อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
 loading picture
ข้อมูลทั่วไป
อุทยานหมู่เกาะอ่างทอง  เดิมเป็นพื้นที่หวงห้ามของกองทัพเรือ ต่อมากรมป่าไม้ได้สำรวจ และประสานกับกระทรวงกลาโหม เพื่อขอพื้นที่นี้จัดเป็นอุทยานแห่งชาติ กระทรวงกลาโหม ไม่ขัดข้อง  กรมป่าไม้ซึ่งได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2520  ต่อมาจึงได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดพื้นที่บริเวณหมู่เกาะอ่างทอง ในท้องที่ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ให้เป็นอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง เมื่อปี พ.ศ. 2523  นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 21 ของประเทศไทย
loading picture
อุทยานแห่งนี้เป็นหมู่เกาะในอ่าวไทย  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 102 ตารางกิโลเมตร  เป็นพื้นที่น้ำประมาณ 84 ตารางกิโลเมตร  ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ 42 เกาะ ได้แก่  พะลวย  เกาะวัวตาหลับ เกาะแม่เกาะ  เกาะสามเส้า  เกาะหินดับ  เกาะนายพุด  เกาะไผ่ลวก ฯลฯ  มีจุดสูงสุดอยู่บนเกาะพะลวย  สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400 เมตร  หมู่เกาะอ่างทองอยู่ห่างจากเกาะสมุย และเกาะพงันไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 20 กิโลเมตร


ลักษณะภูมิอากาศและลมฟ้าอากาศ
loading picture
หมู่เกาะอ่างทอง  ส่วนใหญ่เป็นเกาะเขาหินปูน สูงชัน การก่อกำเนิดของหินปูนนี้มีมาพร้อมกับ การผุพังสลายตัวของหินปูน รวมถึงการสึกกร่อน และผุพังโดยสภาพธรรมชาติ โดยเฉพาะจากน้ำใต้ดิน ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้เกิดถ้ำขนาดใหญ่ และโพรงหินขนาดเล็ก และใหญ่ตามเกาะต่าง ๆ ภายในถ้ำยังปรากฎหินงอกหินย้อย บางแห่งมีธารน้ำไหลผ่านภายใน และบางแห่งเกิดเป็นทะเลสาบน้ำเค็ม ซึ่งมีอยู่ 3 แห่ง บนเกาะวัวตาหลับ 2 แห่ง  บนเกาะแม่เกาะ 1 แห่ง
อุทยานแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตน้ำตื้นใกล้ฝั่ง มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 10 เมตร และได้รับอิทธิพลของตะกอน จากแม่น้ำตาปีสูง ทำให้น้ำในอุทยานมีความโปร่งใสน้อย อีกทั้งลักษณะชายฝั่งโดยทั่วไปของหมู่เกาะอ่างทอง มีความชันสูง ทำให้แนวปะการังบริเวณนี้ก่อตัวเป็นเพียงแนวแคบ ๆ ใกล้ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ และบริเวณที่มีที่กำบัง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  ปะการังส่วนใหญ่ได้แก่ ปะการังหินลูกช้าง  ปะการังสมอง  ปะการังเขากวางกิ่งสั้น  อยู่ด้านบนของแนว  ส่วนในระดับลึกลงไป ได้รับแสงน้อย จะมีพวกปะการังแผ่น และปะการังดอกไม้ loading picture
บริเวณด้านข้างเกาะเป็นหินชัน และมีความลึกมาก จนแสงส่องลงไปได้น้อย  ปะการังไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จะเป็นที่อยู่ของสัตว์กลุ่มกัลปังหา แส้ทะเล
สภาพลมฟ้าอากาศ เนื่องจากมีลมมรสุมพัดผ่าน ทำให้ฝนตกชุก คลื่นลมรุนแรง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,000 มิลลิเมตรต่อปี อุณภูมิเฉลี่ย 23 องศาเซลเซียส ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน คลื่นลมสงบ


พรรณไม้
 loading picture
ลักษณะพรรณพืชตามธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะของสภาพป่า และถิ่นที่ขึ้นอยู่ได้แก่
ป่าดงดิบแล้ง   ครอบคลุมพื้นที่เกาะขนาดใหญ่ ได้แก่  เกาะวัวตาหลับ  เกาะพะลวย  เกาะสามเส้า บริเวณไหล่เขาและตามร่องลำธาร มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่นพลอง  จิกเขา  รักเขา  เชียด  เต่าร้าง  เกด  หวาย และกล้วยไม้นารี ช่องอ่างทอง ฯลฯ
ป่าชายหาด   เป็นป่าโปร่งขึ้นบริเวณแคบ ๆ ตามชายหาด และเชิงเขาชายทะเลทั่วไปของเกาะต่าง ๆ  พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ หูกวาง  โพทะเล  กระทิง  ปอทะเล  ลำเจียก  พลับพลึง เป็นต้น
 loading picture  loading picture
ป่าเขาหินปูน   พบในบริเวณเขาปูน  พันธุ์ไม้ที่ขึ้นเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็ก เช่น จันทน์ผา  สลัดได  ยอป่า เป็นต้น
ป่าชายเลน   พบอยู่ข้างบริเวณซอกหินที่มีหาดทรายหรือหาดเลน ในวงรอบของทะเลในของเกาะแม่เกาะ และทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะพะลวย ในบางอ่าวที่เว้าเข้าไปในแผ่นดิน สภาพเป็นป่าชายเลนเกิดใหม่ มีขนาดเล็ก พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้โกงกางใบเล็ก

สัตว์ป่าและสัตว์น้ำ
 loading picture  loading picture
 loading picture
จากสภาพที่เป็นเกาะขนาดเล็กอยู่กลางทะเล มีที่ราบและที่ลาดชันปานกลางน้อย ภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็นเกาะที่เป็นเขาหินปูนสูงชัน จึงเป็นข้อจำกัดในเรื่องของการเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ สัตว์ที่พบในเขตอุทยาน สามารถแยกประเภทได้เป็น
สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม   ที่พบมีอยู่ 16 ชนิด เช่น  ค่างแว่นถิ่นใต้   ลิงแสม  นากใหญ่จมูกขน  แมวดาว เสือปลา  พญากระรอกดำ  ค้างคาวแม่ไก่เกาะ  เป็นต้น
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่อาศัยอยู่ในน้ำ   ที่พบได้แก่ ปลาโลมา และปลาวาฬ
นก   ที่พบมีอยู่ไม่น้อยกว่า 52 ชนิด เช่น  นกยางทะเล  นกยางเขียว  เหยี่ยวแดง  นกออก  นกเด้าดิน นกนางนวลแกลบท้ายทอยดำ  นกแอ่นกินรัง  นกแก๊ก  นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่  นกกินเปี้ยว เป็นต้น
สัตว์เลื้อยคลาน   พบไม่น้อยกว่า 10 ชนิด เช่น  จิ้งจกหางเรียบ  กิ้งก่าสวน  แย้จุด  เหี้ย  จิ้งเหลนบ้าน งูเหลือม  งูสายม่านธรรมดา  เต่าตนุ และ เต่ากระ เป็นต้น
สัตว์สะเทิ้นน้ำทะเทิ้นบก   มีพบน้อยมาก เท่าที่พบมีอยู่เพียง 5 ชนิด คือ  คางคกบ้าน  กบบัว  กบนา  กบหนอง และปาด

แหล่งท่องเที่ยว
 loading picture  loading picture
เกาะวัวตาหลับ   เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะอ่างทอง มีแหล่งน้ำจืดไหลซึมจากยอดเขา
มาตามอุโมงค์ ภายในถ้ำมีหาดทรายขาวสะอาด  น้ำทะเลใสจนออกสีมรกต และร่มรื่นด้วยแมกไม้ จุดชมวิวบนยอดเขา ที่ระดับความสูง 222 เมตร  จากระดับน้ำทะเล จะมองเห็นทัศนียภาพของหมู่เกาะอ่างทอง ทอดตัวเป็นแนวยาว ด้วยรูปลักษณะต่าง ๆ มองเห็นเกาะสมุย  เกาะพงัน  เกาะเต่า และอำเภอมุมเรียง ด้านทิศใต้ของหาดทราย ด้านหน้าเกาะมีถ้ำบัวโบก มีหินงอกหินย้อยสวยงาม รูปร่างคล้ายดอกบัวบาน
ทะเลใน   ตั้งอยู่บนเกาะแม่เกาะ อยู่ห่างจากเกาะวัวตาหลับไปทางเหนือเล็กน้อย มีลักษณะเป็นทะเลสาบ ซึ่งอยู่ในแอ่งยุบขนาดใหญ่ ของภูเขาหินปูนที่สูงสลับซับซ้อน มีรูปเป็นวงรีล้อมรอบด้วยหน้าผาสูงชัน พื้นที่ของทะเลในมีประมาณ 41 ไร่ กว้าง 250 เมตร ยาว 350 เมตร น้ำลึกประมาณ 7 เมตร มีอุโมงค์ใต้น้ำเชื่อมต่อกับทะเลเปิด ทำให้ระดับน้ำของทะเลในเท่ากับระดับน้ำของทะเลภายนอก แต่สีของน้ำทะเลในแตกต่างจากทะเลภายนอก เพราะท้องน้ำตื้นและมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทราย ณ จุดชมวิวจะสามารถมองเห็นทัศนียภาพของทะเลใน และหมู่เกาะโดยรอบ รวมทั้งทิวทัศน์ที่สวยงามของทะเล เปิดได้อย่างชัดเจน
 loading picture  loading picture
เกาะสามเส้า    ตั้งอยู่ตรงข้ามเกาะแม่เกาะ เป็นแหล่งประการังค่อนข้างสมบูรณ์ วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ประมาณ 1 กิโลเมตร มีสะพานหินธรรมชาติที่ยื่นโค้งออกไปในทะเล มีหาดทรายขาวสะอาด เหมาะแก่การตั้งที่พักแรม ว่ายน้ำและชมปะการัง
เกาะท้ายเพลาและเกาะวัวกันตัง   มีหาดทรายขาวสะอาด  ตั้งอยู่บริเวณด้านเหนือของหมู่เกาะ  เกาะท้ายเพลา เป็นจุดที่มีประการังน้ำตื้นที่สวยแห่งหนึ่งของอุทยาน
เกาะหินดับ   เป็นเกาะที่มีหาดทรายที่สวยงาม และยาวที่สุดในอุทยานแห่งชาติ


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |