ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย
           ความสัมพันธ์ทวิภาคี  จากการเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกัน ไทยกับมาเลเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ ความสัมพันธ์และความร่วมมือในระดับทวิภาคี และภาคีมีความแน่นแฟ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรอบของอาเซียน ซึ่งทั้งสองประเทศเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง
            ความร่วมมือทวิภาคีไทย - มาเลเซีย ในด้านความมั่นคงได้แก่ การจัดตั้งกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาแก้ปัญหาต่าง ๆ  ที่สำคัญคือ
                - คณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย - มาเลเซีย (General Boarder Committee : GBC)
                - คณะกรรมการร่วมไทย - มาเลเซีย (Join Commission : IC)
                - คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค  (Regional Boarder Committee : RBC)
                - คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมส่วนภูมิภาค (Socia Economic Development Committee : SEDEC)
                - คณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย - มาเลเซีย (Land Boundary Committee : LBC)
                - คณะกรรมการเพื่อพิจารณาหลักเขตแดนที่ ๖๙ - ๗๐
                - คณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาลุ่มน้ำโก-ลก (Joint Steering Committee : JSC)
           ความร่วมมือในกรอบพหุภาคีไทย - มาเลเซีย - อินโดนิเซีย  ทั้งสามประเทศ ได้ร่วมกันก่อตั้งโครงการความร่วมมือ สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (Indonesia - Malaysia - Thailand Growth Triangle : IMT- GT)  เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ ครอบคลุมพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย สี่รัฐทางตอนเหนือของมาเลเซีย และสี่จังหวัดบนเกาะสุมาตรา
           ความสัมพันธ์ทางการค้า  ไทยและมาเลเซียเป็นคู่ค้าอันดับสองของกันและกันในอาเซียน
            การค้าชายแดนไทย - มาเลเซีย เป็นส่วนประกอบสำคัญของการค้าไทย - มาเลเซีย โดยไทยส่งสินค้าออกไปมาเลเซีย ผ่านพรมแดนศุลกากรทั้งสิบแห่ง ในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา และสตูล
           ปัญหาระหว่างไทยกับมาเลเซีย  มีอยู่สี่ประการด้วยกันคือ
                ปัญหาด้านการเมือง  ทั้งสองฝ่ายพยายามร่วมมือแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งพื้นฐาน โดยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมกันหลายคณะในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ครอบคลุมในหลาย ๆ เรื่องด้วยกัน ส่วนในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ ได้ร่วมมือกันในกรอบของอาเซียน ไทยกับมาเลเซีย มีปัญหากระทบกระทั่งกันบ่อยครั้ง เนื่องจากความขัดแย้งเดิม ที่มีอยู่หลายประการด้วยกัน
                ปัญหาด้านเศรษฐกิจ  ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ากับมาเลเซียมาตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๕ เนื่องจากนำเข้าน้ำมันดิบจากมาเลเซีย
                ปัญหาเส้นพรมแดนทางบก  จากการที่คณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนร่วมไทย - มาเลเซีย ที่ได้ร่วมกันสำรวจปักปัน เส้นเขตแดนทางบกใหม่ตลอดแนวพรมแดน ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๖ - ๒๕๒๖ ปรากฏว่าเขตแดนไทย - มาเลเซีย ซึ่งยาวประมาณ ๖๕๗ กิโลเมตร มีปัญหาที่คั่งค้างอยู่รวมสามจุดคือ
                   หลักเขตที่ ๑  จังหวัดสตูล มีปัญหาตำแหน่งของทุ่น B และ C ด้านชายฝั่งทะเลอันดามัน เริ่มจากเขาผาขาว หลักเขตนี้เกี่ยวข้องกับอาณาเขตทางทะเลของไทย กับมาเลเซีย
                    หลักเขตที่ปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา
                    หลักเขตที่ยอดเขาเยลี  หลักเขตที่ ๖๙ - ๗๐ อำเภอสุคีริน จังหวัดนราธิวาส
                    ปัญหาเขตแดนทั้งสามจุดดังกล่าวมีความซับซ้อน เนื่องจากประเด็นที่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย เทคนิคเกี่ยวกับด้านแผนที่ และการปักปันดินแดน ปัญหาหลักเขตที่ ๑ และหลักเขตที่ ๖๙ - ๗๐ ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นว่าตำแหน่งของหลักดังกล่าวไม่สอดคล้องกับสนธิสัญญาปี ค.ศ.๑๙๐๙ (พ.ศ.๒๔๕๒)
                    สำหรับเขตแดนที่ปาดังเบซาร์ บริเวณศาลเจ้าฮกเต็ก มีปัญหาระหว่างการใช้หลัก Water shed หรือ Watershed
straightline  กล่าวคือถ้าใช้หลัก Water straightline ศาลเจ้าฮกเต็กจะอยู่ในไทย แต่ที่แล้วมาอาศัยหลัก Watershed เป็นเกณฑ์ ในการปักปันดินแดน
                    นอกจากนี้ การก่อสร้างกำแพงกั้นเขตแดนของมาเลเซีย ตามนโยบายป้องกันการลักลอบสินค้าหนีภาษีศุลกากร
ในบริเวณที่มีปัญหา เช่น ที่ปาดังเบซาร์  สตูล ฯลฯ เป็นการผิดวิสัยที่ประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจะกระทำ
                ปัญหาเส้นเขตแดนทางน้ำ  ไทยและมาเลเซีย ใช้ร่องน้ำลึกของแม่น้ำโกลก เป็นแนวแบ่งเขตแดนตามสนธิสัญญาปี ค.ศ.๑๙๐๙ (พ.ศ.๒๔๕๒)  แต่แม่น้ำโกลก มีความคดเคี้ยว และกระแสน้ำไหลเชี่ยว ทำให้ลำน้ำเปลี่ยนทางเดินมาแล้ว ๕๖ บริเวณ เนื่องจากไม่ได้มีการอนุรักษ์ฝั่งเท่าที่ควร ในจำนวน ๕๖ บริเวณดังกล่าว ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ๓๔ จุด มาเลเซียเสียเปรียบ ๒๒ จุด และในอนาคตมีแนวโน้มว่าลำน้ำจะเปลี่ยนแปลงอีก ๒๐ บริเวณ เขตแดนไทย - มาเลเซีย ที่ใช้แม่น้ำโกลก เป็นเขตแดน มีความยาวประมาณ ๙๕ กิโลเมตร
                ได้มีการประชุมตกลงกันเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ ให้ใช้หลักการกำหนดเส้นเขตแดนคงที่และถาวร (Fixed and Permanent Boundary)
                ปัญหาการประมงระหว่างไทยกับมาเลเซีย  เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ มาเลเซียได้ประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Essential Economic Zone : EEZ) ระยะ ๒๐๐ ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง และบังคับใช้กฎหมายเขตเศรษฐกิจจำเพาะกับกฎหมายประมงในเวลาต่อมา ครอบคลุมถึงเรือประมงต่างชาติที่เดินทางผ่านน่านน้ำมาเลเซีย ทำให้เกิดปัญหาการเดินเรือประมงของไทย เนื่องจากไทยมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับมาเลเซีย ทั้งทางด้านอ่าวไทย และด้านทะเลอันดามัน ทำให้ไทยถูกปิดล้อม โดยอาณาเขตทางทะเลของมาเลเซีย มาเลเซียออกข้อกำหนด ให้เรือประมงไทยแจ้งให้ทางมาเลเซียทราบก่อน ๔๘ ชั่วโมง ก่อนที่จะเดินเรือประมงผ่านน่านน้ำของตน โดยแจ้งผ่านศูนย์ประมงชายฝั่งนอกน่านน้ำที่จังหวัดสงขลา เรือไทยส่วนใหญ่ยอมปฏิบัติตาม แต่บางครั้งก็ถูกจับกุมหากทางมาเลเซียพบว่า เรือประมงลำใด ที่เดินทางผ่านเขตเศรษฐกิจจำเพาะของมาเลเซีย โดยมิได้เก็บอุปกรณ์การประมงอย่างมิดชิด พร้อมทั้งพบปลาในเรือ ก็จะสันนิษฐานว่า เรือลำนั้นลักลอบจับปลา ในน่านน้ำมาเลเซีย ก็จะถูกจับกุมทันที
                ปัญหาลักลอบค้าหนีภาษี  มาเลเซียส่งเสริมให้มีการค้าขายบริเวณชายแดนไทย - มาเลเซีย โดยเปิดร้านปลอดภาษีหลายแห่ง ทำให้มีการลอบนำสินค้าหนีภาษี เข้ามาในเขตไทยตลอดเวลา
                ปัญหาบุคคลสองสัญชาติ  เนื่องจากมีชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ชายแดนไทย - มาเลเซีย ต้องการเข้าไปในมาเลเซียด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ  จึงใช้วิธีเป็นบุคคลสองสัญชาติ เพื่อสะดวกในการผ่านเข้าออก ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๕๒๓ ไทยกับมาเลเซียเห็นพ้องที่จะแก้ปัญหานี้ โดยกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหา แต่การดำเนินงานไม่ก้าวหน้า
                ปัญหายาเสพติด  มีการลักลอบนำยาเสพติดผ่านไปทางมาเลเซีย เพื่อจำหน่ายและส่งต่อไปยังประเทศอื่น ทางมาเลเซียได้ดำเนินการปราบปรามอย่างกวดขัน และได้ร่วมมือกับฝ่ายไทย ซึ่งได้ผลพอสมควร
                ปัญหาสัญญาณโทรทัศน์รบกวนกันในพื้นที่ชายแดน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างจังหวัดสงขลากับรัฐเคดาห์ จึงได้มีการหารือกันทั้งสองฝ่าย ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๕๓๑ มีการเจรจากันหลายครั้ง แต่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากยังมีปัญหาทางเทคนิค
                ปัญหาการก่อการร้าย  ขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.) กลุ่มต่าง ๆ บริเวณจัดหวัดชายแดนภาคใต้ พวกมุสลิมแนวทางดั้งเดิมรุนแรง (Fundamentalist) ได้อาศัยดินแดนรอยต่อของสองประเทศ เผยแพร่แนวคิดรุนใรงทางศาสนาต่อประชาชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยด้วย ไทยต้องการให้มาเลเซีย ให้ความร่วมมือในการปราบปราม แต่มาเลเซียถือว่าเป็นเรื่องภายในของไทย
การคมนาคมขนส่ง
           การขนส่งทางบก
                ทางถนน  ในมาเลเซียตะวันตกมีถนนที่เป็นเส้นทางหลักสำคัญได้แก่
                    เส้นทางจากบูกิต - กายู ฮิตัน - อลอร์สตาร์ - ปัตเตอร์เวอร์ธ - ปอร์ตกลัง ระยะทางประมาณ ๓๐๐ กิโลเมตร
                    เส้นทางจากโกตาบารู - กัลลาตรังกานู - กวนตัน - ยะโฮร์บารู ระยะทางประมาณ ๖๙๐ กิโลเมตร
                    เส้นทางจากปาเซร์เต๊ะห์ - มาจัง - กริก ระยะทางประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร
                    เส้นทางจากอิโปห์ - กัลลาสลังงอร์ - ปอร์ตกลัง - มะละกา - ยะโฮร์ ระยะทางประมาณ ๖๐๐ กิโลเมตร
                    เส้นทางจากปัตเตอร์เวอร์ธ - ปีนัง - ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
                    เส้นทางจากปาดังเบซาร์ - อลอร์สตาร์ ระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร
                    เส้นทางจากโกตาบูลู - เบนโวง ระยะทางประมาณ ๕๗๐ กิโลเมตร
                    เส้นทางจากเตอมอร์โละห์ - เกมัส ระยะทางประมาณ ๑๓๐ กิโลเมตร
                ระบบทางด่วน  แบ่งเป็นสองเส้นทางหลักคือ เส้นทางด่วนสายเหนือ - ใต้ และสายตะวันออก - ตะวันตก
                    เส้นทางสายเหนือ - ใต้  มีระยะทางประมาณ ๘๘๐ กิโลเมตร เริ่มจากบูกิตกายูหิตัม ผ่านจีรากุรุน บัตเตอร์เวอร์ธ จักกัตเยอร์อิโปห์ ตัมยุงมาลิน กัวลาลัมเปอร์ เซเรมปัน อาเยอร์ฮิตัม เชอไน ยะโฮร์บารู
                    เส้นทางสายตะวันออก - ตะวันตก  มีระยะทางประมาณ ๑๓๕ กิโลเมตร เริ่มจากเมืองกริก รัฐเปรัค เยอลี รัฐกลันตัน
                ทางรถไฟ  ก่อตั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๒๘ โดยรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการต่อมาแปรรูปเป็นรูปบริษัท เป็นทางรถไฟกว้าง ๑.๐๐ เมตร เท่ากับของประเทศไทย มีความยาวประมาณ ๒,๓๖๐ กิโลเมตร และเป็นทางรถไฟฟ้าขนาดมาตรฐาน รางกว้าง ๑,๔๓๕ เมตร ความยาวประมาณ ๖๐ กิโลเมตร
                เส้นทางรถไฟสายหลักประกอบด้วยเส้นทางด้านตะวันตก จากปาดังเบซาร์ ชายแดนเหนือไปถึงชายแดนทางใต้ติดต่อกับสิงคโปร์ รวมระยะทางประมาณ ๙๓๐ กิโลเมตร เส้นทางสายตะวันออก จากตุนปัด ถึงเกมัส ความยาวประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร
                เส้นทางที่เหลือเป็นทางแยกสายต่าง ๆ รวมหกสายทาง เป็นระยะทางสั้น ๆ
                ขบวนรถไฟของมาเลเซีย สามารถเชื่อมติดต่อกับทางรถไฟของไทย และสิงคโปร์
           ระบบขนส่งทางน้ำ
                ทางลำน้ำ ในแผ่นดินมาเลเซียตะวันตกบนแหลมมลายู มีการเดินเรือในลำน้ำน้อย เนื่องจากมีแต่ลำน้ำสายสั้น ๆ ตื้นเขิน และกระแสน้ำเชี่ยว ใช้ได้เฉพาะเรือเล็ก
                ทางทะเลตะวันตก  เส้นทางเดินเรือสายสำคัญ ส่วนมากผ่านช่องแคบมะละกา และเข้าเทียบเรือทางท่าเทียบเรือตะวันตก ท่าเรือที่สำคัญได้แก่
                    ท่าเรือปีนัง  มีท่าเรือน้ำลึก และท่าเทียบเรือน้ำตื้น ลักษณะของท่าเป็นแนวตรงทิศเหนือ - ใต้ เทียบเรือด้านเดียว มีโรงเก็บสินค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าอยู่ในระดับดี
                    ท่าเรือกันลัก  อยู่เหนือเมืองบัตเตอร์เวอร์ธ
                    ท่าเรือปอร์ตเวตมัน  ต่อมาได้รวมกับท่าเรือปอร์ตกลัง
                    ท่าเรือปอร์ตกลัง  เป็นท่าเรือที่สร้างขึ้นแทนท่าเรือปอร์ตเวตมัน อยู่ห่างจากกัวลาลัมเปอร์ ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร สร้างยื่นออกไปในทะเลยาวขนานกับฝั่ง สามารถเทียบเรือเดินทะเลขนาด ๘,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ ตัน ได้พร้อมกัน ๗ - ๘ ลำ นับเป็นท่าเทียบเรือที่สำคัญที่สุดของมาเลเซีย
                    ท่าเรือใหญ่ที่สุดของมาเลเซีย อยู่ที่ตันหยงเปอร์ฮาซา เป็นท่าเรือที่ออกแบบ เพื่อการขนถ่ายปิโตรเลียม และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมโดยเฉพาะ
                    ท่าเรือขนาดเล็ก คือ ท่าเรือปอร์ตดิกสัน ท่าเรือมะละกา ท่าเรือยะโฮร์บารู และท่าเรือกวนตัน
ลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์
                ประวัติศาสตร์เริ่มแรกของมลายู
                    ค.ศ.๓๕๐ มีการตั้งหลักแหล่งแบบอินเดียในเคดาห์
                    ค.ศ.๗๐๐ - ๑๐๐ สมัยอาณาจักรศรีวิชัยมีอำนาจเหนือแหลมมลายู
                    ค.ศ.๑๒๙๒ การเดินทางของมาร์โคโปโล จากตะวันตกสู่ตะวันออก ผ่านช่องแคบมะละกาไปอาณาจักรจีน
                สมัยสุลต่านแห่งมะละกา
                    ค.ศ.๑๓๙๘ - ๑๔๐๐ พระเจ้าปรเมศวร สร้างมะละกา
                    ค.ศ.๑๔๐๕ แม่ทัพจีนมามะละกา
                    ค.ศ.๑๔๑๔ พระเจ้าปรเมศวร เปลี่ยนศาสนามานับถือศาสนาอิสลาม
                    ค.ศ.๑๔๔๕ อิสลามเป็นศาสนาประจำดินแดนมะละกา
                    ค.ศ.๑๕๐๙ โปรตุเกส มาถึงมะละกาเป็นครั้งแรก
                    ค.ศ.๑๕๑๑  มะละกาตกเป็นของดัลบูเคอร์ก
                คริสตศตวรรษที่ ๑๖
                    ค.ศ.๑๕๒๐ บรูไน มีอำนาจสูงสุด - สุลต่านบูลเกอาห์
                    ค.ศ.๑๕๒๖ โปร์ตุเกส ทำลายเมืองปินตัง เมืองหลวงของยะโฮร์
                    ค.ศ.๑๕๓๙ ยะโฮร์ และพันธมิตรชนะพวกอาเจะห์
                    ค.ศ.๑๕๖๔ อาเจห์โจมตีเมืองยะโฮร์ ลามา
                    ค.ศ.๑๕๗๕ อาเจะห์ชนะเประ
                    ค.ศ.๑๕๘๗ โปร์ตุเกสทำลายเมืองยะโฮร์ ลามา
                    ค.ศ.๑๕๙๕ - ๙๖ ฮอลันดามาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                คริสตศตวรรษที่ ๑๗
                    ค.ศ.๑๖๐๖ ฮอลันดาแพ้กองเรือโปร์ตุเกส นอกฝั่งยะโฮร์ ฮอลันดาและยะโฮร์ โจมตีมะละกา
                    ค.ศ.๑๖๓๙ สนธิสัญญาระหว่างฮอลันดากับยะโฮร์
                    ค.ศ.๑๖๔๑ ฮอลันดายึดมะละกาได้
                    ค.ศ.๑๖๘๐ พวกบูกิส เริ่มตั้งถิ่นฐานอยู่ที่สลังงอร์
                    ค.ศ.๑๖๙๙ การลอบปลงพระชนม์ สุลต่าน มาห์มุก ทำให้การสืบราชสมบัติโดยตรง ทางยะโฮร์จากมะละกาสิ้นสุดลง
                คริสตศตวรรษที่ ๑๘
                    ค.ศ.๑๗๑๗ - ๑๘ จักรวรรดิ์ยะโฮร์ตกอยู่กับราชาเกซิล จากซีอัค
                    ค.ศ.๑๗๔๒ การสถาปนาสำนักสุลต่านชาวบูกิส ในสลังงอร์
                    ค.ศ.๑๗๗๑ อังกฤษตั้งหลักแหล่งทางการค้าในเคดาห์
                    ค.ศ.๑๗๗๓ - ๗๕ อังกฤษตั้งหลักแหล่งที่บาลัม บางัน ในบอร์เนียว
                    ค.ศ.๑๗๘๔ บูกิสโจมตีมะละกา ในสมัยราชาอาจิ
                    ค.ศ.๑๗๘๖ อังกฤษได้เกาะปีนัง (ฟรานซิส ไลท์)
                    ค.ศ.๒๗๙๙ อังกฤษยึดมะละกามาได้จากฮอลันดา
                    ค.ศ.๑๘๐๐ ปีนังได้จังหวัดเวลสลีย์
                คริสตศตวรรษที่ ๑๙
                    ค.ศ.๑๘๑๑ อังกฤษยึดได้เมืองยะโฮร์
                    ค.ศ.๑๘๑๙ รัฟเฟิลส์ สถาปนาสิงคโปร์
                    ค.ศ.๑๘๒๑ สยามบุกเคดาห์
                    ค.ศ.๑๘๒๔ อังกฤษและฮอลันดา ทำสนธิสัญญาระหว่างกันที่ลอนดอน
                    ค.ศ.๑๘๒๖ อังกฤษและสยามทำสนธิสัญญาระหว่างกันที่กรุงเทพ ฯ
                    ค.ศ.๑๘๓๑ - ๓๒ สงครามบานิวที่เกาะมะละกา
                    ค.ศ.๑๘๔๒ เจมส์ บรุค เป็นราชาแห่งซาราวัค และสยามแยกปลิส ออกจากเคดาห์
                    ค.ศ.๑๘๔๗ บรูไนยกลาบวนให้อังกฤษ
                    ค.ศ.๑๘๖๒ อังกฤษ ระดมยิงเมืองกัวลา ตรังกานู และเกิดสงครามลารุต ในเประ
                    ค.ศ.๑๘๖๖ เริ่มสงครามกลางเมืองสลังงอร์
                    ค.ศ.๑๘๖๗ การย้ายการปกครองดูแล สเตรต เซ็ตเติลเมนห์ (Strait Settlement) จากกระทรวงอินเดียมาขึ้นกับกระทรวงอาณานิคม
                    ค.ศ.๑๘๗๔ สนธิสัญญาฟังกอร์ อังกฤษเข้าแทรกแซงในรัฐมลายู
                    ค.ศ.๑๘๗๕ การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการชาวอังกฤษ ไปประจำเประและสลังงอร์
                    ค.ศ.๑๘๘๑  การตั้งบริษัทบริติช นอร์ธ บอร์เนียว
                    ค.ศ.๑๘๘๘ อังกฤษคุ้มครองบรูไน ซาราวัค และบอร์เนียวเหนือ
                    ค.ศ.๑๘๘๙ การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการชาวอังกฤษไปประจำปาหัง
                    ค.ศ.๑๘๙๖ การสถาปนาสหพันธรัฐมลายู
                    ค.ศ.๑๘๙๗ อังกฤษและสยาม ทำอนุสนธิสัญญาระหว่างกัน
                คริสตศตวรรษที่ ๒๐
                    ค.ศ.๑๙๐๖ การแต่งตั้งที่ปรึกษาชาวอังกฤษประจำบรูไน
                    ค.ศ.๑๙๐๙ สนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับสยาม - การแต่งตั้งที่ปรึกษาชาวอังกฤษประจำกลันตัน เคดาห์ ตรังกานู  และปะลิส
                    ค.ศ.๑๙๑๔ การแต่งตั้งที่ปรึกษาทั่วไปชาวอังกฤษประจำยะโฮร์
                    ค.ศ.๑๙๑๗ ไวเนอร์ บรุค ขึ้นเป็นราชาองค์ที่สามแห่งซาราวัค
                    ค.ศ.๑๙๔๑ ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกใกล้โกตาบารู
                    ค.ศ.๑๙๔๒ สิงคโปร์อยู่ใต้การยึดครองของญี่ปุ่น
                    ค.ศ.๑๙๔๕ ญี่ปุ่นแพ้ในสงครามมหาเอเชียบูรพา สงครามยุติ
                    ค.ศ.๑๙๔๖ การก่อตั้งสหภาพมลายู
                    ค.ศ.๑๙๕๑ การแต่งตั้งนายพล เทนเบเลอร์ เป็นข้าหลวงใหญ่ในมลายู
                    ค.ศ.๑๙๕๕ การเลือกตั้งสหพันธ์ครั้งแรก ตนกู อับดุล ราห์มาน ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
                    ค.ศ.๑๙๕๗ สหพันธ์มลายู เป็นเอกราช
                    ค.ศ.๑๙๕๙ สิงคโปร์มีการปกครองภายในของตนเอง
                    ค.ศ.๑๙๖๓ การก่อตั้งมาเลเซีย ประกอบด้วยมลายู สิงคโปร์ ซาบาห์ และซาราวัค
                    ค.ศ.๑๙๖๓ การเผชิญหน้ากันระหว่างอินโดนิเซีย และมาเลเซีย
                    ค.ศ.๑๙๖๕ สิงคโปร์แยกจากมาเลเซีย