อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 มีพื้นที่ประมาณ
231 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่เกาะแก่งด้านนอกฝั่ง
นับจากปากอ่าวทางด้านเหนือ ในท้องที่อำเภอสิเกา และอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
มีหาดทรายขาว น้ำใส ถ้ำสวย มีแนวปะการังทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก
ทอดเชื่อมระหว่างเกาะ มีคุณค่าทางนิเวศน์วิทยาอย่างยิ่ง เพราะเป็นแหล่งอาศัยของสรรพชีวิต
ทั้งพืชและสัตว์ โดยเฉพาะ พะยูน สัตว์ป่าสงวน 1 ใน 15 ชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์
คำว่า เจ้าไหม ใช้เรียกได้ทั้งหมู่บ้าน ลำคลอง หาดทราย
ถ้ำ ภูเขา เกาะ รวมทั้งอุทยานแห่งชาติ
ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนคือ
พื้นที่ชายฝั่งทะเล รวมทั้งเกาะมุกต์ เกาะกระดาน เกาะแหวน
เกาะเชือก เกาะปลิง เกาะเจ้าไหม เกาะเมง
พื้นน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 137 ตารางกิโลเมตร มีแนวปะการังเป็นบริเวณกว้างตามไหล่เกาะ
ที่มีความลาดชันสูง
พรรณไม้
บริเวณเกาะต่าง ๆ ในอุทยาน รวมทั้งพื้นที่ชายฝั่งทะเล อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสังคมของพืชป่าดงดิบ
ป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าเขาหินปูน มีพันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ยาง
หลุมพอ ตะเคียนหิน โกงกาง ตะบูน ถั่ว โปรง
หูกวาง สนทะเล โพทะเล จันทน์ผา เป็งทะเล และสลัดได
เป็นต้น
แหล่งสังคมของพืชน้ำที่สำคัญคือ หญ้าทะเลที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายของพืชและสัตว์
ในทะเลเป็นที่หลบภัย แหล่งอาหาร ถิ่นที่อยู่อาศัยของลูกปลา ลูกกุ้ง
เต่า เป็นแหล่งอาหารของ พะยูน หญ้าทะเลที่พบมี 8 ชนิด ได้แก่หญ้าผมนาง
หญ้าชะเงาเขียวปลายแฉก หญ้าชะเงาใบสั้นสีน้ำตาล หญ้าชะเงาใบสั้นปล้องยาว
หญ้าใบสน หญ้าเต่า หญ้าชะเงาใบยาว และหญ้าใบมะกรูด
สัตว์ป่าและสัตว์น้ำ
สัตว์ที่พบในบริเวณอุทยานได้แก่ ลิง ค่าง หมูป่า
ลิ่น นกกระสาคอดำ นกกระยางเขียว นกยางทะเล นกออก
แย้ เหี้ย จงโคร่ง ฯลฯ
แหล่งท่องเที่ยว
ในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน เป็นระยะปลอดมรสุม เป็นห้วงเวลาที่เหมาะที่จะมาเที่ยวชมอุทยานแห่งชาติ
หาดเจ้าไหม ซึ่งจะได้พบกับธรรมชาติที่น่าสนใจหลายรูปแบบ
บ่อน้ำร้อน
ตั้งอยู่บริเวณตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง น้ำในบ่อมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า
70 องศาเซลเซียส ฟองพรายน้ำที่ผุดพลุ่งขึ้นมา เป็นครั้งคราว จะมีกลิ่นกำมะถันจาง
ๆ แทรกขึ้นมาด้วย
เกาะเจ้าไหม
ห่างจากตัวจังหวัดตรังประมาณ 60 กิโลเมตร ตามชายทะเลมาทางปากเม็ง เกาะเจ้าไหม
ถูกโอบล้อมด้วยทะเลด้านหนึ่ง และลำคลองอีกด้านหนึ่ง มีเขารูปกระโดงฉลามโดดเด่นเป็นสัญลักษณ์
ห่างจากเขากระโดงฉลามมาประมาณ 5 กิโลเมตร ไปจรดหาดหยงหลิงเป็นหาดยาว และความกว้างขวางเหมาะแก่การพักแรม
แต่หาดนี้น้ำลึกและคลื่นจัด จึงควรระวังในการเล่นน้ำทะเล ถัดเข้าไปเป็นชายหาดที่ทอดไปทางตะวันตก เรียกว่า หาดเจ้าไหม
เป็นบริเวณน้ำตึ้น จึงเหมาะในการเล่นน้ำทะเล เบื้องหน้าจะเห็นเกาะลิบง
อยู่ไม่ไกลนัก บนชายหาดเป็นดงสนร่มรื่นสุดชายหาด คือ โขดเขาอีกด้านหนึ่ง ของเขากระโดงฉลาม
ในขณะน้ำลงอาจเดินลัดเลาะโขดหินไปสู่เวิ้งอ่าว เล็ก ๆ อีกแห่งหนึ่งชื่อ อ่าวปอ
ลึกเข้าไปตามคลองเจ้าไหม
เป็นที่ตั้งของถ้ำเจ้าไหม
สามารถแล่นเรือไปถึงปากถ้ำได้ ถ้ำเจ้าไหมมีหลายชั้นซับซ้อน ชั้นล่างเป็นถ้ำกว้าง
มีหินงอกหินย้อยเหมือนเสาขนาดใหญ่ ถ้ำชั้นบนต้องปืนหน้าผาขึ้นไปทางขวาอีกประมาณ
100 เมตร ตามผนังถ้ำมีลักษณะเหมือนเปลือกหอย เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ และมีแอ่งน้ำใสเย็นก่อนเข้าสู่ถ้ำชั้นใน
หาดหยงหลิง-หาดสั้น
อยู่ทางด้านทิศใ่ต้ต่อจากหาดยาว เป็นหาดทรายรูปโค้งขนานไปกับดงสน ชื่อว่า
หาดหยงหลิง
สุดชายหาดเป็นเขาสูงเต็มไปด้วยเวิ้งและโพรงถ้ำ
สามารถเดินลัดเลาะออกไปสู่หน้าผาริมทะเลได้ ห่างไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร
มีชายหาดอีกแห่งหนึ่งคนละฟากเขาชื่อ หาดสั้น
และไกลออกไปทางทิศเหนือ
คือ แหลมหยงลำ
เกาะมุกต์
อยู่ในตำบลลิบง อำเภอกันตัง เป็นเกาะใหญ่เกาะหนึ่งในน่านน้ำจังหวัดตรัง มีพื้นที่ประมาณ
8 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ร้อยละ 80 เป็นภูเขายอดสูงสุด สูงประมาณ 300 เมตร
จากระดับน้ำทะเล ด้านทิศตะวันตกเป็นที่ตั้งของถ้ำมรกต
ชาวบ้านเรียกว่าถ้ำน้ำ
มีทางเข้าเป็นโพรงเล็ก ๆ พอเรือลอดได้ในช่วงน้ำลง โพรงถ้ำแคบ คดเคี้ยว และมืด
ยาวประมาณ 80 เมตร น้ำทะเลสีใสมรกต หาดทรายขาวสะอาด ป่าบนเขาเป็นป่าดิบชื้น
ใต้หัวแหลมเกาะมุกต์ เป็นป่าชายเลน ทะเลทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีปะการังอ่อนหลากสี
ทางด้านตะวันออกเป็นแนวหญ้าทะเล
เกาะกระดาน
อยู่ห่างจากเกาะมุกต์ไปทางทิศตะวันตก ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง
ตัวเกาะมีลักษณะเหมือนภูเขาห้าลูกติดต่อกันเป็นพืด มีพื้นที่ประมาณ 1.6 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่ร้อยละ 70 เป็นภูเขา จุดสูงสุดประมาณ 100 เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น
มีแนวปะการังตลอดชายฝั่งของเกาะ มีปะการังอ่อนและกัลปังหา ทางด้านทิศใ่ต้ของเกาะ
เกาะเชือก
เป็นเกาะเล็ก ๆ อยู่ในวงล้อมของเกาะมุกต์ และเกาะกระดาน ประกอบด้วยเกาะ 2
เกาะ อยู่ติดกันมีพื้นที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะโดด ไม่มีพื้นที่ราบ
จุดสูงสุด 100 เมตร จากระดับน้ำทะเล เกาะที่อยู่ด้านตะวันออกมีสัมปทานรังนก
สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น มีปะการังแข็ง ปะการังอ่อน ดอกไม้ทะเล
กัลปังหา สลับกันอยู่ตลอด แนวชายฝั่งซึ่งมีปะการังค่อนข้างสมบูรณ์มาก บริเวณเกาะเชือกมีถ้ำตื้น
ๆ สามารถดำน้ำหรือนำเรือเข้าไปได้ในช่วงน้ำลง
เกาะแหวน มีพื้นที่ประมาณ
0.2 ตารางกิโลเมตร จุดสูงสุดประมาณ 220 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นเกาะที่มีสัมปทานรังนก
สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น มีดงปะการังทั้งน้ำตื้น และน้ำลึก ดอกไม้ทะเล
กัลปังหา สลับกันตลอดชายฝั่ง มีแนวปะการังค่องข้างสมบูรณ์ อยู่ในระดับความลึก
10-20 ฟุต ส่วนใหญ่อยู่ทางด้าน ทิศตะวันออกของเกาะ ด้านทิศตะวันตก ระดับความลึก
60 ฟุต ไม่มีปะการังเลย
หาดฉางหลาง
เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 47 กิโลเมตร และห่างจากหาดเจ้าไหมประมาณ
16 กิโลเมตร ทางทิศใต้ของหาดจรดเขาริมน้ำ คือnเขาแบนะ
มีร่องรอยภาพเขียนสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์
แต่ค่อนข้างลบเลือน พื้นที่ชายหาดบริเวณเชิงเขา ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ต่าง ๆ
มีบ้ำน้ำจืด เหมาะแก่การพักแรม ทางด้านทิศเหนือสุดของหาดคือ คลองฉางหลาง
บริเวณปากคลองมีทัศนียภาพที่หลากหลาย
หาดปากเม็ง
เป็นหาดทรายชายทะเลแหล่งท่องเที่ยวแห่งแรกของจังหวัดตรัง อยู่ห่างจากตัวเมือง
40 กิโลเมตร โขดเขาใหญ่หลางน้ำมีรูปร่างคล้าย คนนอนหงายทอดยาวไปทางด้านเหนือคือเกาะเม็งหรือเกาะแมง
เป็นสัญลักษณ์ประจำหาดนี้
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |