| หน้าแรก | ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |



ไทยในประเทศจีนปัจจุบัน
loading picture
ไทยในประเทศจีนปัจจุบัน
           ปัจจุบันปรากฎว่ามีคนไทยตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ต่าง ๆ ในประเทศจีน เป็นจำนวนมาก เช่นในยูนาน ในน่านเจ้าชายแดนติดต่อระหว่างจีนกับพม่า จีนกับเวียดนาม ในมณฑลกวางสีคนไทยเหล่านี้แบ่งออกเป็นเผ่าต่าง ๆ เช่น ไทยยก ไทยหกหรือไทยจก ไทยลื้อหรือไทยใหญ่ในพม่า ไทยลุงหรือไทยหลวง ไทยย้อย ไทยจุงเจี่ย ไทยโท้ ไทยนุง ไทยลี้ คนเหล่านี้พูดภาษาไทยและส่วนใหญ่ใช้ตัวหนังสือจีน แต่มีบางพวกก็ใช้หนังสือไทยใหญ่ในพม่าไปใช้
            ส่วนคนไทยที่อพยพจากจีน กระจายไปอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่มีพวกใดเอาตัวหนังสือจีนมาใช้ แต่รับเอาหนังสือมอญโบราณ ขอมโบราณ มาดัดแปลงเป็นตัวหนังสือ ใช้เขียนภาษาไทยของตนเอง อย่างไรก็ตามไม่มีตัวหนังสือไทยของคนไทยพวกใด ที่จะสามารถนำมาเขียน  ให้ออกเสียงภาษาไทยของตนได้สมบูรณ์
ยกเว้นหนังสือที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์ขึ้น นอกจากนั้น ยังได้นำเอาตัวหนังสือไทยที่ดัดแปลงแล้วนี้ กลับไปใช้ในชาวไทยบางพวก ที่อยู่ใกล้ประเทศจีนอีกด้วย
ตัวหนังสือธรรม
            ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทางด้านพระพุทธศาสนา ได้มีการจารและเขียนหนังสือทางศาสนา
ด้วยตัวหนังสือที่ไม่เหมือนกับหนังสือไทยที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเจตนาที่มีมานาน ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาว่า  กิจการของฝ่ายศาสนจักร ควรแยกออกจากฝ่ายอาณาจักร จึงได้ใช้ตัวหนังสือของศาสนจักรโดยเฉพาะ สำหรับในภาคกลางและภาคใต้ ก็ใช้หนังสือขอมแทน ทางภาคเหนือใช้ตัวอักษรธรรมของล้านนา ทางอิสานก็ใช้ตัวหนังสือธรรมของอิสาน นอกจากนี้ยังใช้เขียนเรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์ พงศาวดาร และวรรณคดี ตัวหนังสือธรรมล้านนาไทย
   ตัวหนังสือธรรมล้านนาไทย
loading picture
loading picture
loading picture

            มีหลักฐานยืนยันได้ว่า ตัวหนังสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้แพร่หลายเข้าไปในล้านนาไทย ในสมัยพระเจ้ากือนา แห่งเชียงใหม่ ศิลาจารึกที่วัดพระยืน จังหวัดลำพูน ใช้อักษรไทยสุโขทัยจารึก เมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๒  แต่หนังสือของศาสนาจักร คงมีการใช้อักษรที่แตกต่างกันออกไป เรียกว่าอักษรธรรมบ้าง ตัวเมืองบ้าง
            ตัวหนังสือธรรมนี้ ไม่ทราบแน่ว่าผู้ใดคิดขึ้น และมีใช้มาแต่เมื่อใด แต่มีหลักฐานศิลาจารึกวัดช้างค้ำ จังหวัดน่าน จารึกเมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ และมีจารึก ที่ฐานพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนองค์หนึ่ง ที่วัดเม็งราย จังหวัดเชียงใหม่  สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๓ ซึ่งพอสันนิษฐานได้ว่าตัวหนังสือธรรมล้านนาไทย คงจะมีขึ้นในห้วงระยะเวลา พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ถึง ๒๑ ต่อกัน โดยนักปราชญ์ชาวล้านนาไทยประดิษฐ์ขึ้น ภายใต้อิทธิพลของอักษรมอญ - พม่า
            ลักษณะตัวหนังสือธรรมลานนา มีอักขระตามภาษาบาลี ๔๑ ตัว เป็นพยัญชนะ ๓๓ ตัว สระ ๘ ตัว และมีสระเฉพาะท้องถิ่นอีก ๒๘ ตัว พยัญชนะเฉพาะท้องถิ่นเพิ่มอีก ๙ ตัว
   ตัวหนังสือธรรมล้านนา
            มีพยัญชนะ ๔๒ ตัว คือ      ก  ข  ค   ฅ  ฆ  ง  จ  ฉ  ช  ซ  ฌ  ญ  ฏ  ฐ  ฑ  ฒ  ณ  ต  ถ  ท  ธ  น  บ  ป  ผ  พ  ฟ  ภ  ม  ย  ร  ล  ว  ศ  ษ  ส  ห  ฬ  อ  ฮ  อัง
            มีสระลอย ๘ ตัว คือ      อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ
            สระมี ๒๘ ตัว คือ      ะ  า    ิ    ี    ึ   ื  ุ   ู  เ - ะ    เ -   แ - ะ    แ -  โ - ะ    โ-    ไ-    เ - า    -ำ    เ - าะ   -อ    -ัวะ  -ัว    เ - อะ     เ - อ    เ - ียะ    เ  - ีย       เ - ีอะ     เ - ื อ
            วรรณยุกต์     ประกอบด้วย     ไม้หันอากาศ ไม้เอก ไม้โท ไม้ไต่คู้ ไม้การันต์ และไม้ยมก
 

loading picture
loading picture

            ตัวหนังสือธรรมอิสาน
            ดินแดนภาคอิสาน อยู่ในอำนาจของขอมมาแต่โบราณกาล บรรดาศิลาจารึกที่พบในยุคแรก ๆ ของภาคนี้ เป็นอักษรปัลลวะของอินเดียตอนใต้ เช่นเดียวกับที่อื่น ๆ  ต่อมาเมื่อขอมมีอำนาจตัวอักษรในพื้นที่นี้ก็เป็น อักษรขอมเป็นส่วนใหญ่ อักษรสุโขทัยไม่ได้แพร่ไปถึงอิสาน เมื่อพ้นอิทธิพลของขอม ก็มีศิลปวัฒนธรรมอยุธยาเข้ามาแทนที่
วัฒนธรรมสุโขทัยกลับแพร่ขยายไปล้านนาไทย แล้วผ่านไปล้านช้าง จากนั้นจึงวกเข้าอิสาน ดังนั้นตัวหนังสือไทยจึงผ่านจากลาว ข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งไทย ซึ่งการปรากฎครั้งแรก ๆ จะพบตามเมืองริมฝั่งแม่น้ำโขงก่อน
            ตัวหนังสือธรรมอิสานเอามาใช้จารบนใบลาน และมีอายุอย่างเก่าอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ทั้งสิ้น มีอักขระสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีและภาษาท้องถิ่นอยู่ ๖๐ ตัว เป็นพยัญชนะ ๓๗ ตัว และสระ ๒๓ ตัว ลักษณะรูปตัวหนังสือได้รับอิทธิพลจากหนังสือขอม และยังมีสระพิเศษ เช่น นิคหิต ใช้เป็นตัว ง สะกด เมื่อเขียนตามภาษาบาลี
และใช้เป็นเสียงสระออ เมื่อไม่มีตัวสะกด เมื่อเขียนเป็นภาษาท้องถิ่นอิสาน
            พยัญชนะ มี ๓๗ ตัวคือ      ก  ข  ค  ฆ  ง  จ  ฉ  ช  ฌ  ญ  ฏ  ฐ  ฑ  ฒ  ณ  ต  ถ  ท  ธ  น  บ  ผ  ฝ  พ  ฟ  ภ  ม  ย  หย  ร  ล  ว  ส  ห  ฬ  อ  ฮ
            สระลอย มี ๒๓ ตัว คือ      อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ
            สระมี ๒๓ ตัว คือ      ะ  า     ิ     ี    ึ    ื    ุ   ู   เ-  แ-   โ-   เ - าะ  -อ   -ั ว   เ  -ี ย   เ  -ื อ   เ - อ    -ำ    ไ-  เ - า    โ-     ออย   ฤา


| หน้าแรก | ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |