พัดยศเปรียญและอื่น ๆ (หน้าที่ ๒)

พัดเปรียญรามัญ พัดรัตนาภรณ์ ร.๙ พัดนักธรรม


      พัดเปรียญรามัญ   เท่าที่พบมี ประโยค ๒ ไม่มีระดับอื่น น่าจะไม่เหมือนของไทย ซึ่งมีตั้งแต่ประโยค ๓ ขึ้นไป
      พัดรัตนาภรณ์ ร.9   เป็นพัดรัตนาภรณ์ที่สร้างขึ้นประจำรัชกาล เพื่อพระราชทานพระสงฆ์ที่สมควร ตามพระราชอัธยาศัย ใช้ได้เฉพาะตัวผู้ได้รับพระราชทาน และนำไปใช้งานชาวบ้านไม่ได้ แม้งานพระราชพิธีก็มีใช้เฉพาะเวลาถวายอนุโมทนา ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคลงานเดียว
      พัดนักธรรม      สร้างขึ้นไปรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ นอกเหนือไปจากพัดเปรียญ เป็นพัดหน้านาง พื้นต่วนสีเหลือง พิมพ์เส้นสีดำเป็นรูปธรรมจักร ตรงกลางเป็นเกาะขัดสมาธิ ซึ่งเป็นยันต์ชนิดหนึ่ง ถัดออกมาเป็นรูปธรรมจักร ขอบลายกนก แบ่งออกเป็น ๓ ชั้น ดังนี้
นักธรรมเอก    ปักไหมต่างสีทับบนลายพิมพ์ ติดนมทองเหลืองดุน
นักธรรมโท    ติดนมทองเหลืองดุน เป็นตัวอักษร น.ธ.โท
นักธรรมตรี    พิมพ์นมหน้าราหู



พัดพระพิธีธรรม


แต่เดิมพระสงฆ์ที่สวดภาณวาร หรือสวดอาฏานาในพิธีตรุษ เรียกว่า พระพิธีธรรม ซึ่งชื่อนี้เกิดขึ้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ต่อมาเมื่อเลิกพิธีตรุษแล้ว พระพิธีธรรม คงมีหน้าที่ สวดพระศพอย่างเดียว
เป็นพัดหน้านาง พื้นแพร ปักไหมทอง ลักษณะเหมือนพัดเปรียญรัชกาลที่ ๕ มีสีต่าง ๆ กัน คือ เหลือง แดง น้ำเงิน ขาว รวม ๔ เล่ม เป็นหนึ่งสำรับ ปัจจุบันมี ๑๐ สำรับ คือ วัดพระเชตุพน ฯ, วัดมหาธาตุ ฯ, วัดบวรนิเวศ ฯ, วัดสระเกศ ฯ, วัดสุทัศน์ ฯ, วัดประยูร ฯ, วัดอนง ฯ, วัดราชสิทธาราม ฯ และวัดระฆัง ฯ