|
ควรคำนึงถึงชาติศาสนา |
ไม่ควรให้เสียทีที่เกิดมา | ในหมู่ประชาชาวไทย |
แม้ใครตั้งจิตคิดรักตัว | จะมัวนอนนิ่งอยู่ไฉน |
ควรจะร้อนอกร้อนใจ | เพื่อให้พรั่งพร้อมทั่วตน |
ชาติใดไร้รักสมัครสมาน | จะทำการสิ่งใดก็ไร้ผล |
แม้ชาติย่อยยับอับจน | บุคคลจะสุขอยู่อย่างไร |
|
คงจะต้องบังคับขับไส |
เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป | ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย |
เขาจะเห็นแก่หน้าค่าชื่อ | จะนับถือพงศ์พันธุ์นั้นอย่าหมาย |
ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย | ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา |
|
จงรักร่วมชาติศาสนา |
ยอมตายไม่เสียดายชีวา | เพื่อรักษาอิสระคณะไทย |
สมานสามัคคีให้ดีอยู่ | จะสู้ศึกศัตรูทั้งหลายได้ |
ควรคิดจำนงจงใจ | เป็นไทยจนสิ้นดินฟ้า |
เครื่องหมายแห่งไตรรงค์
|
ความคิดเครื่องหมาย |
แห่งสีทั้งสามงามถนัด | |
หมายพระไตรรัตน์ | |
และธรรมะคุ้มจิตไทย | |
ซึ่งยอมสละได้ | |
เพื่อรักษาชาติศาสนา | |
อันจอมประชา | |
ธโปรดเป็นของส่วนองค์ | |
จึ่งเป็นสีธง | |
ที่รักแห่งเราชาวไทย | |
ยงยุทธวิชัย | |
วิชิตก็ชูเกียรติสยาม |
สยามานุสสติ
ค รักราช จงจิตน้อม | ภักดี ท่านนา |
รักชาติ์ กอบกรณีย์ | แน่วไว้ |
รักศาสน์ กอบบุญตรี | สุจริต ถ้วนเทอญ |
รักศักดิ์ จงจิตให้ | โลกซร้องสรรเสริญ ฯ |
ค ยามเดินยืนนั่งน้อม | กะมล |
รำลึกถึงเทศตน | อยู่ยั้ง |
เปนรัฏฐะมณฑล | ไทยอยู่ สราญฮา |
ควรถนอม แน่นตั้ง | อยู่เพี้ยงอวสาน ฯ |
ค ใครรานใครรุกด้าว | แดนไทย |
ไทยรบจนสุดใจ | ขาดดิ้น |
เสียเนื้อเลือดหลั่งไหล | ยอมสละ สิ้นแล |
เสียชีพไป่เสียสิ้น | ชื่อก้องเกียรติงาม ฯ |
ค หากสยามยังอยู่ยั้ง | ยืนยง |
เราก็เหมือนอยู่คง | ชีพด้วย |
หากสยามพินาศลง | ไทยอยู่ ได้ฤา |
เราก็เหมือนมอดม้วย | หมดสิ้นสกุลไทย ฯ |
ทศพิธราชธรรม
|
ทศะพิธมหาธรรม์ |
ถึงแม้จะมีพละประจัน | ก็ประลาศประลัยลาน |
ทานัม์ (ทานํ) | |
อนุเคราะหะอวยทาน | |
เพื่อชนนิกรสุขะสะราญ | ฤติเพื่อบ่ยากจน |
จิตะมุ่งมะนูญผล | |
ทรงศีละสังวระวิมล | ธุระมุ่งเสวยสวรรค์ |
และประดิษฐหิตานันท์ | |
โรงเรียนสะพานและคฤหะอัน | ชนใช้จะพึงประสงค์ |
หฤทัยธซื่อตรง | |
เป็นนิตย์นิรันดะระธำรง | สุจริต ณ ไตรทวาร |
บ่ มิพึงจะรุนราญ | |
บ่ ถือพระองค์สมะสะมาน | มนะน้อยนิยมชม |
มละกลั้ว ณ อารมณ์ | |
ด้วยการบำเพ็ญพิระอุดม | วรศาสะโนบาย |
ประติปักษะมุ่งร้าย | |
เมตตาธิธรรมะวิธิหมาย | ชะนะด้วยอะเวรา |
นรพึ่งพระเดชา | |
ป้องปกพะศกนิกรนา | คะระแม้นปิโยรส |
หฤทัยก็ออมอด | |
ยามควรก็ทรงกรุณะงด | คุรุทัณฑะอาญา |
วรยุกติธรรมา | |
ทรงงำพิภพดิลกกะผา | ศุกะแม้นมะนูเดิม |
มะกุศลก็ส่งเสริม | |
บุญญาธิการะก็จะเพิ่ม | พะหุพร บ่ วายวัน |
พระร่วง
|
เถลิงอาสน์สุโขทัยสโมสร : |
เราจะประศาสน์การนคร | ให้ประชานิกรสุขสราญ |
ซึ่งท่านให้อิสริยยศ | เรามิอาจหาพจน์พอตอบท่าน ; |
ขอแต่ให้เสนาพฤฒาจารย์ | สมัครสมานสามัคดี . |
อย่าเห็นแก่ตัวมัวพะวง | ลุ่มหลงฤศยาไม่ควรที่ ; |
อย่าต่างคนต่างแก่งกันแย่งดี ; | อย่าให้ช่องไพรีที่มุ่งร้าย . |
แม้เราฤศยากันและกัน | ไม่ช้าพลันจะพากันฉิบหาย ; |
ระวังการยุยงส่งร้าย , | นั่นแหละคือเครื่องทำลายสามัคคี . |
คณะใดศัตรูผู้ฉลาด | หมายมาดทำลายให้เร็วรี่ , |
ก็ยุแยกให้แตกสามัคคี , | เช่นกษัตริย์ลิชชวีวงศ์โบราณ . |
พราหมณ์ผู้เดียวรับใช้ไปยุแหย่ | สาระแนยุญาติให้แตกฉาน , |
จนเวลาศัตรูอู่ไปราญ | มัวเกี่ยงกันเสียการ , เสียนคร. |
ฉนั้นไซร้ขอไทยจงร่วมรัก , | จงร่วมสมัครสโมสร , |
เอาไว้เผื่อเผื่อมีไพรีรอญ | จะได้สู้ดัสกรด้วยเต็มแรง . |
ไทยรวมกำลังตั้งมั่น | จะสามารถป้องกันขันแข็ง , |
ถึงแม้ว่าศัตรูผู้มีแรง | มายุทธแย้งก็จะปะลาศไป . |
ขอแต่เพียงไทยเราอย่าผลาญญาติ ; | ร่วมชาติร่วมจิตเป็นข้อใหญ่ ; |
ไทยอย่ามุ่งร้ายทำลายไทย | จงพร้อมใจพร้อมกำลังระวังเมือง . |
ให้นานาภาษาเขานิยม | ชมเกียรติยศฟูเฟื่อง ; |
ช่วยกันบำรุงความรุ่งเรือง , | ให้ชื่อไทยกระเดื่องทั่วโลกา . |
ช่วยกันเต็มใจใฝ่ผดุง | บำรุงทั้งชาติศาสนา , |
ให้อยู่จนสิ้นดินฟ้า ; | วัฒนาเถิดไทย , ไชโย ! |
เพลงว่าด้วยเจ้าขุนมูลนาย
|
ครอบครองบริวารทั้งหลาย |
ฝูงโคขุนโคก็เป็นนาย | มุ่งหมายนำพวกไปหากิน |
ฝูงหงษ์มีเหมราชา | สกุณามีขุนปักษิณ |
เทวายังมีสักรินทร์ | เป็นปิ่นเทวันชั้นฟ้า |
เผ่าชนจะตั้งเป็นคณะ | จะต่างคิดเกะกะตามประสา |
จะอยู่ได้ดีกี่เวลา | ดูน่าจะยับอับจน |
จำเป็นต้องมีหัวหน้า | กะการบัญชาให้เป็นผล |
กองทัพบริบูรณ์ผู้คน | ไม่มีจุมพลจะสู้ใคร |