พระอภัยมณี
วรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ กวีเอกในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นคำประพันธ์ประเภทคำกลอนที่มีความไพเราะ
และมีคุณค่าทางวรรณคดีอย่างยิ่ง ได้มีการพิมพ์เผยแพร่เป็นทางการอย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรก
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๘ และได้มีการพิมพ์ เผยแพร่เป็นลำดับในเวลาต่อมาอีกหลายครั้ง
ในบรรดาหนังสือบทกลอนที่สุนทรภู่ได้แต่งไว้ เป็นที่เห็นพ้องต้องกันว่า เรื่องพระอภัยมณีเป็นเรื่องที่ดีที่สุด
เพราะเป็นหนังสือเรื่องยาว แต่งดีทั้งกลอนทั้งความคิดที่ผูกเรื่อง
หนังสือเรื่องพระอภัยมณี ผิดกับหนังสือซึ่งผู้อื่นแต่งอยู่หลายประการ จะว่าไม่มีหนังสือเรื่องหนึ่งเรื่องใดมาเปรียบก็ได้
เป็นหนังสือดีแปลกจากเรื่องอื่น ๆ กลอนของสุนทรภู่ก็แปลกจากกลอนของกวีอื่นซึ่งนับว่าดีในสมัยเดียวกัน
ความคิดและโวหารก็แปลกจากหนังสือซึ่งผู้อื่นแต่ง และความที่คนทั้งหลายนิยมหนังสือพระอภัยมณีก็แปลกจากหนังสือเรื่องอื่น
ๆ
ข้อดีที่ยิ่งของหนังสือพระอภัยมณี อยู่ที่การแต่งพรรณนาอัชฌาสัยของบุคคลต่าง
ๆ กันอย่างหนึ่ง คนไหนวางอัชฌาสัยไว้อย่างไรแต่แรก ก็คงให้อัชฌาสัยเป็นอย่างนั้นอยู่ทุกแห่งไปเมื่อกล่าวถึงในแห่งใด
ๆ ต่อไปอีกอย่างหนึ่ง คำพูดจาว่ากล่าวกันด้วยความรักก็ดี ความโกรธแค้นก็ดี
สุนทรภู่รู้จักหาถ้อยคำสำนวนมาว่าให้สัมผัสใจคน ใครอ่านจึงมักชอบจนถึงนำมาใช้เป็นสุภาษิต
ตอนที่
๑ พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณเรียนวิชา
ค
แต่ปางหลังยังมีกรุงกษัตริย์ |
|
สมมติวงศ์ทรงนามท้าวสุทัศน์ |
ผ่านสมบัติรัตนานามธานี |
อันกรุงไกรใหญ่ยาวเก้าสิบโยชน์ |
ภูเขาโขดเป็นกำแพงบูรีศรี |
สะพรึบพร้อมไพร่ฟ้าประชาชี |
ชาวบุรีหรรษาสถาวร |
มีเอกองค์นงลักษณ์อัครราช |
พระนางนาฏนามปทุมเกสร |
สนมนางแสนสุรางคนิกร |
ดังกินนรน่ารักลักขณา |
มีโอรสสององค์ล้วนทรงลักษณ์ |
ประไพพักตร์เพียงเทพเลขา |
ชื่ออภัยมณีเป็นพี่ยา |
พึ่งแรกรุ่นชันษาสิบห้าปี |
อันกุมารศรีสุวรรณนั้นเป็นน้อง |
เนื้อดังทองนพคุณจำรูญศรี |
พึ่งโสกันต์พรรษาสิบสามปี |
พระชนนีรักใคร่ดังนัยนา |
สมเด็จท้าวบิตุรงค์ดำรงราชย์ |
แสนสวาทลูกน้อยเสน่หา |
จะเสกสองครองสมบัติขัตติยา |
แต่วิชาสิ่งใดไม่ชำนาญ |
จึงดำรัสตรัสเรียกโอรสราช |
มาริมอาสน์แท่นสุวรรณแล้วบรรหาร |
พ่อจะแจ้งเจ้าจงจำคำโบราณ |
อันชายชาญเชิ้อกษัตริย์ขัตติยา |
ยอมพากเพียรเรียนไสยศาสตร์เวท |
สิ่งวิเศษสืบเสาะแสวงหา |
ได้ป้องกันอันตรายนครา |
ตามกษัตริย์ขัตติยาอย่างโบราณ |
พระลูกรักจักสืบวงศ์กษัตริย์ |
จงรีบรัดเสาะแสวงแหล่งสถาน |
หาทิศาปาโมกข์ชำนาญชาญ |
เป็นอาจารย์พากเพียรเรียนวิชา
ฯ |
เมื่อพี่น้องสองราชกุมารได้รับทราบแล้วก็ขอลาพระราชบิดาและพระราชมารดาไปตามพระราชประสงค์
กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ก็ได้ทรงสั่งสอนว่า
จะเดินทางกลางป่าพนาดร |
จงผันผ่อนตรึกจำคำโบราณ |
จะพูดจาสารพัดบำหยัดยั้ง |
จนลุกนั่งน้ำท่ากระยาหาร |
แม้นหลับนอนผ่อนพ้นที่ภัยพาล |
อดบันดาลโกรธขึ้งจึงสบาย |
ทั้งสองราชกุมารได้เดินทางไปในป่าได้สิบห้าวันก็มาถึงตำบลหนึ่งเรียกว่า บ้านจันตคาม
มีทิศาปาโมกข์อยู่สองคน คนหนึ่งชำนาญในการยุทธ
เมื่อมีอาวุธซัดมาดังห่าฝน ก็สามารถรำกระบองป้องกันไม่ให้อาวุธต้องกายตนได้
อีกคนหนึ่งชำนาญในการปี่
และการดีดสีได้ไพเราะอย่างยิ่ง ผู้ใดได้ฟังก็จะเคลิ้มหลับลืมกายดังวายปราณ
อาจารย์ทั้งสองได้เขียนหนังสือไว้ที่หน้าบ้านว่า ผู้ใดต้องการเรียนวิชาของตนจะต้องมีทองแสนตำลึงมาให้
เมื่อทั้งสองราชกุมารทราบความแล้ว ก็ตกลงใจที่จะเรียนวิชากับอาจารย์ทั้งสอง
โดยที่ศรีสุวรรณรักที่จะเรียนวิชารำกระบอง ส่วนพระอภัยมณีรักที่จะเรียนวิชาเพลงดนตรี
โดยเอาธำมรงค์ที่ใส่นิ้วมา ตีราคาแสนตำลึงทอง
เป็นค่าเล่าเรียน
ฝ่ายอาจารย์ของพระอภัยพาพระอภัยไปยอดเขาให้เป่าปี่ใช้เวลาประมาณเจ็ดเดือนก็เรียนจบ
สิ้นความรู้ครูประสิทธิ์ไม่ปิดบัง |
จึงสอนสั่งอุปเท่ห์เป็นเล่ห์กล |
ถ้าแม้นว่าข้าศึกมันโจมจับ |
จะรบรับสารพัดให้ขัดสน |
เอาปี่เป่าเล้าโลมน้ำใจคน |
ด้วยเล่ห์กลโลกาห้าประการ |
คือรูปรสกลิ่นเสียงเคียงสัมผัส |
เกิดกำหนัดลุ่มหลงในสงสาร |
ให้ใจอ่อนนอนหลับดังวายปราณ |
จึงคิดอ่านเอาชัยเหมือนใจจง |
ฯลฯ
แล้วอาจารย์ก็คืนแหวนให้พระอภัย แล้วบอกว่าที่ตั้งราคาไว้แสนตำลึงทองนั้น
ก็ป้องกันมิให้ไพร่ได้วิชา ต่อเมื่อเป็นกษัตริย์หรือเศรษฐีจะสามารถศึกษาวิชานี้ได้
ฝ่ายศรีสุวรรณได้ศึกษากลอาวุธจนสิ้นความรู้ของอาจารย์ แล้วอาจารญืก็คืนแหวนให้และบอกปริศนาไขข้อความเช่นเดียวกับอาจารย์ของพระอภัย
ทั้งสองราชกุมารก็เดินทางกลับกรุงรัตนาเข้าเฝ้าพระราชบิดา แจ้งผลการศึกษาของตนให้ทรงทราบ
ท้าวสุทัศน์ได้ทรงทราบแล้วก็ทรงพิโรธ เห็นว่าวิชชาที่เรียนมานั้นไม่สมควรแก่ราชกุมาร
ออกปากขับไล่ไปเสียจากเมือง
ฝ่ายสองราชกุมารได้รับความอัปยศอดสู จึงพากันออกจากเมืองเข้าสู่ป่า แล้วหารือกันถึงความยากลำบากที่จะประสบต่อไปในอนาคต
พระอนุชาได้กล่าวแก่พระเชษฐาว่า
ค
พระอนุชาว่าพี่นี้ขี้ขลาด |
เป็นชายชาติช้างงาไม่กล้าหาญ |
แม้นชีวันยังไม่บรรลัยลาญ |
ก็เซซานซอกซอนสัญจรไป |
เผื่อพบพานบ้านเมืองที่ไหนมั่ง |
พอประทังกายาอยู่อาศัย |
มีความรู้อยู่กับตัวกลัวอะไร |
ชีวิตไม่ปลดปลงคงได้ดี |
ฯลฯ
จากนั้นทั้งสองกุมารก็ปลอมตนเป็นสามัญชน เดินทางไปในป่าได้เดือนเศษ มาถึงเนินทรายชายทะเล
ก็หยุดพักผ่อนอยู่ ณ ที่นั่น
กล่าวถึงบุตรพราหมณ์สามมาณพเป็นสหายกัน คนหนึ่งชื่อ โมรา
มีวิชาเอาหญ้ามาผูกเป็นสำเภายนต์ แล่นไปบนดินได้ คนหนึ่งชื่อ สานน
มีวิชาเรียกลมฝนได้ คนหนึ่งชื่อ
วิเชียร
มีวิชาใช้ธนูสามารถยิ่งออกไปได้ทีละเจ็ดลูก จะให้ถูกตรงไหนก็ได้ทั้งสิ้น ทั้งสามมาณพได้มาพบสองราชกุมารที่เนินทรายชายทะเลดังกล่าว
ได้ทำความรู้จักและไต่ถามวิชาความรู้ซึ่งกันและกัน เป็นที่เข้าใจกันดี ยกเว้นวิชาเป่าปี่ของพระอภัย
ว่าจะมีคุณประการใด พระอภัยจึงอธิบายให้ฟัง
ค
พระฟังความพราหมณ์น้อยสนองถาม |
จึงเล่าความจะแจ้งแถลงไข |
อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป |
ย่อมใช้ได้ดังจินดาค่าบุรินทร์ |
ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช |
จตุบาทกลางป่าพนาสิณฑ์ |
แม้ปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน |
ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา |
ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ |
อันลัทธิดนตรีดีหนักหนา |
ฯลฯ
แล้วพระอภัยก็เป่าปี่ให้คนทั้งหมดฟัง มีความว่า
ค
ในเพลงปี่ว่าสามเจ้าพราหมณ์เอ๋ย |
ยังไม่เคยชมชิดพิสมัย |
ถึงร้อยรสบุปผาสุมาลัย |
จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย |
คนทั้งหมดได้ฟังแล้วก็พากันหลับไป
ตอนที่
๒ นางผีเสื้อลักพระอภัยมณี
ค
จะกล่าวถึงอสุรีผีเสื้อน้ำ |
อยู่ท้องถ้ำวังวนชลสาย |
ได้เป็นใหญ่ในพวกปีศาจพราย |
สกนธ์กายโตใหญ่เท่าไอยรา |
ฯลฯ
เมื่อตกเย็นนางผีเสื้อน้ำได้ขึ้นมาเล่นน้ำ จนเข้ามาใกล้ฝั่งที่พระอภัยกำลังเป่าปี่อยู่
นางได้ยินเสียงเพลงปี่แล้ว ก็เกิดเสน่หาอาวรณ์ เห็นพระอภัยนั่งเป่าปี่ก็เกิดความรัก
ตรงเข้าอุ้มพระอภัยไปไว้ยังถ้ำทองของตน แล้วแปลงร่างตนเป็นมนุษย์ เมื่อพระอภัยตื่นฟื้นขึ้นมาเห็นผีเสื้อแปลงกายเป็นมนุษย์
ก็รู้ว่าเป็นยักษ์ แล้วต่อว่านางผีเสื้อว่า ตนเป็นมนุษย์ไมคู่ควรกับยักษ์
แต่นางผีเสื้อก็ยังเจรจาหว่านล้อมให้ยอมเป็นสามี ทำให้พระอภัยไม่พอใจอย่างมาก
แต่ก็ทำเป็นมีไมตรีต่อนาง
คพระสุดแสนแค้นเคืองรำคาญจิต |
เป็นสุดคิดสุดที่จะหนีหาย |
ให้อักอ่วนป่วนใจไม่สบาย |
มันกอดกายเซ้าซี้พิรี้พิไร |
จะยั่งยืนขืนขัดตัดสวาท |
ไม่สังวาสเชยชิดพิสมัย |
ก็จะสะบักสะบอมตรอมฤทัย |
ต้องแข็งใจกินเกลือด้วยเหลือทน |
ฯลฯ
คพระฟังคำจำจิตพิสวาท |
ฝืนอารมณ์สมพาสทั้งโศกเศร้า |
การโลกีย์ดีชั่วย่อมมัวเมา |
เหมือนอดข้าวกินมันกันเสบียง |
ฯลฯ
สมพาสยักษ์รักร่วมภิรมย์สม |
เหมือนเด็ดดอกหญ้าดินพอได้กลิ่น |
เป็นนิสัยในภพธรณินทร์ |
ไม่สุดสิ้นเสน่ห์ประเวณี
ฯ |
ตอนที่
๓ ศรีสุวรรณเข้าเมืองรมจักร์
ศรีสุวรรณกับสามพราหมณ์ตื่นขึ้นมาไม่เห็นพระอภัย เห็นแต่รอยเท้าของผีเสื้อก็เสียใจ
สานนจับยามสามตาดูก็รู้ว่า พระอภัยถูกสตรีพาไปทางทิศอาคเนย์ในทะเลลึก และได้รับการอุปถัมภ์ด้วยดี
เมื่อหมดเคราะห์แล้วก็จะได้พบกัน จากนั้นทั้งหมดจึงได้ลงเรือสำเภากลให้โมราเป็นต้นหน
เรือได้แล่นมาถึงเมืองรมจักร
จึงพากันเข้าเมืองได้พบกับนายด่าน สอบถามได้ความว่า
อันองค์ผู้ดำรงอาณาราษฎร์ |
นามพระบาทท้าวทศวงศา |
มีโฉมยงองค์ราชธิดา |
ชื่อนางแก้วเกษราวิลาวัณย์ |
ฯลฯ
กรุงกษัตริย์ขัตติยาทุกธานี |
มาสู่ขอภูมีไม่ให้ใคร |
เมื่อปีกลายฝ่ายท้าวอุเทนราช |
เป็นเชื้อชาติชาวชวาภาษาไสย |
อานุภาพปราบทั่วทุกกรุงไกร |
เป็นเมืองใหญ่กว่ากษัตริย์ขัตย์ติวงศ์ |
ให้ทูตามาสนองละอองบาท |
จะขอราชธิดาโดยประสงค์ |
แม้นไม่ให้จะประจญรณรงค์ |
กับผู้พงศ์จักรพรรดิ์ขัตติยา |
ข้างเจ้านายฝ่ายเรามิได้ให้ |
ว่าท้าวไทเป็นคนนอกพระศาสนา |
ฯลฯ
จากนั้น นายด่านก็ชักชวนให้สามมาณพ และราชกุมารพักอยู่ก่อน ต่อเมื่อมีเรือผ่านมาจะได้ฝากให้ไปกับเรือนั้น
เพื่อกลับถิ่นฐาน สามมาณพและราชกุมารขออยู่ชมเมืองก่อน นายด่านก็พาไปชมเมือง
พระพี่เลี้ยงทั้งสี่ของพระธิดาได้ทราบความว่า มีพราหมณ์รูปงามอยู่ในเมือง
ก็ให้หาตัวไปพบเห็นพราหมณ์น้อยรูปงาม ก็เกิดความหลงไหล เห็นว่าคู่ควรกับพระธิดา
จึงพาบรรดาพราหมณ์น้อยมาคุมไว้ แล้วไปเฝ้าราชธิดาแจ้งเรื่องว่า ได้พบพราหมณ์หนุ่มน้อยรูปงามในความฝัน
ราชธิดารู้ทันจึงบอกว่า
ถึงจีนจามพราหมณ์แขกที่แปลกชาติ |
พี่สวาทแล้วมาเปรียบประเทียบฉัน |
แกล้งลวงเล่นเห็นรู้ไม่เท่าทัน |
แต่เช่นนั้นแล้วอย่านึกคะนึงปอง |
ฯลฯ
ตอนที่
๔ ศรีสุวรรณพบนางเกษรา
นางแก้วเกษรา เมื่อถึงคราวจะได้คู่ได้สุบินนิมิต เมื่อตอนใกล้รุ่งจึงเรียกสี่พี่เลี้ยงมาเล่าความฝันให้ฟังว่า
ฉันฝันว่าวาสุกรีอันเกรียงไกร |
เข้ามาในแท่นสุวรรณอันบรรจง |
เกี่ยวกระหวัดรัดรอบอุราน้อง |
ฉันร่ำร้องอยู่บนเตียงจนเสียงหลง |
ฯลฯ
พี่เลี้ยงได้ฟังก็รู้ความ แต่จะบอกไปตรง ๆ ก็กลัวจะโกรธ จึงให้อ่านตำราฝัน
ทายงูว่าจะได้คู่ ราชธิดาได้ฟังก็เกิดเขินอาย ต่อว่าพี่เลี้ยงที่ให้อ่านตำราฝัน
แล้วไม่ยอมพูดด้วย
พี่เลี้ยงทั้งสี่ได้ออกไปพบสามมาณพกับราชกุมาร ดูแลทุกข์สุขเมื่ออยู่กับคนเฝ้าสวนสองคนตายาย
แล้วกลับมารอเวลาจนเย็น จึงไปชวนราชธิดาไปชมสวนในเช้าวันรุ่งขึ้น
ค
ฝ่ายพระนุชบุตรีศรีสวัสดิ์ |
จิตกำหนัดนึกคะนึงถึงบุปผา |
บรรทมตื่นแต่งองค์อลงการ์ |
ผลัดภูษาจัดจีบกลีบประจง |
ทรงสะพักสไบกรองลายทองริ้ว |
สัมผัสผิวพระนลาฏวาดขนง |
สร้อยสังวาลบานพับประดับองค์ |
ดังอนงค์นางสวรรค์ชั้นโสฬส |
ฯลฯ
แต่งองค์เสร็จแล้วจึงไปทูลลาพระบิดาไปเล่นอุทยาน แล้วจึงพากันไปอุทยาน
ศรีสุวรรณกับสามพราหมณ์พี่เลี้ยงเห็นนางในนับร้อยมาเที่ยวอุทยาน จึงชวนกันมาที่สวนขวัญตามที่ได้นัดแนะพี่เลี้ยงทั้งสี่นางเอาไว้
ได้เห็นพระธิดาเดินทางมาท่ามกลางสี่พี่เลี้ยง ก็ตกตะลึงในความงามของพระธิดาที่เพิ่งรุ่นสาวอายุสักสิบสี่ปี
ฝ่ายศรีสุวรรณนั้น
ชำเลืองเห็นพระธิดาพะงางาม |
ให้มีความพิสวาสจะขาดใจ |
ด้วยคู่สร้างปางหลังแล้วอย่างนั้น |
พอเห็นกันก็ให้คิดพิสมัย |
ฯลฯ
ส่วนพระธิดานั้น เมื่อเห็นพราหมณ์น้อย
พอเนตรน้องต้องเนตรหน่อกษัตริย์ |
หวนประหวัดหวาดจิตคิดสงสัย |
องค์ระทวยขวยเขินสะเทิ้นใจ |
แฝงต้นไม้เมียงชม้อยคอยชายตา |
ฯลฯ
ทั้งศรีสุวรรณและราชธิดา เมื่อได้พบเห็นกันดังกล่าวก็เกิดการอาลัยอาวรณ์ซึ่งกันและกัน
ความอาลัยใจวาบให้ปลาบปลื้ม |
ตะลึงลืมหลงแลชะแง้หา |
พระบุตรีลีลาศชำเลืองมา |
ไม่เห็นหน้าพราหมณ์น้อยละห้อยใจ |
พระพักตร์ผ่องหมองเหมือนเดือนพยับ |
ด้วยจิตจับถึงมิตรพิสมัย |
ลืมบรรดาข้าหลวงพวงดอกไม้ |
ถอนฤทัยทุกข์ถึงคะนึงครวญ |
ฯลฯ
พระกอดเข่าเศร้าสร้อยละห้อยหวน |
จนหลงครวญขับลำเป็นคำหวาน |
โอ้เจ้าแก้วเกษรายุพาพาล |
ไม่สงสารพี่บ้างหรืออย่างไร |
เมื่อผันแปรแลพบก็หลบพักตร์ |
จะเห็นรักหรือไม่เห็นเป็นไฉน |
บุราณว่ามิตรจิตก็มิตรใจ |
จะกระไรอยู่มั่งยังไม่เคย |
ฯลฯ
ตอนที่
๕ ศรีสุวรรณเกี้ยวนางเกษรา
ฝ่ายพระบุตรีเมื่อกลับมาถึงวังก็เฝ้าแต่ถวิลหาเจ้าพราหมณ์น้อย สี่พี่เลี้ยงรู้ความก็ปรึกษาหารือกัน
แล้วก็พากันขับกล่อมพระบุตรีให้บรรทมด้วยข้อความอันเกี่ยวเนื่องด้วยเจ้าพราหมณ์น้อย
พระธิดาได้ฟังขับก็จับจิตแล้วจึงแสร้งต่อว่าสี่พี่เลี้ยงที่ชักนำให้เกิดเหตุการณ์ที่ผ่านมา
ฝ่ายศรีสุวรรณก็พร่ำเพ้อถึงนางแก้วเกษราอยู่ตลอดราตรี จนสามพราหมณ์มาณพต้องเตือนว่า
พี่บอกแล้วไม่เชื่อนั้นเหลือใจ |
หนักอะไรจะเหมือนรักหนักอุรา |
หลงอะไรจะเหมือนหลงทรงมนุษย์ |
ที่โศกสุดเศร้าแสนเสน่หา |
จนลืมตัวมัวหมองเพราะต้องตา |
ต้องตรึกตราตรอมจิตเพราะปิดความ |
บุราณว่าถ้าเหลือกำลังลาก |
ให้ออกปากบอกแขกช่วยแบกหาม |
แม้นพ่อบอกออกบ้างไม่พรางความ |
จะเป็นล่ามแก้ไขให้ได้การ
ฯ |
วันรุ่งขึ้น ศรีสุวรรณก็ชวนสามพราหมณ์มาณพไปที่สวนขวัญ คอยพบสี่พี่เลี้ยงเพื่อปรึกษาหารือกัน
พี่เลี้ยงเล่าให้ฟังว่าพระธิดาถามถึงความเป็นมาของพราหมณ์น้อย ก็ได้รับคำตอบว่า
ค
ศรีสุวรรณชั้นเชิงฉลาดแหลม |
ทำยิ้มแย้มเยื้อนว่าอย่าสงสัย |
ฉันพี่น้องท้องเดียวมาเที่ยวไกล |
อันห่วงใยไม่มีทั้งสี่คน |
หมายพระนุชบุตรีเป็นที่พึ่ง |
คิดรำพึงสารพัดจะขัดสน |
เสด็จมาเที่ยวเล่นเห็นชอบกล |
นฤมลมองหาสุมาลี |
ฯลฯ
พระว่าพลางทางตัดใบตองอ่อน |
มาเขียนกลอนกล่าวประโลมนางโฉมฉาย |
จบลงเอยอ่านต้นไปจนปลาย |
ไม่คลาดคลายถูกถ้วนแล้วม้วนตอง |
เอาโศกแซมแกมรักสลักหนาม |
เหมือนบอกความรักนางว่าหมางหมอง |
ฯลฯ
แล้วถอดธำมรงค์ครุฑบุษรา |
ฝากถวายพระธิดาวิลาวัณย์
ฯ |
แล้วสี่พี่เลี้ยงก็นำของฝากของศรีสุวรรณไปให้พระธิดา พร้อมกับให้ความเห็นว่า
พราหมณ์น้อยผู้นี้น่าจะมิใช่ชาติพราหมณ์เทศข้างเพศไสย ชะรอยจะเป็นหน่อกษัตริย์มาแต่แดนไกล
ค
นางโฉมยงทรงหยิบใบตองอ่อน |
เห็นโศกซ้อนแซมรักสลักหนาม |
ก็แจ้งจิตปริศนาปัญญาพราหมณ์ |
แกล้งนิ่งความคลี่สารออกอ่านพลัน |
ในสารศรีสุวรรณวงศ์พงศ์กษัตริย์ |
บุรีรัตนามหาสวรรค์ |
สวาทหวังพระธิดาวิลาวัณย์ |
สู้เดินดั้นดงแดนแสนกันดาร |
พยายามข้ามมหามหรรณพ |
หวังประสบวรนุชสุดสงสาร |
ฯลฯ
จึงแต่งสารเสี่ยงทายถวายแหวน |
ใบตองแทนแผ่นทองพระน้องเอ๋ย |
ถ้าแม้นมาตรชาติก่อนเป็นคู่เคย |
ขอให้เผยพจนารถประภาษมา |
ฯลฯ
พระธิดาทราบความแล้ว แสร้งทำเฉไฉว่าพราหมณ์น้องต้องการบอกว่ารักพี่เลี้ยง
แล้วก็ขอซื้อแหวนที่ศรีสุวรรณให้มา จากพี่เลี้ยง พร้อมกับบอกว่าจะตอบเพลงยาวที่ส่งมาให้สาสมกับที่จ้วงจาบ
นางสี่พี่เลี้ยงจึงบอกว่า แหวนวงนั้นขอถวายให้แต่ขอแลกเปลี่ยนภูษาศรี ที่ทรงไปอุทยานเมื่อวานนี้
พระธิดาแกล้งทำไขสือว่าจะให้ แต่ห้ามเอาไปให้ใคร แล้วพระธิดาก็ทรงกลอนอักษรสนอง
ครั้นค่ำลงทรงกลอนอักษรสนอง |
เขียนจำลองลงแผ่นกระดาษหนัง |
ให้หักใบเต่าร้างที่กลางวัน |
มาห่อทั้งดอกรักอักขรา
ฯ |
วันรุ่งขึ้นสี่พี่เลี้ยงก็ออกไปพบพราหมณ์มาณพทั้งสามและศรีสุวรรณ ที่สวนขวัญแจ้งเหตุการณ์ที่ผ่านมา
แล้วมอบของที่พระธิดาฝากมาให้ แล้วลากลับไป ศรีสุวรรณนำกลอนอักษรสารของพระธิดามาอ่านให้สามพราหมณ์ฟัง
ค
ศุภสารฉานสนองใบตองอ่อน |
ซึ่งวิงวอนว่าไม่ขาดสวาทหวัง |
ก็ขอบใจไมตรีดีกว่าชัง |
ไม่ปิดบังบอกวงศ์พงศ์ประยูร |
อันบุรีรัตนามหาสวรรค์ |
สารพันโภคัยทั้งไอศูรย์ |
ฯลฯ
ซึ่งเสี่ยงทายหมายมาดสวาทมา |
มิเมตตาชีวันจะบรรลัย |
ทั้งรำพันสรรเสริญเห็นเกินนัก |
ถึงจะรักก็ไม่รักจนตักษัย |
ที่ข้อนั้นครั้นละเชื่อก็เหลือใจ |
เขาว่าไว้หวานนักก็มักรา |
ถ้ารักนักมักหน่ายคล้ายอิเหนา |
ต้องจากเยาวยุพินจินตรา |
แม้นพระองค์ทรงเดชเจตนา |
จงตรึกตราตรองความตามบุราณ |
เสด็จกลับกรุงไกรไอศวรรย์ |
จึงจัดสรรทูตถือหนังสือสาร |
มาทูลองค์ทรงศักดิ์จักรพาล |
โปรดประทานก็จะได้ดังใจจง |
ฯลฯ
ฝ่ายศรีสุดาพี่เลี้ยงคนหนึ่ง เคืองแค้นพี่เลี้ยงอีกสามคนซึ่งเป็นที่หมายปองของสามพราหมณ์มาณพ
จึงไปฟ้องพระธิดาแล้วกล่าวหาสามพี่เลี้ยง ทั้งสองฝ่ายจึงโต้เถียงกัน พระธิดาต้องออกปากห้าม
เจ้าพราหมณ์น้อยอ่อนห้ามหรือพราหมณ์ใหญ่ |
เข้าเคียงไหล่โลมนางอยู่กลางสวน |
ทำเกลียวกลมสมยอมซ้อมสำนวน |
มาก่อกวนเกาแก้ที่แผลคัน |
ฯลฯ
ค
พระบุตรีกริ้วกราดตวาดว่า |
นี่ใครมาหาให้พี่ตีหมากผัว |
เฝ้าหวงหึงอึงไปช่างไม่กลัว |
ไม่มีชั่วตัวดีทั้งสี่คน |
อย่าทะเลาะกันที่นี่ให้มีฉาว |
ไปว่ากล่าวถากถางกันกลางถนน |
เหมือนไก่เห็นตีนงูเขารู้กล |
มาพลอยบ่นปนแปดข้าน่ารำคาญ
ฯ |