สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต. ๑ – ๓๐ พ.ย.๕๔
การเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในช่วงรายงานได้แก่ ความความพยายามของขบวนการแบ่งแยกดินแดนซึ่งอาศัยสภาวะการปลอดซึ่งอำนาจรัฐและการมุ่งสนใจในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ รุกเคลื่อนไหวแบ่งแยกดินแดนอย่างเปิดเผย โดยเริ่มตั้งแต่การเข้ามาตั้งศูนย์แบ่งแยกดินแดน ที่แยกโรงพยาบาลจังหวัดยะลา เมื่อ ๑๒ ก.ย.๕๔ ด้วยการหนุนช่วยของนายภาณุ อุทัยรัตน์ อดีตเลขา ศอ.บต. ส่วนในช่วงรายงานก็ได้รุกคืบเข้าทดสอบท่าทีของ จนท.ถึงใน กทม. โดยการการนำเรือซึ่งมีข้อความ“ปันน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยกลุ่มเจมูติน อาร์เคเค” จำนวน ๒๐ ลำเข้ามาบริจาคในกทม.โดยไม่มีการขัดขวางจากจนท.ผู้พบเห็น การเลือกตั้งคณะกรรมการกลางอิสลาม ๓๓ จังหวัด เมื่อ ๒๔ พ.ย.๕๔ โดยใน ๓ +๑ จชต. กลุ่มที่ได้รับการเลือกตั้งเลือกส่วนใหญ่ยังคงเป็นคนกลุ่มเดิม และการโยกย้ายผู้ว่าอิสลามจากนตรศรีธรรมราชมาอยู่ที้ ปัตตานี
ขณะที่การก่อเหตุพบว่ากลุ่มก่อเหตุยังคงฉวยโอกาสจากสภาพไร้อำนาจรัฐก่อเหตุเพื่อรักษาสภาพความคงอยู่กลุ่มต่อไปโดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีที่ง่ายและปลอดภัยที่สุดคือการลอบวางระเบิดทั้งกับระเบิดและจุดชนวนด้วยโทรศัพท์มือถือ โดยเป้าหมายยังคงเป็น soft targets ซึ่งไม่สามารถป้องกันตนเองได้โดยเฉพาะเป้าหมายไทยพุทธ ทั้งนี้ ในข่วงรายงานได้มีการกระทำต่อเป้าหมายที่เป็นสัญญลักษณ์ของความเป็นไทยพุทธนอกเหนือจากคนไทยพุทธแล้ว ยังกระทำต่อ พระสงฆ์ และครู ด้วย ส่งผลให้คนไทยพุทธสูญเสียถึง ๕๒ ราย ซึ่งในจำนวนนี้เป็นพระสงฆ์ ๔ รูป ขณะที่อิสลามสูญเสีย ๒๒ ราย โดย จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุสูงสุด ๓๑ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ. ปัตตานี จำนวน ๒๘ เหตุการณ์ จ. ยะลา ๑๐ เหตุกาณ์ ส่วน ๔ อำเภอของ จ.สงขลา ไม่มีรายงานการก่อเหตุ
แนวโน้มของสถานการณ์ การแก้ปัญหาน้ำท่วมกทม.ที่ทำให้เกิดน้ำท่วมยืดเยื้อยาวนาน จนกลายมาป็นชนวนความขัดแย้งระหว่างคนกรุงเทพฯด้วยกันเอง ซึ่งเป็นผลลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล อันจะทำให้รัฐบาลต้องทุ่มสรรพกำลังทั้งหมดเพื่อรับมือกับการถูกรุกทางการเมือง จนไม่มีเวลาสำหรับปัญหาอื่นๆ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะกลายเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ที่ทำมาหากินกับความรุนแรงใน ๓ จชต.ทุกกลุ่ม เข้าไปแสวงประโยชน์และสร้างความได้เปรียบเพื่อการต่อรองผลประโยชน์ในอนาคต เมื่อประกอบกับการโยกย้าย นายธีระ มินทราศักดิ์ หรือฮายีอับดุลกอเดร์ บิน เจ๊ะแต ผวจ.นครศรีธรรมราช มาเป็นมาเป็นผวจ.ปัตตานี จะส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจและความอยู่รอดของคนกลุ่มน้อยไทยพุทธเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม การที่น้ำเริ่มท่วมภาคใต้แล้วน่าจะเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวก่อเหตุของกลุ่มโจร ซึ่งน่าจะทำให้สถิติการก่อเหตุลดลง
การเคลื่อนไหวของแกนนำอิสลามที่น่าสนใจ
ขบวนการแบ่งแยกดินแดนซึ่งอาศัยสภาวะการปลอดซึ่งอำนาจรัฐและการมุ่งสนใจในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ รุกเคลื่อนไหวแบ่งแยกดินแดนอย่างเปิดเผย โดยเริ่มตั้งแต่การเข้ามาตั้งศูนย์แบ่งแยกดินแดนภายใต้ ที่แยกโรงพยาบาลจังหวัดยะลา เมื่อ ๑๒ ก.ย.๕๔ ด้วยการหนุนช่วยของนายภาณุ อุทัยรัตน์ อดีตเลขา ศอ.บต. ส่วนในช่วงรายงานก็ได้รุกคืบเข้าทดสอบท่าทีของคนไทยถึงใน กทม. โดยการการนำเรือซึ่งมีข้อความ“ปันน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยกลุ่มเจมูติน อาร์เคเค” จำนวน ๒๐ ลำเข้ามาบริจาคในกทม.โดยไม่มีการขัดขวางจากจนท.ของรัฐผู้พบเห็น การเลือกตั้งคณะกรรมการกลางอิสลาม ๓๓ จังหวัด เมื่อ ๒๔ พ.ย.๕๔ โดยใน ๓ +๑ จชต. กลุ่มที่ได้รับการเลือกตั้งเลือกส่วนใหญ่ยังคงเป็นคนกลุ่มเดิม และการโยกย้ายผู้ว่าอิสลามจากนครศรีธรรมราชมาอยู่ที่ปัตตานี
- Pulo ตั้งประธานคนใหม่ .......พูโลเผยแพร่ทางเว็บไซต์พูโล puloinfo.net เมื่อ ๕ พ.ย.๕๔ ระบุว่า พูโล หรือ องค์การแนวร่วมปลดปล่อยปาตานี (Patani United Liberation Organisation : Pulo) ได้แต่งตั้ง นายกัสตูรี มะห์โกตา รองประธานพูโล ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานพูโลคนใหม่ เมื่อ ๒๗ ตุลาคม ๒๐๑๑ ว่า นาย Kasturi Mahkota รองประธาน PULO ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธาน PULO แล้ว……ไม่น่าจะส่งผลใดๆต่อสถานการณ์ความรุนแรงใน ๓ เนื่องจากประการแรก ผู้ก่อเหตุเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการปลูกฝังให้เกิดความเกลียดชังต่อคนไทยและความเป็นไทยมาตั้งแต่เด็กๆ ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีความเชื่อมโยงกับแกนนำขบวนการรุ่นเก่า ประการที่ ๒ กลุ่มก่อเหตุส่วนหนึ่งเป็นเครื่องมือของกลุ่มค้าสิ่งผิดกม.และนักการเมือง จึงไม่เกี่ยวกับอุดมการณ์
- RKK ทดสอบการตอบรับการเคลื่อนไหวแบ่งแยกดินแดนอย่างเปิดเผย ..... โดยมีการนำเรือพ่นสีข้อความว่า “ปันน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยกลุ่มเจมูติน อาร์เคเค” จำนวน ๒๐ ลำ เข้ามาบริจาคน้ำท่วมถึงใน กทม. เมื่อ ๑๕ พ.ย.๕๔ ..... ซึ่งปรากฏว่า จนท.ของรัฐที่พบเห็นกลับวางเฉยไม่มีการตรวจสอบหรือดำเนินการใดๆทั้งสิ้น
- ผลการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัดของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ จ.สงขลา ซึ่งเป็นการประชุมคัดเลือกพร้อมกันกับอีก ๓๓ จังหวัดทั่วประเทศเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ พ.ย.๒๕๕๔ โดยใน ๓+๑ จชต. มีอิหม่ามประจำมัสยิดจาก ๑๒ อำเภอใน จ.ปัตตานี ๘ อำเภอใน จ.ยะลา ๑๓ อำเภอของ จ.นราธิวาส และ ๑๖ อำเภอใน จ.สงขลา เข้า
ร่วมในการประชุมด้วย
สำหรับ ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่า จ.ยะลา กลุ่มที่ได้รับเลือกคือกลุ่มของนายอับดุลเราะแม เจะแซ อดีตประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา จ.ปัตตานี กลุ่มที่ได้รับเลือกคือกลุ่มของ นายแวดือราแม มะมิงจิ อดีตประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตาน จ.สงขลา กลุ่มที่ได้รับเลือกคือกลุ่มของนายศักดิ์กรียา บิลแสละ อดีตประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ส่วน จ.นราธิวาส ทั้งกลุ่มที่เสนอตัวได้รับคัดเลือกทั้ง ๒ กลุ่มที่เสนอตัวเข้ามา คือกลุ่มของนาย อับดุลเร๊าะมาน อับดุลซอมัด อดีต ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส และกลุ่มของนาย นิแวอาลี หะยีดอเลาะห์ ดาโต๊ะยุติธรรมประจำศาลจังหวัดนราธิวาส
- การโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดอิสลามมาเป็นผู้ว่าราชการจ.ปัตตานี .............มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันอังคารที่ ๑๕ พ.ย.๒๕๕๔ ซึ่งอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับรอง ปลัดกระทรวง อธิบดี และผู้ว่าราชการจังหวัด (ระดับ ๑๐) จำนวน ๓๔ ตำแหน่ง นั้น ได้มีการโยกย้าย นายธีระ มินทราศักดิ์ หรือฮายีอับดุลกอเดร์ บิน เจ๊ะแต ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ด้วย
สถิติและนัยการก่อเหตุ
การก่อเหตุในช่วง ๑-๓๐ พ.ย. ๕๔ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุรวมทั้งสิ้น ๖๙ เหตุการณ์ ซึ่งเป็นสถิติที่ลดลงจาก ๑๑๙ เหตุการณ์ ของในช่วงเดียวกันของ ต.ค.๕๔ ทั้งๆที่มีการโหมก่อเหตุอย่างง่ายๆเพื่อสร้างสถิติ ที่ จ.ปัตตานี โดยการวางลอบระเบิดถึง ๑๐ เหตุการณ์ เมื่อ ๑๖ พ.ย.๕๔ ก็ตาม ทั้งนี้ จ.นราธิวาส ซึ่งการก่อเหตุยังคงเน้นการลอบวางระเบิด ส่วนการลอบยิงตัวบุคคลนั้น้เป้าหมายคละกันระหว่างพุทธและอิสลาม มีการก่อเหตุสูงสุด ๓๑ เหตุการณ์ โดย อ.ระแงะมีการก่อเหตุมากที่สุด ๘ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.รือเสาะ ๕ เหตุการณ์ อ.บาเจาะ อ.สุไหงปาดี และอ.ศรีสาคร พื้นที่ละ ๓ เหตุการณ์ จ. ปัตตานี มีการก่อเหตุ ๒๘ เหตุการณ์ ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเป็นการลอบยิงตัวบุคคลไทยพุทธ หากในช่วงรายงานมีการลอบวางระเบิดเพื่อเพิ่มสถิติ ๑๐ เหตุการณ์ โดย อ.ยะรังมีการก่อเหตุสูงสุด ๕ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.หนองจิก มีการก่อเหตุ ๓ เหตุการณ์ ขณะที่ อ.สายบุรี อ.มายอ อ.ปะนาเระ อ.กะพ้อ อ.เมือง อ.ทุ่งยางแดง และ มีการก่อเหตุพื้นที่ละ ๒ เหตุการณ์ จ. ยะลา ซึ่งการก่อเหตุลดลงเป็นที่น่าสังเกตุหลังจากนายธีระ มินทราศักดิ์ หรือฮายีอับดุลกอเดร์ บิน เจ๊ะแต ผวจ.ยะลาได้ถูกโยกย้ายออกจากพื้นที่ เมื่อ ต.ค.๕๔ มีการก่อเหตุ ๙ เหตุการณ์ โดย อ.บันนังสตา และอ.เมือง มีการก่อเหตุสูงสุด พื้นที่ละ ๓ เหตุการณ์ ขณะที่ และ อ.รามันมีการก่อเหตุ ๒ เหตุการณ์ ส่วน ๔ อำเภอของ จ.สงขลา ไม่มีรายงานการก่อเหตุ
ทั้งนี้ การก่อเหตุทั้ง ๖๙ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบวางระเบิด ๓๑ เหตุการณ์
รองลงมาคือ การลอบยิงตัวบุคคล ๒๘ เหตุการณ์ การเผาอาคารและรถยนต์ ๒ เหตุการณ์ การซุ่มยิงจนท./ฐาน ๒ เหตุการณ์ การก่อกวน ๑ เหตุการณ์ และอื่นๆ ๕ เหตุการณ์ โดยคนไทยพุทธมีการสูญเสีย ๕๒ ราย แยกเป็นการเสียชีวิต ๑๓ ราย และบาดเจ็บ ๓๙ ราย(ในจำนวนนี้เป็นพระสงฆ์ ๔ รูป) สูงกว่าอิสลาม ซึ่งมีการสูญเสียรวม ๒๒ ราย แยกเป็นการเสียชีวิต ๒๐ ราย และบาดเจ็บ ๒ ราย นอกจากนี่ยังมีผู้เสียชีวิตที่เป็นคนจีนมาเลย์อีก ๑ คน
ข้อพิจารณา
๑. การก่อเหตุ ที่ จ. ปัตตานี มีลักษณะพยายามลอกเลียนแบบการลอบวางระเบิดอย่างง่ายๆแต่ความสูญเสียสูงวันละหลายเหตุการณ์ดังเช่นที่เกิดขึ้นใน จ. นราธิวาสและยะลา เมื่อตุลาคม ๒๕๕๔ เพื่อไม่ให้ตกกระแสและเพื่อสร้างสถิติไล่ให้ทัน จ. นราธิวาส โดยเมื่อ ๑๖ พ.ย.๕๔ มีการก่อเหตุในลักษณะดังกล่าวถง ๑๐ เหตุการณ์ใน อ.ปะนาเระ อ.เมือง อ.ยะรัง อ.โคกโพธิ์ อ.หนองจิก และอ.ยะหริ่ง
๒. การก่อเหตุมุ่งเป้าหมายอยู่ที่ soft target ที่ไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ถึง ๕๘ เหตุการณ์ จากการก่อเหตุทั้งหมด ๖๙ เหตุการณ์
๓. การก่อเหตุมุ่งเป้าหมายอยู่ที่ไทยพุทธถึง ๔๓ เหตุการณ์ จากการก่อเหตุทั้งหมด ๖๙ เหตุการณ์
๔. มุ่งต่อสัญญลักษณ์ไทยพุทธอย่างชัดเจน คือ พระสงฆ์และครูไทยพุทธ
๔.๑ คนร้ายคนร้ายแต่งกายคล้ายทหารดักยิงคณะครูโรงเรียนบ้านละหาน บริเวณสามแยกเปาะลามะ หมู่ ๒ ต.รือเสาะออก อ.รือเสาะ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ ๔ ราย ได้แก่ นายสิทธิชัย วรรณจิตจรูญ อายุ ๕๑ ปี ผอ.โรงเรียนบ้านละหาน ต.สามัคคี อ.รือเสาะ นางวิมลรัตน์ พรหมทองรักษ์ อายุ ๔๒ ปี ครู โรงเรียนบ้านละหาน ๓.นางสหวรรณ วรรณจิตจรูญ อายุ ๓๐ ปี ครู โรงเรียนบ้านละหาน และเป็นลูกสาวของนายสิทธิชัย บาดเจ็บสาหัส และ ๔.นางมยุรี กสิวุฒิ อายุ ๕๘ ปี ครู โรงเรียนบ้านละหาน เมื่อ ๑๗ พ.ย.๕๔
๔.๒ คนร้ายนำระเบิดไปไว้บริเวณข้างกระถางต้นไม้ หน้าเซเว่นถนนเจริญประดิษฐ์ ม.๖ รูสะมีแล อ.เมือง จ.ปัตตานี พระสงฆ์ จำนวน ๔ รูป ได้แก่ พระวีรพงศ์ สุทธิพงษ์, พระยงยุทธ ขาวบริสุทธิ์, พระชิ้น พานิชกุล, พระชาติ สุขอุบล เจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน ๑ นาย คือ ส.ต.ท.ถนอม คนธ์ไว สังกัด นปพ.สภ.เมืองปัตตานี ราษฏร จำนวน ๓ ราย ได้แก่ นายชิต สุขอุบล นายเยื้อน สุคนธ์เขต และชาวบ้านไม่ทราบชื่อ บาดเจ็บ เมื่อ ๒๑ พ.ย.๕๔
การก่อเหตุกับพระสงฆ์ครั้งนี้ นับว่าเป็นการลอบทำร้ายพระสงฆ์ครั้งที่ ๖ ในรอบปี ๒๕๕๔ โดยครั้งแรก เมื่อ ๒๘ ม.ค.๕๔ ที่กลางเมืองปัตตานี เป็นเหตุให้พระบาดเจ็บ ๑ รูป กำลังพลบาดเจ็บ ๕ นาย ครั้งที่ ๒ เมื่อ ๕ มี.ค.๒๕๕๔ ที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ทำให้พระมรณภาพ ๑ รูป พระและสามเณรบาดเจ็บอีก ๒ รูป ครั้งที่ ๓ เมื่อ ๑๖ พ.ค.๕๔ ที่ อ.ยะหา จ.ยะลา ทำให้พระมรณภาพ ๒ รูป กำลังพลบาดเจ็บสาหัส ๒ นาย ครั้งที่ ๔ เมื่อ ๓๐ พ.ค.๕๔ ที่เขตเทศบาลนครยะลา ทำให้กำลังพลและประชาชนได้รับบาดเจ็บรวม ๗ ราย ครั้งที่ ๕ เมื่อ ๒๓ ส.ค.๕๔ ที่ วัดหลักเมืองหลังกลับจากบิณฑบาตในเขต อ.เมืองปัตตานี ทำให้สามเณรบาดเจ็บ ๒ รูป กำลังพลบาดเจ็บ ๙ นาย ชาวบ้านโดนลูกหลงอีก ๓ คน
๕. การก่อเหตุกับเป้าหมายไทยพุทธเป็นไปอย่างอย่างเหี้ยมโหดและท้าทายต่ออำนาจรัฐอย่างยิ่ง โดยเมื่อ ๒ พ.ย.๕๔ คนร้ายลอบวางระเบิดรถของชาวบ้านไทยพุทธ ซึ่งกลับจากการหาของป่า จนรถกระบะขาดสองท่อน และชาวบ้านทั้ง ๗ คน คือ ๑.นายบรรหาร สังข์
แก้ว ๒.นายปรีชา จ่ายอ่อน ๓.นายหลุด เซงสีแดง ๔.นายวาทิน เซงสีแดง ๕.นายเอกชัย มิ่งขวัญ ๖.นายเทียบ รักษาชุม และ ๗.นายมานพ บุตรเตะ ซึ่งทั้งหมดเป็นชาวบ้านป่าไผ่ หมู่ ๕ ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส กระเด็นออกจากรถ จากนั้นคนร้ายที่ซุ่มอยู่ข้างทางได้กรูกันออกมาใช้อาวุธปืนสงครามยิงซ้ำ ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๖ ราย ยกเว้นนายมานพ
............................................
|