| หน้าแรก | ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | |
พระราชสาสนจารึกในแผ่นสุพรรณบัตร
พระราชทานเซอยอนโบวริงอรรคราชทูตอังกฤษเชิญไปถวาย
สมเด็จพระนางวิกตอริยา
ราชินี
เมื่อปีเถาะ
พ.ศ. ๒๓๙๘
พระราชสาสน ในสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระเจ้ากรุงรัตนโกสินทรมหินทราอยุธยา
ขอคำนับเจริญพระราชไมตรีมายังสำนักสมเด็จพระนางวิกตอริยาราชินี ผู้เปนเจ้าเปนใหญ่ในทวีปบริตาเนียแลไอยิแลน
ได้ทรงทราบด้วย ในเดือน ๕ ปีเถาะสัปตศก เปนปีที่ ๕ ในรัชกาลอันเปนปะจุบันนี้
เซอยอน โบวริง เปนทูตมาด้วยกำปั่นรบของพระองค์ ด้วยหนังสือสำคัญของพระองค์เปนที่เชื่อถือมาว่ากล่าวจัดแจงสัญญาการไมตรี
แลการค้าขายให้เจริญขึ้นกว่าแต่ก่อน ขอให้กรุงไทยให้อิศานุภาพแก่ขุนนางบางนาย
ออกไปคิดอ่านปฤกษาด้วยข้อสัญญา กรุงไทยเห็นแก่ทางพระราชไมตรี
ก็ได้ตั้งพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์ ๑ เสนาบดี ๔ นาย เปน ๕ ด้วยกัน
มีนามในหนังสือสัญญาแล้วนั้น ให้ไปประชุมปฤกษากับทูตของพระองค์
จัดแจงเปลี่ยนสัญญาเก่าแลเพิ่มการใหม่เข้าบ้าง ตามทูตของพระองค์ประสงค์ว่าควรนั้น
การทำหนังสือสัญญาก็เปนอันเสร็จลงใน ๗ วัน ทูตของพระองค์จึงได้มอบเครื่องราชบรรณาการ
คือนาฬิกากลแลประแจที่เกี่ยวประดับเพชร มีหมายทวีปบริตาเนีย แลไอยิแลน
แลตราโมราประดับเพชรเปนรูปช้างสำหรับกรุงไทย ผูกกับเล่มสำหรับไขประแจ
แลสายสร้อยทองมีดิ่งเลื่อนรูปกลองประดับเพชรสำหรับนาฬิกา กับหีบเครื่องเขียนหนังสืออย่างดีเปนมงคลให้แก่กรุงไทย
อ้างว่าพระองค์โปรดส่งมาแสดงทางพระราชไมตรี กรุงไทยได้ยินดีมีคำนับรับไว้แล้ว
ขอขอบพระคุณอุปการ ยินดีตอบมาด้วยความสุจริต ขอให้ทางไมตรีสองพระมหานคร ติดพันธ์อยู่เย็นเปนสุขไปนานชั่วฟ้าแลดินเทอญ
แลบ้านเมืองของไทยที่ติดต่อกับอังกฤษดังนี้ จะเปนสุขไป ก็ด้วยพระเจ้าบริตาเนียทรงพระเมตตากรุณาถึงในกาลเนือง
ๆ ครั้งนี้กรุงไทยได้ส่งเครื่องราชบรรณาการบางสิ่ง ที่มากับพระราชสาสนนี้
ถึงไม่สู้ดีก็เปนผีมือช่างเมืองไทย ขอพระองค์จงโปรดรับไว้ เปนเครื่องรฦกถึงทางพระราชไมตรี
เทอญ ฯ
พระราชสาสนมา ณ วัน.......... ปีเถาะสัปตศก ศักราช ๑๒๑๗ เปนปีที่
๕ แห่งราชการปะจุบันนี้ ฯ
พระราชสาสนกำกับ
สุพรรณบัตร
ซึ่งเซอยอนโบวริงอรรคราชทูตอังกฤษเชิญไปถวาย
สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอริยา
เมื่อปีเถาะ
พ.ศ. ๒๓๙๘
พระราชสาสน ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าพระเจ้ากรุงสยาม
ซึ่งเปนพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ ในรัชกาลที่ ๔ ในพระบรมราชวงศ์ ซึ่งดำรงกรุงรัตนโกสินทรมหินทราอยุธยา
ณ ประเทศบางกอกนี้ ได้ครอบครองเปนเจ้าของพระมหานครราชธานีใหญ่ ในพระราชอาณาจักรฝ่ายสยามเหนือใต้
แลแผ่นดินแดนต่าง ๆ อยู่เดียวอยู่ใกล้ในที่นั้น ๆ บางแห่ง แลเปนที่อยู่ของชนชาวต่างประเทศ
มีเพศภาษาหลายอย่าง คือ ลาวเฉียง
ลาวกาว แลกำพูชา
มาลายู กระเหรี่ยง แลอื่น ๆ ในทิศต่าง
ๆ โดยรอบคอบขอบขัณฑสิมาอาณาจักรสยาม ขอเจริญทางพระราชไมตรี.....
จึงได้โปรดตั้งผู้ต่างพระเนตร พระกรรณไปคิดปฤกษาจัดการนั้นให้สำเร็จ.....
โปรดให้ท่านทั้ง ๕ นี้ ไปประชุมปฤกษาข้อสัญญาด้วยกับราชทูตของพระองค์ พร้อมใจกันทั้ง
๖ ได้จัดแจงเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเก่า แลเพิ่มเติมข้อความใหม่เข้าบ้าง.....
แผ่นดินสยามซึ่งได้เปนสัมพันธมิตรติดต่อกับไมตรีอังกฤษดังนี้แล้ว.....
อนึ่งครั้งนี้กรุงสยามได้ส่งเครื่องมงคลราชบรรณาการบางสิ่ง.....
พระราชสาสนนี้ ลงวันศุกร เดือน ๖ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีเถาะ สัปตศก ศักราช ๑๒๑๗
เปนปีที่ ๕ ในรัชกาลปจุบันนี้ ฯ
บุญชีเครื่องมงคลราชบรรณาการ
ประกาศตั้งพระยามนตรี
สุริยวงค์ เปน ราชทูตไปลอนดอน
ปีมะเสง
พ.ศ. ๒๔๐๐
สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม แลสมเด็จพระปวเรนทราเมศวรมหิศวเรศรังสรรค์
พระปิ่นเกล้าเจ้าประเทศสยาม ทั้งสองพระองค์ ขอประกาศแก่คนนอกประเทศในประเทศทั้งปวง.....
ว่าเราพระเจ้ากรุงสยามทั้งสอง แลเสนาบดี ได้มีความประสงค์จะส่งทูตานุทูต ไปจำทูลพระราชสาสน.....
ไปยังสมเด็จพระนางวิกตอเรียมหาราชินี..... บัดนี้พระเจ้ากรุงลอนดอนเห็นแก่ทางพระราชไมตรี
แต่ให้ขุนนางคุมเรือรบมารับทูตานุทูตถึงพระนครนี้ เราพระเจ้ากรุงสยามทั้งสอง.....
บังคับแต่งตั้งให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง
เปนราชทูตเจ้าหมื่นสรรเพธภักดี หัวหมื่นมหาดเล็กเวรศักดิ์
เปนอุปทูต จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ปลัดกรมพระตำรวจสนมซ้าย ในพระบวรราชวังเปนตรีทูต
จมื่นราชามาตย์ปลัดกรมพระตำรวจในซ้าย ในพระบรมมหาราชวังกับนายพิจารณสรรพกิจ
หุ้มแพรนายยามเวรเดช สองนายเปนพนักงารกำกับเครื่องราชบรรณาการ
หม่อมราโชทัย เจ้าราชนิกูล เปนล่ามสำหรับการเจรจา ให้คนทั้ง ๖
คนนี้ มีอำนาจจำทูลพระราชสาสน คุมเครื่องราชบรรณาการ ออกไปคำนับเจริญทางพระราชไมตรี
แด่สมเด็จพระนางวิตอเรียมหาราชินี เจ้ากรุงบริตาเนีย แลนำหนังสือเจ้าพระยาพระคลัง ไปวางแก่เสนาบดีในกรุงลอนดอนด้วย แลให้มีอำนาจเพื่อจะได้ไต่ถามหารือขอฟังการต่าง
ๆ ที่ควรจะฟังมาเพื่อกรุงสยามนี้ด้วย แต่ไม่มีอำนาจเพื่อจะว่ากล่าวการอันอื่น แทนกรุงสยามก็ดีแทนเสนาบดีก็ดี
ยิ่งกว่ามอบพระราชสาสน แลมงคลราชบรรณาการ แลถามหารือแลฟังการต่าง ๆ
ที่ควรฟังมานั้นเลย ถ้าพระเจ้ากรุงบริตาเนีย จะให้มีพระราชสาสนตอบ
แลรับสั่งมาด้วยข้อความใด ๆ ก็ดี ก็ให้ทูตานุทูตพวกนี้มีอำนาจ
เพื่อจะรับมาถึงกรุงสยามนี้ด้วย
อนึ่ง ให้ราชทูต อุปทูต ตรีทูต แลขุนนางพนักงาร เครื่องราชบรรณาการทั้งสอง
แลล่ามพนักงารพวกนี้ มีความสมัคสโมสรเปนเอกจิตต์เอกฉันทแก่กัน
อย่าไปมีความถือเปรียบแก่งแย่งแก่กัน แลทำการที่มิควรให้เสียราชการ แลเสียเกียรติยศแก่พระนครนี้ได้เปนอันขาดทีเดียว
ถ้าผู้ใดคนหนึ่งฤาสองคนในพวกทูตานุทูตซึ่งไปครั้งนี้ จะมีเหตุเข็ญไข้ไภยันต์ประการใด
จะรับราชการมิได้ในกลางทางก็ดี ในแผ่นดินบริตาเนียก็ดี ก็ให้คนที่เหลืออยู่เปนปกติ
มีอำนาจเพื่อจะรับราชการแทนทุกอย่าง ตามซึ่งบังคับมานั้น กว่าจะกลับคืนถึงพระนคร
ประกาศนี้ได้มอบสำหรับพวกทูตานุทูต ณ ท้องสนามในพระบรมมหาราชวัง กรุงรัตนโกสินทรมหินทราอยุธยา
ณ วันพุธ ขึ้นค่ำ ๑ แห่งเดือนสาวันในศักราช ๑๒๑๙ ปีมะเสงนพศก
ตรงกับวันที่ ๒๒ แห่งเดือนยุไลย ในศักราชคฤศต์ ๑๘๕๗ เปนปีที่ ๗
ในราชการปะจุบันนี้ ฯ
พระราชสาสน ถึงสมเด็จพระนางวิกตอเรียมหาราชินี
พระราชทานไปลอนดอน
พระยามนตรี
สุริยวงค์ ราชทูตเชิญไป
สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ สุทธสมมุติ เทพยพงศ์ วงศาดิศวรกษัตริย์วรขัติยราชนิกโรดม
จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราช สังกาศบรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร
พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดิน กรุงสยาม ผู้เปนใหญ่แก่ประเทศราชต่าง
ๆ ที่ใกล้เคียงคือ เมืองลาว เมืองกำโพชา เมืองมลายู
หลายเมืองแลที่อื่น ๆ ขอเจริญทางพระราชไมตรีอันสนิท คำนับมายังสมเด็จพระนางวิกตอเรียมหาราชินี
พระเจ้ากรุงลอนดอน ผู้เปนใหญ่ในพระราชอาณาจักรอันรวมกัน คือทวีปบริตาเนียใหญ่แลไอยิแลน
แลกอลนี นา ๆ ประเทศต่าง ๆ ให้ทรงทราบ ว่าบัดนี้กรุงสยามมีความคำนึงคิดถึงถึงพระเดชพระคุณ พระราชไมตรีพระเจ้ากรุงบริตาเนียมาก ด้วยเห็นผลของความพระราชไมตรีอันสนิท
แลความดำริห์จัดการดี เปนคุณ เปนเกียรติยศ แก่บ้านเมืองสยามนี้ ประจักษ์มากเปนหลายประการ
คือว่าตั้งแต่เซอยอนโบวริง เปนผู้รับสั่งพระเจ้าบริตาเนีย เข้ามาทำหนังสือสัญญาทางไมตรี
แลการค้าขายกับกรุงสยามในเดือนเจตรมาส ปีเถาะ สัปตศก เปนปีที่
๕ ในราชกาลอันเปนปะจุบันนี้ ครั้งเมื่อได้โครงหนังสือสัญญาทางไมตรีแลค้าขาย
ลงตราหมายลายมือ ผู้ที่ปฤกษากันทั้งสองฝ่ายเสร็จแล้ว ลูกค้าวาณิชอังกฤษแลชาวต่างประเทศได้ทราบการนั้น
แต่ในระหว่างยังไม่ได้เปลี่ยนสัญญาต่อกัน ยังใช้อยู่ตามสัญญาเก่าปีหนึ่งนั้น
ก็เข้ามาเริ่มการค้าขายมากขึ้นกว่าปรกติ แลตั้งแต่เปลี่ยนหนังสือสัญญากันแล้ว
ใน..... ศักราชคฤศต์ ๑๘๕๖ นั้นมาแล้ว..... จนบัดนี้มีเรือลูกค้าไปมาเนือง
ๆ ทุกสัปดาหวารมิได้ขาด เงินทองนอกประเทศก็เข้ามาจับจ่ายในประเทศนี้มากมาย.....
แลทำนาเข้า แลไร่อ้อย แลอื่น ๆ มากขึ้นกว่าแต่ก่อนบ้างอยู่แล้ว.....
ถึงว่าเพราะเงินทองต่างประเทศเข้ามามาก ของใช้แลของกินแทบทุกสิ่งมีราคาสูงขึ้นกว่าแต่ก่อน.....
แลผู้ครอบครองแผ่นดินฝ่ายสยามก็จะช่วยคิดอ่าน จัดให้มีที่ทางใหม่ ๆ
แก่ราษฎรให้ได้ที่ทำไรนา เพาะปลูกเจริญสืบต่อไป
อนึ่งเมื่อเซอยอนโบวริง เข้ามาทำสัญญานั้น กรุงสยามได้รับเครื่องราชบรรณาการบางสิ่ง.....
การนั้นก็เปนเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ แก่การสยามมาประจักษ์มาก เพราะคนทั้งโลกทราบอยู่ทั่วกันว่า
พระเจ้ากรุงบริตาเนีย มีพระเดชานุภาพ แลอำนาจโตใหญ่ แผ่ไปในต่างประเทศทั่วทิศ
มีพระราชอาณาเขตรอบภพไป
จนพระอาทิตย์ไม่รู้ตกลับดวงเลย..... เพราะว่าแต่ก่อนมา
ยังไม่ได้ทราบเลยว่า เมืองใดในประเทศอินเดียทั้งปวงตลอดจนแผ่นดินจีน
จะเคยได้รับพระราชสาสนและเครื่องมงคลราชบรรณาการ แต่พระเจ้ากรุงบริตาเนียอย่างครั้งนี้.....
พระเจ้ากรุงบริตาเนียได้ส่งทูตานุทูตอังกฤษ เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีกับกรุงสยามถึงสองครั้งแล้ว
ฝ่ายกรุงสยามควรจะให้ทูตานุทูตสยามออกไปคำนับ ให้ถึงพระเจ้ากรุงบริตาเนีย
เฉพาะพระพักตร ให้ได้เห็นแลรู้จักกับเสนาบดีกรุงลอนดอน ให้ได้พบเฉพาะหน้าได้หารือ
รู้การที่ควรจะได้ถามต่าง ๆ มาด้วย..... อนึ่งการที่จะให้ทูตานุทูตไปไกลในทางทะเลนั้น
กรุงสยามนี้ยังไม่มีอำนาจจะส่งไปได้โดยสดวกด้วย..... มีหนังสือออกไปปฤกษาหารือกับเสนาบดี
พนักงารว่าการต่างประเทศในกรุงลอนดอนแต่ในปีหลังแล้ว จึงได้ความตอบมาว่า.....
พระเจ้ากรุงบริตาเนียกับเสนาบดีจะยินดีรับ แลว่าจะจัดเรือรบของกรุงบริตาเนียมารับ
แลส่งให้ถึงกรุงลอนดอน แลกลับมาถึงพระนครนี้โดยสดวก..... จึงได้แต่งตั้งพระยามนตรีสุริยวงค์
เปนราชทูต..... กับคนชาวสยามอื่นอีก ๒๒ คน รวมกันเปน ๒๘ คน..... ครั้นเรือรบกลไฟของกรุงบริตาเนียชื่อ
แอนกอเดอ เข้ามารับถึงกรุง..... แลทูตานุทูตซึ่งออกไปยังกรุงบริตาเนียในครั้งนี้
ขอให้ได้รับรู้เห็นการในประเทศยุโรปบางสิ่งตามประสงค์ อันเปนประโยชน์แก่กรุงสยามบ้าง.....
..... แลขอให้ทางไมตรีสองพระนครติดพันธ์อยู่เย็นเปนสุขไปนานชั่วฟ้าและดินเทอญ
ฯ
พระราชสาสนนี้เขียนอักษรอังกฤษ ฉบับ ๑ เขียนอักษรสยาม ฉบับ ๑ เปนสองฉบับความต้องกัน.....
เปนวันที่ ๒๔ แห่งเดือนยุไล ในปีมีศักราชคฤศต์ ๑๘๕๗ เปนปีที่ ๗
ในราชการปจุบันของแผ่นดินสยามนี้ ฯ
บาญชีเครื่องราชบรรณาการไปกรุงลอนดอน
สิ่งของจัดเตรียมไว้จะให้ทูตไป
คำทูตทูลถวายมอบพระราชสาสน