|
จะมีใครบังคับก็หาไม่ |
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ | จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน : |
เป็นสิ่งดีสองชั้น ; พลันปลื้มใจ | แห่งผู้ให้และผู้รับสมถวิล : |
เป็นกำลังเลิศพลังอื่นทั้งสิ้น : | เจ้าแผ่นดินผู้ทรงพระกรุณา , |
ประดุจทรงวราภรณ์สุนทรสวัสดิ์ | เรืองจรัสยิ่งมงกุฎสุดสง่า ; |
พระแสงทรงดำรงซึ่งอาชญา | เหนือประชาพสกนิกร , |
ประดับพระวรเดชวิเศษฤทธิ์ | ที่สถิตอานุภาพสโมสร ; |
แต่การุณยธรรมสุนทร | งามงอนกว่าพระแสงอันแรงฤทธิ์ |
เสถียรในหฤทัยพระราชา , | เป็นคุณของเทวาผู้มหิทธิ์ ; |
และราชาเทียมเทพอมฤต | ยามบพิตรเผยแผ่พระกรุณา |
ฉะนั้นยิว , แม้อ้างยุติธรรม | จงกำหนดจดจำไว้ด้วยว่า |
ในกระแสแห่งยุติธรรมา | ยากจะหาความเกษมเปรมใจ : |
ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก | |
อีกคนใดฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ , | เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์ |
หรืออุบายมุ่งร้ายฉมังนัก : | มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี , |
และดวงใจย่อมดำสกปรก | ราวนรก ชนเช่นกล่าวมานี่ |
ไม่ควรใครไว้ในในโลกนี้ | เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ |
|
เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน ? |
เริ่มเพาะเหมาะกลางวางหัวใจ | หรือเริ่มในสมองตรองจงดี ? |
แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง ? | อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ควรที่ |
ใครถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงรตี | ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอย |
เกิดเมื่อเห็นน้องน้อยอย่างสงสัย : | |
ตาประสบตารักสมัครไซ้ร | เหมือนหนึ่งให้อาหารสำราญครัน ; |
แต่ถ้าแม้นสายใจไม่สมัคร | เหมือนฆ่ารักเสียแต่เกิดย่อมอาสัญ , |
ได้แต่ชวนเพื่อนยามาพร้อมกัน | ร้องรำพันสงสารรักหนักหนาเอย |
|
ความชั่วอกตัญญูของคนได้ |
ถึงพัดต้องกายเย็นไม่เป็นไร | เพราะมิได้เคยเห็นเป็นเพื่อนกัน |
โอ้เจ้าพุ่มพฤกษาสง่าศรี | ในโลกนี้สหายไม่มีที่จิรงใจ |
ชายหญิงไซร้เปรียบตัวลครนั่น : | |
ต่างมียามเข้าออกอยู่เหมือนกัน : | คนหนึ่งนั้นย่อมเล่นตัวนานา , |
คือแบ่งเป็นเจ็ดปางอย่างนี้ไซร้ . | หนึ่งลูกอ่อนนอนไห้อยู่จ้า ๆ |
ในวงเขนพี่เลี้ยงกล่อมเกลี้ยงมา . | จนกว่าจะสามารถอาจเลี้ยงตน . |
สองคือเด็กนักเรียนแรกเขียนอ่าน | ถือย่ามผ่านไปพลางทางพร่ำบ่น , |
หน้าแฉล่มแจ่มปานพระสุริยน , | ไปโรงเรียนชอบกลราวหอยคลาน . |
สามคือหนุ่มรักสมรเฝ้าถอนใจ | ราวเตาไฟที่เพลิงเร้าเริงผลาญ , |
แต่งเพลงยาวชมขนงเจ้านงคราญ . | สี่ทหาร , เสียงดังตึงตึงไป , |
และหนวดเคราคล้ายเสือ , เหลือจะรัก | เกียรติศักดิ์ , มักวิวาทปราดเข้าใส่ |
ถลันหาเกียรติยศแม้ที่ใน | ปากปืนใหญ่ไม่พรั่นหวั่นวิญญา . |
ห้าลูกขุนผู้ใหญ่ไก่เต็มพุง | จนท้องตุงตัวอ้วนท้วนหนักหนา , |
ตาขมึง , หนวดเคราเข้าตำรา | ชำนาญในกติกาประเพณี . |
ตกลงมาถึงปางคำรบหก . | เป็นตลกซูบแท้แก่เต็มที่ , |
ใส่แว่นตาคาดกระเป๋าเทราฤดี | ถุงตีนที่เคยใช้แต่เยาว์วัย |
ก็หย่อนย่นร่นหลวมสวมเขาเหี่ยว , | เสียงเคยห้าวกลับเรียวลงไปได้ |
ราวเสียงเด็ก , ยามสนทนาไป | เสียงนั้นไซร้แห้งแหบหอบหืดครัน , |
ปางสุดท้าย , นี้หมายจบประวัติ , | อันเห็นชัดเป็นเด็กอีกแม่นมั่น , |
มีแต่หลงลืมไป , อีกไร้ฟัน | ไร้ตา , ไร้รสสรรพ์ , ไร้ทั่วไป |
สาวิตรี
หม่อมฉันขอตามไปพระเจ้าข้า | |
หรือเสด็จไปเองในมรรคา | ข้าก็จะขอตามเสด็จไป |
ด้วยอำนาจแข็งแรงแห่งตบะ | และสัมนาคารวะต่อผู้ใหญ่ |
อีกพระองค์กรุณาแก่ข้าไท | คงไม่มีสิ่งใดกีดทางจร |
อันผู้ใดใฝ่ธรรมเป็นเนืองนิตย์ | และรู้จักข่มจิตไม่ย่อหย่อน |
ปฏิบัติพรั่งพร้อมดังครูสอน | คงไม่ต้องอนาทรและร้อนใจ |
ปราชญ์สรรเสริญว่าธรรมเป็นล้ำเลิศ | สุดประเสริฐกว่าทรัพย์ทั้งน้อยใหญ่ |
ธรรมคุ้มผู้ประพฤติเป็นธรรมไซร้ | คงต้องได้ผลงามตามตำรา |
จะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าหามิได้ | |
พระภรรดาตกอยู่สภาพใด | หม่อมฉันขออยู่ในสภาพนั้น |
อนึ่งใกล้พระองค์ผู้ทรงคุณ | เป็นจอมบุญแท้จริงทุกสิ่งสรรพ์ |
การคบผู้ซื่อตรงทรงคุณธรรม์ | ย่อมมีผลอนันต์อันเลิศดี |
เสวนากับผู้ประพฤติธรรม | คือคบมิตรเลิศล้ำและเป็นศรี |
หม่อมฉันชอบคบธรรมจารี | จึงสู้ลีลาตามเสด็จมา |
มรรคายืดยาวก็เดินได้ | |
จะขอตามเสด็จอีกต่อไป | เทพไทจงโปรดปรานี |
พระองค์เป็นโอรสอาทิตย์ไซ้ร | จึงเรียกไววัสวัตบดีศรี |
ประสาทธรรมสม่ำเสมอดี | จึงมีนามว่าธรรมราชา |
อันผู้ใดทรงธรรมเที่ยงสถิต | ชนอยากเป็นมิตรเป็นหนักหนา |
ความใจดีมีจิตมากเมตตา | ย่อมแนะสัตว์นานาไว้วางใจ |
ด้วยวินัยแน่วแน่ทุกสถาน | |
ทรงคร่าสัตว์ทั้งมวลเมื่อควรกาล | มิได้พาลนอกทางอย่างใด ๆ |
ฉะนี้ชนเรียกเทพวโรดม | ว่าพระยมเทวราชผู้เป็นใหญ่ |
ขอพระองค์กรุณาแก่ข้าไท | และจงได้สดับคำภิปราย |
กรณีคนดีมีศิลธรรม | อันควรทำต่อสัตว์ทั่วทั้งหลาย |
คือมิได้ประทุษและปองร้าย | ทั้งด้วยกายวาจาอีกทั้งใจ |
ควรเมตตาปรานีเป็นที่สุด | แก่มนุษย์และสัตว์ทั้งน้อยใหญ่ |
แม้ศัตรูผู้มาขออาศัย | ก็ยอมยกโทษให้ด้วยปรานี |
กับผู้สุจริตย่อมเป็นศรี | |
พระองค์เป็นยอดธรรมจารี | หม่อมฉันนี้จึงนำเสด็จจร |
เสวนากับบัณฑิตเป็นกิจชอบ | ประกอบด้วยกุศลสโมสร |
อันธรรมจารีศรีสุนทร | นรากรได้พึ่งจึงเย็นใจ |
บันดาลตาให้มืดมน , | |
ไม่ยินและไม่ยล | อุปะสัคคะใด ๆ |
ความรักเหมือนโคถึก | กำลังคึกผิขังไว้ |
ก็โลดจากคอกไป | บ ยอมอยู่ ณ ที่ขัง ; |
ถึงหากจะผูกไว้ | ก็ดึงไปด้วยกำลัง , |
ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง | บ หวลคิดถึงเจ็บกาย . |
ละก็ชาติจะภินพัง | |
ไหนเลยจะคงตั้ง | อิศะรานุภาพครอง |
โลกเราสง่างาม | ก็เพราะแสงตะวันส่อง , |
สิ้นแสงระวีต้อง | มละทั่วนะฉันใด ; |
อันปวงประชาเปรม | ฤดีพึ่งพระเดชไท้ , |
เดชดับก็มืดใน | ฤดีหม่นละแน่นอน . |
ราตรีสว่างแจ้ง | ก็เพราะแสงนิศากร |
โกฎิ์ดาว ณ อัมพร | ก็ บ่ เท่าพระจันทร์เดียว , |
อันว่าพระคุณเปรียบ | วรโสมะนั่นเทียว |
ไร้นาถะข้าเหลียว | จะประสบพระเจ้าไหน ? |
หนังสือเป็นตรีมีปัญญาไม่เสียหลาย | |
ถึงรู้มากไม่มีปากลำบากตาย | มีอุบายพูดไม่เป็นเห็นป่วยการ |
ถึงเป็นครูรู้วิชาปัญญามาก | ไม่รู้จักใช้ปากให้จัดจ้าน |
เหมือนเต่าฝังนั่งซื่อฮื้อรำคาญ | วิชาชาญมากเปล่าไม่เข้าที |
ใครช่างพูดพลิกแพลงเหมือนแรงมาก | คนนิยมลมปากมากเจียวพี่ |
ถึงรู้น้อยถ้อยคำให้ขำดี | คงเป็นที่สมคเนที่เฉโก |
แจ่มจันทร์ชื่นจิตของบิดา | |
เมื่อแก่เฒ่าหมายเจ้าช่วยรับใช้ | เมื่อยามไข้หมายเจ้าเฝ้ารักษา |
เมื่อยามถึงวันตายวายชีวา | หวังลูกช่วยปิดตาเมื่อสิ้นใจ |
ธรรมดาหาอะไรก็หาได้ | |
กำหมัดคือยุติธรรมจงจำไว้ | ใครหมัดใหญ่ได้เปรียบเรียบเทียวเกลอ |
ใครหมัดย่อมต้องถ่อมกายายอบ | ต้องคอยหมอบคอยกราบราบเทียวเหนอ |
คอยระแวงแขยงอยู่ละเออ | มิได้กล้าเผยอขึ้นตึงตัง |
มีอำนาจวาสนาวาจาสิทธิ์ | พูดสิ่งไรไม่ผิดเพราะฤทธิ์ขลัง |
ถึงพูดผิดกำหมัดซัดลงปัง | กลายเป็นพูดถูกจังไปทังเพ |
กำหมัดเล็กลูกเด็กเถียงได้ | จะส่งเสียงเถียงไปไม่ไหวเหว |
ต้องขอยืมหมัดโตไว้โบ๊เบ๊ | เด่นโอ้เอ้วางปึ่งให้ถึงดี |
ไม่เห็นหน้านวลักษณ์ยิ่งมืดใหญ่ | |
ถึงราตรีมีจันทร์อันอำไพ | ไม่เห็นโฉมประโลมใจให้มืดมน |
อ้าดวงสุริศรีของพี่เอ๋ย | ขอเชิญเผยหน้าต่างนางอีกหน |
ขอเชิญจันทร์ส่องสว่างกลางสากล | เยี่ยมมาให้พี่ยลเยือกอุรา |
เป็นผู้ชายยิ่งยากกว่าหลายเท่า | |
หญิงต้องเจียมกายามาแต่เยาว์ | ชายต้องเฝ้าวิงวอนให้หล่อนรัก |
หญิงถึงรักต้องแสร้งแกล้งทำเฉย | หวังให้ชายอยากเชยยิ่งขึ้นหนัก |
ต่างคนต่างซัดกันน่าขันนัก | ที่แท้ต่างสมัครจะรักกัน |
วิสัยหญิงต้องอาย , ยั่วชายชิด | หญิงย่อมดัดจริต , จิตชายสั่น |
ถ้าแม้นรักจริงแล้วไม่แคล้วกัน | เสน่ห์พันผูกสนิทชิดชมเอย |
เป็นเชื้อชาตินักรบกลั่นกล้า | |
เหตุไฉนย่อท้องรอรา | ฤาจะกล้าแต่เพียงวาที |
เห็นแก้วแวววับจับจิต | ไยไม่คิดอาจเอื้อมให้เต็มที่ |
เมื่อไม่เอื้อมจะได้อย่างไรมี | อันมณีฤาจะโลดไปถึงมือ |
อันของสูงแม้ปองต้องจิต | ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้หรือ |
มิใช่ของตลาดที่อาจซื้อ | ฤาแย่งยื้อถือได้โดยไม่ยอม |
ไม่คิดสอยมัวคอยดอกไม้ร่วง | คงชวดดวงบุปผะชาติสอาดหอม |
ดูแต่ภุมรินเที่ยวบินดอม | จึ่งได้ออมอบกลิ่นสุมาลี |
เหลือจะหยิบมาชมภิรมย์สันต์ | |
เหมือนดวงดาววาววาวอยู่ไกลครัน | ชิดสวรรค์สุดเอื้อมมาเชยชม |
เสียแรงชื่ออุษานารี | ไยไม่มีเทวามาอุ้มสม |
ปล่อยให้นั่งฟูมฟกอกตรม | ร้อนระบมจิตใจดังไฟราน |
อ้าองค์เทวาสุรารักษ์ | ทรงฤทธิ์สิทธิศักดิ์มหาศาล |
ช่วยดลใจให้ชู้คู่ชีวานต์ | เสียวสร้านเสน่หามาไวไว |