สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต. ๑ - ๓๑ พ.ค.๕๒
การเคลื่อนไหวที่น่าสนใจใน ๓+๑ จชต. ในช่วง ๑ – ๓๑ พ.ค.๕๒ ยังคงได้แก่การก่อเหตุ ซึ่งเท่าที่รวบรวมได้มีจำนวน ๖๙ เหตุการณ์ แยกเป็นการก่อเหตุใน จ.ยะลา มากที่สุด ๒๔ รองลงมาคือ จ.นราธิวาส ๒๓ เหตุการณ์ ส่วน จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุ ๒๒ เหตุการณ์ สำหรับ จ.สงขลา ไม่มีรายงานการก่อเหตุแต่อย่างใด ขณะที่การตรวจค้นและการจับกุมยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสัมฤทธิผล จนสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของแนวร่วมได้ในระดับหนึ่ง ส่งผลให้แกนนำแนวร่วมและ sympathizer ต้องเร่งหาทางกดดันให้รัฐบาลยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ให้ได้อย่างไม่ลดละ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะได้รับการตอบสนองจากรัฐบาล ที่กำลังทำทุกวิถีทางเพื่อซื้อใจอิสลามเช่นเดียวกับหลาย ๆ หน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะ กอ.รมน.และ ศอ.บต.ซึ่งดูเหมือนจะมีความภาคภูมิใจและเต็มใจที่ได้กลายเป็นเครื่องมือของแนวร่วมอิสลาม
สำหรับแนวโน้มของสถานการณ์ เชื่อว่าตราบเท่าที่ยังเป็นรัฐบาลอยู่ การรุกเข้ามาแสวงประโยชน์ของแกนนำแนวร่วมและ sympathizer อิสลาม ก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการยกเลิก พรก.ฉุกเฉินและการตั้งศาลซารีอะห์อันเป็นก้าวแรกเพื่อนำไปสู่การมีอำนาจตุลาการเป็นของตนเองของผู้ที่เรียกตนเองว่า มลายูอิสลาม
การก่อเหตุ การก่อเหตุในช่วง ๑ – ๓๑ พ.ค.๕๒ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุรวมทั้งสิ้น ๖๙ เหตุการณ์ ลดลงเมื่อเทียบกับการเกิดเหตุ ๑๑๓ เหตุการณ์ ในช่วง ๑ – ๓๐ เม.ย.๕๒ ทั้งนี้ จ.ยะลา มีการก่อเหตุมากที่สุด ๒๔ เหตุการณ์ โดย อ.เมือง มีการก่อเหตุสูงสุด ๙ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.บันนังสตา ๘ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุ ๒๓ เหตุการณ์ โดย อ.ระแงะ และ อ.เมือง มีการก่อเหตุสูงสุดอำเภอละ ๕ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.ศรีสาคร ซึ่งตามปกติมักไม่ค่อยมีการก่อเหตุ มีการก่อเหตุ ๔ เหตุการณ์ ส่วน จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุ ๒๒ เหตุการณ์ โดย อ.เมือง มีการก่อเหตุมากที่สุด จำนวน ๖ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.หนองจิก ซึ่งดูเหมือนว่า จนท. โดยเฉพาะ ตร.หากไม่จำเป็นก็จะไม่เข้ายุ่งเกี่ยวในพื้นที่ มีการก่อเหตุ ๕ เหตุการณ์ สำหรับ จ.สงขลา ไม่ปรากฏรายงานการก่อเหตุ ทั้งนี้ การก่อเหตุทั้ง ๖๙ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๓๗ เหตุการณ์ รองลงมาคือ การวางระเบิด ๒๑ เหตุการณ์ ทั้งต่อ Hard Target และ Soft Target ในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน (โดยการกระทำต่อ Soft Target ส่วนใหญ่คือ สถานที่ประกอบธุรกิจของไทยพุทธ) การวางเพลิง/เผา ๘ เหตุการณ์ และการซุ่มโจมตี ๓ เหตุการณ์
ลักษณะการก่อเหตุ การก่อเหตุของแนวร่วมในช่วง พ.ค.๕๒ เมื่อพิจารณารวมถึงการซุ่มโจมตีต่อ Hard Target ที่มีเพียง ๓ เหตุการณ์ ประกอบกับการตรวจค้น/จับกุมของ จนท. ซึ่งสามารถจับกุม และวิสามัญผู้ก่อเหตุได้อย่างต่อเนื่องแล้ว อาจสรุปได้ว่า การเคลื่อนไหวของแนวร่วมโดยเฉพาะผู้ปฎิบัติการถูกจำกัด และการก่อเหตุต้องหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับ จนท. หากยังสามารถประสานการก่อเหตุกันได้ในระดับหนึ่ง
- การก่อเหตุส่วนใหญ่เป็นการกระทำต่อเป้าหมายที่อ่อนแอ ในพื้นที่ที่ป้องกันตัวเองไม่ได้ (ตามถนน) และเป็นบางช่วงที่มี โอกาสเท่านั้น (แม้จะกระทำต่อทหาร ตร. แต่ก็ขณะที่อยู่ตามลำพังเท่านั้น )
- การวางระเบิด ซึ่งกระทำต่อทั้งเป้าหมาย Hard Target และ Soft Target ในจำนวนใกล้เคียงกันนั้น สำหรับการทำต่อ Hard Target พบว่า นอกจากมีผิดพลาดบ้างแล้ว ยังไม่มีการซุ่มโจมตีซ้ำ ส่วนการกระทำ Soft Target เป็นเป้าหมายง่าย ๆ ที่อ่อนแอ ป้องกันตัวเองไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่คือ ธุรกิจไทยพุทธ และเสาโทรศัพท์มือถือ
- มีการก่อเหตุในลักษณะของการเร่งเพิ่มสถิติ พบที่ จ.ยะลา ซึ่งมีการก่อเหตุถึง ๙ เหตุการณ์ ใน อ.เมือง จ.ยะลา เมื่อ ๒๗ พ.ค.๕๒ โดยเป็นการก่อนเหตุต่อเป้าหมายง่าย ๆ ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ แม้ความเสียหายจะสูงมาก เนื่องจากในช่วงตั้งแต่ ๑ – ๒๗ พ.ค.๕๒ มีการก่อเหตุใน จ.ยะลา ต่อเป้าหมายที่อ่อนแอเพียง ๑๔ เหตุการณ์ เท่านั้น
ข้อพึงระวัง การควบคุมสภาพการเคลื่อนไหวของแนวร่วมดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการตรวจค้น/จับกุม โดยแนวร่วมไม่รู้ตัว ตาม พรก.ฉุกเฉิน ฯ ส่งผลให้แกนนำแนวร่วมต้องพยายามกดดันให้มีการยกเลิก พรก. ดังกล่าว ให้ได้ ซึ่งปรากฏว่า รัฐบาล ปชป. ก็เตรียมตอบสนองเต็มที่ ทั้งนี้ จุดอ่อนที่ทำให้การใช้ พรก.ฉุกเฉินถูกวิจารณ์ในทางลบคือ ความผิดพลาดของ จนท.ในการปฎิบัติ
การเคลื่อนไหวของภาครัฐ การเคลื่อนไหวของหน่วยงานรัฐในส่วนกลาง การเคลื่อนไหวของหน่วยงานรัฐในส่วนกลาง ยังมีลักษณะของการมุ่งซื้อใจอิสลาม อย่างไม่ลดละ - รมว.กต. นอกจากการรับจะดูแลผู้ไปประกอบพิธีฮัจจ์ ที่เมกกะ อย่างดีแล้ว ยังเลือกที่จะพาคณะเอกอัครราชทูตจากสหภาพยุโรป จำนวน ๑๔ ประเทศ เดินทางไปยังองค์กรเอกชนที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ ศูนย์ทนายความมุสลิม อ.เมือง จ.ยะลา และศูนย์ยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ของ นาง... เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า การประกาศใช้กฎอัยการศึก และ พรก.ฉุกเฉิน ฯ มีผลกระทบต่อชีวิตของประชาชน และเกิดความไม่เป็นธรรม - นายกรัฐมนตรี นอกจากได้เพิ่มกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) เข้าไปให้ธนาคารอิสลาม ฯ บริหารจัดการ เป็นการเฉพาะสำหรับนักเรียน นักศึกษาอิสลาม โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จใน ๑ เดือน แล้ว ยังเตรียมหาทางยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ฯ ซึ่งเป็นมาตรการที่ทำให้สามารถควบคุมการเคลื่อนไหว ของแนวร่วมได้อย่างมีประสิทธิผล โดยจะนำกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ (นายนัจมุดดิน อูมา เสนอให้ศาลความมั่นคง มีผู้พิพากษาเป็นอิสลาม มาใช้แทน การเคลื่อนไหวของหน่วยงานรัฐในพื้นที่ หน่วยงานรัฐในพื้นที่ยังคงมุ่งมั่นซื้อใจอิสลาม เพื่อสร้างผลงานอย่างไม่ลดละเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ กอ.รมน. นอกจากจะเป็นผู้สนับสนุนการจัดงานสานเสวนา “ศาสนสัมพันธ์ สันติภาพ” ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หน้าค่ายสิรินธร ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เมื่อ ๑๙ พ.ค.๕๒ ที่มีการเชิญ นาย อันวา อิบราฮิม จากมาเลเซียมาร่วมด้วยแล้ว ยังได้กดดันให้ ตร.ปล่อยตัว นาย อับดุลรอฮิม เบ็ญอาดำ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาก่อเหตุยิง ผอ.รร.มูฮัม ฯ ที่ ต.นาประดู่ เมื่อ ๒๖ มี.ค.๕๒ จนศาลต้องยอมให้ประกันตัวออกมาแล้ว อีกทั้งกำลังผลักดัน โครงการจัดตั้งสถานีวิทยุ และสถานืโทรทัศนฺชุมชนเพื่อออกอากาศ ในระบบวิถีอิสลาม ซึ่งมีกรรมการเป็นอิสลามเกือบทั้งหมด โดยโครงการดังกล่าว จะตั้งขึ้นที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
การตรวจค้นและจับกุม การตรวจค้นและจับกุมของหน่วยงานในพื้นที่ ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และสัมฤทธิผลจนสามารถควบคุมการเคลื่อนไหว ของแนวร่วมได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ อาทิ - การตรวจค้นพื้นที่ ม.๔ ต.บองอ อ.ระแงะ พบกระสอบปุ๋ย บรรจุอาวุธปืนสงครามอาก้า จำนวน ๑ กระบอก ซึ่งอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และมีหมายเลขประจำปืนที่ ๑๙๗๑ ZG ๓๐๕๙ พร้อมเครื่องกระสุนปืน จำนวน ๑๐ นัด ที่บรรจุอยู่ในแมกกาซีน เมื่อ ๒๖ พ.ค.๕๒ - การตรวจค้นบ้านเลขที่ ๕๐/๓ ม.๔ ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา ของ นายดอมือลี เนแปและ และเกิดการยิงปะทะกัน ทำให้คนร้ายได้เสียชีวิต ๒ ราย และยึดอาวุธปืน เอชเค และเอ็ม ๑๖ ได้ ๒ กระบอก เมื่อ ๒๗ พ.ค.๕๒ - การตรวจค้นป่าบริเวณอ่างเก็บน้ำ ม.๑ ต.ตะบิ้ง อ.สายบุรี และเกิดการปะทะกัน ทำให้คนร้ายเสียชิวิต ๑ คน บาดเจ็บ ๑ คน และสามารถจับกุมได้ ๕ คน พร้อมยึดรถจักรยานยนต์ ๗ คัน โทรศัพท์มือถือ ๕ เครื่อง ได้เมื่อ ๒๙ พ.ค.๕๒
การเคลื่อนไหวของแนวร่วม แกนนำอิสลามกำลังเร่งแสดงความหนือกว่าและเร่งขยายบทบาท เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคมไทย อย่างน่ากังวล ทั้งโดยการกำลังเรียกร้องสิทธิประโยชน์ให้อิสลามอย่างไม่หยุดยั้ง ผ่านหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะ ศธ. กต. กอ.รมน. และ ศอ.บต. การเข้าไปเป็นผู้นำของผู้นำศาสนาอื่น ๆ ในการสร้างสันติภาพใน จชต. และการเป็นตัวแทนเข้ายื่นหนังสือต่อหน่วยงานรัฐ - นาย ......อธิการบดีวิทยาลัยอิสลามยะลา แสดงความไม่พอใจที่ จนท.ยังไม่มีความชำนาญเพียงพอ ในการดูแลอิสลามที่ไปประกอบพิธีฮัจจ์ จึงให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาโดยเร็ว ซึ่งทาง กต.โดย รมว.กต. รับปากว่า จะรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน และอย่างเต็มที่ และหลังจากนั้น ในการประชุมผู้นำศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู และซิกข์ จากต่างประเทศ จากกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ จ.ปัตตานี เมื่อกลาง พ.ค.๕๒ (๑๙ พ.ค.๕๒) เพื่อจัดตั้งสภาศาสนสัมพันธ์ เพื่อสันติภาพในจังหวัดขายแดนภาคใต้ นาย.......ก็ได้ผลักดันตนเอง เข้าเป็นประธานคณะกรรมการ โดยมีนาย .......ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี เป็นรองประธานคณะกรรมการ ในองค์การดังกล่าว จนเป็นผลสำเร็จ - นาง......กล่าวหาหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ คุกคาม ด้วยการตรวจค้นสำนักงาน เมื่อ ๘ ก.พ.๕๒ ต่อคณะเอกอัครราชทูตจากสหภาพยุโรป จำนวน ๑๔ ประเทศ และต่อมา (๒๙ พ.ค.๕๒) ไดขยายบาบาทออกจาก ๓+๑ จชต. สู่กาฬสินธ์ ด้วยการเข้ายื่นหนังสือต่อ พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนสคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อเร่งรัดติดตามคดีการหายตัวไปของ นายสมชาย ที่หายตัวไปตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ พร้อมได้นำญาติผู้เสียหายกรณีถูกฆาตกรรมอำพรางที่ จ.กาฬสินธ์ จำนวน ๙ คดี เข้าพบเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ด้วย - การมอบตัวของผู้หลงผิด ๔๑ คน จากนราธิวาส ซึ่งจะทำให้คนกลุ่มนี้สามารถกลับเข้าพื้นที่ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ปกติที่มักเกิดขึ้น เมื่อมีการปราบปรามอย่างหนัก และต่อเนื่องของ จนท.
............................................
|