| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
loading picture

ขันติวรรค - หมวดอดทน

อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ     อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ     อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน

เกวลานํปิ ปาปานํ     ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ
ครหกลหาทีนํ   มูลํ ขนฺติ ขนฺติโก
ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น
ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันได

ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี     ยสสฺสี สุขสีลวา
ปิโย เทวมนุสฺสานํ     มนาโป โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ
ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

สตฺถุโน วจโนวาทํ     กโรติเยว ขนฺติโก
ปรมาย จ ปูชาย     ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา
และผู้มีขันติ ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง

สีลสมาธิคุณานํ     ขนฺติ ปธานการณํ
สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา    ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ เต
ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ
กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญเพราะขันติเท่านั้น

ขนฺติ ธีรสฺส ลงฺกาโร     ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน
ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ     ขนฺติ หิตสุขาวหา
ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ขันติเป็นตบะของผู้พากเพียร
ขันติเป็นกำลังของนักพรต ขันตินำประโยชน์สุขมาให้

น สุทฺธิ เสจเนน อตฺถิ     นปิ เกวลี พฺราหฺมโณ
น เจว ขนฺติ โสรจฺจํ     นปิ โส ปรินิพฺพุโต
ความบริสุทธิ์ก็ดี ผู้ที่จะประเสริฐล้วนก็ดี ขันติและโสรัจจะก็ดี
จะเป็นผู้เย็นสนิทก็ดี ย่อมไม่มีเพราะการชำระล้าง (ด้วยน้ำ)

นเหตมตฺถํ มหตีปิ เสนา     สราชิกา ยุชฺฌมานา     ลเภถ
ยํ ขนฺติมา สปฺปุริโส ลเภถ     ขนฺติพลสฺสูปสมนฺติ เวรา
เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชารบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้
(เพราะ) เวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลังนั้น ย่อมสงบระงับ
 

จิตตวรรค - หมวดจิต

จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ     จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้

จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ     จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้

วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี     ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก

เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย     เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข
พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรที่เต็มด้วยน้ำมัน

ยโต ยโต จ ปาปกํ     ตโต ตโต มโน นิวารเย
ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ

ยโต ยโต จ ปาปกํ     ตโต ตโต มโน นิวารเย
ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ

อนวัฏฺจิต จิตฺตสฺส     สทฺธมฺมํ อวิชานโต
ปริปฺวลปสาทสฺสุ     ปญฺญา น ปริปูรติ
เมื่อจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม
มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์

ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา     เวริ วา ปน เวรินํ
มิจฺ ฉา ปณิหิตํ จิตตํ     ปาปิโย นํ ตโต กเร
โจรกับโจรหรือไพรีกับไพรี พึงทำความพินาศให้แก่กัน
ส่วนจิตตั้งไว้ผิด พึงทำให้เขาเสียหายยิ่งกว่านั้น

อานาปานสฺสติ ยสฺส     อปริปุณฺณา อภาวิตา
กาโยปิ อิญฺชิโต     โหติ จิตฺตมฺปิ โหติ อิญฺชิตํ
สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์ ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว

น ตํ มาตา ปิตา กยิรา     อญฺเญ วาปิจ ญาตกา
สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ     เสยฺยโส นํ ตโต กเร
มารดาบิดาหรือญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้
ส่วนจิตที่ตั้งไว้ดีแล้ว พึงทำเขาให้ดีกว่านั้น

ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ     วุฏฐี สมติวิชฺฌต
เอวํ อภาวิตํ จิตฺตํ     ราโค สมติวิชฺฌติ
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด
ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น

เสโล ยถา เอกฆโน     วาเตน น สมีรติ
เอวํ นินฺทาปสํสาสุ น    สมิญฺชนฺติ ปณฺฑิตา
ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด
บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น

จิตฺเตน นียติ โลโก     จิตฺเตน ปริกสฺสต
จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺส     สพฺเพว วสมนฺวคู
โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป
สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว

ปทุฏฺฐจิตฺตสฺส น ผาติ โหต     น จาปิ นํ เทวตา ปูชยนฺติ
โย ภาตรํ เปตฺติกํ สาปเตยฺย     อวญฺจยี ทุกฺกฏกมฺมการี
ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่
ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา
 

ชยวรรค - หมวดชนะ

ชยํ เวรํ ปสวติ           ผู้ชนะย่อมก่อเวร

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ           การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง

สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ           รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง

สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ           ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง

ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ           ความสิ้นตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง

น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ     ย ํ ชิตํ อวชิยฺยติ           ความชนะใดที่ชนะแล้วกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี

อกฺโกเธน ชิเน โกธํ           พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ

อสาธุํ สาธุนา ชิเน           พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี

ชิเน กทริยํ ทาเนน            พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้

สจฺเจนาลิกวาทินํ           พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |