|
|
การคมนาคมขนส่ง
การคมนาคมขนส่งทางบก
เส้นทางคมนาคมทางบกของลาว มีน้อยกว่าประเทศในกลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน
ส่วนใหญ่ของถนนยังด้อยทั้งปริมาณ และคุณภาพ นอกจากนี้ยังขาดถนนสายรองอยู่อีกมาก
เมื่อครั้งลาวตกอยู่ในปกครองของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้สร้างถนนสำหรับใช้ในการคมนาคมในเมือง
และระหว่างเมือง ระบบถนนที่ฝรั่งเศส สร้างเป็นถนนจากตะวันออก ไปตะวันตกคือ
จากเวียดนามไปยังลาว โดยมีวัตถุประสงค์ในการติดต่อ และควบคุมโดยเฉพาะ เพื่อเป็นทางนำทหารจากเวียดนามมายังลาวในยามฉุกเฉิน
จึงมิใช่ถนนเพื่อการเศรษฐกิจ การก่อสร้างจึงขาดมาตรฐาน
เมื่อลาวเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงได้ดำเนินการก่อสร้างและซ่อมแซมถนนสายหลักที่สำคัญ
ๆ โดยขอความช่วยเหลือจากกลุ่มประเทศสังคมนิยมต่าง ๆ การพัฒนาถนนดังกล่าว
เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการขนส่งสินค้าไปสู่ชายแดน และเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายกำลังทหาร
ไปยังจุดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่สำคัญของตน
ในห้วงเวลาดังกล่าว ลาวมีถนนทั่วประเทศประมาณ ๕,๖๐๐ กิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นเส้นทางสายยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่เชื่อม
ต่อระหว่างลาวกับเวียดนาม
มีจำนวนหกเส้นทาง และมีเส้นทางที่จีนช่วยเหลือก่อสร้างให้อีกห้าเส้นทางคือ
เส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างลาว - เวียดนาม
มีอยู่ห้าเส้นทางด้วยกันคือ
เส้นทางสายที่ ๑๓
เป็นเส้นทางสายหลักที่เชื่อมต่อระหว่างไทย - เวียดนามและกัมพูชา มีความยาวประมาณ
๑,๖๗๐ กิโลเมตร ช่วงที่ผ่านลาวประมาณ ๑,๐๒๐ กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่หลวงพระบาง
ลงมาทางใต้ ผ่านพนมเปญไปจนถึงไซ่ง่อน ผ่านเมืองสำคัญคือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์
ปากซัน ท่าแขกและกงเซโดน
เส้นทางสายที่ ๑๒
มีความยาวประมาณ ๒๖๐ กิโลเมตร ช่วงที่ผ่านลาวประมาณ ๑๔๐ กิโลเมตร เริ่มจากเมืองท่าแขก
ผ่านกลางประเทศ ไปสิ้นสุดที่เมืองฮาดินห์ในเวียดนาม
เส้นทางสายที่ ๗
เป็นถนนสายหลัก มีความยาวประมาณ ๕๓๐ กิโลเมตร ช่วงที่ผ่านลาวประมาณ ๓๓๐ กิโลเมตร
เริ่มต้นจากทางแยกของเส้นทางสายที่ ๑๓ ทางตอนใต้ของเมืองหลวงพระบางลงมาประมาณ
๑๐๐ กิโลเมตร ไปสิ้นสุดที่เมืองพูเตียงเจาในเวียดนาม เป็นเส้นทางสำคัญทางยุทธศาสตร์
ตัดผ่านเมืองสุย เชียงขวางและโพนสวัน
เส้นทางสายที่ ๘
มีความยาวประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร ช่วงที่ผ่านลาวประมาณ ๖๕ กิโลเมตร เริ่มต้นจากเมืองคำเกิดผ่านเมืองหลักซาง
และเมืองนาเป ไปสิ้นสุดที่เมืองวินห์ในเวียดนาม
เส้นทางสายเมืองเลียด - เมืองฮอยชวน มีความยาวประมาณ ๑๓๕ กิโลเมตร ช่วงที่ผ่านลาวประมาณ
๖๕ กิโลเมตร เริ่มต้นจากทางแยกของเส้นทางสายที่ ๖ ที่เมืองเลียด ผ่านเมืองเชียงหลวง
และเมืองซอย ไปยังเมืองฮอยชวน ในเวียดนาม
เส้นทางที่จีนสร้างให้ลาว
มีอยู่หกเส้นทางด้วยกันคือ
เส้นทางสายที่ ๔๙
(พงสาลี - เม็งลา) มีความยาวประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร ช่วงที่ผ่านลาวประมาณ
๘๐ กิโลเมตร ผิวถนนเป็นลูกรัง
เส้นทางสายที่ ๔๑๒/๔
(บ้านโบเต็ง - เมืองไซ) มีความยาวประมาณ ๘๕ กิโลเมตร
เส้นทางสายที่ ๔๕
(เมืองไซ - เมืองฮุน - เมืองปากแบ่ง) สร้างเลียบลำแม่น้ำโขง มีความยาวประมาณ
๑๔๐ กิโลเมตร อยู่ใกล้ชายแดนไทยในเขตจังหวัดน่าน
เส้นทางสายที่ ๓ (หลวงน้ำทา
- ห้วยทราย และหลวงน้ำทา - บ้านนาเตย) ผ่านเมืองเวียงภูคา เมืองเงิน
และเมืองท่าฟ้า
ในปี พ.ศ.๒๕๒๑ จีนได้ส่งมอบทางหลวงหมายเลข ๑
ให้แก่ลาว
เส้นทางสายนี้เริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๑ มีความยาวประมาณ ๒๙๐ กิโลเมตร
เส้นทางสายน้ำบาก - หลวงพระบาง
มีความยาวประมาณ ๑๑๐ กิโลเมตร
รวมเส้นทางที่จีนสร้างในลาวประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร
เส้นทางโฮจิมินห์
เป็นทางเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ โดยเวียดนามเหนือในขณะนั้น ใช้เป็นเส้นทางแทรกซึม
และส่งกำลังบำรุง ผ่านเข้าไปในลาว จนถึงแนวรบในเวียดนามใต้ในสมัยนั้น เส้นทางสายนี้เริ่มจากเมืองสาติน
ผ่านมาที่ช่องมุยา เข้ามาในลาว ตามถนนสายที่ ๘๐๐ เป็นเส้นทางที่สร้างขึ้นใหม่
ผ่านเมืองเซโปป เข้าไปยังเขตเวียดนามใต้ อีกเส้นทางหนึ่งตามถนนสายที่ ๒๓ ผ่านเมืองสาละวัน
และเมืองอัตตะบือ เข้าไปยังเขตประเทศกัมพูชา แล้วต่อไปยังเวียดนามใต้ ปกติเส้นทางสายนี้มักจะมีการเปลี่ยนแปลง
แต่ก็คงอยู่ในแนวเดิม เมื่อถูกทำลายเสียหายแล้ว ก็จะซ่อมแซมขึ้นใหม่ ทดแทนทันที
ถนนที่ใช้คมนาคมขนส่งภายในประเทศ
ที่เป็นถนนสายหลักมีอยู่ ๑๕ สายคือ
ถนนสายที่ ๑
มีความยาวประมาณ ๓๒๐ กิโลเมตร เริ่มต้นจากเมืองหลวงพระบาง ผ่านไชยะบุรี เมืองเพียง
เมืองปา เมืองเลียบ ไปสิ้นสุดที่เมืองแก่นท้าว
ถนนสายที่ ๓
ยาวประมาณ ๑๙๐ กิโลเมตร เริ่มต้นจากเมืองหลวงน้ำทา ผ่านเมืองเวียงภูผา มายังเมืองห้วยทราย
จีนได้ปรับปรุงให้รถวิ่งได้จากเมืองหลวงน้ำทา ถึงเมืองท่าฟ้า
ถนนสายที่ ๓๒๒
เริ่มต้นจากเมืองลิงกัง เมืองแก่กก ต่อชายแดนพม่า มีความยาวประมาณ ๖๐ กิโลเมตร
จีนได้ปรับปรุงให้รถวิ่งได้ถึงเมืองแตง ห่างจากเมืองแก่งกก ประมาณ ๗๐ กิโลเมตร
ถนนสายที่ ๕
เชื่อมต่อจากถนนสายที่ ๗ ผ่านเมืองเชียงขวาง บ้านท่าเวียง ท่าทม บริคัณฑ์
เมืองใหม่ และปากซัน
ถนนสายที่ ๖
มีความยาวประมาณ ๒๑๕ กิโลเมตร เริ่มต้นจากทางแยกถนนสายที่ ๗ ที่บ้านบาน ผ่านเมืองหัวเมือง
ซำเหนือ เมืองเลียด ไปสุดทางที่บ้านสบเสา ติดพรมแดนเวียดนาม
ถนนสายที่ ๗
เป็นเส้นทางสายหลัก เชื่อมต่อระหว่างลาวกับเวียดนาม มีความยาวประมาณ ๓๓๐ กิโลเมตร
เริ่มต้นจากทางแยกถนนสายที่ ๑๓ ทางตอนใต้ของหลวงพระบางประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร
ไปสิ้นสุดที่เมืองฟูเตียงเจา ในเขตเวียดนาม ผ่านเมืองสุย เชียงขวาง หนองเป็ด
บ้านบาน หนองแค แล้วเข้าสู่เวียดนาม
ถนนสายที่ ๘ มีความยาวประมาณ
๒๐๐ กิโลเมตร ช่วงที่ผ่านลาวยาวประมาณ ๖๕ กิโลเมตร เริ่มต้นจากเมืองคำเกิด
ผ่านเมืองหลักซาว และนาเป ไปสิ้นสุดที่เมืองวินห์ ในเวียดนาม
เส้นทางสายเมืองเอียด - เมืองฮอยชวน
มีความยาวประมาณ ๑๓๕ กิโลเมตร ช่วงที่ผ่านลาวยาวประมาณ ๖๕ กิโลเมตร เริ่มต้นจากทางแยกของเส้นทางสายที่
๖ ที่เมืองเลียด เมืองเชียงหลวง และเมืองชอย ไปยังเมืองฮอยชวน ในเวียดนาม
ถนนสายที่ ๙
เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างลาวกับเวียดนาม มีความยาวประมาณ ๒๐๕ กิโลเมตร เริ่มต้นจากสวันเขต
ตัดผ่านกลางประเทศไปยังเมืองเซโปน เข้าไปในเวียดนาม
ถนนสายที่ ๑๐
เป็นถนนเชื่อมต่อระหว่างลาวกับไทย มีความยาวประมาณ ๑๐ กิโลเมตร เริ่มต้นจากเมืองปากเซ
ไปยังช่องเม็ก เข้าเขตประเทศไทย ทางด้านจังหวัดอุบลราชธานี
ถนนสายที่ ๑๒
เป็นถนนเชื่อมต่อระหว่างลาวกับเวียดนาม มีความยาวประมาณ ๑๘๐ กิโลเมตร เริ่มต้นจากเมืองท่าแขก
ผ่านกลางประเทศเข้าไปในเวียดนาม
ถนนสายที่ ๑๓
เป็นเส้นทางหลักที่สำคัญที่สุด มีความยาวประมาณ ๑,๖๗๐ กิโลเมตร ช่วงที่ผ่านลาวยาวประมาณ
๑,๑๒๐ กิโลเมตร เริ่มต้นจากเมืองหลวงพระบาง ผ่านเวียงจันทน์ ปากซัน ท่าแขก
สวันเขต กงเซโปน ปากเซ ออกไปยังพรมแดนด้านกัมพูชา และต่อไปยังพนมเปญ และเมืองโฮจิมินห์
(ไซ่ง่อน)
ถนนสายที่ ๒๓
มีความยาวประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร เริ่มต้นจากปากเซ ผ่านเมืองปากช่องไปถึงสาละวัน
มีถนนสายรองต่อไปยังถนนสาย ๙ ที่เมืองพิน ยาวประมาณ ๑๑๕ กิโลเมตร
ถนนสายที่ ๘๕
เป็นเส้นทางที่จีนส้างให้ลาว ตามข้อตกลงทางเศรษฐกิจ ที่เจนีวา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕
โดยสร้างเข้ามาที่พงสาลี และหัวโขง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่เมืองบ่อแตน ลงมายังเมืองไซ
และได้สร้างถนนแยกจากเมืองไซ ไปทางตะวันออก ผ่านเมืองลา และเมืองขัว ไปเชื่อมกับถนนสายที่
๑๘ ที่เวียดนาม ที่สร้างถนนจากเมืองเดียนเบียนฟู เข้ามายังเมืองขัว
ถนนสายที่ ๔๖
มีความยาวประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร จากเมืองไซ มายังเมืองปากแบ่ง ซึ่งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง
ห่างจากชายแดนไทยประมาณ ๓๕ กิโลเมตร
นอกจากนี้ ยังมีถนนในแขวงพงสาลี จากเมืองพงสาลี ถึงเมืองสิง ผ่านเข้าไปในเขตประเทศจีน
มีความยาวประมาณ ๑๙๐ กิโลเมตร
การคมนาคมขนส่งทางน้ำ
ลาวมีแม่น้ำสายใหญ่คือ แม่น้ำโขง เส้นทางคมนาคมขนส่งทางน้ำภายในประเทศ จึงใช้แม่น้ำโขงเป็นหลัก
แม่น้ำโขงไหลผ่านตั้งแต่ตอนเหนือของประเทศ ด้านตะวันตก ตลอดไปถึงทางตอนใต้ของประเทศ
ส่วนใหญ่ของแม่น้ำเป็นเส้นกั้นเขตแดนกับประเทศไทย
นอกจากแม่น้ำโขงแล้ว ลาวยังมีแม่น้ำสายสำคัญอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น ลำน้ำอุ
ลำน้ำทา ลำน้ำงึม ลำน้ำกระดิ่ง ลำน้ำเซบั้งไฟ และเซบังเหียง เป็นต้น
แม่น้ำโขง มีเกาะแก่งอยู่มากมายตลอดสาย บางแห่งไม่สามารถเดินเรือได้ เพราะกระแสน้ำไหลเชี่ยวจัด
และเต็มไปด้วยโขดหิน มีตลิ่งที่สูงมาก และบางแห่งเป็นหน้าผาสูงชัน นอกจากนั้นยังไม่สามารถกำหนดแนวเขตแดนได้แน่ชัด
แม่น้ำโขง นับว่าเป็นทางคมนาคมขนส่งทางน้ำที่สำคัญมากของลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝน
เส้นทางคมนาคมทางบกทำได้ยากลำบาก เมืองใหญ่ ๆ ของลาวก็ตั้งอยู่บริเวณริ่มฝั่งแม่น้ำโขง
เกือบทั้งสิ้น ทางคมนาคมในลำน้ำโขงสามารถกระทำได้ เป็นตอน ๆ คือ
ระยะที่ ๑
จากพรมแดนด้านที่ติดต่อกับจีน ถึงหลวงพระบางยาวประมาณ ๖๖๐ กิโลเมตร กว้างไม่เกิน
๘๐๐ เมตร กระแสน้ำไหลเชี่ยว และมีเกาะแก่ง ความลึกโดยทั่วไปประมาณ ๒๐ เมตร
การเดินเรือยังมีความยากลำบาก โดยเฉพาะฤดูแล้ง ระหว่างเมืองห้วยทรายกับเมืองหลวงพระบาง
ใช้เรือขนาดเล็กเดินทางได้ตลอดปี
ระยะที่ ๒ จากหลวงพระบาง
ถึงเวียงจันทน์ ยาวประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๔๐๐ เมตร และจะกว้างขึ้นเป็นลำดับ
จนถึงเวียงจันทน์ กว้างประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร กระแสน้ำแรง สามารถใช้ในการเดินเรือได้
ในฤดูที่ระดับน้ำขึ้นสูงปานกลาง โดยใช้เรือที่กินน้ำลึก ๑ - ๒๐ เมตร สำหรับเรือที่กินน้ำลึก
๐.๖๐ เมตร ใช้การได้ตลอดปี
ระยะที่ ๓
จากเวียงจันทน์ ถึงสวันเขต ยาวประมาณ ๔๗๐ กิโลเมตร กว้างมากกว่า ๑,๐๐๐ เมตร
และกว้างมากขึ้นตามลำดับ จนถึงสวันเขต ซึ่งจะกว้างประมาณ ๑,๗๐๐ เมตร ความเร็วของกระแสน้ำลดลง
และมีเกาะแก่งน้อย ในฤดูที่น้ำมีระดับสูง และระดับน้ำปานกลาง ประมาณ ๑๐ เดือน
เรือกินน้ำลึกประมาณ ๑.๒๐ เมตร ใช้เดินเรือได้ ในขณะที่ระดับน้ำต่ำ เรือกินน้ำลึก
๐.๘๐ เมตร ใช้เดินได้ตลอดระยะทาง ส่วนเรือที่กินน้ำลึกกว่านี้ ใช้เดินได้บางตอน
ระยะที่ ๔
จากสวันเขต ถึงปากเซ ยาวประมาณ ๒๖๕ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๑,๗๐๐ เมตร กระแสน้ำไหลเชี่ยว
มีเกาะแก่งน้อยในฤดูที่ระดับน้ำขึ้นสูง เรือที่กินน้ำลึก ๑.๗๕ เมตร ใช้เดินได้
ถ้าระดับน้ำปานกลาง เรือที่กินน้ำลึก ๑.๒๐ เมตร ใช้เดินเรือได้ ถ้าระดับน้ำต่ำ
เรือกินน้ำลึกเดินได้ตลอด ระยะทางเรือที่กินน้ำลึกกว่านี้ ใช้เดินได้ในบางตอน
ระยะที่ ๕ จากปากเซ
ถึงเมืองโขง ยาวประมาณ ๑๓๐ กิโลเมตร ความกว้างทวีมากขึ้น ไปจนถึงเมืองโขง
มีความกว้าง ๑๐- ๑๒ กิโลเมตร เฉพาะร่องน้ำประมาณ ๑,๒๐๐ เมตร มีน้ำตกและเกาะแก่ง
เรือสามารถใช้เดินเรือได้ตลอดปี ในฤดูที่ระดับน้ำขึ้นสูง และปานกลาง เรือกินน้ำลึก
๑.๗๕ เมตร ใช้เดินได้เมื่อระดับน้ำต่ำเรือกินน้ำลึกไม่เกิน ๑.๒ เมตร ใช้เดินเรือได้
|
|