สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต. ๑ – ๓๑ ต.ค.๕๒
ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ ใน ๓ + ๑ จชต. ใน ตุลาคม ๒๕๕๒ ยังคงได้แก่ การก่อเหตุ ซึ่งเท่าที่รวบรวมได้ในช่วง ๑-๒๕ ต.ค.๕๒ มีจำนวน ๗๒ เหตุการณ์ ลดลงเมื่อเทียบกับ ๘๕ เหตุการณ์ เมื่อ ก.ย.๕๒ โดยจ.ปัตตานียังคงมีการก่อเหตุสูงที่สุดนั้น พบว่าการก่อเหตุมีลักษณะของการถูกจำกัดการเคลื่อนไหว และการหลบเลี่ยงการเผชิญหน้า เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติโดยมุ่งกระทำต่อ soft target โดยเฉพาะชีวิตและทรัย์สินของไทยพุทธ ซึ่งส่งผลให้คนไทยพุทธเสียชีวิตและบาดเจ็บมากกว่าอิสลาม และที่น่าวิตกคือการก่อเหตุในลักษณะการยุแยกให้เกิดความแค้นและการแก้แค้นระหว่างคนพุทธและอิสลาม ซึ่งเป็นไปอย่างสอดประสานกับการ เคลื่อนไหวของนักการเมือง องค์กรแนวร่วม และsympathizer อิสลาม โดยเฉพาะสื่อ ซึ่งกำลังปลุกกระแสชาตินิยมและความภาคภูมิใจของมลายูอิสลามที่ปรากฏชัดเจนขึ้นตามลำดับ นอกเหนือจากความพยายามโน้มน้าว/กดดันให้มีการยกเลิก พรบ.ฉุกเฉินฯ การลดความน่าเชื่อถือเพื่อนำไปสู่การถอนทหารซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งเดียวของการคงอยู่ของคนกลุ่มน้อยไทยพุทธ ใน ๓ จชต. และที่น่ากังวลเช่นเดียวกันคือการใช้ credit ของอดีตข้าราชการและนักวิชาการ มาเป็นกระบอกเสียง อีกทั้งยังพบว่าองค์กรแนวร่วมยังพยายามดึงโลกอิสลามเข้ามาหนุนช่วยการเคลื่อนไหวของกลุ่มอีกด้วย
การเคลื่อนไหวของภาครัฐ พบว่า รัฐบาลก็ยังคงดำเนินการสนองตอบความพอใจของคนส่วนใหญ่ใน ๓ จชต.อย่างไม่ลดละเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการสร้างกระแสความเหนือกว่าไทยพุทธของมลายูอิสลาม ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกกฏอัยการศึก หรือการยกระดับศอ.บต. ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของในการซื้อใจและซื้อเสียงคนส่วนใหญ่ใน ๓ จชต.ให้สามารถบริหารงบประมาณได้อย่างเป็นอิสระ การเข้าไปแสวงประโยชน์ยกย่องความสำคัญของมลายูอิสลามเพื่อเรียกคะแนนนิยม การระดมจนท.อำนวยความสะดวกให้กับผู้เดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนาที่ซาอุดิอาระเบีย หรือการเตรียมถ่ายทอดสดการประกอบพิธีฮัจย์ ระหว่าง ๒๖-๒๗ พ.ย.๕๒ ขณะที่จนท.ของรัฐในพื้นที่ ก็กำลังมุ่งมั่นป้องปรามการก่อเหตุ ด้วยการตรวจคนและจับกุมอย่างต่อเนื่องและมีผลสัมฤทธิ์ แม้ส่วนใหญ่จะเป็นการดำเนินการหลังการก่อเหตุ เนื่องจากกม.ที่มีอยู่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการป้องปราม
แนวโน้มของสถานการณ์ การเปลี่ยนตัวผอ.ศอ.บต.จากนายพระนายเป็นนายภาณุซึ่งดูเหมือนว่าในช่วงก่อนการย้ายการเป็นผู้ว่าปัตตานีจะมีความกล้าในการตัดสินใจ/ความเด็ดขาดมากขึ้น และเมื่อประกอบกับการที่พรรคมาตุภูมิของพล.อ. สนธิ มีแนวโน้มจะได้ใจมลายูอิสลามใน ๓ จชต. มากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ ก็น่าจะทำให้รัฐบาลลดการเทิดทูนคนส่วนใหญ่ใน ๓ จชต.ลง ซึ่งจะทำให้จนท.ผู้ปฏิบัติในพื้นที่ปฏิบัติงานได้คล่องตัวขึ้น หากความอ่อนแอของรัฐก็ยังคงเป็นปัจจัยกระตุ้นการก่อเหตุที่สำคัญต่อไป ขณะเดียวกันการป้องปรามอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการตรวจค้นและจับกุมตามพรก.ฉุกเฉินฯซึ่งไม่ต้องมีการแจ้งเตือนผู้ต้องหาหรือผู้ต้องสงสัยล่วงหน้า ซึ่งสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของแนวร่วมระดับปลายแถวได้ในระดับหนึ่ง จะกระตุ้นให้แนวร่วมจำต้องใช้การวางระเบิดซึ่งเป็นวิธีการก่อเหตุที่ผู้ก่อเหตุปลอดภัยที่สุดต่อไปโดยที่ จนท.ไม่สามารถยับยั้งได้ เนื่องจากกม.ที่มีอยู่ไม่เอื้ออำนวยต่อการกำจัดต้นตอของสาเหตุซึ่งก็คือตัวผู้ก่อเหตุได้ แต่สิ่งที่ต้องพึงตระหนัก คือการสร้างกระแสความเหนือกว่าของมลายูอิสลามที่แปลกแยกไม่สามารถอยู่รวมกับคนต่างเชื้อชาติและศาสนาได้ อันเป็นวิธีการหนึ่งเพื่อเป้นเงื่อนไข/ปูทางสู่การแบ่งแยกการปกครองในที่สุด
สถิติและนัยของการก่อเหตุ
การก่อเหตุใน ๓+๑ จชต.ในช่วง ๑ – ๓๑ ต.ค.๕๒ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุ รวมทั้งสิ้น ๗๒ เหตุการณ์ ซึ่งในจำนวนนี้น่าจะมีสาเหตุ มาจากประเด็นการเมือง ๒ เหตุการณ์ ประเด็นอุบัติเหตุ ๑ เหตุการณ์ และประเด็นส่วนตัว อีก ๑ เหตุการณ์ จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุมากที่สุด ๓๔ เหตุการณ์ โดย อ.มายอ มีการก่อเหตุมากที่สุด รวม ๕ เหตุการณ์ เท่ากับ อ.ยะรัง รองลงมาคือ อ.สายบุรี ๔ เหตุการณ์ เท่ากับ อ.หนองจิก และ อ.เมือง ขณะที่ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุ ๑๙ เหตุการณ์ โดย อ.บาเจาะ มีการก่อเหตุมากที่สุด ๕ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.รือเสาะ ๓ เหตุการณ์ จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๑๙ เหตุการณ์ เท่ากัน อ.รามัน มีการก่อเหตุสูงที่สุด ๗ เหตุการณ์ รองลงมา คือ อ.เมืองซึ่งมีการก่อเหตุ ๕ เหตุการณ์ อ.กรงปินังและ อ.ธารโต พื้นที่ละ ๓ เหตุการณ์ จ.สงขลา ไม่มีรายงานการก่อเหตุ
ทั้งนี้ การก่อเหตุ ทั้ง ๗๒ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๔๘ เหตุการณ์ รองลงมาคือการวางระเบิด ๑๕ เหตุการณ์ ซึ่งเป็นการกระทำต่อทั้ง Soft และ Hard target การซุ่มยิง/ซุ่มโจมตี ๓ เหตุการณ์ การเผาอาคาร/สถานที่ ๕ เหตุการณ์ และ การก่อกวน ๑ เหตุการณ์
ข้อพิจารณา
การก่อเหตุ ทั้ง ๗๒ เหตุการณ์ ในช่วงระหว่าง ๑ – ๓๑ ต.ค.๕๒ สามารถสรุปนัยของเหตุการณ์ได้ ดังนี้
๑. จำนวนการก่อเหตุที่ลดลง แสดงให้ห็นว่าการเคลื่อนไหวของแนวร่วมถูกจำกัด
๒. เป้าหมายของการก่อเหตุส่วนใหญ่เป็นการมุ่งกระทำต่อ soft target ถึง ๖๒ เหตุการณ์จากการการก่อเหตุทั้งหมด ๗๒ เหตุการณ์ ขณะที่การกระทำต่อ hard target ๑๐ เหตุการณ์ นั้น ๘ เหตุการณ์เป็นการลอบวางระเบิดดัก ซึ่งมีพลาดเป้าบ้าง และเป็นกับระเบิดบ้าง แสดงให้เห็นว่า ผู้ก่อเหตุพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า เพื่อความปลอดภัยของตนเองเป็นที่ตั้ง
๓. เป้าหมายของการก่อเหตุมุ่งอยู่ที่ชีวิตและทรัย์สินของคนไทยพุทธทั้งชาวบ้านและ จนท. โดยในช่วงรายงานคนไทยพุทธ บาดเจ็บและเสียชีวิตรวมทั้งสิ้น ๑๐๘ คน (แยกเป็น เสียชีวิต ๑๔ คน บาดเจ็บ ๙๔ คน ขณะที่อิสลามบาดเจ็บและเสียชีวิตรวมทั้งสิ้น ๕๗ คน (แยกเป็นเสียชีวิต ๒๐ คน บาดเจ็บ ๓๗ คน) จากจำนวนรวมทั้งสิ้น ๑๖๔ คน (ตาย ๓๔ คน บาดเจ็บ ๑๓๑ คน)
๔. การก่อเหตุในพื้นที่สีเขียว และในสถานที่ ที่ดูปลอดภัย ทำให้จนท.ตั้งตัวไม่ติด เพราะไม่คาดคิดมาก่อน อาทิ การวางระเบิดบนถนนริมฟุตบาทห่างจากโรงพักโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เพียง ๑๐๐ เมตร ขณะที่มีงานประเพณีชักพระครั้งที่ ๖๐ เมื่อ ๕ ต.ค.๕๒ การกราดยิงใส่ร้านส้มตำ และขว้างระเบิดใส่ร้านอาหารตามสั่งป้าติ๋ม ซึ่งตั้งอยู่ข้างวัดท่านแดง ภายในเขตเทศบาลเมือง สุไหงโก-ลก จ. หรือ การระเบิด ที่บริเวณหน้าโรงแรมเมอร์ลิน สุไหงโก-ลก ซึ่งอยู่ห่างจาก สภ.สุไหงโก-ลก เพียง ๕๐๐ เมตร เมื่อ ๖ ต.ค.๕๒
๕. การก่อเหตุมีลักษณะของการกระตุ้นให้เกิดความแค้นและการแก้แค้นระหว่างพุทธและอิสลาม ซึ่งเริ่มจากการวางระเบิดกลางงานประเพณีชักพระของคนไทยพุทธ ที่ อ.โคกโพธิ์ เมื่อ ๕ ต.ค.๕๒ การโปรยใบปลิว"จับตาย หน่วยปฏิบัติการเลือดมัสยิดอัลฟุรกอน ไอปาแย"ด้วยการ ตั้งรางวัลค่าหัวจับตายคนละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมทั้งมีภาพและชื่อของบุคคลทั้ง ๖ คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไทยพุทธ และทั้งๆที่ ๔ คน ในจำนวนนั้น เป็นอาสาสมัครรักษาเมือง (อ.ร.ม.) ที่ ๑๙ ตันหยงมัส และเจ้าหน้าที่กู้ภัยนราธิวาส อีกด้วย บนถนนและแหล่งชุมชน รวมถึงหน้ามัสยิดต่างๆ ในพื้นที่ทั้ง ๑๓ อำเภอของ จ.นราธิวาส เมื่อ ๑๘ ต.ค.๕๒ และการยิงนายมะแอ เจะเลาะ คอเต็บบ้านมือและห์ ต.สาวอ อ.รือเสาะ เมื่อ ๒๐ ต.ค.๕๒
๖. การรุกคืบเข้ายึคที่ดินไทยพุทธที่อยู่กันเป็นจำนวนน้อย โดยการฆ่าผู้นำและผู้ที่เป็นกำลังหลักของชุมชน ดังเช่นการฆ่านายชนะ ณ สงคราม และนายพนา ไสลเพ็ชร ที่ ม.๒ บ.ไอร์แยง ต.ศรีบรรพต อ.ศรีสาคร เมื่อ ๒๑ ต.ค.๕๒
การเคลื่อนไหวอันตรายของแกนนำและ sympathizer อิสลาม
ในช่วงเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่เคยมีเหตุการณ์ด้านมวลชนที่สำคัญๆเกิดขึ้น ทำให้ต้องมีการจัดงานรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว อยู่หลายเหตุการณ์ จึงเป็นโอกาสที่องค์กรเอกชนจะต้องรีบหยิบฉวยโอกาสเข้ามาแสวงประโยชน์จากความทุกข์/เดือดร้อนของประชาชนเคลื่อนไหวจัดทำกิจกรรมทั้งในลักษณะ แข่งขันกันแสดงบทบาทและร่วมทำกิจกรรมเพื่อความคงอยู่ขององค์กร ซึ่งล้วนแต่จะส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และตอกย้ำความแตกแยกของคนในชาติ อันเป็นงานหลักขององค์กรเอกชนโดยทั่วๆไป และการกดดันให้รัฐบาลยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการสกัดกั้นการเคลื่อนไหวก่อเหตุของแนวร่วม ดังนี้
องค์กรภาคประชาสังคม ๒๒ องค์กร ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่องค์กรเอกชนต่างๆที่เข้าไปแสวงประโยชนจากความแตกต่างและความแตกแยกระหว่างคนต่างเชื้อชาติ/ศาสนาโดยเฉพาะใน ๓ จชต. พยายามแย่งกันเข้าไปเคลื่อนไหวแสวงประโยชน์จากเหตุการณ์ที่มัสยิดอัลฟุรกอน/ไอปาแย แต่ไม่สามารถยุยงให้ชาวบ้านที่นั่นลุกขึ้นต่อต้านรัฐได้ จึงต้องออกมารวมตัวกันตั้งเป็น องค์กรภาคประชาสังคม ๒๒ องค์กร ยังคง เคลื่อนไหว ในทุกปัญหาที่สามารถเข้าไปแสวงประโยชน์ได้ ซึ่งใน ต.ค.๕๒ องค์กรเอกชนกลุ่มนี้ได้กำหนดได้เคลื่อนไหวในลักษณะที่จะตอกย้ำ กระตุ้นความแตกแยก/ความหวาดระแวง และความแค้น/การแก้แค้นของคนใน ๓ + ๑ จชต. อันจะกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนกลุ่มน้อยไทยพุทธใน ๓ จชต.อย่างน่าวิตก ที่สำคัญคือมีความพยายามนำปัญหาภายในประเทศออกเชื่อมโยงสู่นอกประเทศ อาทิ การเชิญชวน ngo จากประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ตัวแทนชาวโรฮิงญาเข้ามาร่วมจัดสัมนาระหว่าง ๑๖-๑๙ ต.ค.๕๒ ที่ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย กทม. การส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (อาเซียนซัมมิท) ในส่วนของภาคประชาชนที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่าง ๑๗-๑๘ ต.ค.๕๒ และ การจัดกิจกรรมครบรอบ ๕ ปี เหตุการณ์ตากใบ ซึ่งมีการนำเหตุการณ์ที่กรือเซะ และไอปาแย เข้ามาปลุกระดมด้วย เมื่อ ๒๔ ต.ค.๕๒ ที่ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี
สถาบันอิศรา ซึ่งใช้ความพยายามทุกวิถีทางและอย่างต่อเนื่อง เพื่อกดดันให้รัฐบาลยกเลิกพรก.ฉุกเฉินฯ ถอนทหาร และการปลุกกระแสชาตินิยมมลายูอิสลาม ผ่านบทความต่างๆที่โน้มน้าวให้เห็นว่ามลายูอิสลามถูกรังแกจากจากทหารและพรก.ดังกล่าว ดังนี้ บทความกัมปงตักวา-ญาลันนันบารู: ความรุนแรงไม่จำเป็นต้องแก้ด้วยการทหาร (อย่างเดียว) เมื่อ ๓ ต.ค.๕๒ เพื่อจะสื่อว่า ๔ เสาหลัก คือ ผู้นำทางศาสนา ผู้นำธรรมชาติ ผู้ใหญ่บ้าน และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ไม่สามารถควบคุมความไม่สงบได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ เกิดความขัดแย้งกันเองจากผลประโยชน์ที่รัฐบาลนำโครงการพัฒนามาเป็นเหยื่อล่อ บทความ "๕๔๘ ชีวิต" ผู้ต้องขังแดนใต้ มิติมั่นคงสวนทางความเป็นธรรม? เมื่อ ๔ ตุลาคม ๒๐๐๙ เพื่อการปลุกกระแสชาตินิยมมลายูอิสลาม ด้วยการชี้ให้เห็นว่าผู้ที่ถูกคุมขัง ตามพรก.ฉุกเฉิน ล้วนแต่คนมลายูอิสลามทั้งหมด พร้อมทั้งนำการให้สัมภาษณ์ความเดือดร้อนและน่าสมเพศของครอบครัวผู้ต้องขังมาลงประกอบด้วย บทความพลิกแฟ้มคดีดังชายแดนใต้ที่สุดท้าย"ศาลยกฟ้อง" เมื่อ ๑๕ ต.ค.๕๒ เพื่อสื่อว่า พรก ฉุกเฉินฯ ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะผู้ถูกจับกุมที่เป็นอิสลามส่วนใหญ่ ศาลได้ยกฟ้อง บทความ๔ เดือนไอร์ปาแย...หมายจับเพิ่มเป็นสอง แต่ยังไร้ร่องรอย"มือยิง" เมื่อ ๑๘ ต.ค.๕๒ เพื่อจะสื่อมลายูอิสลามยังไม่ได้รับความเป็นธรรม บทความ ผ่างบดับไฟใต้ก้อนใหม่ ๖.๓ หมื่นล้าน…ค้นคำตอบทำไมทหารต้องยุ่งงานพัฒนา! เมื่อ ๑๙ ตุลาคม ๕๒ เพื่อส่งนัยว่าทหารมีผลประโยชน์ในงบพัฒนาจำนวนมหาศาลใน ๓ จชต. บทความ แหวกมุมคิด “กมล ถมยาวิทย์” ไฟใต้คือผลประโยชน์! เมื่อ ๒๒ ต.ค.๕๒ เพื่อจะสรุปว่าปัญหาความไม่สงบใน ๓ จชต. แก้ไขได้ หากมีการยกเลิกพรก.ฉุกเฉินและปล่อยให้คนในพื้นที่แก้ไขปัญหากันเอง บทความเกาะติดคดีละเมิดสิทธิมนุษยชน จากอิหม่ามยะผา ถึงอัสฮารี และมะยาเต็ง เมื่อ ๒๒ ต.ค.๕๒ เพื่อสรุปว่าจนท.ของรัฐคือต้นเหตุของการสูญเสียของมลายูอิสลาม บทความ บทเรียนจากการรบ ตอน"การรุกทางการเมือง(๒)" ดับไฟใต้ไม่ต้องใช้งบแสนล้าน! เมื่อ ๒๕ ต.ค.๕๒ ซึ่งแฝงไว้ด้วยนัยของการต่อต้านการสอนให้อิสลามรู้จักป้องกันตนเองจากผู้ก่อเหตุ บทความ ๕ ปีตากใบเหมือน ๕ นาทีในใจ...เพราะยังไม่ได้ความยุติธรรม เมื่อ ๒๖ ต.ค.๕๒ เพื่อปลุกความแค้นของมลายูอิสลามต่อ รัฐและ จนท.ไทยพุทธ บทความ ก่อนวาระ ๖ ปีไฟใต้...กับ ๖ จิ๊กซอว์ที่ยังหล่นหายและถูกเมิน เมื่อ ๒๙ ต.ค.๕๒ เพื่อจะส่งนัยให้เห็นว่าผลประโยชน์ด้านงบประมาณของทหาร คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้การแก้ไขปัญหา ๓ จชต.ไม่แล้วเสร็จ และการคงอยู่ของพรก.ฉุกเฉินคือต้นตอของความไม่เป็นธรรม
นาย.... ส.ส.แบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ พยายามสะท้อนภาพการก่อเหตุใน ๓ จชต.ว่ามีสาเหตุมาจากการแก้แค้น โดยนำเฉพาะเหตุการณ์ที่เชื่อกันว่าคนไทยพุทธเป็นผู้กระทำ คือเหตุการณ์ที่มัสยิดอัลกรูกอน ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส และที่มัสยิดกรือเซะ จ.ปัตตานี มาเป็นตัวอย่าง .... ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของคนไทยพุทธในพื้นที่
นาย.... อนุกรรมาธิการรายงานผลการพิจารณาศึกษาปัญหาความไม่สงบและ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมี นายเจ๊ะอามิง โตะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธาน..ไทยพุทธ เข้าอิสลาม กำลังใช้ความเป็นอนุกรรมการ โน้มน้าว ให้มีการยกเลิกพรก.ฉุกเฉินฯ และให้คนในพื้นที่แก้ไขปัญหากันเอง
นาย.... ส.ส.ปัตตานี เข้าไปแสวงประโยชน์หาเสียงจากกรณีการหยุดเดินรถของการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ด้วยการคุกคามว่าจะทำให้มลายูอิสลามไม่พอใจ เพราะจะเกิดปัญหาในการเดินทางไปร่วมประกอบพิธีฮัจจ์ที่นครเมกกะ จนอาจ การประทุษร้ายเจ้าหน้าที่ของสหภาพการรถไฟได้
นาย.... ประธานโครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ซึ่งมี ยังคงรุกแสดงบทบาทนำใน ๓ จชต.อย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงรายงาน ได้ออกแถลงการณ์ กล่าวหา จนท.รัฐกระทำต่อผู้ต้องหาเกินกว่าเหตุ และเรียกร้องให้อัยการเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบพนักงานสอบสวนในการตั้งข้อหา
นาย.... อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ร่วมกับนาง ... ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ จัดสัมมนากลุ่มย่อยรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มฝ่ายต่างๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ จ.ปัตตานี เพื่อจัดทำรายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งส่งนัยให้มีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แฝงอยู่ด้วย
นาย.... อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเข้าร่วมการเสวนาในหัวข้อ “สิทธิมนุษยชนและความมั่นคงของรัฐในสถานการณ์ความขัดแย้ง กับแนวทางการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในฯ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้" ที่โรงแรมซี.เอส.ปัตตานี ซึ่งจัดโดยสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และมูลนิธิคอนราด ได้สรุปว่า การแก้ปัญหาใน ๓ จชต. ไมจำเป็นต้องใช้กฏหมายพิเศษ
นาย.... สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จ.ปัตตานี นาย ... ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร นาย ... ส.ส.นราธิวาส พรรคเพื่อแผ่นดิน นาย ...นักวิชาการอิสระ เข้าร่วมงาน “รำลึก ๕ ปีกรณี กรือเซะ, ตากใบ บนเส้นทางความยุติธรรม” ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี เมื่อ ๒๔ ต.ค.๕๒
พล.ต.ต. .... ในฐานะประธานจัดงาน“รำลึก ๕ ปีกรณี กรือเซะ, ตากใบ บนเส้นทางความยุติธรรม” ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี เมื่อ ๒๔ ต.ค.๕๒ นำประเด็นเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาปลุกและคงกระแสความเกลียดชัง/ความแค้นของมลายูอิสลามต่อรัฐและจนท.ไทยพุทธ
นาย.... ส.ส.สัดส่วน พรรคมาตุภูมิ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ กิจการชายแดนไทย-มาเลเซีย สภาผู้แทนราษฎร กำลังหาเสียงด้วยการกดดันให้กษ. รับครูอัตราจ้างจำนวน ๑๗๐ คน ในพื้นที่ภาคใต้ซึ่งเป็นอิสลามกลับเข้าทำงาน โดยจะเร่งบรรจุเรื่องดังกล่าว เข้าที่ประชุมอีกด้วย
การรุกสร้างกระแสความเหนือกว่าของมลายูอิสลามเพื่อนำสู่ความแตกแยก
การรุกสร้างกระแสความเหนือกว่าของมลายูอิสลาม ทั้งโดยไม่เจตนาของผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและโดยเจตนาของรัฐบาลและนักการเมืองอิสลาม ในช่วงรายงานพบว่า รัฐบาลมีการออกกฏสนับสนุนให้ข้าราชการอิสลามแต่งกายตามประเพณีของอิสลามมาทำงาน นักการเมืองอิสลามข่มขู่ให้เปิดการเดินรถไฟ โดยอ้างว่าหากอิสลามที่ไปทำพิธีทางศาสนาเกิดความไม่สดวกจะไม่พอในถึงขนาดทำร้ายพนักงานรถไฟได้ นางแบบไทยพุทธให้สัมภาษณ์แสดงความรู้สึกว่าได้รับเกียรติที่ได้มีโอกาสสวมชุดอิสลามในงานแฟชั่นโชว์ ผู้เข้ารับการอบรม ที่ จ.สตูลไม่ยอมรับทานอาหารอิสลามที่ปรุงโดยคนไทยพุทธ จนสามารถกดดันให้ผู้จัดงานต้องเปลี่ยนให้คนไทยพุทธมาทานอาหารอิสลามที่ปรุงโดยคนอิสลาม ข้าราชการระดับสูงโดยเฉพาะ ศอ.บต.และกต.แห่แหนไปส่งผู้ประกอบพิธีทางศาสนาอิสลาม เยี่ยงทาส และนักการเมืองอิสลามเร่งนำเรื่องการที่ครูชั่วคราวอิสลามไม่ได้ต่ออายุการทำงานกดดันให้กษ.เร่งรับกลับ ซึ่งทางกษ. ก็ลนลานรับปากจะดำเนินการอย่างเป็นการเร่งด่วน
การเคลื่อนไหวซื้อเสียงอิสลามของภาครัฐ การเคลื่อนไหวของภาครัฐ นอกเหนือจากการต่ออายุการใช้ พรก.ฉุกเฉินออกไปอีก ๓ เดือนและการสับเปลี่ยนตำแหน่ง ผอ.ศอ.บต.จากนายพระนาย สุวรรณรัตน์ เป็นนายภาณุ อุทัยรัตน์แล้ว นอกนั้นยังคงเป็นการดำเนินการเพื่อสนองตอบความพอใจของคนส่วนใหญ่ใน ๓ จชต.อย่างไม่ลดละ ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกกฏอัยการศึก หรือการยกระดับศอ.บต. ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของพรรคการเมืองในการซื้อใจและซื้อเสียงคนส่วนใหญ่ใน ๓ จชต.ให้สามารถบริหารงบประมาณได้อย่างเป็นอิสระ การเข้าไปแสวงประโยชน์ยกย่องความสำคัญของมลายูอิสลามเพื่อเรียกคะแนนเสียงอย่างน่าละอาย หรือแม้กระทั่งการเตรียมถ่ายทอดพิธีฮัจจ์ ทางโทรทัศน์
การเร่งรัดส่งออกผู้ประกอบพิธีทางศาสนาอิสลาม ...นายกอภิสิทธิ์ รับปากคณะกรรมการอิสลามประจำจ.สงขลา ในการเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งช่วยเหลือผู้ประกอบพิธีฮัจย์อีกกว่า ๔๐๐ คน ให้สามารถเดินทางได้และใก้สัญญาผู้นำศาสนาว่ารัฐบาลพร้อมที่จะให้การดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยมุสลิมอย่างดีที่สุดรวมถึงให้การสนับสนุนกิจกรรมของชาวมุสลิมอย่างต่อเนื่อง
การเพิ่มอำนาจให้กับ ศอ.บต. .....นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ ๒๐ ต.ค.๒๕๕๒ ..ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.... เพื่อตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องใช้ชื่อองค์กรใหม่ว่า ศอ.บต. เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ต้องการให้ใช้ชื่อเดิมที่เคยรับผิดชอบในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยครอบคลุม ๕ จังหวัด ประกอบด้วย จ.สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล โดยให้ ศอ.บต.เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี
การระดมหน่วยงาน อำนวยความสะดวกในการเดินทางไปทำพิธีทางศาสนาอิสลาม....นายวีระยุทธ สุขเจริญ รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ศอ.บต.ได้ระดมหน่วยงานหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนในพื้นที่ อำนวยความสะดวกให้แก่ ผู้ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนาอิสลาม ที่เมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เที่ยวแรก เมื่อ ๒๐ ต.ค. ๕๒ โดยในปี ๒๕๕๒ จะมีผู้ที่รัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนาที่เมกกะ จำนวน ๒๐๐ คน
การเตรียมถ่ายทอดสดการประกอบพิธีฮัจย์ ...นายนิติ ฮาซัน ที่ปรึกษารมว.กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยภายหลังการประชุมพิจารณาแนวทางการประชาสัมพันธ์เรื่องกิจการฮัจย์ ครั้งที่ ๔/๒๕๕๒ โดยมีนายนิพนธ์ บุญญภัทโร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้กำหนดเตรียมการถ่ายทอดสดการประกอบพิธีฮัจย์ จากนครมักกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ประมาณวันที่ ๒๖-๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ระหว่างเวลา ๑๖.๓๐-๑๗.๐๐ น.ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
การยกเลิกประกาศกฎอัยการศึก.....ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ ๑๓ ต.ค.๕๒ เห็นชอบ ให้ยกเลิกการประกาศกฎอัยการศึกในพื้นที่ ๔ อำเภอของ จ.สงขลาที่เป็นเขตติดต่อกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ อ.จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย โดยให้ใช้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑ แทน แต่มีการต่ออายุ "พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ" ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไปอีก ๓ เดือน ตั้งแต่ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ถึง ๑๙ ม.ค. ๕๓
การสัมนาเรื่อง เรื่อง "แนวทางในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านกรณีศึกษาความสัมพันธ์ไทยกับสหพันธรัฐมาเลเซีย" เมื่อ ๓ ต.ค.๕๒ ที่ห้องประชุมโรงแรมอิมพีเรียล จ.นราธิวาส เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ตัวแทนภาครัฐ นักวิชาการ รวมทั้งชาวบ้านในพื้นที่ ๑๓ อำเภอของ จ.นราธิวาส ซึ่งตัวแทนชาวบ้านบางส่วนเห็นว่าทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทั้งตำรวจ ทหารและฝ่ายปกครองได้มีการปฏิบัติหน้าที่ผนึกกำลังกันเป็นอย่างดี แต่จุดอ่อนอยู่ที่การสับเปลี่ยนหมุนเวียนผู้บังคับบัญชาระดับสูงทั้งไทยและมาเลเซีย ตามวาระทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ทั้ง ๒ ประเทศ เกิดสะดุดและต้องเริ่มนับหนึ่งกันใหม่
การลงพื้นที่ของคณะทูตต่างประเทศ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน และองค์การประชุมอิสลาม จำนวน ๑๙ คน อาทิ เอกอัครราชทูตสิงคโปร์ , ลาว , นิวซีแลนด์ , โอมาน , อินโดนีเซีย , อุปทูตซาอุดิอาระเบีย จากกรุงเทพฯ เดินทางรับทราบการทำงานในด้านการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค ๔ สน.) ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
การตรวจค้นและจับกุม
ในช่วงรายงานดูเหมือนว่า จนท.จะรุกหนักในการตรวจค้นและจับกุม ท่ามกลางกระแส
การต่อต้านและขัดขวางขององค์กรแนวร่วมและ sympathizer อิสลาม และแม้ว่าส่วนใหญ่จะ
เป็นการตรวจค้นและจับกุมหลังการก่อเหตุก็ตาม ทั้งนี้ เท่าที่รวบรวมได้พบว่ามีการตรวจค้น/จับกุม ที่สาคัญ ถึง ๑๔ ครั้ง โดยส่วนใหญ่เป็นการปฏิบัติการใน จ.นราธิวาส อาทิ
การ ปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย ๕ จุด ในอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เพื่อติดตามคนร้าย ก่อเหตุใช้อาวุธเอ็ม ๑๖ ซุ่มยิงใส่รถของคณะ นายสุรพล พนัสอำพล ปลัดจังหวัดนราธิวาส ขณะเดินทางกลับจากประชุมที่จังหวัดสงขลา เมื่อ ๑๐ ตค.๕๒ จนสามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ ๑ คน คือนายซูกิพลี เจ๊ะหลง อายุ ๒๙ ปี ตำแหน่งอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) สังกัด อบต.บาเร๊ะเหนือ
การปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย ๕ จุดในพื้นที่ ต.บาเระใต้ อ.บาเจาะ จุดสำคัญที่เข้าทำการตรวจค้นคือโรงเรียนแสงธรรมวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนปอเนาะสอนศาสนาโดยไม่มีสอนหลักสูตรสายสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๗๙/๑ หมู่ ๓ บ้านคลอและ ต.บาเร๊ะใต้ ซึ่งจากตรวจร่างกายและเสื้อผ้าของครูและนักเรียน พบมีสารประกอบระเบิดปนเปื้อนตามร่างกายรวม ๔๙ คน แบ่งเป็นนักเรียน ๔๘ คน และครู ๑ คน คือ นายทาลอส ยูซูส อายุ ๒๐ ปี ครูสอนวิชาศาสนาชาวกัมพูชา เมื่อ ๑๒ ต.ค.๕๒
การตรวจค้นพื้นที่เป้าหมายที่ ม.๓ ต.ยะลา อ.เมือง จ.ยะลา พบเชื้อปะทุไฟฟ้า,กระสุนปืนเอ็ม๑๖, ปุ๋ยยูเรียหนัก ๑๐ ก.ก.และเสบียง อาหาร รวมทั้งหลักฐานอื่นอีกหลายรายการ เมื่อ ๑๔ ต.ค.๕๒
การตรวจสอบบริเวณริมถนนเลี่ยงเมืองสายนราธิวาส บ้านกาเสาะ หมู่ ๗ ต.ลำภู พบกล่องเหล็กที่คนร้ายใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบระเบิดแสวงเครื่อง ๓ กล่อง ซึ่งสามารถนำไปประกอบระเบิดแสวงเครื่องได้ลูกละ๑๐ กก. โดยมีอนุภาพการทำลายล้างในรัศมี ประมาณ ๒๐ เมตร เมื่อ ๑๕ ต.ค.๕๒
การปิดล้อมตรวจค้นเป้าหมายต้องสงสัยในพื้นที่บ้านคลองปุด หมู่ ๗ ต.บาละ อ.กาบัง จ.ยะลา พบฐานปฏิบัติการ ๒ จุด แต่ละจุดมีที่พักแห่งละ ๔ หลัง โรงครัวแห่งละ ๑ หลัง ทั้งหมดตั้งอยู่ป่ารกทึบบนยอดเขา โดยฐานแต่ละแห่งมุงด้วยผ้าเต้นท์และเต้นท์กระโจม แต่ภายในพบเพียงถังแก๊ส ข้าวสาร เสื้อผ้า และไฟฉาย เมื่อ ๑๘ ต.ค.๕๒
การตรวจค้นเทือกเขาหลังหมู่บ้านไอจาแบ หมู่ ๗ ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ พบค่ายพักย่อยของกลุ่มก่อความไม่สงบ ซึ่งใช้ผ้ายางกันฝนสีเขียว ๔ ท่อนขึงกับท่อนไม้ท่อนเพื่อทำเป็นหลังคา ภายในผูกเปลสนามไว้ ๖ หลัง นอกจากนี้ยังพบของกลางอีกกว่า ๑๐ รายการ เช่น เอกสารปลุกระดมเป็นภาษายาวี เสื้อผ้า ยารักษาโรค รองเท้าคอมแบท ๔ คู่ เสื้อเกราะตำรวจ ๑ ตัว แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ ๗ ก้อน อุปกรณ์เครื่องครัว ถังแก๊ส ๓ ถัง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เชื้อปะทุ หมวกเหล็กของทหาร ๒ ใบ มีดสปาต้า ๑ เล่ม และอุปกรณ์เครื่องนอนอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อ ๑๘ ต.ค.๒๕๕๒
การตรวจค้นพื้นที่หมู่ ๓ กระทั่ง เกิดการยิงปะทะกับกลุ่มคนร้าย ที่หมู่ ๓ ต.ม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี โดยเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตทราบชื่อคือ ร.ต.ต.เอก สุขิโต เป็นตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๔๔ ส่วนเจ้าหน้าที่ที่ได้รับบาดเจ็บ คือ ด.ต.พิเชษฐ์ แผ่วขุนทด ตำรวจสังกัดเดียวกัน สำหรับคนร้ายที่เสียชีวิต ทราบชื่อ นายสะตอปา ตือบิงหมะ เป็นผู้ต้องหาตามหมายจับ สภ.แม่ลาน เมื่อ ๒๖ ต.ค.๕๒
การตรวจค้นโรงกรีดยาง บ.บาโงแยะ ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ซึ่งอยู่หลังบ้านของนายเจ๊ะอารง เจ๊ะแน พบอุปกรณ์ชิ้นส่วนของระเบิดขว้างแบบผลิตเอง พร้อมใช้งาน ซึ่งมีอานุภาพการทำลายล้างสูงกว่าของเจ้าหน้าที่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เมื่อ ๓๐ ต.ค.๕๒
............................................
|