อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
 loading picture
ข้อมูลทั่วไป
เมื่อปี พ.ศ. 2517  จังหวัดพังงาได้เสนอพื้นที่บริเวณถ้ำลอด  เกาะปันหยี และเขาพิงกัน  ให้กรมป่าไม้ดำเนินการจัดตั้งเป็น วนอุทยาน โดยใช้ชื่อว่า วนอุทยานศรีพังงา ต่อมากรมป่าไม้ได้สำรวจบริเวณอ่าวพังงาเพิ่มเติมและได้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2524 ให้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา มีพื้นที่ประมาณ 400 ตารางกิโลเมตร  ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนผืนใหญ่ ที่อุดมสมบูรณ์คงสภาพดั้งเดิมอยู่มาก นับตั้งแต่เขตอำเภอเมืองพังงาเลียบตามชายฝั่งจนถึงเมืองตะกั่วทุ่ง และบริเวณพื้นน้ำในทะเลอันดามัน ซึ่งมีพื้นที่ประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่อุทยาน  นอกจากนี้ยังประกอบด้วย เกาะน้อยใหญ่อีก 42 เกาะ เช่น  เกาะเต่า  เกาะพระอาตเฒ่า  เกาะโบยน้อย  เกาะโบยใหญ่  เกาะรายาหริ่ง  เกาะพนัก  เกาะห้อง  เกาะปันหยี เขาพิงกัน เป็นต้น
loading picture             บริเวณเขาเต่าได้ค้นพบหลักฐานก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2530 ได้พบหลักฐานการเข้ามาอยู่อาศัย รวมทั้งการฝังศพของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปรากฎจากแหล่งโบราณคดีที่เขาเต่า  เขาพัง  แหล่งภาพเขียนสี  ซึ่งน่าจะเป็นผลงานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เขาเขียน  เกาะปันหยี  เขาระย้า  ถ้ำนาค และเกาะพระอาตเฒ่า  โบราณวัตถุที่พบที่เขาพังมีเครื่องมือหินกระเทาะ  เศษภาชนะดินเผาแบบเรียบ ลายเชือกทาบ  หินลับ  แกนหิน และสะเก็ดที่มีร่องรอยการกระเทาะเป็นจำนวนมาก  ที่เกาะพระอาตเฒ่า พบเศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบแบบเรียบ  แบบลายเชือดทาบ  ชิ้นส่วนขวานหินขัด เครื่องมือสะเก็ดหิน  กระดูกปลา มีรอยขัดฝน  ภาพเขียนหินบนผนังในอ่าวพังงา  ส่วนใหญ่เป็นภาพลายเส้น มีการระบายสีบ้าง มีทั้งวาดเส้นด้วยสี อย่างแท้จริง และด้วยการหยดสี  สะบัดสี  มักเขียนด้วยสีแดงและสีดำ สีอื่นพอมีบ้าง  แต่เป็นส่วนน้อย รูปที่เขียนมีทั้งคนและสัตว์ ส่วนรูปสิ่งที่ไม่มีชีวิต มีลายเส้นคล้ายยันต์หรือตัวอักษร  ลูกศร  เครื่องมือจับสัตว์น้ำ และเรือเป็นต้น

ลักษณะภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศ
 loading picture
ตามลักษณะโครงสร้าง และธรณีสัณฐานของดินแดนภาคใต้ฝั่งตะวันตก เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้กับ แนวทิวเขาแกรนิตที่เรียกว่า เขาตะนาวศรี และทิวเขาภูเก็ต  ที่ทอดยาวไปจนถึงจังหวัด พังงา-ภูเก็ต  เป็นทิวเขาที่มีอายุประมาณ 136-36 ล้านปีมาแล้ว  ภูมิสัณฐานและภูมิประเทศโดยทั่วไปของบริเวณนี้  ยังเป็นผลมาจากลักษณะโครงสร้างที่เรียกว่า รอยเลื่อน  มีชื่อทางธรณีวิทยา  รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย และรอยเลื่อนพังงา  นอกจากนี้ยังมีภูเขาหินตะกอน  หินแปร  แทรกสลับอยู่เป็นแนว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูเขาหินปูนที่แทรกโผล่เป็นหย่อม ๆ  กระจายอยู่ทั่วไป  ทั้งภูเขาหินปูนที่เป็นแนวเทือกสลับซับซ้อน หรือภูเขาหินปูนลูกโดด  จากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติดังกล่าว  ทำให้เกิดเป็นช่องโพรง หรือถ้ำมากมาย   ส่วนภูเขาหินดินดานบางแห่งสลายตัว  กลายเป็นหย่อมเนินเขาขนาดต่าง ๆ กัน การยุบตัวของแผ่นดินด้านตะวันตก ทำให้เกิดเป็นชายฝั่งขรุขระ เว้าแหว่ง เกิดเป็นอ่าวและเกาะ ซึ่งเป็นภูเขาหินปูนลูกโดด กระจายอยู่ตามฝั่งมากมาย  โดยเฉพาะในเขตจังหวัดพังงา กระบี่ ตรัง และสตูล  เนื่องจากภาคใต้ฝั่งตะวันตกเป็นทะเลเปิด จึงได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เต็มที่ ในระหว่างเดือน  พฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ทะเลมีคลื่นลมจัด ฝั่งทะเลช่วงใดที่ไม่มีเกาะกำบัง จึงกลายเป็นฝั่งที่มีชายหาดชัน  และน้ำลึกในระยะใกล้ฝั่ง ส่วนฝั่งทะเลที่มีเกาะกำบังลมด้านนอกหรือฝั่งตอนที่เป็นอ่าวเว้า ไม่รับลมมรสุมเต็มที่  จะมีลักษณะเป็นบริเวณที่พื้นดินอ่อนเป็นโคลนเลน มีป่าชายเลนขึ้นหนาแน่นตามฝั่งทะเล  และเลยลึกเข้าไปในฝั่งที่น้ำเค็มเข้าไปถึง ลักษณะเช่นนี้จะเห็นได้ชัดบริเวณอ่าวพังงา

พรรณไม้
 loading picture  loading picture
อ่าวพังงานับว่ามีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นป่าชายเลนผืนใหญ่ผืนหนึ่งของประเทศไทย    มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแนวกันคลื่นลมตามธรรมชาติ  เป็นแหล่งพันธุกรรมของพืช และเป็นสถานอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เช่น กุ้ง  หอย  ปู และปลาชนิดต่าง ๆ เป็นต้น พันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าชายเลน ได้แก่  โกงกางใบใหญ่  โกงกางใบเล็ก  ถั่วขาว  ถั่วดำ  ประสักแดง  ตะบูนขาว  ตะบูนดำ  แสมขาว   และแสมดำ เป็นต้น  พืชพื้นล่าง ได้แก่  จาก และเหงือกปลาหมอ
สำหรับป่าบกที่ขึ้นอยู่บริเวณพื้นที่ริมชายฝั่งและเกาะต่าง ๆ เป็นป่าประเภทไม่ผลัดใบ ซึ่งจัดเป็น    ป่าดงดิบชื้นซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ได้แก่
 loading picture  loading picture
1.  ป่าบกบริเวณพื้นที่ราบหรือที่เป็นหุบเขา ซึ่งเป็นบริเวณที่มีดินลึก  มีอินทรีย์วัตถุผสมอยู่เป็นจำนวนมาก พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนทราย  ประดู่  กระเบาลิง  ขานาง  ไม้ลาย ชก  เต่าร้าง  หวาย  เถาพันลิง  มะลิวัลย์  พืชในวงศ์บอน วงศ์ขิงข่า และกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ
2.  ป่าบกที่ขึ้นอยู่บนเขาหินปูน พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่กระจัดกระจายตามซอกหิน ที่มีดินอยู่บ้างไม่มากนัก   ไม้ยืนต้นมีจำนวนน้อย และแคระแกร็น พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่  จันทน์ผา  สลัดได  เตยเขา  ปรงเขา  หนวดหิน           พืชในวงศ์ขิงข่า  กล้วยไม้ดิน และพืชในวงศ์บอน

สัตว์ป่าและสัตว์น้ำ
 loading picture  loading picture  loading picture
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา  เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าไม้น้อยกว่า 200 ชนิด เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 17 ชนิด ในจำนวนนี้มีอยู่ 2 ชนิด ที่ใกล้จะสูญพันธุ์คือ ชะนีธรรมดาและเลียงผา  เนื่องจากสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย ถูกทำลายและรบกวนจากมนุษย์  นกมีอยู่ 88 ชนิด เป็นนกประจำถิ่น 67 ชนิด  นกอพยพย้ายถิ่น 21 ชนิด เช่น  นกยางทะเล  นกออก  นกซ่อมทะเลอกแดง  นกกระเต็น  นกแก๊ก  นกนางแอ่นกินรัง  เป็นต้น
 loading picture  loading picture  loading picture
สัตว์เลื้อยคลาน   จำนวน 18 ชนิด เช่น  เหี้ย  ตะกวด  จิ้งเหลนต้นไม้  งูปากกว้างน้ำเค็ม  งูสร้อยทอง เป็นต้น
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก   มี 3 ชนิด ได้แก่ กบน้ำเค็ม กบหนอง และเขียดตาปาด
สัตว์น้ำ   จำนวน  80 ชนิด แบ่งเป็นปลา 24 ชนิด  กุ้ง 14 ชนิด  ปู 15 ชนิด  และสัตว์น้ำอื่น ๆ อีก 10 ชนิด เช่น  ปลากะเบน  ปลาฉลาม  ปลากระบอก ปลาจาระเม็ด  ปลาทู  ปลาเก๋า  ปลาสลัดหิน  ปลาโนรี  กุ้งตะหาด กุ้งแชบ๊วย  ปูม้า  ปูแสม  ปูทะเล  หอยงาช้าง  หอยลาย  หมึกหอม  ปะการังสมอง  ปะการังเขากวาง    และปะการังดอกจอก เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยว
 loading picture  loading picture
เกาะพนัก   เป็นเกาะใหญ่อยู่กลางทะเล ระหว่างเส้นทางเดินเรือภูเก็ต-พังงา ประกอบด้วยทะเลใน ซึ่งมี   ถ้ำมืดและถ้ำสว่าง การเข้าสู่ทะเลในต้องใช้เรือซีแคนูเพียงอย่างเดียวจึงเข้าไปได้ มีความลึกตั้งแต่ 50-150 เมตร มีอยู่ทั้งหมด 5 จุด
เกาะห้อง   เป็นเกาะเขาหินปูน มีหินงอกหินย้อยคล้ายห้องหลาย ๆ ห้อง  ต่อเรียงกันเป็นแถว  การเข้าชมต้องจอดเรือหน้าเกาะ  แล้วใช้เรือซีแคนูเลาะชมรอบ ๆ เกาะ และทะเลใน 1 จุด
เกาะทะลุนอก   เป็นเขาหินปูน มีถ้ำทะเลคล้ายถ้ำลอดใหญ่แต่เล็กกว่า เรือสามารถแล่นลอดผ่านได้ เช่นเดียวกันกับถ้ำลอดใหญ่
 loading picture  loading picture
เขาตาปู-เขาพิงกัน   เป็นสถานที่สวยงามแปลกตาจากการสร้างสรรของธรรมชาติ เขาพิงกันเป็นจุดที่เรือทุกลำ จอดให้นักท่องเที่ยวถ่ายภาพ  ด้านหน้าเป็นเขาตาปู ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี เพราะเคยใช้เป็นที่ถ่ายทำภาพยนต์ออกเผยแพร่ไปทั่วโลก
loading picture
เกาะปันหยี   เป็นหมู่บ้านชาวประมงค์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่น้ำทะเลท่วมถึง บ้านจึงต้องสร้างยกระดับให้พ้นระดับน้ำทะเล  บริเวณหมู่บ้านอยู่นอกเขตอุทยาน ชาวปันหยีเป็นชุมชนชาวประมงค์ดั้งเดิม ประกอบอาชีพ   ประมงค์น้ำตื้น โดยการทำประมงค์อวนลอย  โป๊ะเลี้ยงหอยแครง  เลี้ยงปลากระจัง  รับจ้างตัดไม้เผาถ่าน  ตามสัมปทานเดิม  ปัจจุบันเป็นชุมชนรองรับนักท่องเที่ยว
โดยปรับปรุงบ้านบางส่วนเป็นร้านอาหารและจำหน่ายของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยว
loading picture             นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติอ่างพังงา  ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากแห่ง เช่น เกาะละวะใหญ่   เขาหมาจู  เกาะไข่  ถ้ำลอด  ถ้ำพ่อตาขุนทอง  ถ้ำนาค  ถ้ำแก้ว และยังมีภาพเขียนสีโบราณที่เขาเขียน เกาะปันหยี  เขาระย้า  ถ้ำนาค  เกาะพระอาตเฒ่า  ภาพเขียนโบราณเหล่านี้มีอายุมากกว่า 1,000 ปี





| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |