สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต. ๑ - ๓๑ มี.ค.๕๓
แกนนำแนวร่วมและ Sympathizer ยังคงเคลื่อนไหวทำกิจกรรมเพื่อให้มีชื่อปรากฏอยู่ในสังคมเพื่อฝ่ากระแสเสื้อแดงให้ได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีแนวโน้มชะลอตัวลง เพื่อรอประเมิน สถานการณ์ทางการเมืองก็ตาม โดยสื่ออิสลามยังคงเน้นทำลายเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่ที่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวในการก่อเหตุของแนวร่วม และเผยแพร่/ขยายแนวคิดการแยกการปกครองของขบวนการแบ่งแยกการปกครองอย่างฮึกเหิม และอย่างสอดประสานกับองค์กรเอกชนอิสลามอื่นๆที่พยายามกดดันการแยกการปกครอง ๓ จชต.โดยอ้างประเด็นการไม่ได้รับความเป็นธรรม อย่างมุ่งมั่นต่อไป โดยมีการก่อเหตุเพื่อสร้างรูปธรรมให้กับการเคลื่อนไหวของสื่อและ NGO อิสลาม ได้แก่ การก่อเหตุที่เน้นการวางระเบิด เพื่อ discredit จีที ๒๐๐ และการมุ่งเน้นต่อชีวิตคนไทยพุทธ เพื่อให้สอดรับกับการนำเสนอการแยกการปกครอง ๓ จชต. สำหรับความเคลื่อนไหวของรัฐเท่าที่ตรวจพบ ยังคงเป็นการซื้อใจอิสลามด้วยการผลักดันเรื่องศาลซารีอะห์ ให้ออกมาบังคับใช้ให้ได้ ขณะที่การตรวจค้น จับกุมแม้จะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและสามารถจับกุมแกนนำแนวร่วมคนสำคัญได้ก็ตาม แต่ก็ดูเหมือนจะอ่อนพลังลง แนวโน้ม สถานการณ์ใน ๓ จชต. ค่อนข้างน่าวิตก จากสภาพปลอดอำนาจรัฐ การเสียชีวิตของ พ.ต.อ. สมเพียร เอกสมญา ไทยพุทธ ซึ่งทำให้มีการแต่งตั้ง พ.ต.อ.เจตน์ เจริญยืน อิสลาม ขึ้นมาแทน การถึงแก่อนิจกรรมของ นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ จุฬาราชมนตรี คนปัจจุบัน เมื่อ ๒๔ มี.ค.๕๓ ซึ่งจะต้องมีการสรรหาจุฬาราชมนตรีขึ้นใหม่ และการที่ จีที ๒๐๐ ถูก NGO อิสลาม ทำลายความน่าเชื่อถืออย่างยับเยิน แต่ที่สำคัญซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้สถานการณ์ใน ๓ จชต.เลวร้ายลงอย่างชัดเจน หากจุฬาราชมนตรีคนใหม่เป็นคนใน ๓ จชต. การเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและ Sympathizer แกนนำแนวร่วมและ Sympathizer ยังคงแข่งขันกันเคลื่อนไหวทำกิจกรรมเพื่อให้มีชื่อปรากฏอยู่ในสังคมเพื่อฝ่ากระแสเสื้อแดงให้ได้อย่างต่อเนื่อง โดยสื่ออิสลามยังคงเน้นทำลายเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่ที่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวในการก่อเหตุของแนวร่วม และเผยแพร่/ขยายแนวคิดการแยกการปกครองของขบวนการแบ่งแยกการปกครองอย่างฮึกเหิม และอย่างสอดประสานกับองค์กรเอกชนอิสลามอื่นๆที่พยายามกดดันการแยกการปกครอง ๓ จชต.โดยอ้างประเด็นการไม่ได้รับความเป็นธรรม อย่างมุ่งมั่นต่อไป สถาบันอิศรา ยังเกาะติดคุณสมบัติ จีที ๒๐๐ เพื่อกดดันให้มีการปล่อยตัวผู้ต้องหา อย่างหลากหลายรูปแบบ ทั้งการสร้างตัวบุคคลออกมาให้เป็นข่าว โดยเฉพาะนาย .....ผ่านบทความต่างๆ ได้แก่ บทความไหนว่าไม่มี...เปิดหลักฐาน "เหยื่อ" ถูกจีที ๒๐๐ ชี้-จับ! เมื่อ ๕ มี.ค.๕๓ เพื่อจะสื่อว่า ผู้ที่ถูกจับเพราะ จีที ๒๐๐ แม้ถูกปล่อยก็ยังต้องไปรายงานตัว แต่ไม่ระบุชื่อผู้ให้ข่าวในลักษณะใบปลิว บทความ คดีความมั่นคงยกฟ้องกว่าครึ่ง...สะท้อนปัญหา "ต้นธาร" ยุติธรรม เมื่อ ๕ มี.ค.๕๓ เพื่อสรุปว่า การดำเนินการของ จนท.บกพร่อง บทความ เมื่อน้ำถังเล็กร่วมดับไฟใต้...“ไชยยงค์”ชูแนวทางกระจายอำนาจหยุดความรุนแรง เมื่อ ๗ มี.ค. ๕๓ เพื่อเสนอว่าต้องกระจายอำนาจให้กลไกรัฐอิสลามให้มากกว่าที่เป็นอยู่ บทความ“พูโล”ปรับโฉมองค์กรใหม่ในวาระก่อตั้งครบ ๔๒ ปี รวมทุกขบวนการเป็นหนึ่งภายใต้ชื่อ GPP เมื่อ ๙ มี.ค.๕๓ ตีพิมพ์บทความการรวมตัวเพื่อปลดปล่อยรัฐปัตตานีของขบวนการต่างๆโดยไม่เกรงกลัวต่ออำนาจรัฐ บทความม่านหมอกความรุนแรงที่บ้านกูจิงลือปะ(๑)...จากสังหารครูจูหลิง ถึงฆ่าโหดสองแม่ลูก! เมื่อ ๒๓ มี.ค.๕๓ เพื่อชี้นำให้สังคมเกิดความกังขาว่าการลอบยิง ๒ แม่ลูกอิสลามเมื่อ ๑๕ ก.พ.๕๓ เป็นฝีมือของ จนท. นาย ..... เลขาธิการศูนย์ทนายความมุสลิม กำลังร่วมมือกับสถาบันอิศรา ออกให้สัมภาษณ์แก่สถาบันอิศราอย่างต่อเนื่อง อาทิ การให้สัมภาษณ์ในบทความ -ไหนว่าไม่มี...เปิดหลักฐาน "เหยื่อ" ถูกจีที ๒๐๐ ชี้-จับ! เมื่อ ๕ มี.ค.๕๓ ซึ่งสรุปออกมาว่า มีจำเลยหรือผู้เสียหายจำนวนมากที่ถูกเครื่องจีที ๒๐๐ ชี้ แล้วจึงถูกดำเนินคดี ซึ่งขณะนี้ทางศูนย์ทนายความมุสลิมกำลังรวบรวมตัวเลขอยู่…” -คดีความมั่นคงยกฟ้องกว่าครึ่ง...สะท้อนปัญหา "ต้นธาร" ยุติธรรม เมื่อ ๕ มี.ค.๕๓ ซึ่งสรุปได้ว่า การที่มีคดียกฟ้องในอัตราที่สูง แสดงว่าการสืบสวนสอบสวนก่อนจับกุมขาดประสิทธิภาพ นาย ..... นักวิชาการด้านสันติวิธี และอดีตกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) กล่าวว่า …… “ทุกวันนี้ผมว่าเกิน ๕๐% ที่ผู้ถูกจับกุมเป็นแพะ คือไม่ได้มีส่วนในการกระทำความผิดจริง โดยเฉพาะแพะที่มาจากเครื่องจีที ๒๐๐ ถือเป็นตัวชี้วัดสำคัญถึงความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ .... นาย ..... นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศ ….“ผมมองว่าวิธีที่จะเป็นทางออกมากที่สุด ต้องใช้กลไกที่มีอยู่คือการกระจายอำนาจให้ทั่วถึง ปัจจุบันมีการเลือกตั้งในท้องถิ่นที่มีพี่น้องมุสลิมได้รับการคัดเลือกมาเป็นส่วนใหญ่ แต่กลับยังแก้ปัญหาไม่ได้ อาจเป็นเพราะคนเหล่านั้นไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง ฉะนั้นรัฐต้องทุ่มงบประมาณและมอบอำนาจให้เขาไป เพื่อใช้ระบบที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด นาย ..... กรรมการยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย(ยมท.) พยายามต่อต้านเทคโนโลยี่สมัยใหม่ที่อาจทำให้การแก้ไขปัญหาความไม่สงบลุล่วงไปด้วยดี โดยกล่าวถึงกรณีโครงการจัดซื้อเรือเหาะ ว่า “..... ชาวบ้านในพื้นที่ชายแดนภาคใต้จำนวนไม่น้อยที่เริ่มมีความรู้สึก หรือเกิดทัศนคติในแง่ลบต่อหน่วยความมั่นคงมากขึ้นในกรณีการนำงบประมาณแก้ไข ปัญหาชายแดนภาคใต้ไปจัดซื้อเครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฮเทคโนโลยีมาสนับสนุนการ ปฏิบัติงาน .... มุสลิมเพื่อสันติ โดยการนำของ นาย ..... อ้างการครบรอบ ๖ ปีของการหายตัวของนายสมชาย นิลไพจิตรเรียกร้องให้รัฐ ให้ คำตอบกับสังคม ให้ได้ และให้มีการดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนจนถึงที่สุด มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ขอยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กรต.) ซึ่งสรุปออกมาว่าให้รัฐดูแลผู้ที่ถูกจับกุมให้มากขึ้นโดยเฉพาะการอำนวยความสะดวกในการประกันตัว และการจ่ายเงินค่าชดเชยให้กับผู้ที่ถูกสั่งปล่อยตัว เครือข่ายประชาสังคม ๒๓ องค์กร จึงร่วมกับสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้าและศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ดำเนินกิจกรรม “เปิดเวทีตัวแทนทางความคิดเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่องการเมืองการปกครองในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” ระหว่างวันที่ ๘ – ๙ มี.ค.๕๓ ณ เพชรมีรีสอร์ท บ.สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา โดยมีข้อสรุปว่าให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมกำหนดวิถีชีวิตของตนเอง และต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติ กองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตร ประกาศให้ทุนจำนวนสี่ทุน ทุนละสามหมื่นถึงห้าหมื่นบาท แก่ผู้สนใจผลิตข้อเขียนเชิงลึกเกี่ยวกับ การละเมิดสิทธิมนุษยชนในเจ็ดประเด็น ปิดรับการเสนอหัวข้อรอบแรกช่วง เม.ย.๕๓
สถิติและนัยการก่อเหตุ
การก่อเหตุในช่วง ๑-๓๑ มี.ค.๕๓ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุ จำนวน ๖๙ เหตุการณ์ เพิ่มขึ้นจาก ๖๒ เหตุการณ์ ในช่วง ๑-๒๘ ก.พ.๕๓ ทั้งนี้ จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุ มากที่สุด ๒๗ เหตุการณ์ โดย อ.เมือง มีการก่อเหตุสูงสุด ๑๐ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.แม่ลาน และอ.ยะรังพื้นที่ละ ๓ เหตุการณ์ ส่วน จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุ ๒๕ เหตุการณ์ โดย อ.บาเจาะ มีการก่อเหตุมากที่สุด ๔ เหตุการณ์ นอกนั้นกระจายกันไปอำเภอละ ๑-๒ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๑๔ เหตุการณ์ โดยเป็นการก่อเหตุใน อ.เมืองมากที่สุด ๓ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลา มีการก่อเหตุ เพียง ๓ เหตุการณ์ เท่านั้น ทั้งนี้การก่อเหตุทั้ง ๖๙ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๓๗ เหตุการณ์ รองลงมาคือการวางระเบิด ๒๘ เหตุการณ์ และการวางเพลิง/เผา ๔ เหตุการณ์ โดยการก่อเหตุเน้นการวางระเบิดต่อเป้าหมายไทยพุทธ ส่งผลให้จำนวนไทยพุทธเสียชีวิตและบาดเจ็บ เท่าที่รวบรวมได้ ๔๑ ราย (แยกเป็นเสียชีวิต ๑๒ รายและบาดเจ็บทั้งสาหัสและไม่สาหัส ๒๙ ราย) ขณะที่อิสลามเสียชีวิตและบาดเจ็บ ๓๑ ราย
ข้อพิจารณา
๑.การก่อเหตุมีลักษณะของความพยายามคงสถิติไม่ให้ลดลง ดังจะเห็นจากการ ก่อเหตุลอบวางระเบิดและหลบหนีไป ๘ จุด ใน จ.นราธิวาส เมื่อ ๒ มี.ค.๕๓
๒.การก่อเหตุมีลักษณะของการสนับสนุนข้อเรียกร้องขอแยกการปกครอง/ปกครองตนเอง และการทำลายความน่าเชื่อถือของ จีที ๒๐๐ ของแกนนำและ Sympathizer โดยเน้นการก่อเหตุต่อไทยพุทธ และการลอบวางระเบิดซึ่งสูงถึง ๒๘ เหตุการณ์ เทียบกับ ๑๗ เหตุการณ์ ในช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา ๓. การก่อเหตุไม่มีลักษณะของความฮึกเหิม อีกทั้งยังพยายามหลบเลี่ยงการสูญเสีย ดังจะเห็นจากการก่อเหตุทั้ง ๖๙ เหตุการณ์ เป็นการกระทำต่อ soft targets ถึง ๕๕ เหตุการณ์ ขณะที่การก่อเหตุต่อ hard targets ๑๔ เหตุการณ์ นั้น ส่วนใหญ่เป็นการลอบวางหรือขว้างระเบิดแล้วหลบหนี การตรวจค้นและจับกุมของ จนท.
การตรวจค้น จับกุมแม้จะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและสามารถจับกุมแกนนำแนวร่วมคนสำคัญได้ก็ตาม แต่ก็ดูเหมือนจะอ่อนพลังลง สำหรับการตรวจค้นและจับกุมที่สำคัญ อาทิ - การจับกุม เครือข่ายของแวสะแม มาซอ แกนนำกลุ่มขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่ อ.ไม้แก่น คือนายอับดุลอาซิ สาและ ผู้ต้องหาตามหมายจับ ป.วิอาญาของศาลจังหวัดปัตตานี จำนวน ๑๔ หมาย และนายบูคอรี สูเดาะ ผู้ต้องหาตามหมายจับ ป.วิอาญาของศาลจังหวัดปัตตานี จำนวน ๑ หมาย เมื่อ ๒๑ มี.ค.๕๓ - การจับกุมนายเลาะอุมา โละมะ และนายอาแวเลาะ โละมะ แกนนำ RKK ระดับสั่งการกลุ่มนายสุเพียร หะยียูโซ๊ะ ซึ่งมีหมายจับคดีความมั่นคงในพื้นที่ อ.รือเสาะ ประมาณ ๑๐ คดี เมื่อ ๒๕ มี.ค.๕๓ การซื้อใจอิสลามของรัฐบาล นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาผู้แทนราษฎร นำคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ กว่า ๒๐ คน เดินทางไปประเทศมาเลเซีย เป็นเวลา ๓ วัน ในระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๓ มี.ค.๕๓ เพื่อไปศึกษาดูงาน ๕ ประเด็นสำคัญ คือ เรื่องศาลซารีอะห์ เป็นศาลอิสลามพิพากษาคดีแพ่ง ครอบครัว มรดก โดยคู่ความต้องเป็นชาวมุสลิมด้วยกัน ซึ่งในขณะนี้ รัฐบาลกำลังผลักดันกฎหมายการจัดตั้งศาลซารีอะห์ ในประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การศึกษาดูงานกิจการฮัจย์ ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญระดับกระทรวง แต่ในประเทศไทยที่มีชาวมุสลิม กว่า ๑๐ ล้านคน กลับยังไม่มีหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ จึงต้องนำข้อมูลที่ได้มาเตรียม เพื่อยื่นกฎหมายนี้เข้าสภาผู้แทนราษฎรต่อไป (ไทยมุสลิมดอทคอม)
............................................
|