| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

อนุสาวรีย์สงครามเกาหลี
อนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเกาหลี
ณ ค่ายนวมินทราชินี จ.ชลบุรี
กองทัพเกาหลีเหนือได้เคลื่อนกำลังเข้ารุกรานเกาหลีใต้ เมื่อ ๒๕ มิ.ย.๙๓ ยึดกรุงโซล เมืองหลวงเกาหลีใต้ได้เมื่อ ๒๘ มิ.ย.๙๓
เลขาธิการสหประชาชาติได้โทรเลขถึงไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติ เมื่อ ๒๙ มิ.ย.๙๓ ขอให้ไทยช่วยเหลือเกาหลีใต้ ตามมติคณะมนตรีความมั่นคง สหประชาชาติ ในขั้นต้นไทยขอให้การสนับสนุน โดยส่งข่าวไปช่วย แต่ทางเลขาธิการ สหประชาชาติ ยืนยันขอให้สนับสนุนด้านกำลังรบ
คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเมื่อ ๒๐ ก.ค.๙๓ ให้ส่งกำลังทหารราบช่วยเกาหลีใต้ จำนวน ๑ กรมผสม หน่วยกำลัง คือ กรมผสมที่ ๒๑ ประกอบด้วย กองบังคับการ กรมผสม และหนึ่งกองพันทหารราบ โดยมีพันเอกบริบูรณ์ จุละจาริตต์ เป็นผู้บังคับ การกรมคนแรก และมี พลตรี หม่อมเจ้าพิสิฐดิศพงษ์ ดิสกุล เป็นผู้บัญชาการกองกำลัง ทหารไทยคนแรก ต่อมาได้ส่งกำลังทางเรือและทางอากาศ เข้าร่วมรบด้วย
เมื่อสิ้นสุดสงครามกรมผสมที่ ๒๑ ได้แปรสภาพเป็นกรมทหารที่ ๒๑ รักษา พระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ตั้งอยู่ที่ค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี เมื่อ ๒๙ มิ.ย.๑๙ ได้รับสมญานามว่า กรมทหารเรือนวมินทราชินี
กองกำลังทหารไทยผลัดแรกได้ปฏิบัติการรบถึงชานกรุงเปียงยาง เมืองหลวง ของเกาหลีเหนือ
กองพันทหารราบที่ ๑ ผลัดที่ ๓ มีพันโท เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นผู้บังคับ กองพันได้ทำการรบที่เขา ชอบ เมืองซอร์ออนได้รับชัยชนะงดงาม ทำให้ทหารไทย ได้รับชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เลื่องลือจนได้รับสมญานามว่า พยัคฆ์น้อย ได้รับเหรียญ ลิเยียม ออฟ เบอร์ท ๑ เหรียญ ซิลเวอร์สตาร์ ๑๒ เหรียญ บรอนซ์สตาร์ ๒๖ เหรียญ นับเป็นเกียรติประวัติอันสูงส่งของทหารไทย
อนุสรณ์ทหารผ่านศึกเกาหลี
สมาคมทหารผ่านศึกเกาหลี กรุงเทพมหานคร


อนุสาวรีย์สงครามเวียดนาม
อนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเวียดนาม
ณ ค่ายสุรสิห์ จ.กาญจนบุรี
สาธารณรัฐเวียดนามได้มีหนังสือความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ และการทหารจากรัฐบาลไทย คณะรัฐมนตรีได้ลงมติรับหลักการให้ ความช่วยเหลือ เมื่อ ๒๑ ก.ค.๐๗ ในขั้นแรกช่วยเหลือด้านการฝึกนักบิน ต่อมาช่วยด้านบินลำเลียงให้ชื่อว่า หน่วยบินวิคตอรี่ (Victory) เมื่อ ๒๙ ก.ย.๐๗ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ สหรัฐอเมริกา พร้อมพันธมิตรอีก ๗ ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สเปน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สาธารณรัฐประชาชนจีน และไทย ได้ส่งกำลังทหารบกเข้าปฏิบัติการ สงครามเวียดนาม จึงเริ่มขึ้นนับแต่นั้นมา
รัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนามได้ขอรับความช่วยเหลือทางทหาร จากไทยเพิ่มเติม เมื่อ ๒๖ ส.ค.๐๙ ไทยซึ่งได้ส่งกำลังทางเรือไปช่วยด้าน การลำเลียง และเฝ้าตรวจตามชายฝั่ง เพื่อป้องกันการแทรกซึมทางทะเล เมื่อ ๗ ธ.ค.๐๙ กำลังทางเรือนี้ชื่อว่า หน่วยซีฮอร์ส (Sea Horse)
คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติหลักการให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่รัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม เมื่อ ๒๘ ก.พ.๑๐ โดยให้กองทัพบกส่งหนวยกำลังรบไปปฏิบัติการที่สาธารณรัฐเวียดนาม ชื่อว่า กรมทหารอาสาสมัคร ประกอบด้วย กองร้อย ปืนเล็ก ๔ กองร้อย กองร้อยลาดตระเวน กองร้อยปืนใหญ่เบาวิถีโค้ง กองร้อยช่างสนาม กองร้อยเสนารักษ์ และกองร้อย กองบังคับการ มีกำลังพลรวม ๒,๒๐๙ นาย ได้รับสมญานามว่า จงอางศึก (Queen Cobra) การรบครั้งสำคัญของกรมทหาร อาสาสมัคร คือ การรบที่ฟุกโด ระหว่าง ๒๐-๒๑ ธ.ค.๑๐ โดยกองร้อยอาวุธเบาที่ ๑ มี พันตรี ยุทธนา แย้มพันธุ์ เป็นผู้บังคับกองร้อย ถูกโจมตีจากฝ่ายเวียดกง จำนวน ๑ กองพัน ฝ่ายไทยซึ่งมีกำลังน้อยกว่าได้ต่อสู้อย่างสามารถถึงขั้นตะลุมบอน ด้วยดาบปลายปืน จนข้าศึกต้องถอนคำสั่งกลับไปพร้อมกับความเสียหายอย่างหนัก
ได้มีคำสั่งตั้งกอบพลอาสาสมัคร ขึ้นเมื่อ ๑๔ ม.ค.๑๑ มีกำลังพล ๑๑,๒๗๒ นาย เป็นหน่วยบรรจุมอบให้ขึ้นตรง กองทัพบก ตั้งอยู่ที่ค่ายกาญจนบุรี (ค่ายสุรสีห์ปัจจุบัน) ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี กองพลนี้เมื่อเดินทาง ไปปฏิบัติการที่สาธารณรัฐเวียดนาม จะอยู่ในความควบคุมทางยุทธการของกองทัพสนามที่ ๒ ของสหรัฐอเมริกาในนาม กองพลเสือดำ (Panther) ได้มีการปฏิบัติการครั้งสำคัญในการรบที่ บินห์สัน เฟือกกางและลอกแอน และยุทธการอัศวิน วูล์ฟแพค และเบ็นแคม
กองพลอาสาสมัครฝลัดที่ ๒ ได้ปฏิบัติการครั้งสำคัญได้แก่ ยุทธการมิตรภาพ ฟูหอม ไทยเทียน บางปู ๒๓๔ ซุยดา คีย์แมน และยุทธการสายฟ้าแลบ
กองพลอาสาสมัครผลัดที่ ๓ ได้ปฏิบัติการรบครั้งสำคัญ ได้แก่ ยุทธการ Yellow Jacket และ Task Force THAIAM
ได้มีข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยรัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้กองกำลังทหารไทยเริ่มถอนกำลังกลับ โดยเริ่มตั้งแต่ ก.ค.๑๔ เสร็จสิ้นเมื่อ ๑๕ พ.ค.๑๕

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |