| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

อนุสาวรีย์สงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่สอง)


อนุสาวรีย์วีรไทย
ณ ค่ายจักรพงษ์ จ.ปราจีนบุรี

อนุสาวรีย์วีรชน
ณ ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี


สงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มขึ้นที่ยุโรปเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ระหว่างฝ่ายพันธมิตร ซึ่งมีอังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นผู้นำกับฝ่ายอักษะ ซึ่งมีเยอรมันเป็นผู้นำ ต่อมาสหรัฐอเมริกาและรัสเซียและจีน เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร และญี่ปุ่น เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ
ประเทศไทยประกาศตัวเป็นกลาง เมื่อ ๕ ก.ย.๘๒ และได้ลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
เมื่อ ๒ มิ.ย.๘๓ กับญี่ปุ่นเมื่อ ๒๗ ก.ย.๘๓ เมื่อญี่ปุ่นได้ยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส ที่เวียดนามแล้ว
๗ ธ.ค.๘๔ ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ของสหรัฐที่ฮาวายและวันเดียวกันนั้นได้ยื่นข้อเสนอแก่ไทย ๓ ประการ คือ
- ขอเดินทัพผ่านดินแดนไทยไปยังพม่าและมะลายู
- ขอให้ไทยทำอนุสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น
- ขอให้ไทยทำอนุสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่น
๘ ธ.ค.๘๔ ประเทศไทยยังไม่ให้คำตอบ ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบก ที่ สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานีพร้อมกัน ทหารไทยได้ต่อต้านทหารญี่ปุ่นอย่างดุเดือด แต่ในที่สุดรัฐบาลไทย โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ีก็ได้ยินยอมตามข้อเสนอของญี่ปุ่น ให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไทย โดยญี่ปุ่นรับรองที่จะ เคารพเอกราช และอธิปไตยของไทย ต่อมาไทยได้ทำอนุสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ร่วมมือกันทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ



อนุสาวรีย์ พ.อ.ขุนอิงคยุทธบริหาร
ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี

อนุสาวรีย์วีรไทย พ.ศ.2484
ณ ค่ายวชิราวุธ จ.นครศรีธรรมราช


อังกฤษได้ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิด ที่จังหวัดต่าง ๆ และที่กรุงเทพ ฯ เมื่อ ๒๔ ม.ค.๘๕
ไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เมื่อ ๒๕ ม.ค.๘๕
ญี่ปุ่นตอบแทนไทยด้วยการมอบดินแดน ในส่วนที่เคยเป็นของไทยมาก่อน ได้แก่ กลันตัน ตรังกานู ปลิศ และไทรบุรี จากรัฐมาลัย(มะลายู) เมืองเชียงตุงและเมืองพานจากรัฐฉาน โดยได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ว่าด้วย
อาณาเขตประเทศไทยในรัฐมาลัยและรัฐมาลัย เมื่อ ๓๐ ส.ค.๘๕ โดยที่เมืองเชียงตุงนั้น กองพลที่ ๓ ของกองทัพพายัพยึดได้
เมื่อ ๒๐ พ.ค.๘๕
ญี่ปุ่นยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อ ๑๔ พ.ค.๘๘ รัฐบาลไทย โดยมีนายดวงอภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรีได้ประกาศ สันติภาพ เมื่อ ๑๖ ส.ค.๘๘ มีสาระสำคัญว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเป็นโฆษะและพร้อมที่จะมอบ ดินแดนที่ญี่ปุ่นมอบให้คืนให้แก่อังกฤษ ในการนี้สหรัฐอเมริกายอมรับหลักการ การประกาศสันติภาพของไทย ส่วนอังกฤษ
ไม่ยอมรับทันทีได้มีการเรียกร้องหลายประเทศในการยกเลิกสถานะสงครามระหว่างกัน ในที่สุดได้ลงนามในข้อตกลงสมบูรณ์แบบ
เพื่อเลิกสถานะสงครามระหว่างไทยกับอังกฤษ เมื่อ ๑ ม.ค.๘๙ ที่สิงคโปร์



อนุสาวรีย์ยุวชนทหาร
ณ เชิงสะพานท่านางสังข์ จ.ชุมพร

อนุสาวริย์วีรไทย
ณ ค่ายสุรนารี จ.นครราชสีมา


ด้านการทหาร เมื่อไทยเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นแล้วก็ได้ขอให้ไทยส่งกำลังเข้ายึดรัฐฉาน ที่อยู่ในปกครองของอังกฤษ ปัจจุบันอยู่ในพม่า เพื่อป้องกันปีกขวาญี่ปุ่น
มีการจัดตั้งกองทัพพายัพ เมื่อ ๒๔ ธ.ค.๘๔ มี พลตรีจรูญ รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์ เป็นแม่ทัพ พลตรีจรูญ รัตนกูลเสรีฤทธิ์ เป็นแม่ทัพ พลตรีพระวิชัย ยุทธเดชา เป็นรองแม่ทัพกำลังประกอบด้วยกองพลที่ ๒ มีพลตรีหลวงไพรี ระย่อเดช เป็นผู้บัญชาการกองพล กองพลที่ ๓ มีพลตรีหลวงชำนาญ ยุทธศาสตร์ เป็นผู้บัญชาการกองพลและกองพลที่ ๔ มีพันเอกหลวง หาญสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองพล
กองพลที่ ๓ ยึดเชียงตุงเมืองหลวงของรัฐฉารได้เมื่อ ๒๖ พ.ศ.๘๕ และได้เปลี่ยนชื่อรัฐฉานเป็นสหรัฐไทยเดิม ได้ตั้งพลตรีหลวงชำนาญ ยุทธศาสตร์ (ผิน ชุณหะวัณ) เป็นข้าหลวงสหรัฐไทยเดิมเมื่อ ๒๔ ก.ย.๘๕ ขึ้นตรงกองทัพพายัพ

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |