| หน้าแรก
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป
|
ตัวหนังสือของกลุ่มไทยที่อยู่ตอนเหนือของอินโดจีน
การอพยพของเผ่าไท ได้ทะยอยกันมาหลายละลอก มีพวกเผ่าไทยอพยพเข้าไปอยู่ในตังเกี๋ย
เป็นจำนวนมาก และได้แพร่ไปถึงเกาะไหหลำ พวกไหหลำ เรียกชื่อคนพวกนี้ว่า พวกลอยหรือลี้
การอพยพได้อาศัยหลักการอพยพ เข้าไปสู่ต้นน้ำของลุ่มน้ำสำคัญ แล้วเคลื่อนที่ต่อตามลำน้ำนั้น
ลงไปทางปากแม่น้ำ เผ่าไทยที่อพยพมาทางตังเกี๋ย ได้ยึดแนวแม่น้ำดำ และแม่น้ำแดง
ซึ่งต้นน้ำอยู่ทางเทือกเขา ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ไหลผ่านทางเหนือของเวียดนาม
มาลงทะเลที่อ่าวตังเกี๋ย ได้ตั้งบ้านเมืองในท้องที่ต่าง ๆ ตามลุ่มน้ำทั้งสอง
และลุ่มน้ำอื่น ๆ ที่ไหลไปทางตะวันออก และลงทะเลที่อ่าวตังเกี๋ยทั้งสิ้น
ดินแดนแถบทางเหนือของเวียดนามนี้
เป็นดินแดนที่ครอบคลุมแคว้นสิบสองปันนา หัวพันทั้งห้าทั้งหก เมื่อได้ตั้งบ้านเมืองแล้ว
ก็ปกครองตนเองเป็นอิสระ และตั้งชื่อเผ่าของตนต่าง ๆ กันไป เช่น ไทยขาวอยู่ทางลุ่มแม่น้ำดำตอนบน
ไทยดำอยู่แถวเมืองแถนหรือเดียนเบียนฟูในปัจจุบัน ไทยแดงอยู่ในเขตซำเหนือ พวกผู้ไทยอยู่ในลาวตอนเหนือ
และในมณฑลแห่งอันของเวียดนาม ไทยเลียบน้ำอยู่แถบเมืองอังฮั้วในเวียดนาม และไทยล้านช้างก็ได้ตั้งเป็นราชอาณาจักรลาว
การคิดดัดแปลงตัวอักษร ของบรรดาเผ่าไทยเหล่านี้ ได้รับอิทธิพลจากลายสือไทของ
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชอยู่มาก และได้รับแบบและความคิดไปจากอักษรลานนาไทย
ตัวหนังสือลาว
ตามพงศาวดาร โอรสของพ่อขุนบรมแห่งราชอาณาจักรน่านเจ้า ได้แยกย้ายกันไปปกครองเผ่าไทยในถิ่นต่าง
ๆ ขุนลอ
ได้มาปกครองอาณาจักรล้านช้างหรือกรุงศรีสัตนาคนหุต
อันเป็นประเทศลาวมีเมืองสำคัญ คือ เมืองหลวงพระบาง
ซึ่งเป็นเมืองที่ราชอาณาจักรสุโขทัยแผ่อำนาจไปถึง
อิทธิพลของอักษรไทยจึงได้ไปกำหนดรูปแบบ ในตัวอักษรลาวอยู่มาก
รูปแบบของหนังสือลาวในปัจจุบัน
เป็นรูปแบบที่เห็นได้ชัดเจนว่า ได้พัฒนาตามแบบตัวหนังสือไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
และเป็นตัวหนังสือไทยเผ่าเดียว
ที่ได้สร้างตัวอักษรใกล้เคียงกับอักษรไทยปัจจุบันมากที่สุด ลาวรับเอาตัวหนังสือไทยไปใช้เท่าที่จำเป็น
แต่ได้รับเอาสระไปใช้เป็นส่วนใหญ่
และรับวรรณยุกต์ไปหมดทุกตัว
พยัญชนะตัวหนังสือลาว
มี ๒๗ ตัว คือ ก ข ค ง จ ส
ช ญ ด ต ถ ท น บ ป
ผ ฝ พ ฟ ม ย ร ล ว
ห อ ฮ
สระ
มี 28 รูป คือ ะ า ิ
ี ึ ื ุ
ู เ-ะ เ- แ-ะ แ- โ-ะ โ-
เ-าะ อ-ัง -ัวะ -ัว เ-ียะ เ-ีย เ-ือะ
เ-ือ เ-ิ ไ- ใ- เ-า -ำ
วรรณยุกต์
มี ๔ รูป คือ ่ ้
๊ ๋
ตัวหนังสือพวกเผ่าไทยในตังเกี๋ย
เนื่องจากเผ่าไทยในตังเกี๋ยอยู่กันกระจัดกระจาย ปนอยู่กับชนชาติอื่น ๆ การคมนาคมติดต่อกันยากลำบากเพราะภูมิประเทศไม่อำนวย
ดังนั้นจึงต่างดัดแปลงตัวหนังสือขึ้นใช้กันเอง แต่พื้นฐานตัวหนังสือหลักที่ใช้เป็นแม่แบบ
คงอาศัยอักษรไทยล้านช้างหรือลาวเป็นหลัก และรับไปใช้เท่าที่จำเป็นแล้วไปจัดเรียงลำดับเอาเองโดยไม่ได้อาศัยแบบแผนเดิม
หนังสือไทยขาวเมืองไล
มีพยัญชนะ ๓๐ ตัว คือ ก ข
ค ฆ ง จ ฉ ช ญ ด ต
ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ
ฟ ภ ม ย ร ล ว ส ห
อ
มีสระ ๙ ตัว คือ กา กิ กี
กุ เก แก ไก โก เกา
ตัวหนังสือไทยดำ
มีพยัญชนะ ๒๕ ตัว คือ ก
ข ค ฆ ง จ ช ญ ด ต
ถ ท ธ น บ ป ฝ พ ฟ
ย ล ว ส ห อ
มีสระ ๑๓ ตัว คือ กา กิ
กี กุ เก แก เดิน เสือ เลีย ไป
ใจ โด เขา
ตัวหังสือเจ้าไทยเมืองอึงฮั้ว
มีพยัญชนะ ๒๓ ตัว คือ ก
ข ฆ ง จ ช ด ต ถ ท
น บ ป ผ พ ภ ม ย ล
ว ส ห อ
มีสระ ๑๑ ตัว คือ กา
กิ กี กุ เก แก เดิน เสือ เมีย
ไป เหา
ตัวหนังสือผู้ไทยมณฑลเหงอัน
มีพยัญชนะ ๒๓ ตัวคือ ก
ข ค ง จ ช ญ ด ต ถ
ท น บ ป ผ ฝ ฟ ม ว
ล ส ห อ
มีสระ ๑๒ ตัว คือ กา กิ
กี กุ เก แก เกือ เกีย ไก ใก
โก เกา
ตัวหนังสือไทยเลียบน้ำ มณฑลเหงอัน
มีพยัญชนะ ๒๐ ตัว คือ ก ข ง
จ ช ญ ด ต ถ น บ ป
ผ ม ย ล ว ส ห อ
มีสระ ๑๒ ตัว คือ กา กิ กี
กุ เก แก เกือ เกีย ไก ใก โก
เกา
ตัวหนังสือไทยในพม่าตอนเหนือและอินเดีย
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เผ่าไทยที่อพยพไปทางอินเดียที่แคว้นอัสสัม สามารถตั้งตัวเป็นราชอาณาจักร
มีกษัตริย์ปกครองตนเองและมีอำนาจมาก เรียกตัวเองว่าไทยอาหม มีราชอาณาจักรปกครองตนเองอยู่ถึง
๕๐๐ ปี ไทยอาหมมีตัวหนังสือใช้เอง แต่ปัจจุบันแทบจะหาคนอ่านไม่ได้ และตัวภาษาก็หาคนพูดได้ยาก
แต่ยังมีคนไทยพวกอื่น ๆ คงอยู่ในแคว้นอัสสัม ที่ยังจำคำภาษาไทยได้ และยังใช้ภาษาไทยพูดกันอยู่
พวกชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในแคว้นอัสสัม มีตัวหนังสือใช้ ตัวหนังสือเหล่านั้นได้มาจากไทยใหญ่ในพม่า
ซึ่งมีพื้นฐานดัดแปลงจากอักษรมอญเป็นสำคัญ ดังกล่าวมาแล้ว
ตัวหนังสือไทยใหญ่ในพม่า
ไทยใหญ่มีถิ่นฐาน อยู่ทางตอนเหนือของประเทศพม่า ได้ตั้งบ้านเมืองเป็นเอกราช
หลายกลุ่มหลายพวก เป็นอิสระแก่กัน แต่มีความเชื่อมโยงกัน ได้ครอบครองเมืองต่าง
ๆ ในแคว้นสิบสองปันนา ในรัฐฉานทางเหนือของพม่ามีหัวเมืองต่าง ๆ ได้แก่ เมืองลุง
เมืองคัง เชียงรุ้ง เชียงตุง และเมืองแสนหวี ในพุทธศตวรรษที่ 15 ได้ตั้งอาณาจักรเชียงแสน
ตัวหนังสือไทยใหญ่ในรัฐฉาน มีตัวหนังสือน้อยตัว พยัญชนะ ข ค
ต ฆ ไทยใหญ่มีพยัญชนะตัวเดียวแทนทุกเสียง ไม่ว่าจะเป็นเสียงสูงหรือเสียงต่ำ
คือใช้ตัว ข แทนทั้งหมด พยัญชนะ ฐ ฑ ฒ ถ ท
ธ ไทยใหญ่ใช้ตัว ท แทนทั้งหมด
ตัวหนัวสือไทยใหญ่
ก ข ง จ ช ซ ญ ต ท
น บ ผ ฟ ม ย ร ล ว
ส ห อ
กา กิ กี บุ บู เซ โต มอ
ตัวหนังสือไทยอาหม
ไทยอาหมรับตัวหนังสือของไทยใหญ่ไปใช้พร้อม ๆ กับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม
ประเพณีของไทย ในตอนเริ่มแรก แต่ตอนหลัง ได้รับอิทธิพลของอินเดียเข้ามาผสมผสาน
รูปตัวหนังสือจึงเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ตัวหนังสือของไทยอาหม มีพยัญชนะอยู่ ๒๓
ตัว และสระ ๑๘ ตัว สำหรับตัว อ ใช้เป็นได้ทั้งพยัญชนะ และสระ เช่นเดียวกับของไทย
แต่ไม่มีวรรณยุกต์
หนังสือไทยอาหม
มีพยัญชนะ ๒๓ ตัว คือ ก ข
ค ฆ ง จ ฉ ช ญ ต ถ
ท ธ น ป ผ ว ภ ม ร ล
ส ห
มีสระ ๑๘ ตัว คือ อ อะ อา
อิ อี อุ อู เอะ เอ โอะ โอ
อือ ไอ เอา เอีย เอือ เอาะ ออ
ตัวหนังสือไทยขำตี่
ไทยขำตี่เป็นพวกไทยใหญ่อพยพเข้าไปอยู่ทางอัสสัมตะวันออก เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่
24 ภาษาและหนังสือจึงถอดแบบมาจากไทยใหญ่ทั้งสิ้น มีพยัญชนะน้อยกว่าไทยอาหม
นับว่าเป็นเผ่าไทยกลุ่มใหญ่ที่สุดในอินเดีย ที่ยังคงรักษาภาษาของตนไว้ได้ในปัจจุบัน
หนังสือไทยอื่น
ๆ ในแคว้นอัสสัมของอินเดีย
นอกจากไทยขำตี่แล้ว ยังมีพวกไทยที่อพยพเข้าไปภายหลัง ได้แก่ ไทยพาเกียล
หรือ พาเก อพยพจากอาณาจักรปุง เมื่อพระเจ้าอลองพญาของพม่าตีเมืองคังแตกใน
พ.ศ. ๒๓๐๓ ไทยโนราอพยพจากเมืองคังเช่นกัน ไทยรงหรือไทยตุรุง ไทยอ้ายต้น
ซึ่งอพยพไปหลังสุด เมื่อประมาณร้อยปีเศษมานี้ และไปจากบริเวณใกล้เคียงเมืองคัง
พวกไทยเหล่านี้นับถือพุทธศาสนา และรูปแบบตัวหนังสือ ก็ได้จากไทยอาหม ไทยขำตี่
และไทยใหญ่ เป็นหลัก
| หน้าแรก
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป
| บน |