อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
 loading picture
ข้อมูลทั่วไป
กรมป่าไม้ได้ประกาศให้พื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์ ท้องที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นป่าสงวนแห่งชาติ    เมื่อปี พ.ศ. 2514 และต่อมาได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2524  นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 29 ของประเทศไทย
loading picture
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์  ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน อยู่ห่างจากฝั่งท่าเรือคุระบุรีประมาณ 60 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 135 ตารางกิโลเมตร มีส่วนที่เป็นพื้นน้ำประมาณ 102 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ รวม 5 เกาะคือ  เกาะสุรินทร์เหนือ  เกาะสุรินทร์ใต้  เกาะรี  เกาะกลาง และเกาะไข่
เกาะสุรินทร์เหนือและเกาะสุรินทร์ใต้  เป็นเกาะขนาดใหญ่ วางตัวตามแนวทิศเหนือ-ใต้   ด้านเหนือของอุทยาน  เป็นเขตแดนติดต่อกับประเทศพม่า ส่วนทางด้านทิศใต้ในระยะไม่ห่างกันนัก  เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

ลักษณะภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศ
 loading picture
ลักษณะชายฝั่งโดยทั่วไปของหมู่เกาะสุรินทร์  จะมีส่วนเว้าแหว่งเป็นอ่าวทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก  ตั้งกระจายอยู่ทั่วไป เนื่องจากหมู่เกาะนี้ตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งมาก ทำให้บริเวณหมู่เกาะสุรินทร์  ได้รับอิทธิพลจากชายฝั่งน้อย นอกจากนั้นบริเวณรอบ ๆ เกาะยังมีน้ำลึกกว่า 50 เมตร อีกทั้งการไหลเวียนของน้ำบริเวณรอบ ๆ เกาะกับน้ำทะเลบริเวณทะเลเปิดเป็นไปอย่างสะดวก ประกอบกับสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ของเกาะ  เป็นตัวป้องกันการพังทะลายของดิน และป้องกันการตกตะกอนที่จะลงมายังทะเล ทำให้น้ำทะเลมีความใสสูง   มีพิสัยการมองเห็นใต้น้ำถึง 20 เมตร
 loading picture
บริเวณอ่าวต่าง ๆ เหล่านี้ รวมตลอดแนวชายฝั่งด้านทิศตะวันออก เป็นแหล่งกำเนิดแนวปะการัง             โดยปะการังนี้มีกำเนิดมาเป็นเวลานาน ทำให้แนวปะการังก่อทับถมยื่นยาวออกจากชายฝั่ง ปะการังบางส่วน  บริเวณด้านบนของแนวปะการังจะโผล่พ้นน้ำขณะที่น้ำลงต่ำสุด และค่อย ๆ ลาดลงมาถึงความลึกประมาณ 20   เมตร จึงค่อย ๆ ลาดลงเป็นพื้นทราย ส่วนบริเวณชายฝั่งทิศตะวันตก  ซึ่งเป็นเขตที่ได้รับอิทธิพล จากคลื่นลมรุนแรง  อันเนื่องจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่เกิดระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะเป็นชายฝั่งหินลาดลงไปใต้ทะเล จนถึงความลึกประมาณ 10 เมตร ก็ค่อย ๆ ลาดเป็นพื้นทราย  โดยมีปะการังโคโลนีเล็ก ๆ รวมทั้งสาหร่ายสีน้ำตาลกระจายอยู่ทั่วไป

พรรณไม้
 loading picture
ค้อ  ปออีเก้ง และหวาย เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีป่าชายหาดบริเวณหาดต่าง ๆ พันธุ์ไม้  ประกอบด้วยหูกวาง  โพธิทะเล เป็นต้น บริเวณริมหาดไม้งามของเกาะสุรินทร์เหนือ มีป่าชายเลนที่ประกอบ   ไปด้วยโกงกางใบเล็กและพังกาหัวสุมดอกแดง

สัตว์ป่าและสัตว์น้ำ จากสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์  จึงเป็นแหล่งที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะนก ซึ่งพบว่ามีมากกว่า 80 ชนิด เช่น นกขุนทอง นกลุมพูขาว นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกชาปีไหนซึ่งเป็นนกที่หายาก  นกยางทะเล    นกนางนวล  เหยี่ยวแดง ภายในป่าจะพบลิงกังอยู่กันเป็นฝูงใหญ่  กระรอก  กระจง  ตะกวด  งูหลาม ค้างคาวแม่ไก่   และค้างคาวหนูผี
สัตว์น้ำของหมู่เกาะสุรินทร์  นอกจากปะการังแข็งที่พบเห็นโดยทั่วไปแล้ว ยังมีปะการังอ่อน  แส้ทะเล    กัลปังหา  ดาวทะเล  ดาวขนนอก  ดอกไม้ทะเล  หอยมือเสือ  กุ้งมังกร และกลุ่มปลาชนิดต่าง ๆ เช่น  ปลาเก๋า   ปลากะพงเหลือง  สินสมุทร  โนรี  ผีเสื้อเทวรูป  สลัดหินเขียว  นกแก้ว  อมไข่  กระเบนทอง  ปลาวัว  ฉลามทราย ฯลฯ  นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของสัตว์ทะเลหายาก เช่น ฉลามวาฬ  วาฬ และเต่าทะเล

แหล่งท่องเที่ยว
 loading picture
เกาะสุรินทร์เหนือ   ประกอบด้วย ชายหาดและอ่าวหลายแห่ง มีหาดด้านเหนือและหาดด้านใต้
บริเวณตอนกลางของพื้นที่เป็นที่โล่ง ทางด้านตะวันตกจะมีเนินเขาสูง เป็นสถานที่เหมาะที่จะไปพักผ่อน
อ่าวแม่ยาย   เป็นอ่าวใหญ่ที่สุด มีความสมบูรณ์ของปะการังมาก
อ่าวไม้งาม   มีชายหาดสวยงาม มีปะการังให้ชม
 loading picture
อ่าวช่องขาด   มีที่เล่นน้ำทะเล ชมปะการัง เมื่อน้ำทะเลลดต่ำสุดสามารถเดินไปยังหมู่บ้านชาวเลได้
อ่าวไทรเอน   เป็นอ่าวขนาดใหญ่ มีปะการังและหญ้าทะเลขึ้นอยู่มาก
เกาะสุรินทร์ใต้   เป็นเกาะที่มีชุมชนชาวเลตั้งอยู่ ชาวเลเป็นชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ตามหมู่เกาะต่าง ๆ ใน   ทะเลอันดามัน ตั้งแต่ประเทศอินเดียถึงประเทศอินโดนีเซีย ชาวเลมีวิถีการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม  หาเลี้ยงชีพด้วยการงมหอยแทงปลา ในช่วงฤดูมรสุมระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ชาวเลจะอาศัยอยู่บนเรือ  ที่เปรียบเหมือนบ้าน แต่พอถึงห้วงเวลาระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน ชาวเลจะขึ้นมาอาศัยอยู่บนบก   ที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ชาวเลไม่มีภาษาเขียน บางคนสามารถพูดภาษายาวี และภาษาไทยได้บ้าง
 loading picture
เกาะสุรินทร์ใต้   มีชายหาดและเกาะอยู่หลายแห่ง เช่น
อ่าวสุเทพ   มีปะการังเป็นแนวยาวตลอดชายหาด เวลาน้ำทะเลลงต่ำสุด แนวหินและปะการัง จะโผล่เหนือน้ำ
อ่าวบอนใหญ่   เป็นอ่าวใหญ่ที่ชาวเลเคยอาศัยอยู่ ด้านหน้าอ่าวมีปะการังที่สวยงาม
 loading picture
อ่าวผักกาด   เป็นอ่าวเล็ก ๆ อยู่ทางด้านใต้ของเกาะสุรินทร์ใต้ เป็นอ่าวที่มีปะการังสวยงาม เหมาะแก่การดำน้ำชมปะการัง
หินแพ (หินกอง)   เป็นแนวหินโสโครกที่โผล่พ้นน้ำ ตั้งอยู่หน้าอ่าวทางด้านทิศใต้ของเกาะสุรินทร์เหนือ  เป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุม และมีปะการังเขากวางเป็นผืนใหญ่
เกาะปาจุมบา   เป็นเกาะเล็ก ๆ มีหาดทรายอยู่ทางด้านตะวันออก เป็นแหล่งปะการังอ่อน


| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |