สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต.
๑ – ๓๐ ก.ย.๕๒

          ความอ่อนแอของรัฐที่ทำให้เชื่อว่าการก่อเหตุ/ความรุนแรงจะสามารถกดดันให้รัฐบาลยินยอมสนองตอบความต้องการบริหารและการปกครอง ๓ จชต.ออกจากส่วนอื่นของประเทศไทยได้ ประกอบกับเป็นช่วงเฉี่อยงานเพื่อรอการเปลี่ยนแปลง/โยกย้ายของข้าราชการ และการเลือกตั้ง อบต.จำนวนมาก ส่งผลให้การก่อเหตุใน ๓ จชต.ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงเป็นในลักษณะลึกแต่แคบ เนื่องจากการป้องปรามของ จนท.ในพื้นที่ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และยังมีผลสัมฤทธิ์อยู่ ด้วยเหตุนี้แกนนำแนวร่วมและ sympathizer อิสลาม จึงต้องพยายามขัดขวางอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการปฏิบัติการด้านจิตวิทยาของ จนท.
          สำหรับแนวโน้มของสถานการณ์ เชื่อว่าตราบเท่าที่บรรดาผู้ก่อเหตุยังเชื่อว่าการก่อเหตุจะยังคงเป็นเงื่อนไขเอื้ออำนวยต่อการเข้าไปแสวงประโยชน์ ในขณะที่รัฐบาลยังอ่อนแอเกินกว่าที่จะป้องกันได้ การก่อเหตุในลักษณะลึกแต่แคบก็จะยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญที่ต้องพึงระวังคือการเริมออกหาเสียงอย่างหลากหลายวิธี ของนักการเมืองอิสลาม ซึ่งน่าจะทำให้การปฏิบัติงานของ จนท.ในพื้นที่ยุ่งยากมากขึ้น

สถิติ ลักษณะ และนัยของการก่อเหตุ
          การก่อเหตุใน ๓ + ๑ จชต. ในช่วง ๑ – ๓๐ ก.ย.๕๒ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุรวมทั้งสิ้น ๘๕ เหตุการณ์ ลดลงเมื่อเทียบกับ ๙๖ เหตุการณ์ เมื่อ ส.ค.๕๒ ซึ่งหากตัดการก่อกวนเพื่อสร้างสถิติ ๑๔ เหตุการณ์ ใน ส.ค.๕๒ ออก ก็จะพบว่าการก่อเหตุในแต่ละเดือนจะมีจำนวนใกล้เคียงกัน หากความรุนแรงเพิ่มขึ้นในช่วงจตั้งแต่ประมาณปลาย ก.ค.๕๒ เป็นต้นมา อันเป็นไปตามวัฏจักรปกติของ ๓ จชต. โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลอยู่ในสภาพที่อ่อนแอมาก
         จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุมากที่สุด ๓๖ เหตุการณ์ โดย อ.ยะรัง มีการก่อเหตุมากที่สุดต่อเนื่องจาก ส.ค.๕๒ โดยมีการก่อเหตุรวม ๑๑ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.เมือง ๑๐ เหตุการณ์ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการก่อกวนแจกใบปลิว และการเผาอาคารสถานที่อย่างง่าย ๆ ๓ – ๔ เหตุการณ์
         จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุ ๓๑ เหตุการณ์ โดย อ.รือเสาะ มีการก่อเหตุมากที่สุด ๙ เหตุการณ์ อีกทั้งยังมีการก่อม๊อบขัดขวางการชันสูตรศพผู้เสียชีวิตอีกด้วย รองลงมาคือ อ.บาเจาะ ๕ เหตุการณ์
         จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๑๘ เหตุการณ์ โดยกระจายไปใน อ.ยะหา รามัน บันนังสตา อ.เมือง และ อ.กรงปีนัง พื้นที่ละ ๒ – ๔ เหตุการณ์ ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยผิดปกติ
         จ.สงขลา มีการก่อเหตุเพียง ๑ เหตุการณ์ ที่ อ.สะบ้าย้อย
         การก่อเหตุ ๘๕ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๕๑ เหตุการณ์ รองลงมาคือ การวางระเบิด ๒๐ เหตุการณ์ ซึ่งเป็นการกระทำต่อทั้ง Soft และHard Target การซุ่มยิง/ซุ่มโจมตี ๗ เหตุการณ์ และการก่อกวน ๒ เหตุการณ์ การเผาอาคาร/สถานที่ ๕ เหตุการณ์

ข้อพิจารณา
         ๑. การก่อเหตุที่แกนนำแนวร่วมและ เข้าไปแสวงประโยชน์ประโคมข่าว เพื่อสรุปว่าการใช้จ่ายงบประมาณไม่คุ้มค่านั้น หากพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว จะพบว่าการก่อเหตุมีลักษณะลึกแต่แคบ ทั้ง ๆ ที่มีเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยอย่างหลากหลาย อาทิความอ่อนแอของรัฐ ความขัดแย้งระหว่างข้าราชการกับรัฐบาล การเฉี่อยงานเพื่อรอการสับเปลี่ยนโยกย้ายของข้าราชการ การเป็นช่วงเวลาการถือศีลอดของอิสลามที่มีการแยกอิสลามออกจากไทยพุทธอย่างชัดเจน การเป็นช่วงเวลาเลือกตั้งสมาชิก อบต. ซึ่งจะมีการกำจัดคู่แข่งอันเป็นการเพิ่มสถิติให้อยู่แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนไหวก่อเหตุของแนวร่วมถูกจำกัด ด้วยมาตรการป้องปรามและมาตรการด้านจิตวิทยาของรัฐ
         ๒. ประสิทธิภาพของผู้ก่อเหตุยังเหมือนเดิมยกเว้นการเปลี่ยนวิธีการและการพัฒนาอุปกรณ์ ใช้ในการก่อเหตุเท่านั้น โดยยังใช้การวางระเบิดซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และเสี่ยงน้อยที่สุด โดยเฉพาะต่อ Soft Target คือ การวางระเบิดร้านอาหารไทยพุทธ ในช่วงเวลาที่อิสลามไม่ทานอาหาร คือในช่วงที่ดวงอาทิตย์ยังไม่ตกดิน ซึ่งจะทำให้ไม่มีอิสลามหลงเข้ามาบาดเจ็บด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องพึงระวังคือการพัฒนาคุณภาพของวัตถุระเบิดให้มีอานุภาพในการทำลายล้างมากขึ้นและการเปลี่ยนตัวจุดระเบิดหลบเลี่ยงการตรวจพบและการตัดสัญญาณของเจ้าหน้าที่ การหลอกล่อให้เจ้าหน้าที่ไปติดกับ ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนวิธีอย่างต่อเนื่อง
          ๓. มีการก่อเหตุที่พยายามทำให้ดูเหมือนเป็นการกระทำของคนต่างเชื้อชาติและศาสนาอย่างชัดเจน ผิดปกติหลายเหตุการณ์อาทิ การลอบยิงใกล้มัสยิดที่หมู่ ๒ ต.ท่าน้ำ อ.ปะนาเระ การจ่อยิงคอเต็มประจำมัสยิด บ.บาแดบองอ ต.ตะลุโบะ อ.เมิอง จ.ปัตตานี การวางระเบิดและยิงถล่มซ้ำในบริเวณที่ฝังศพที่ ต.ตะโล๊ะหพลอ อ.รามัน และการกระทำที่เหี้ยมโหดต่อไทยพุทธ อาทิ การยิงและเผาทั้งเป็นที่ ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี
          ๔. ต้องพึงระวังพื้นที่ อ.รือเสาะ ซึ่งกำลังมีการท้าทายอำนาจรัฐอย่างต่อเนื่อง ทั้งโดยการก่อเหตุที่สูงติดต่อกัน และการไม่ยอมให้ จนท.ตรวจพิสูจน์ศพโดยการยุยงว่า จนท.เป็นผู้กระทำ เมื่อ ๓ ก.ย.๕๒ ใน บ.มาเร๊ะบือแน ม.๓ ต.สุวารี อ.เรือเสาะ

การเคลื่อนไหวของอิสลาม
         นักการเมือง สื่อ องค์กรเอกชน และข้าราชการ ที่ไปแสวงประโยชน์จากความแตกต่างด้านเชื้อชาติและศาสนาใน ๓ จชต. ยังคงเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ทำให้ความแตกต่าง ซึ่งกลายมาเป็นความแตกแยกรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการแสดงให้เห็นนัยของ “อิสลามเพื่ออิสลามเท่านั้น” อย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ไม่ใช่อิสลามดำรงอยู่ในพื้นที่ยากขึ้นตามลำดับ อันจะทำให้ความฝันที่จะสร้างความสมานฉันท์ยิ่งห่างไกลความเป็นไปได้มากขึ้นตามลำดับด้วยเช่นกัน
          สถาบัน... ยังคงพยายามต่อต้านการใช้เงินเป็นส่วนช่วยในการเยียวยาความเดือนร้อนของอิสลาม พร้อม ๆ ไปกับการโน้มน้าวให้สังคมเกิดความกังขาว่าคนที่ถูกจับกุมไปไม่มีความผิด และเรียกร้องให้รัฐเข้ามาดูแล/ช่วยเหลือครอบครัวผู้กระทำผิด รวมทั้งการพยายามสื่อว่าทหารอิสลามเท่านั้นจึงจะเข้าใจและเข้าถึงชาวบ้านอิสลาม
         มูลนิธิ... ยังคงหาทางแทรกเข้ามาเป็นข่าวด้วยการแสดงอำนาจซ้อนรัฐ โดยการนำผู้ต้องหาที่มามอบตัวกับทางองค์กรมามอบให้กับทางการและห้ามการทำข่าวของสื่อ และจัดทำรายงานเพื่อแสดงความไม่เชื่อมั่นในกระบวนการตรวจสอบ ตรวจค้น จับกุม ตาม พรบ.ฉุกเฉินและกฎอัยการศึกของ จนท.เผยแพร่ต่อสาธารณชน
         นาย....ส.ส.พรรคเพื่อไทย กำลังเริ่มแนะนำของตัวเองต่อสังคมด้วยการแสดงอำนาจเหนือข้าราชการในรัฐสภาและเริ่มเจาะหาคะแนนนิยมจากมลายูอิสลามในพื้นที่ ที่ดูเหมือนความรุนแรงน่าจะมาจากความแตกต่างของเชื้อชาติและศาสนาอย่างน่าวิตก ต่อการที่จะมีผลกระทบต่อความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติและศาสนา
          นาย.... อดีตกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) พยายามต่อต้านงานมวลชนที่มีผลทางบวกของ จนท.อย่างเปิดเผย
         นาย.... แพทย์เฉพาะทางของ ร.พ.ศูนย์ยะลา กำลังเคลื่อนไหว ใช้การรักษาพยาบาลของตนเองเป็นเครื่องมือในการแยกไทยพุทธออกจากอิสลาม โดยจะแสดงกสารเอาใจใส่รักษาพยาบาลเฉพาะอิสลามเท่านั้น

แนวโน้มของสถานการณ์ความเป็นมลายูอิสลาม
         ในสภาวะที่รัฐบาลไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างอิสระ ท่ามกลางการเคลื่อนไหวก่อกวนของพลังสีนอกสถาที่จะต้องรวมตัวกดดันรัฐบาลเกิดเป็นระยะเพื่อรักษาสถานภาพและถ่วงดุลกันเอง แต่ ณ เวลารายงานก็ยัง ไม่พบพลังที่จะกดดันให้รัฐบาลยุบสภา ด้วยเหตุนี้ การก่อเหตุในลักษณะลึกแต่แคบใน ๓ จชต.ก็ยังดำเนินต่อไป หากระดับของความรุนแรงของเหตุการณ์น่าจะขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของ จนท.ผู้ปฏิบัติในพื้นที่เป็นสำคัญ ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องพึงระวังและเตรียมรับมือคือการเริ่มออกหาเสียงอย่างหลากหลายวิธีของนักการเมืองอิสลาม ซึ่งจะทำให้ปัญหาความแตกแยกระหว่างคนต่างเชื่อชาติและศาสนาจะรุนแรงขึ้นและจะทำให้การปฏิบัติงานของ จนท.ในพื้นที่ยุ่งยากมากยิ่งขึ้น

                                               ............................................