รับบาดเจ็บ ๑ นาย ประชาชนได้รับบาดเจ็บ จำนวน ๒ คน เมื่อ ๒๖ มี.ค.๕๒
              - มีการแจ้งว่า คนร้ายลอบวางกล่องวัตถุต้องสงสัยและโปรยตะปูเรือใบ บริเวณถนนบ้านยะออ ม.๔ ต.จะแนะ อ.จะแนะ เมื่อ จนท.ตรวจสอบเดินไปถึงถนนสายจะแนะ – ดุซงญอ ม.๒ ต.จะแนะ อ.จะแนะ จึงกดระเบิด ทำให้ อส.บาดเจ็บ ๒ นาย เมื่อ ๒๖ มี.ค.๕๒
              - การแจ้ง จนท.ตร.ว่าเกิดเหตุพยายามฆ่าที่หน้าศาลาทางเข้าบ้านเจาะกะพ้อ ใน ม.๗ ต.กะรุบี อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี และกดระเบิดที่ลอบวางไว้ขณะที่ จนท.กำลังตรวจสอบสถานที่ แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ เมื่อ ๒๗ มี.ค.๕๒
การตรวจค้น/จับกุม
          การตรวจค้นและจับกุม ซึ่งดูเหมือนจะเป็นมาตรการสร้างความอุ่นใจให้กับบริสุทธิ์ชนใน ๓ จชต. โดยเฉพาะไทยพุทธา มาโดยตลอดในช่วงประมาณ ๒ ปีที่ผ่านมา ก็ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิผล โดยเฉพาะใน จ.นราธิวาส อาทิ การค้นบ้านไม่มีเลขที่ บนเทือกเขาหลังหมู่บ้านไอร์กาแซ ท้องที่หมู่ ๖ ต.ศรีสาคร อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ซึ่งทำให้สามารถวิสามัญแกนนำแนวร่วมได้ ๔ คน คือ นายมะแซนซูดิง มะสา นายมานะ โต๊ะเจ๊ะ นายรัสซูรู และ นายจูเฮาะ จาก อ.รือเสาะ และขอมอบตัว ๒ คน คือ นายมะเปาซี รือสะ ๘๗ หมู่ ๖ บ้านไอร์กาแซ ต.ศรีสาคร กับ นายอาปะ สะมะแอ ๒๐๙ หมู่ ๒ ต.รือเสาะ อ.รือเสาะ เมื่อ ๒๐ มี.ค.๕๒
          อย่างไรก็ตาม ความศรัทธาในการปฎิบัติการตรวจค้นจับกุม เริ่มเสื่อมความขลังและความน่าศรัทธาลงไป อย่างน่าวิตก หลังจากการปิดล้อมที่ ต.ปะกาฮะรัง อ.เมือง จ.ปัตตานี เพื่อตามล่า นายมะซอเร ดือรามะ แกนนำแนวร่วมคนสำคัญ ซึ่งเชื่อว่ามีโยงใยกับข้าราชการระดับสูงในจังหวัดถึง ๒ วัน แต่กลับไม่ได้คนร้ายแม้แต่คนเดียวอย่างมีพิรุธ ทั้งนี้ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ จากชาวบ้านในพื้นที่อย่างกว้างขวาง และหวาดระแวงว่า ได้มีการต่อรองช่วยเหลือคนร้าย โดยไม่คำนึงถึงความสูญเสียของ จนท. ระดับล่างและประชาชนผู้บริสุทธิ์
          การเคลื่อนไหวของแกนนำ และ sympathizer อิสลาม
          ๑. การโหมปูกระแสความไม่เป็นธรรม และการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อปูทางสู่การถอนทหาร และการยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน
              การโหมปลุกกระแสความไม่เป็นธรรม และการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อปูทางสู่การถอนทหาร และการยกเลิก พรก . ของแกนนำแนวร่วมที่อยู่ในบทบาทของนักการเมือง นักศึกษา องค์กรสิทธิมนุษยชน และสื่อมวลชน เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และใกล้สัมฤทธิผลอย่างน่าวิตก เนื่องจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมุ่งให้ความสนใจ กับการต่อสู้ทางการเมือง และการปกป้องตนเองของข้าราชการ จากการคุกคามของนักการเมือง จึงกำลังละเลยต่อการรุกคืบ เพื่อปกครองตนเองอย่างเป็นระบบของอิสลาม
              กลุ่มนักการเมือง ๓ จชต. ซึ่งส่วนใหญ่คือ กลุ่มวาดะห์ นำโดย นาย.. รวม ๘ นาย และ นาง.... ประกาศจัดตั้งพรรคการเมืองอิสลาม “มาตุภูมิ” ซึ่งมี พล.อ....... เมื่อ ๑๖ มี.ค.๕๒ โดยมีการประกาศเจตนารมณ์ของพรรคว่า เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรม และการผลักดันเพื่อให้มีการยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉูกเฉิน และกฎอัยการศึก ..เป็นการรวมตัวของนักการเมืองที่มีความเห็นอาจแตกต่างกัน หากยึดความเป็นอิสลามเป็นที่ตั้งในลักษณะแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง เพื่อให้เกิดพรรคการเมืองลอกเลียนแบบพรรคปาส (ฝ่ายค้าน) ของมาเลเซีย ซึ่งกำลังมีอิทธิพลทางการเมืองมากขึ้นทุกขณะ
              ขณะที่ นาย ....... ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร และ ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ พยายามโน้มน้าวให้เห็นว่าการจัดหาอุปกรณ์ด้านการทหาร ไม่สามารถแก้ปัญหาภาคใต้ได้ ต้องความเป็นธรรมกับประชาชนในพื้นที่เท่านั้น จึงจะคลี่คลายปัญหาได้ อีกทั้งยังได้พยายามปกปิด ไม่ให้พฤติกรรมโหดร้ายของแนวร่วมที่กระทำต่อคนไทยพุทธ แพร่ออกสุ่สาธารณชนทั่วประเทศ
              กลุ่มนักศึกษา โดย นาย...นศ. ปีที่ ๔ มร. และประธานเครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน ซึ่งได้สร้างการเป็นที่รู้จัก และ brand name มาจากการชิงบทบาทการนำระหว่างการชุมนุมเรียกร้องให้มีการถอนทหาร ยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน และกฎอัยการศึก ที่มัสยิดกลางปัตตานี ระหว่าง ๓๐ พ.ค. – ๔ มิ.ย.๕๐ ได้ประกาศเมื่อ ๖ มี.ค.๕๒ ก่อตั้งศูนย์ข่าวอามาน ซึ่งมีตนเองเป็นบรรณาธิการ
              มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ ได้แก่ ศูนย์ทนายความมุสลิม กลุ่มบ้านอาสาเพื่อเด็ก และเยาวชน กลุ่มผู้หญิงกับสันติภาพ และกลุ่มคนทำงานอิสระอื่นๆ ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลของครอบครัวผู้ต้องขัง เพื่อชี้นำ/โน้มน้าวสังคมให้เบี่ยงเบน จากการมองความผิดของผู้ต้องหา มาสู่ความเห็นใจ ในยากลำบากของครอบครัวผู้ต้องขัง โดยเน้นมาที่มี “เด็กเล็ก” ซึ่งร้องถาม พ่ออยู่ไหน อยู่ในความดูแล
              กลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชนปัตตานี ( Patani Malay Human Rights Organiztion - PMHRO) ได้แพร่กระจายเอกสารและวีซีดี กล่าวหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้ต้องหา ของเจ้าหน้าที่ทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่สนใจของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ (HRC) แล้ว
              เครือข่ายองค์กรเอกชน NGO อาทิ นาง........ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ผลักดันตัวเองให้กลายเป็นตัวหลักในการชี้นำการแก้ปัญหามลายูอิสลาม ให้หน่วยงานรัฐ เรียกร้องให้รัฐบาลลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย ขององค์การสหประชาชาติ พ.ศ.๒๕๔๙
              ข้อพึงระวัง ในขณะที่ทหารกำลังกลายเป็นเป้าหมายที่แกนนำอิสลามมุ่งขจัดให้ออกจาก ๓ จชต. ก็ดูเหมือนว่าผู้ปฎิบัติก็ยังคงทำความผิดพลาด ที่ทำให้เสียมวลชนอย่างง่าย ๆ อย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยในช่วงรายงานมีรายงานว่า สื่อมวลชนที่เข้าไปทำข่าวลอบวางระเบิด บนถนนสายบ้านโคกวัว – บ้านบือแนลาแล ม.๘ บ้านบือแนลาแล ต.ปล่องหอย อ.กะพ้อ ซึ่งทำให้ ทพ. ๔ นาย เสียชีวิต เมื่อ ๑๙ มี.ค.๕๒ เกิดความไม่พอใจ จากการที่ จนท.ทหารพยายามกันไม่ให้สื่อมวลชนเข้าไปถ่ายภาพ
          ๒. การผลักดันการจัดตั้ง ศาลชารีอะห์อย่างเต็มรูปแบบและครอบคลุม การกดดันการจัดตั้งศาลชารีอะห์เต็มรูปแบบ เป็นไปอย่างต่อเนื่องและอย่างสัมฤทธิผล หากที่น่าวิตกอย่างยิ่งคือ การส่งนัยกดดันจากนอกประเทศ เริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น ด้วยการสนับสนุนของ ศอ.บต. และเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงไคโร ประเทศอียิปต์
          สถาบัน..... กำลังปลุกเร้าสร้างกระแสกดดันให้รัฐบาล แสดงความจริงใจตอบแทนคุณอิสลาม ด้วยการผลักดันการตั้งและบังคับใช้ศาลชารีอะห์ อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งการปลุกเร้าดังกล่าว กำลังได้รับการตอบรับจากสื่อสามัญ อาทิ เดลินิวส์ และการขอมีส่วนเพื่อไม่ให้ตกกระแส ของหน่วยงานของรัฐคือ ปลักกระทรวงยุติธรรม
          เชค อาลี โกมาร์ โมฮัมหมัด อับเดล วาฮับ ผู้นำทางศาสนาที่สำคัญเป็นอันดับสองรองจาก ผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์ (Grand Iman of Al Azhar) เชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์อิสลาม เป็นผู้ชี้ขาดออกคำวินิจฉัยในประเด็นด้านศาสนา ( Fatwa : ฟัตวา ) จะเข้าร่วมสัมมนาการปรับประยุกต์ใช้หลักกฎมายอิสลาม กับกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก ซึ่งจัดโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่ จ.ปัตตานี
          นาย....... ประธานสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สสต.) กล่าวว่า สสต. และ ศอ.บต. พยายามผลักดันให้มีการปรับปรุงระบบการใข้กฎหมายอิสลาม ว่าด้วยครอบครัวและมรดก ในประเทศไทยให้มีความครอบคลุมและพัฒนามากยิ่งขึ้น
มาตรการซื้อใจอิสลามของรัฐ
          ในช่วงรายงานพบว่า รัฐบาลยังคงมุ่งมั่นซื้อใจอิสลามอย่างมุ่งมั่น โดยการให้ รร.สามัญของรัฐสอนภาษามลายูท้องถิ่น ควบคู่กับภาษาไทย การบรรจุครูอัตราจ้าง ซึ่งส่วนใหญ่คือ อิสลามเป็นข้าราชการเพิ่มขึ้น และการลงโทษบริษัทจัดการนำอิสลามในประเทศไทย ไปประกอบพิธีฮัจจ์ พร้อมเพิ่มจำนวนอิสลามไปประกอบพิธีฮัจจ์ ขณะที่มีความพยายามผลักดัน เพื่อให้อำนาจในการสึกพระสงฆ์แก่นายอำเภอ
          ขยายการใช้ภาษามลายูใน รร.รัฐ โดยเริ่มจาก รร.นำร่อง ๔ แห่ง ในพื้นที่ ๔ จังหวัดชายแดนภาค ได้แก่ โรงเรียนบ้านประจัน ในพื้นที่ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี โรงเรียนบ้านบึงน้ำใส อ.รามัน จ.ยะลา โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๐ อ.เมือง จ.นราธิวาส และโรงเรียนตำมะลังเหนือ อ.เมือง จ.สตูล มีระยะเวลาดำเนินงานโครงการ ๙ ปี โดยได้ริเริ่มเตรียมการมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๐
          เพิ่มการบรรจุครูอัตราจ้างซึ่งส่วนใหญ่คือ อิสลามเป็นข้าราชการจาก ๒๕ % เป็น ๕๐% หรือ ๑,๖๓๙ อัตรา ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวน ๒๑๔,๕๗๗,๙๐๐ บาท ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นต้นไป ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส,ปัตตานี ยะลา
          การเพิ่มจำนวนผู้แสวงบุญ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ตั้งคณะ กก.พิจารณาถอนบริษัทผู้ประกอบการฮัจจ์ ที่ไม่สามารถทำความพอใจให้ผู้แสวงบุญได้ และจะเพิ่มจำนวนผู้แสวงบุญเป็น ๑๕,๐๐๐ คน สำหรับปี ๒๕๕๒

                                               ............................................