| ย้อนกลับ |
กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
เครื่องแต่งกาย - หมวกยอดมีพู่สีน้ำเงิน ตราพระมหามงกุฎเพชราวุธ
- - เสื้อสักหลาดสีน้ำเงินเข้ม แผงคอและข้อมือแถบทอง
- ที่ข้อมือมีพระปรมาภิไธยย่อ ภปร.
- ภายใต้พระมหามงกุฎ ทำด้วยโลหะสีทอง
- - กางเกงสักหลาดสีดำ แถบสีแดงข้างละ 2 แถบ
เครื่องหมาย มีพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ทำด้วยโลหะสีทอง ประดับที่อกเสื้อเบื้องขวา
กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
เครื่องแต่งกาย - หมวกยอดมีพู่สีน้ำเงินหม่น ตราครุฑพ่าห์
- - เสื้อสักหลาดสีน้ำเงินหม่น แผงคอและข้อมือแถบไหมทอง
- ที่ข้อมือมีรูปอักษรพระปรมาภิไธยย่อ รร.6
- อยู่ภายใต้พระมหามงกุฎ
- - กางเกงสักหลาดสีน้ำเงินหม่น แถบสีเหลืองข้างละ 1 แถบ
เครื่องหมาย มีพระปรมาภิไธยย่อ รร.๖ ทำด้วยโลหะสีทอง ประดับที่อกเสื้อเบื้องขวา
กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
เครื่องแต่งกาย - หมวกยอดมีพู่สีดำ ตราครุฑพ่าห์
- - เสื้อสักหลาดสีเหลือง แผงคอและข้อมือสักหลาดสีดำปักลายกนก
- ที่ข้อมือปักรูปอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภปร.
- อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎดิ้นทอง
- - กางเกงสักหลาดสีดำ แถบสีเหลืองข้างละ 2 แถบ
เครื่องหมาย มีพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ทำด้วยโลหะสีทอง ประดับที่อกเสื้อเบื้องขวา
กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์
เครื่องแต่งกาย - หมวกยอดพู่สีเทา ตราครุฑพ่าห์
- - เสื้อคอปิดสีขาว แผงคอและข้อมือสักหลาดสีดำ
- ที่ข้อมือปักรูปอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภปร.
-
ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎดิ้นทอง
- - กางเกงสักหลาดสีเทา แถบสีดำข้างละ 2 แถบ
เครื่องหมาย มีพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ทำด้วยโลหะสีทอง ประดับที่อกเสื้อเบื้องขวา
การสวนสนามเพื่อแสดงความจงรักภักดี
แต่เดิมการสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ กระทำตามคำสั่งกองทัพบกเป็นครั้งคราว ต่อมาเมื่อปี
พ.ศ. 2496 ในโอกาศวันสถาปนา กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ จอมพล ป.
พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีบัญชาให้กองทัพภาคที่
1 จัดงานวันราชวัลลภขึ้น และจัดให้มีการสวนสนามของทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
ที่ลานพระราชวังดุสิต ในพิธีครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์ประธาน และได้จัดให้มีการสวนสนามเป็นประจำทุกปีตั้งแต่นั้นมา
ในปี พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระพระราชดำเนิน เยือนประเทศสหรัฐสหรัฐอเมริกาและประเทศในทวีปยุโรป เมื่อเสด็จนิวัติพระนครทางกระทรวงกลาโหมได้จัดให้มีการสวนสนาม เพื่อเฉลิมพระเกียรติ์ขึ้น เรียกว่า วันพระบารมีปกเกล้า เมื่อ
21 มกราคม 2504
ในปีเดียวกันนี้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าในโอกาสเสด็จนิวัติพระนคร
ยังความปลื้มปิติของประชาชนทั่วไป จึงได้มอบหมายให้กองทัพภาคที่ 1 โดยกองพลที่
1 รักษาพระองค์ จัดพิธีถวายสัตย์ปฎิญาณตน และสวนสนามของหน่วยทหารรักษาพระองค์
เนื่องในวันเฉลิมพระชนพรรษา ใน 5 ธันวาคม 2504 รวม 8 กองพัน และต่อมาได้มีหน่วยทหารรักษาพระองค์เข้าร่วมพิธี
13 กองพัน ดังปัจจุบัน
| ย้อนกลับ | บน |