สรุปสถานการณ์ใน จชต.

๑ - ๓๐ พ.ย. ๕๑

           ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ  ยังคงได้แก่ การก่อเหตุซึ่งเท่าที่รวบรวมได้มีจำนวน ๑๐๐ เหตุการณ์ มีลักษณะของการก่อเหตุเพื่อแสดงให้เห็นว่า มาตรการตรวจค้นและจับกุมของเจ้าหน้าที่ ไม่สามารถสะกัดกั้นการก่อเหตุได้ และเป็นการก่อนเหตุที่มุ่งเน้นอยู่ที่ จ.นราธิวาส ทั้งต่อ  hard target และ soft target   รองลงมาคือ จ.ยะลา และ จ.ปัตตานี ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานที่ว่า แกนนำแนวร่วมนำโดย นาย....... ประธานสมาคม ๕ จชต. ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การปลดปล่อย ๓ จชต.  จากการปฎิบัติการพร้อมกันทั้ง ๓ จังหวัด มาเป็นการมุ่งปลดปล่อย จ.นราธิวาส ด้วยการกวาดล้างไทยพุทธในพื้นที่ ออกให้หมดก่อนเป็นอันดับแรก  รองลงมาคือ จ.ยะลา โดยการเลือกกวาดล้างไทยพุทธในพื้นที่ ที่อ่อนแอก่อน ส่วน จ.ปัตตานี เป็นเป้าหมายสุดท้ายหลังการปลดปล่อย ๒ จังหวัดแรกได้แล้ว
            ขณะที่การตรวจค้นและจับกุมอย่างต่อเนื่อง ยังคงสามารถสกัดกั้นการเคลื่อนไหว และการก่อเหตุของแนวร่วมได้อย่างน่าพอใจ โดยเฉพาะการต้อนแนวร่วมออกจากพื้นที่สีแดง ซึ่งจะทำให้การจับกุมนอกพื้นที่ เป็นไปโดยไม่มีการขัดขวางจากชาวบ้าน แม้จะทำให้การก่อเหตุขยายไปสู่พื้นที่สีเขียว และพื้นที่ที่มักไม่เกิดเหตุ ซึ่งจะต้องมีการป้องปรามอย่างเร่งด่วนต่อไป อีกทั้งการดำเนินการยังต้องทำอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันความผิดพลาด เนื่องจากแกนนำแนวร่วมและพวกเห็นอกเห็นใจ ( sympathizers )  อิสลาม ได้แก่ สถาบัน..... มูลนิธิ......... และศูนย์........กำลังโหมประจานการตรวจค้น/จับกุมของ จนท. ทั้งด้วยการตีพิมพ์บทความ และออกแถลงการณ์ทำลายความน่าเชื่อถือ ( discredit )  มาตรการดังกล่าวของ จนท. พร้อม ๆ ไปกับการแสวงประโยชน์จากงบประมาณของรัฐ โดยเฉพาะการเรียกร้องอภิสิทธิ์ด้านการศึกษา ของบรรดากลุ่มผู้อ้างความเป็นมลายูอิสลามในรัฐสภา โดยการสนับสนุนของข้าราชการที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ตระหนักถึงปัญหาความเป็นธรรมและความมั่นคง ส่วนการเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วม และ sympathizers  ในช่วงรายงานไม่ชัดเจน  ยกเว้นกลุ่มที่อยู่ในวุฒิสภา ซึ่งกำลังมุ่งมั่นกำหนดมาตรการ และเงื่อนไขเพื่อรูปธรรมของความแตกต่างด้านเชื้อชาติ และศาสนาให้ชัดเจนยิ่งขึ้นอย่างไม่ลดละ
            ขณะที่รัฐบาลก็ยังมุ่งมั่นซื้อใจอิสลามอย่างไม่ลดละเช่นกัน ตั้งแต่การที่ให้ยกฟ้อง นายยา อะแด  ในความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ ซ่องโจร และสมคบกันเป็นกบฎแบ่งแยกดินแดน การมอบโฉนดที่ดินให้กับชาวบ้าน อ.บาเจาะ ๓๖ รายแรก ที่มีปัญหาที่ดินทับซ้อนกับเขตอุทยานแห่งชาติเขาบูโด - สุไหงปาดี  การที่ ครม.มีมติให้กระทรวง กรม ที่มีหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สงวนอัตราการเข้ารับราชการไว้ให้กับนักศึกษาเฉพาะที่เป็นอิสลามจาก จ.นราธิวาส จ.ปัตตานี จ.ยะลา จ.สตูล และ อ.จะนะ อ.เทพา อ.นาทวี และ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ที่ได้อภิสิทธิ์ให้เข้าเรียนฟรี ในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ในทุกปีงบประมาณ
            สำหรับแนวโน้มของเหตุการณ์ในสภาวะที่การต่อสู้ของการเมืองนอกสภา กำลังเคลื่อนเข้าสู่จุดแตกหัก โดยความชอบธรรมของพันธมิตร หรือกลุ่มต่อต้านรัฐบาลลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งยังฉุดลากผู้สนับสนุนให้ตกต่ำไปด้วยอย่างน่าวิตก ซึ่งตรงกันข้ามกับกลุ่มสนับสนุนรัฐบาล ซึ่งความชอบธรรมกำลังเพิ่มขึ้น และการรวมตัวหนาแน่นขึ้น จนน่าจะทำให้บารมีของอดีตนายกรัฐมนตรี ปรากฎเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นตามลำดับนั้น จะทำให้การต่อสู้ทางการเมืองเข้มข้นอย่างยิ่ง จนไม่สามารถให้ความสนใจในปัญหาภาคใต้ได้ ด้วยเหตุนี้ระดับความรุนแรงของการก่อเหตุ และความคืบหน้าในการแก้ปัญหาจะมากน้อยเพียงไร จึงขึ้นอยู่กับการควบคุมสถานการณ์ ของผู้ปฎิบัติในพื้นที่เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การก่อเหตุมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นได้ หาก ประการแรก มีการยกเลิก การออกนอกบ้าน  (curfew) ใน อ.บันนังสตา และ อ.ยะหา  ทั้ง ๆ ที่ยังคงมีการก่อเหตุกดดันไทยพุทธ และอิสลาม ที่ทำงานให้กับรัฐอยู่ และประการที่สอง หากภาวะน้ำท่วมใน ๓ จชต. เริ่มคลี่คลาย และกลับสู่ภาวะปกติ เนื่องจากมีรายงานการเคลื่อนย้ายอาวุธ โดยเฉพาะอาวุธประทับบ่ายิงอากาศยานเข้า ๓ จชต. อย่างต่อเนื่อง

สถิติและนัยของการก่อเหตุ
            การก่อเหตุในช่วง ๑ - ๓๐ พ.ย.๕๑  สรุปได้ว่า มีการก่อเหตุ ๑๐๐ เหตุการณ์ เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการเกิดเหตุ ๘๒ เหตุการณ์ ในช่วงเดียวกันของ ต.ค.๕๑ ทั้งนี้ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุมากที่สุดเช่นเดิมคือ ๔๕ เหตุการณ์ โดย อ.รือเสาะ มีการก่อเหตุสูงสุด ๙ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๓๐ เหตุการณ์ ซึ่งเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยกับการก่อเหตุที่ลงลงผิดสังเกตุ เมื่อ ต.ค.๕๑ โดย อ.รามัน มีการก่อเหตุสูงสุด ๗ เหตุการณ์  ขณะที่ จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุ ๒๒ เหตุการณ์ โดย อ.เมือง มีการก่อเหตุสูงสุด ๕ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลา มีการก่อเหตุเพียง ๓ เหตุการณ์ เท่านั้น โดยแยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๖๖ เหตุการณ์ รองลงมาคือ การวางระเบิด ๑๙ เหตุการณ์ (เป็นการวางระเบิดต่อ Hard Target ๙ เหตุการณ์  การซุ่มโจมตี ( hard target)  เกิดขึ้น ๑๑ เหตุการณ์) การวางเพลิง / เผา ๔ เหตุการณ์ และการฟันด้วยอาวุธมีคม ๑ เหตุการณ์
            ทั้งนี้ การก่อเหตุ มีลักษณะของความพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่า เพื่อแสดงให้เห็นว่ามาตรการตรวจค้น และจับกุมของเจ้าหน้าที่ ไม่สามารถสกัดกั้นการก่อเหตุได้ โดยมีการก่อเหตุต่อ Hard Target   ทั้งการวางระเบิด และการซุ่มโจมตีถึง ๒๐ เหตุการณ์ และเพื่อชดเชย / รักษาระดับความถี่ของการก่อเหตุ โดยเฉพาะที่ จ.ยะลา ซึ่งในช่วงรายงานมีการก่อเหตุถึง ๓๐ เหตุการณ์ เทียบกับ ๑๐ เหตุการณ์ ในช่วงเดียวกันของ ต.ค.๕๑ ที่สำคัญเป็นที่น่าสังเกตุว่า การก่อเหตุใน จ.นราธิวาส เริ่มมีความถี่สูงขึ้น ติดต่อกันเป็นเดือนที่ ๒ นั้น ดูเหมือนจะสอดคล้องกับรายงานที่ว่าแกนนำแนวร่วม นำโดยนาย ......ประธานสมาคม ....ใน ๕ จชต.  และเจ้าของโรงเรียน...........ได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ปลดปล่อย ๓ จชต. จากการปฎิบัติการพร้อมกันทั้ง ๓ จังหวัด มาเป็นการมุ่งลดปลดปล่อยทีละจังหวัด โดยจะเริ่มจากการปลดปล่อย จ.นราธิวาส ด้วยการกวาดล้างไทยพุทธ ในพื้นที่ออกให้หมดก่อน เป็นอันดับแรก พร้อม ๆ กับ........................เลือกกวาดล้างไทยพุทธเฉพาะในพื้นที่ที่อ่อนแอก่อน ส่วน จ.ปัตตานี เป็นเป้าหมายสุดท้ายหลังการปลดปล่อย ๒ จังหวัดแรกแล้ว
            สำหรับตัวอย่างการดำเนินการตามแผนดังกล่าว ที่เห็นได้ชัดใน จ.นราธิวาส นอกจากการข่มขวัญด้วยการโจมตีต่อชุด ลว./ รปภ.ครู ของทหาร / ตำรวจ แล้ว ยังมีการมุ่งมั่นกำจัดคนไทยพุทธคนสุดท้าย ให้ออกจากพื้นที่ให้ได้ ดังเช่น ที่ ม.๗ ต.ลาโละ อ.รือเสาะ ที่มีการวางระเบิด และการทยอยฆ่าสมาชิกครอบครัวไทยพุทธ ครอบครัวสุดท้ายคือ ครอบครัวสุทธานี อย่างมุ่งมั่น และต่อเนื่อง โดย เมื่อ ๑๙ ส.ค.๕๐ ถูกวางระเบิดทำให้ นางลัดดา สุทธานี และ ดต.อมรศักดิ์ ผลมาก บาดเจ็บ ต่อมา เมื่อ ๒ พ.ย.๕๑ ถูกบุกยิงจน นางลัดดา สุทธานี เสียชีวิตในที่สุด และนางดารุณี วงศ์ดวงแก้ว ลูกสาวบาดเจ็บสาหัส หลังจากสามีก็ถูกยิงเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้แล้ว และล่าสุด เมื่อ ๔ พ.ย.๕๑ ก็ถูกลอบวางระเบิดอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่ไทยพุทธ ใน ม.๖ ต,ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา กำลังถูกกดดันอย่งหนักเช่นกัน ทำให้ต้องทยอยออกจากพื้นที่จนเหลืออยู่เพียง ๕ ครอบครัว  และเมื่อครอบครัวหลีวิจิตร พยายามจะกลับเข้าพื้นที่อีก ก็ปรากฎว่า ถูกบุกเข้าไปกราดยิงถึงในบ้าน จนนายศราวุธ หลีวิจิตร บาดเจ็บ และรถยนต์ยังถูกเผาอีกด้วย เมื่อ ๒๐ พ.ย.๕๑

การตรวจค้นและการจับกุม
            การตรวจค้นและการจับกุมของ
จนท.ยังคงสามารถสกัดการเคลื่อนไหวและการก่อเหตุของกลุ่มผู้ก่อเหตุได้อย่างสัมฤทธิ์ผล
โดยเฉพาะการต้อนแนวร่วมออกจากพื้นที่สีแดง ซึ่งจะทำให้การจับกุมนอกพื้นที่เป็นไปโดยไม่มีการขัดขวางจากชาวบ้าน
แม้จะทำให้การก่อเหตุขยายไปสู่พื้นที่สีเขียวและพื้นที่ ที่มักไม่เกิดเหตุ ดังเช่น การลอบวางระเบิดที่ศาลาอเนกประสงค์
หน้าที่ว่าการอำเภอสุคิริน
ม.๔ ต./อ.สุคิริน จ.นราธิวาส พร้อมกัน ๓ จุด ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ ๖๓ คน
ซึ่งจะต้องมีการป้องปรามอย่างเร่งด่วนต่อไป ผลสัมฤทธิ์ที่เห็นได้ชัดคือที่ ม.๓ บ.กะเยาะมาตี ต.กะเยาะมาตี อ.บาเจาะ
ซึ่งแนวร่วมหนาแน่นมาก กำลังต้องการเลิกก่อเหตุเพราะรู้ว่าสู้ไปก็ไม่ชนะ (ไม่ใช่เพราะสำนึกได้)
จึงต้องการมอบตัวและเอาปืนไปฝังไว้ในบริเวณบ้านของผู้ใหญ่ที่ตัวเองนับถือ ผู้ใหญ่รู้แต่ก็ไม่กล้าบอกใคร
เพราะกลัวทั้งทางการและแนวร่วม
            สำหรับการตรวจค้นและจับกุมที่สำคัญอาทิ การปิดล้อมตรวจค้นบ้านไม่มีเลขที่บริเวณ บ.คลองน้ำขุ่น ม.๓ ต.ถ้ำทะลุ
อ.บันนังสตา จ.ยะลา ซึ่งสามารถกำจัดคนร้ายได้ ๒ คน และได้ควบคุมตัวผุ้ต้องสงสัยได้ ๕ คน เมื่อ ๗ พ.ย.๕๑ การตรวจค้น ม.๙
ต.กรงปินัง  อ.กรงปินัง จ.ยะลา ซึ่งพบอุปกรณ์ผลิตวัตถุระเบิด ซึ่งสามารถนำไปผลิตวัตถุระเบิดได้มากกว่า ๕๐ ลูก
ตลอดจนเสบียงอาหารและเสื้อผ้ารวม ๑๑ รายการ เมื่อ ๔ พ.ย.๕๑ ตรวจค้นพื้นที่เป้าหมายจำนวน ๒๐ จุด ใน อ.เมืองนราธิวาส อ.ยี่งอ
อ.บาเจาะ ซึ่งสามารถจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ รวมทั้งโต๊ะครูและผู้ต้องสงสัยก่อเหตุป่วนใต้ได้ ๕ คน พร้อมของกลางอีก ๑๔
รายการ เมื่อ ๒๔ พ.ย.๕๑
            อย่างไรก็ตามเพื่อให้การตรวจค้น/ จับกุมของ จนท.จะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและผิดพลาดน้อยที่สุด
เพื่อป้องกันการสะดุดลงของมาตรการหนึ่งที่สามารถสยบการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อเหตุในระดับที่น่าพอใจ
เนื่องจากแกนนำร่วมและ sympathizers อิสลาม กำลังโหมชี้นำให้สังคมเห็นว่าการดำเนินการของ จนท.ไม่เป็นธรรม
และทำให้ครอบครัวของผู้ต้องสงสัยเดือดร้อน ด้วยการตีพิมพ์บทความและออกแถลงการณ์
ซึ่งความพยายามทำลายความเชื่อถือรัฐบาลดำเนินไปพร้อม ๆ ไปกับการแสวงประโยชน์จากงบประมาณของรัฐ
โดยเฉพาะการเรียกร้องอภิสิทธิ์ด้านการศึกษาของบรรดาของกลุ่มผู้อ้างความเป็นมลายูอิสลามในรัฐสภา
โดยการสนับสนุนของข้าราชการที่เกี่ยวข้องโดยไม่ตระหนักถึงปัญหาความเป็นธรรมและความมั่นคงประเทศ
                - สถาบันอิศราลงบทความ ๔ เรื่อง เพื่อชี้นำให้สังคมมองว่า การตรวจค้น/จับยกุมไม่มีความเป็นธรรม
และทำให้ครอบครัวของผู้ถูกจับกุม/เดอือร้อนได้แก่ บทความเรื่องฉากชีวิตชายแดนใต้
...เมื่อความมั่นคงของรัฐคือความไม่มั่นคงของประชาชน บทความเรื่องการต่อสู้ของคนธรรมดา...กับ ๑๖
เดือนแห่งการทวงถามความยุติธรรมให้อัสอารี สะมาแอ บทความเรื่องการบังคับบุคคลสูญหาย...ปัญหาท้าทายกระบวนการยุติธรรม
และบทความเรื่องคดีคนหาย "มะยาเต็ง มะรานอ" บทพิสูจน์กระบวนการยุติธรรมลดเงื่อนไขขัดแย้งชายแดนใต้
                - มูลนิธิผสานวัฒนธรรม โครงงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย
ร่วมกับศูนย์ทนายความมุสลิมแห่งประเทศไทย
ได้อ้างว่าเจ้าหน้าที่มีส่วนร่วมในการทำร้ายร่างกายและซ้อมทรมานหรือปฏิบัติการอย่างไร้มนุษยธรรมต่อประชาชน ๕๐ กรณี

มาตรการซื้อใจอิสลามของรัฐ
            รัฐยังคงมุ่งมั่นซื้อใจมลายูอิสลามอย่างไม่ลดละและอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงวรายงานได้แก่
                - การมอบโฉนดที่ดินให้กับชาวบ้าน บ้านมาแฮ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ๓๖
รายแรกที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์สิทธิการถือครองที่ดิน หลังจากมีปัญหาทับซ้อนกับเเขตอุทยานแห่งชาติบูโด - สุไหงปาดี
ที่มัสยิดซวีอารุดดีน บ้านมาแฮ หมู่ ๑๑ ต.ปาลุกาสาเมาะอ.บาเจาะ เมื่อ ๖ พ.ย.๕๑
                - มีแนวคิดยกเลิกประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่ ๒ อำเภอคือ อ.ยะหา กับ อ.บันนังสตา จ.ยะลา
หลังเกิดเหตุกราดยิงรถตู้โดยสารสายเบตง - หาดใหญ่ ในท้องที่บ้านอุเบง ต.ปะแต อ.ยะหา จนทำให้มีคนไทยพุทธเสียชีวิตถึง ๘
ราย เมื่อ ๑๔ มี.ค.๕๐ และหลังจากนั้นได้เกิดเหตุก่อความไม่สงบอย่างต่อเนื่องหลายจุด
โดยบเฉพาะการโจมตีเป้าหมายที่เป็นสัญญลักษณ์ทางศาสนา โดยให้เหตุผลว่าจะทำให้ประชาชนคลายความกดดันลง
หลังจากสถานการณ์ความไม่สงบใน ๒ อำเภอ ดังกล่าวเริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น
            ซึ่งแนวคิดเอาใจอิสลามดังกล่าวเกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่ยังมีการก่อเหตุกดดันคนไทยพุทธให้ออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งยังมีการก่อเหตุกับคนของรัฐ ที่สำคัญชาวบ้านอิสลามที่ไม่ได้เป็นแนวร่วมบางส่วนก็ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิก
การห้ามออกจากบ้านในเวลาวิกาล ดังกล่าว อาทิการระเบิดร้านของเบ็ดเตล็ด บริเวณสามแยกทางไปยะหา - บาโร๊ะ ถนนวพิทักษ์ธานี
ต.ยะหา ของนายจรัล ปิ่นวิเศษ เมื่อ ๑๒ พ.ย.๕๑ การกราดยิงบ้านและเผารถยนต์ของราษฎรไทยพุทธ ที่เพิ่งกล้ากลับเข้าพื้นที่ ที่ ม.๖
ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา จนทำให้นายศรายุทธ หลีวิจิตร บาดเจ็บเมื่อ ๒๐ พ.ย.๕๑ การยิงนายมือลี แบกาเซ็ง
ชรบ.และสายข่าวให้กับทหาร เสียชีวิต ที่ ม.๘ ต.ยะหา เมื่อ ๒๔ พ.ย.๕๑ การซุ่มยิงขณะที่นายดลเดช พัฒนรัฐ นายอำเภอเบตง
พร้อมพวกเดินทางกลับจากการประชุมที่ศาลากลางจังหวัดยะลา ที่ ม.๘ ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา เมื่อ ๑๗ พ.ย.๕๑
การซุ่มยิงกำลังทหารจำนวน ๑๒ นาย ขณะเดินเท้าลาดตระเวณเพื่อเคลียร์เส้นทางก่อนที่ขบวนนรถรับส่งครูจะเข้าพื้นที่ ที่หมู่ ๑
ต.เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา ซึ่งทำให้ อส.ทพ.ปราโมทน์ ชูศรี บาดเจ็บสาหัส
                - คณะรัฐมนตรี เมื่อ ๒๓ พ.ย.๕๑ ให้กระทรวงหมาดไทย
ขยายเวลาดำเนินโครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ใน จ.นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล และอำเภอจะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย จ.สงขลาเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต่อไปอีก ๕ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ - ๒๕๕๖ โดยให้รับนักศึกษาเพิ่มจากเดิมปีละ ๑๖ คน เป็น ๔๔ คนเพื่อให้เข้าศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ๒๗ คน ทุนละ ๔๐,๐๐๐ บาท สาขาวิชาสังคมศาสตร์ ๑๗ คน ทุนละ ๓๐,๐๐๐ บาทและเมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาแล้วจะขอให้กระทรวง กรม ที่มีหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้สงวนอัตราเข้ารับราชการประมาณเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายนของทุกปี